Big Windup! การ์ตูนที่เหมาะแก่การสร้างคน (1)

คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน โดย วินิทรา นวลละออง



ไม่แน่ใจว่าเพราะเรื่องนี้ไม่มีตีพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือเปล่าค่ะ เพราะเมื่อโพย
50 อันดับหนังสือการ์ตูนยอดขายสูงสุดในญี่ปุ่นประจำปี 2008 ของ Origon
ออกมา ปรากฏว่ามีเรื่องหนึ่งที่ขนาดชื่อยังไม่เคยได้ยิน นั่นคือ Ookiku
Furikabutte หรือชื่อภาษาอังกฤษ Big Windup!
การ์ตูนเบสบอลซึ่งยอดขายเฉพาะสองฉบับนี้ในปี 2008
สูงถึงเกือบหนึ่งล้านเล่ม!


เมื่อค้นหาข้อมูลลึกขึ้นอีกหน่อย
จึงทราบว่า Big Windup! เป็นการ์ตูนที่ได้รับ "ทั้งเงินและกล่อง"
คือนอกจากยอดขายสูงถล่มทลาย ยังได้รับเสียงชื่นชมในทางบวกอย่างล้นหลาม
บทพิสูจน์คุณค่าคือ Big Windup! ได้รับรางวัลกรังปรี Kodansha Manga Award
ประจำปี 2007 ก่อนหน้านั้นในงาน Japan Media Arts Festival ช่วงต้นปี 2007
การ์ตูนเบสบอลเรื่องนี้ได้รับการจัดอันดับอยู่ในหนังสือการ์ตูน 25
เรื่องที่ดีที่สุด นอกจากนั้นในปี 2006 ยังได้รับรางวัล
"การ์ตูนดาวรุ่งยอดเยี่ยม" จาก Tezuka Osamu Culture Awards ครั้งที่ 10
เนื่องจากหลังวางจำหน่าย 7 ฉบับก็สามารถกวาดยอดขายได้มากกว่า 2.5 ล้านเล่ม
หอบรางวัลมาขนาดนี้แต่กลับไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในไทยได้อย่าง
ไรกัน มาทำความรู้จักกันตอนนี้เลยดีกว่าค่ะ


Ookiku Furikabutte
ดั้งเดิมเป็นหนังสือการ์ตูนประพันธ์โดย Asa Higuchi เริ่มวางแผงตั้งแต่ปี
2003 จนถึงปัจจุบันด้วยจำนวน 11 เล่มยังไม่จบ ต่อมาในปี 2007
ได้รับการสร้างเป็นแอนิเมชั่นสำหรับฉายทางโทรทัศน์จำนวน 25 ตอนกับ DVD อีก
1 ตอน แต่เพิ่งจัดทำเป็นภาษาอังกฤษเมื่อกลางปี 2008 โดยใช้ชื่อว่า Big
Windup! "อาสะ ฮิกุจิ "ใช้เวลารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเบสบอลมัธยมปลายกว่า
10 ปีก่อนเขียนเรื่องนี้ และก่อนตีพิมพ์
เธอก็เข้าไปทำงานกับชมรมเบสบอลอยู่กว่าปีเลยค่ะ
ก่อนที่เธอจะกลายมาเป็นนักเขียนที่สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ
เธอเองก็ได้รับแรงบันดาลใจจาก Dokaben การ์ตูนเบสบอลซึ่งตีพิมพ์ในปี 1972
เช่นกัน เธอจึงเป็นหนึ่งในดอกผลของการ์ตูนที่เคยสร้างคนเมื่อกว่า 30
ปีก่อนนั่นเอง


จากการอดตาหลับขับตานอนดูจนจบในหนึ่งวัน ผลสรุปคือ
Big Windup! เป็น "หนึ่งในการ์ตูนเบสบอลมัธยมปลายที่ดีที่สุดตลอดกาล"
อย่างไม่ต้องสงสัยเลยค่ะ


