ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
30 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 
ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เปลี่ยนไปอย่างไร เมื่ออยู่ในสถานีอวกาศ

ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เปลี่ยนไปอย่างไร เมื่ออยู่ในสถานีอวกาศ

ความฝันตั้งแต่เด็กของหลาย ๆ คนคือการขึ้นไปเยือนอวกาศสักครั้ง เพราะอยากรู้ว่าในภาวะไร้แรงโน้มถ่วงมันเป็นยังไง แล้วการได้ชมดวงดาวที่เราเคยแหงนหน้ามองจากที่ไกล ๆ อย่างใกล้ชิดมันจะรู้สึกอย่างไรบ้าง แต่ตอนนี้ แม้ไม่ต้องเดินทางไปอวกาศ ก็สามารถรู้ความจริงเกี่ยวกับภาวะไร้แรงโน้มถ่วงบนสถานีอวกาศได้แล้ว เมื่อ คริส แฮดฟีลด์ (Chris Hadfield) นักบินอวกาศหัวหน้าทีม Expedition 35 ขององค์กร NASA ที่ได้ไปอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ เป็นเวลานาน 146 วัน ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์มาแบ่งปันคนบนพื้นโลกให้ได้รับรู้ ไขข้อข้องใจของใครหลาย ๆ คนที่อยากรู้ว่า เมื่อต้องมาอยู่บนสถานีอวกาศแล้ว ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเราจะทำงานแตกต่างออกไปอย่างไร ว่าแล้วก็ลองมาดูกันเลย



1. การได้ยิน

แท้ที่จริงแล้ว หากเราอยู่ในห้วงอวกาศ แม้ว่าใครจะตะโกนดังแค่ไหน คุณก็จะไม่ได้ยินอะไรเลย เพราะไม่มีอากาศซึ่งเป็นสื่อนำเสียง แต่อย่าว่าแต่ได้ยินเลย จริง ๆ ถ้าคุณเองลอยอยู่ในห้วงอวกาศ ก็คงจะเสียชีวิตเพราะไม่มีอากาศหายใจก่อนจะได้พิสูจน์การได้ยินแล้ว แต่หากจะหมายถึงบนสถานีอวกาศแล้วละก็ หูมนุษย์จะได้ยินเสียงปกติ เพราะแรงโน้มถ่วงที่ต่างจากบนโลกแทบจะไม่มีผลอะไรต่อการได้ยินเลย ดังเช่นคริส ที่สามารถได้ยินเสียงดังก้องเต็มไปหมดจากการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ และเขาสามารถเอากีตาร์มาโชว์ฝีมือให้ชมกันได้สบาย ๆ



2. การมองเห็น

ใครจะรู้ว่าการจะเป็นนักบินอวกาศก็มาพร้อมภาระที่ใหญ่หลวงด้วยเหมือนกัน เพราะมันส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของเรามาก กล่าวคือนักบินอวกาศมักเห็นภาพมัวผิดแปลกออกไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่าน่าจะเป็นเพราะสมองต้องเจอกับภาวะเมื่อของเหลวเคลื่อนที่สู่ด้านบนเนื่องจากปราศจากแรงดึงดูด นำไปสู่ภาพที่หมุนวน รวมทั้งม่านตาบีบตัวลงด้วย ซึ่งภาพที่พร่ามัวอาจเกิดขึ้นชั่วคราว แต่ภาวะม่านตาหดตัวลงอาจเป็นตลอดชีวิต แม้กลับไปเยือนพื้นโลกแล้วก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบอีกอย่างก็คือการเห็นแสงกระพริบแม้กระทั่งในเวลาหลับตา หรือบางคนก็เป็นกระทั่งเวลาที่ลืมตาด้วย โดยอาการนี้เกิดจากรังสีคอสมิก ส่วนจะเป็นมากหรือน้อยนั้น แตกต่างออกไปในแต่ละคน



3. การรับรส

การกินอาหารบนอวกาศอาจไม่อร่อยเท่าที่คุณคิด เพราะเมื่ออยู่ในบนสถานีอวกาศแล้ว ของเหลวในสมองจะไหลเวียนไม่ปกติ ทำให้ลิ้นของคุณจะรับรสได้น้อยลง จนทุกอย่างจืดชืดไปซะหมด เหมือนกับคนเป็นหวัดอย่างไรอย่างงั้น นักบินอวกาศจึงชอบที่จะทานรสจัดเพื่อเพิ่มรสชาติกันเสียหน่อย ซึ่งของโปรดของนักบินอวกาศอารมณ์ดีอย่างคริสนั้นก็คือค็อกเทลกุ้งราสซอสฮอสแรดิชรสจัดจ้านนั่นเอง



4. การดมกลิ่น

นี่ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เกิดผลกระทบจนเหมือนเราเป็นโรคหวัดด้วยเหมือนกัน จากการที่ภาวะไร้แรงกดดันเช่นนี้ ทำให้ของเหลวเคลื่อนที่สู่ด้านบน และไปสะสมอยู่ที่ศีรษะ รวมไปถึงโพรงจมูกด้วย เป็นสาเหตุทำให้หน้าบวม รวมทั้งบริเวณโพรงจมูกอุดตัน การดมกลิ่นจึงเป็นเรื่องยาก คล้ายกับคนเป็นหวัด ที่จะได้กลิ่นเฉพาะกลิ่นที่รุนแรงจริง ๆ



5. การสัมผัส

ที่จริงแล้ว เรื่องของการสัมผัสบนอวกาศนั้นแทบไม่มีผลแตกต่างอะไรเท่าไหร่นัก จะมีจุดเปลี่ยนบ้างก็ตรงเท้านี่แหละ เพราะเมื่ออยู่ในอวกาศที่ไร้แรงโน้มถ่วงแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเดินกันอยู่แล้ว ทำให้ฝ่าเท้าไม่ได้แตะถูกพื้นดินเลยจนนุ่มนวลขึ้นมาได้ ผิดกับเท้าส่วนหน้าที่ต้องคอยกันโน่นนี่ให้นักบินอวกาศไม่ชนสิ่งกีดขวางจนด้านขึ้นเรื่อย ๆ




ไม่น่าเชื่อใช่ไหมล่ะว่า เพียงแค่ความแตกต่างที่เกิดจากแรงดึงดูดจะส่งผลต่อประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้มากขนาดนี้ โดยเฉพาะการมองเห็นที่อาจส่งผลตลอดชีวิตได้เลยทีเดียว ทำให้เข้าใจเลยล่ะว่าการจะเป็นนักบินอวกาศเนี่ย นอกจากความสามารถแล้ว ต้องเป็นด้วยใจรักจริง ๆ นะ



ที่มา
//men.kapook.com/view63408.html


Create Date : 30 มิถุนายน 2556
Last Update : 30 มิถุนายน 2556 7:37:27 น. 0 comments
Counter : 1461 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.