Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
13 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 

คลอเดีย มิตเชลล์ สาว"แขนกลชีวะ"คนแรกของโลก



จินตนาการ ในภาพยนตร์ไซ-ไฟ ประเภทฉายภาพมนุษย์ในอนาคตที่มี "อวัยวะจักรกล"
ต่อระโยงระยางเข้ากับร่างกาย เขยิบเข้าใกล้โลกแห่งความเป็นจริงอีกขั้น
เมื่อสถาบันการแพทย์อาร์ไอซีในสหรัฐอเมริกา ผ่าตัดติดตั้ง "แขนหุ่นยนต์" หรือ "แขนกลชีวะ"
ให้กับผู้หญิงคนแรกของโลกผ่านพ้นไปด้วยดี สามารถใช้ "สมอง" สั่งงานแขนกลให้เคลื่อนไหวดังใจนึก!

หมุนเข็มเวลาย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อน "คลอเดีย มิตเชลล์" สาวอเมริกัน วัย 24 ปี
ต้องเผชิญกับจุดเปลี่ยนผันครั้งสำคัญในชีวิต ภายหลังจากประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์คว่ำอย่างรุนแรง
แพทย์ต้องตัดแขนซ้ายทิ้ง

ผลจากการสูญเสียแขน ทำให้เส้นทาง "ทหารหญิง" สังกัดหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐ ปิดฉากลงไปด้วย

"ตอนที่ดิฉันประสบอุบัติเหตุใหม่ๆ และต้องใส่แขนเทียม ยอมรับว่ารู้สึกสับสน ท้อแท้มาก" มิตเชลล์ กล่าว

คงเป็นเรื่องทำใจไม่ง่ายนักสำหรับสาวโสด อายุ 20 ต้นๆ ที่จู่ๆ ต้องกลายเป็นอดีตทหารหญิงผู้พิการแขนขาด
ใส่แขนเทียมเหมือนพวกทหารผ่านศึกหลายสมรภูมิ
แต่เมื่อชีวิตต้องดำเนินต่อไป มิตเชลล์จึงรวบรวมกำลังใจเดินหน้าสู้อีกครั้ง

กระทั่งมาพบกับแสงสว่าง เมื่ออ่านเจอบทความเรื่อง "แขนกลชีวะ" (ไบโอนิก อาร์ม)
ในนิตยสารวิทยาศาตร์ป๊อปปูลาร์ ไซน์ หลังอ่านจบ มิตเชลล์ลงมือค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม จนรู้ว่า
แขนกลชีวะ เป็นเทคโนโลยีแขนเทียมไฮเทค ซึ่งคิดค้นโดย "สถาบันฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายชิคาโก" (อาร์ไอซี)

ต้นแบบ แขนกลชีวะ เริ่มทดลองผ่าตัดใช้กับคนจริงๆ ตั้งแต่ปี 2545
โดยมีนายเจสซี ซุลลิแวน ผู้สูญเสียแขนทั้งสองข้างจากอุบัติเหตุไฟฟ้าลัดวงจร
เสนอตัวเป็นอาสาสมัครคนแรกของโลกที่เข้ารับการผ่าตัดผสาน แขนกลชีวะ เข้ากับระบบประสาท

"คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าหรอกว่า การมีอวัยวะครบสมบูรณ์คือโชคลาภที่ดีที่สุด
พอเกิดเหตุต้องเสียแขนขาไปถึงค่อยรู้ตัว...


"เทคโนโลยี แขนชีวะ นี่พูดจริงๆ แล้วก็ทำให้ดิฉันคิดถึงตัวละครคนเหล็ก
ที่คุณอาร์โนลด์ ชวาร์เซเนเกอร์ เล่นในภาพยนตร์เรื่องเทอร์มิเนเตอร์อยู่เหมือนกันค่ะ"

มิตเชลล์ วัย 26 กล่าวกับผู้สื่อข่าวหลายสิบคนที่มาปักหลักในสถาบันอาร์ไอซี นครชิคาโก
เพื่อรอชมการสาธิตประสิทธิภาพ แขนชีวะ รุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งทีมแพทย์ผ่าตัดให้กับเธอ

ดร.ท็อดด์ ไคเค็น ผอ.ศูนย์วิศวกรรมระบบประสาทเพื่อแขนขาเทียมของอาร์ไอซี หัวหอกพัฒนา แขนกลชีวะ
เสริมว่า มิตเชลล์ เป็นคนติดต่อมาที่อาร์ไอซี เมื่อปี 2548 หลังจากอ่านเรื่องราวของนายซุลลิแวน
โดยขอเป็นอาสาสมัครทดลอง แขนชีวะ รุ่นใหม่

เมื่อ ผ่านกระบวนการประเมินผลความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ คณะแพทย์ตัดสินใจติดตั้ง แขนกลชีวะ
เข้ากับไหล่ซ้ายของเธอ เวลาผ่านไปประมาณ 5 เดือน พบว่า
เส้นประสาทสามารถทำงานเข้ากับระบบ "เซ็นเซอร์" ของ แขนกลชีวะ
ช่วยให้มิตเชลล์บีบมือ กำมือ แบบมือ รวมถึงยกแขนขึ้นลงได้

ประวัติศาสตร์โลกต้องบันทึกไว้ ว่า คลอเดีย มิตเชลล์ เป็น "ผู้หญิงชีวะ" (ไบโอนิก วูแมน)
หรือผู้หญิงที่มีอวัยวะทำจากสิ่งประดิษฐ์จักรกล ซึ่งสั่งงานด้วยระบบประสาท คนแรกของโลก!