โรงเรียนมัธยมปลายนิชิอุระคือโรงเรียนแห่ง
ใหม่ที่ "มิฮาชิ เรน"
เด็กหนุ่มขี้อายย้ายเข้ามาและสถานที่แรกที่เขาตรงไปคือ "ชมรมเบสบอล"
ซึ่งเพิ่งเปิดชมรมเป็นปีแรกในโรงเรียนแห่งนี้
สมาชิกทุกคนจึงเป็นเด็กมัธยมปลายปี 1 ล้วนๆ เขาสมัครเป็นสมาชิกในตำแหน่ง
"พิชเชอร์" หรือผู้ขว้างลูกซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญและโดดเด่นมากในทีม
(อย่างน้อยก็ในการ์ตูนเบสบอลส่วนใหญ่ที่พระเอกต้องเป็นพิชเชอร์)
สมาชิกทุกคนตื่นเต้นและดีใจเมื่อทราบว่ามิฮาชิเคยเป็น "เอซ"
หรือมือหนึ่งของทีมจากโรงเรียนเก่า แต่เมื่อเขาลองขว้างลูกให้ทุกคนในทีมดู
เหตุผลที่ทำให้เขาย้ายโรงเรียนและหนีความกลัวมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่
โรงเรียนแห่งนี้ก็ปรากฏ


นั่นคือบุคลิกค่ะ
มิฮาชิเป็นเด็กหนุ่มขี้อายที่ไม่กล้าแม้แต่จะสบตาคู่สนทนา
อารมณ์อ่อนไหวและมักโทษตัวเองเสมอ
เพียงแค่ความผิดหวังเล็กน้อยเขาก็สามารถร้องไห้เป็นเผาเต่าได้และสิ่งที่เขา
ขาดมากที่สุดคือ "ความมั่นใจ"
ซึ่งถูกทำลายป่นปี้จากชมรมเบสบอลโรงเรียนเก่าเพราะเกือบทุกคนรังเกียจเขาและ
คิดว่าเขาได้เป็นเอซของทีมทั้งที่ขว้างลูกได้ช้ามากเพราะมิฮาชิเป็นหลานเจ้า
ของโรงเรียน


"อาเบะ ทาคายะ" ซึ่งอยู่ในตำแหน่ง "แคชเชอร์"
หรือคนรับลูกมองเห็นความสามารถของมิฮาชิอย่างคาดไม่ถึง
แม้มิฮาชิขว้างลูกช้ากว่ามาตรฐานนักเบสบอลมัธยมปลายทั่วไป
แต่สามารถควบคุมทิศทางและใช้ลูกเทคนิคเลี้ยวไปมาอย่างพิสดารได้หลากหลาย
อาเบะมีความเชื่อว่าการ "ขว้างเร็ว" เกิดจากพรสวรรค์ ส่วนการ
"ขว้างเทคนิค" เกิดจากการฝึกฝนอย่างหนัก
ดังนั้นมิฮาชิคือพิชเชอร์ที่ไม่มีพรสวรรค์แต่เก่งขึ้นได้ด้วยความพยายาม
เพียงแต่บุคลิกที่สื่อสารด้วยคำพูดได้ลำบากและความมั่นใจติดลบทำให้ทุกคนตี
ความว่าเขาคือพิชเชอร์ที่แย่ที่สุด


ความน่าทึ่งของ Ookiku
Furikabutte อยู่ที่การนำเสนอเบสบอลมัธยมปลายด้วยภาพที่ธรรมดาที่สุด
ไม่มีฮีโร่ออกมาโชว์เทพให้เด็กๆ
หลงใหลและใฝ่ฝันอยากเป็นนักเบสบอลดังเช่นสมัยเรื่องกัปตันสึบาสะสร้างแรง
บันดาลใจให้นักฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นมากกว่าครึ่งทีมมาแล้ว
ไม่มีความสัมพันธ์ของเหล่าเพื่อนและชีวิตวัยรุ่นที่ทำให้ซาบซึ้งและยิ้มได้
ทั้งน้ำตา เกือบทั้งหมดคือเรื่องของ "เบสบอลล้วนๆ"
และเป็นตำราเล่มใหญ่ที่พ่อแม่สามารถยื่นให้ลูกดูแล้วบอกว่า
"ถ้าอยากเป็นนักเบสบอลมัธยมปลายก็เรียนรู้จากเรื่องนี้" ได้เลยค่ะ


