ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
สดร.ชวนชมปรากฏการณ์แห่งศตวรรษ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” 6-6-55



สดร.ชวนชมปรากฏการณ์แห่งศตวรรษ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”


สดร.ชวนชมปรากฏการณ์ดาราศาสตร์แห่งศตวรรษ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” ช่วงเช้าวันที่ 6 มิ.ย.55 นี้ ชี้ เป็นปรากฏการณ์หายาก ในรอบ 100 ปีเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้ง และหากพลาดครั้งนี้ต้องรออีก 105 ปี ปรากฏการณ์นี้เห็นได้ทั่วประเทศ และในอดีตนักดาราศาสตร์เคยใช้เป็นเครื่องมือหาระยะทางระหว่างโลก และดวงอาทิตย์ พร้อมกันนี้ ยังถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านเว็บไซต์สถาบัน

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เผยว่า ในวันที่ 6 มิ.ย.55 จะมีปรากฏการณ์ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” (Venus Transit) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์แห่งศตวรรษที่ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นเพียง 2 ครั้ง โดยก่อนหน้านี้เคยเกิดปรากฏการณ์ขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2547 และนับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าติดตามที่สุดในปี 2555

ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์นี้เป็นปรากฏการณ์ที่ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ และโลก อยู่ในแนวเดียวกัน เมื่อสังเกตจากโลกจะเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นจุดกลมเล็กเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ ซึ่งหากเปรียบเทียบขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์เท่ากับลูกบาสเกตบอล ขนาดของดาวศุกร์ที่ปรากฏผ่านหน้าดวงอาทิตย์จะเท่ากับเม็ดถั่วเขียว

ทั้งนี้ สังเกตปรากฏการณ์ได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า เวลา 05:49 น.จนถึงเวลาประมาณ 11:49 น.ตามเวลาประเทศไทย ณ กรุงเทพมหานคร ของวันที่ 6 มิ.ย.55 และสังเกตเห็นได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

สำหรับความน่าสนใจของปรากฏการณ์นี้ ดร.ศรัณย์ กล่าว่า ในอดีตนักดาราศาสตร์ใช้ปรากฏการณ์นี้เพื่อคำนวณหาระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ และทำให้มนุษย์ทราบขนาดระบบสุริยะเป็นครั้งในปี 2312 และโดยปกติจะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เพียง 2 ครั้ง ในรอบ 100 กว่าปี โดยทั้งสองครั้งนั้นเกิดห่างกันประมาณ 8 ปี

นักดาราศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ ว่า “ปรากฏการณ์แห่งศตวรรษ” ซึ่งหากเราพลาดชมในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ จะต้องรอชมอีกครั้งในปี 2660 จึงนับเป็นปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งสุดท้ายที่ผู้มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันจะได้ชม อีกทั้งนักดาราศาสตร์ที่ศึกษาระยะห่างของโลกกับดวงอาทิตย์จะได้ใช้ปรากฏการณ์นี้เพื่อการศึกษา

นอกจากนี้ ดร.ศรัณย์ ยังเน้นย้ำถึงข้อควรระวังสำหรับการสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ว่า ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากดวงอาทิตย์มีแสงสว่างจ้ามาก จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังและใช้อุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยสูง

เช่น กล้องโทรทรรศน์ที่ติดแผ่นกรองกรองแสง แว่นดูดวงอาทิตย์ หรืออาจใช้อุปกรณ์สังเกตการณ์ทางอ้อม อย่างการฉายภาพดวงอาทิตย์บนฉากรับภาพจากกล้องโทรทรรศน์ เป็นต้น และขอให้ระมัดระวังการบันทึกภาพดวงอาทิตย์ด้วยกล้องดิจิตัล หรือกล้องจากโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากเลนส์ของกล้องต่างๆ เหล่านี้มีคุณสมบัติในการรวมแสง การมองภาพที่ส่องจากเลนส์ไปยังดวงอาทิตย์โดยตรง อาจทำให้ตาบอดได้

สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามการถ่ายทอดสดเกาะติดการเกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์แห่งศตวรรษดังกล่าว ทางเว็บไซต์ของสถาบันฯ ที่ //www.narit.or.th หรือติดตามข้อมูลข่าวสารการเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ได้ที่ Facebook/สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ



ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000056947


Create Date : 10 พฤษภาคม 2555
Last Update : 10 พฤษภาคม 2555 12:02:05 น. 3 comments
Counter : 1963 Pageviews.

 
ก้ดีนะข้อมูลดีๆทั้งนั้นเลยง่าาาาา


โดย: ธิดา IP: 101.51.220.199 วันที่: 6 มิถุนายน 2555 เวลา:18:00:18 น.  

 
5555+


โดย: บีบี IP: 101.51.220.199 วันที่: 6 มิถุนายน 2555 เวลา:18:01:20 น.  

 
แง่ววว ข้อมูลสั้นจังเยยง่า


โดย: น้องเมย์ IP: 101.51.220.199 วันที่: 6 มิถุนายน 2555 เวลา:18:04:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.