ดร.ท็อดด์ อธิบายข้อมูลเทคโนโลยี แขนกลชีวะ ว่า แขนเทียมไฮเทคดังกล่าว มีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม

สำหรับ รุ่นก่อนหน้า ติดตั้งมอเตอร์ 3 ตัว แต่รุ่นใหม่ที่ใช้กับมิตเชลล์ ติดมอเตอร์ตรงส่วนแขน 6 ตัว
และมีมอเตอร์อีก 1 ตัวตรงบริเวณหัวไหล่ ช่วยให้ขยับคล่องตัว

สาเหตุที่มิตเชลล์ รวมถึงอาสาสมัครทดลองแขนกลชีวะชาย อีก 3 คนก่อนหน้านี้
ใช้ "สมอง" คิดสั่งให้แขนกลขยับ-เคลื่อนไหวตามความต้องการได้ก็เพราะ แพทย์ได้ผ่าตัดแก้ไข
แยกเอาปลาย "เส้นประสาท" 5 เส้นที่เคยยืดตรงจากหัวไหล่ไปยังแขนออกมา
ต่อมานำเส้นประสาทเหล่านั้นมาผ่าตัดปลูกถ่ายใหม่ ให้ผสานเข้ากับกล้ามเนื้อและผิวหนังบริเวณหน้าอก

จากนั้น แพทย์จะประกบชุดสายไฟและอิเล็กโทรด (ขั้วไฟฟ้า) เข้ากับกล้ามเนื้อที่ถูกปลูกถ่ายเส้นประสาท
พร้อมกับครอบโครงสร้าง แขนกลชีวะ เข้ากับหัวไหล่และแผ่นหลัง

ตามปกติ ต้องใช้เวลา 3-5 เดือน กว่าที่เส้นประสาทใหม่ จะเติบโตเป็นเนื้อเดียวกับผิวหนังกล้ามเนื้อหน้าอก
เมื่อกระบวนการทั้งหมดนี้เสร็จสมบูรณ์ ทันทีที่มิตเชลล์คิดจะยกแขนซ้ายขึ้น...
ชุดอิเล็กโทรด เซ็นเซอร์ และคอมพิวเตอร์ของ แขนกลชีวะ ก็จะได้รับกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ที่สมองส่งมาถึง
เส้นประสาท และทำการ "ประมวลผล" แปลงเป็นสัญญาณสั่งให้มอเตอร์แขนขยับตามรูปแบบที่ตั้งโปรแกรมไว้

มิตเชลล์ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหลังสาธิตใช้ แขนกลชีวะ หยิบสิ่งของขนาดเล็กๆ ตักอาหารเข้าปาก
และเหยียดแขนเข้าออก ว่า ข้อดีของ แขนกลชีวะ ก็คือช่วยบรรเทาความบอบช้ำทางจิตใจให้กับผู้พิการแขนขาด
แม้เทคโนโลยีชนิดนี้ยังอยู่ระหว่างการทดลอง ไม่สมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์

แต่อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้เธอกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น
และในปีหน้า วางแผนจะกลับไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยให้จบ

ปัจจุบัน มิตเชลล์ทำหน้าที่เป็นอาสาสมัคร
คอยออกเดินสายให้กำลังใจ และให้คำปรึกษาแก่ทหารอเมริกันที่ได้รับบาดเจ็บ ต้องเสียแขน-ขา
จากการรบในอัฟกานิสถานและอิรัก

ดร.ท็อดด์ กล่าวว่า ต้นทุนการผลิต แขนกลชีวะ 1 ข้าง ยังสูงกว่า 2.4 ล้านบาท
แต่เมื่อเทียบกับเป้าหมายในการคิดค้นแล้วถือว่าคุ้มค่า เพราะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มทหารที่เสียแขนขา

ในอนาคต คณะนักวิจัยอาร์ไอซีจะพัฒนาเทคโนโลยี ที่ทำให้เซ็นเซอร์ปลายนิ้วแขนกลชีวะ รับรู้ความร้อน-เย็น
เพื่อส่งข้อมูลกลับมายังเส้นประสาท-สมอง และยังมีโครงการประดิษฐ์ "ขากลชีวะ" ด้วยเช่นกัน


ขัอมูลจาก : มติชน
ที่มา : //artsmen.net




 

Create Date : 13 ธันวาคม 2552
0 comments
Last Update : 13 ธันวาคม 2552 16:36:10 น.
Counter : 2045 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.