การ์ตูน
ที่เป็นพันธมิตรของทั้งนักอ่าน ผู้ปกครอง สำนักพิมพ์
และกระทรวงวัฒนธรรมมีเนื้อหาในรายละเอียดอย่างไร
และทำไมเรื่องนี้จึงสร้างคนได้ สัปดาห์หน้ามาต่อค่ะ

//www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01sun03180152§ionid=0120&day=2009-01-18





Free TextEditor



Create Date : 18 มกราคม 2552
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2556 17:03:37 น.
Counter : 1356 Pageviews.

2 comment
Cobra The Animation 30 ปีแห่งความคลาสสิคพร้อมเครื่องหมาย 18+

คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน

โดย วินิทรา นวลละออง




เป็น
การกลับมาที่ตื่นตาตื่นใจเหลือเกินค่ะ สำหรับนักอ่านการ์ตูนที่อายุเกิน 30
ปี รับรองว่าไม่มีใครไม่รู้จักชื่อ "คอบร้า เห่าไฟสายฟ้า"
และปืนพลังจิตไซโคกันที่มือซ้ายของเขา
นอกเหนือจากการเป็นสลัดอวกาศฝีมือเยี่ยมแล้ว
ความเจ้าชู้ประตูดินและรูปหล่อขี้เล่นของคอบร้ายังเป็นที่กล่าวขานจนกลาย
เป็นตำนานสายลับนักรักแห่งยุคเรืองรองของการ์ตูนไซไฟ และปี 2008 ก็ครบรอบ
30 ปีของคอบร้าฉบับหนังสือการ์ตูนซึ่งเขียนโดยบูอิจิ เทราซาว่าเมื่อปี
1978 โปรเจกต์ย้อนยุคของคอบร้าจึงยิ่งใหญ่และไม่ผิดหวังจริงๆ ค่ะ


โป
รเจ็คต์ Cobra The Animation ฉลอง 30 ปีมีการแถลงข่าวเป็นระยะตั้งแต่ต้นปี
2008
โดยแรกสุดมีข่าวว่าฮอลลีวู้ดจะนำคอบร้าไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดยไม่อิงเนื้อ
เรื่องเดิม ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้ดำเนินการไปถึงขั้นใดแล้ว
แต่ระหว่างรอก็มีแอนิเมชั่นปล่อยออกมาให้แฟนๆ หายคิดถึงค่ะ เริ่มต้นจาก
The Psycho Gun ซึ่งจะเป็นแอนิเมชันชุดแรกสุดของเทศกาลนี้ ประกอบด้วย OAV
(Original Animation Video คือจำหน่ายตามร้านโดยไม่ฉายทางโทรทัศน์) จำนวน
4 ตอน วางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 29
เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาและมีกำหนดออกจำหน่ายเดือนเว้นเดือนจนกว่าจะครบ
เปิดตัวครั้งแรก 28 ส.ค.51 ก็ทำยอดขายติดอันดับ 10 ในท็อปเท็นชาร์ต DVD
การ์ตูนในญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว นับว่ากระแสแรงใช้ได้
โปรเจ็คต์วิดีโอต่อมาคือ Time Drive และปิดท้ายด้วยแอนิเมชั่น 13
ตอนจบฉายทางโทรทัศน์ Rokunin no Yoshi (The Six Heroes)
ซึ่งจะเริ่มฉายในฤดูใบไม้ผลิปี 2009
นอกจากนั้นเมื่อกลางปีที่ผ่านมาทางค่าย Urban Vision
ก็ปล่อยคอบร้าดั้งเดิมฉบับจัดทำเมื่อปี 1982
ออกจำหน่ายในอเมริกาเหนือเพื่อสร้างกระแสไปแล้วค่ะ


ย้อนกลับมาที่
The Psycho Gun ซึ่งเพิ่งได้ดูไปแค่ 2 ตอนแต่ก็น่าประทับใจอย่างเหลือเชื่อ
งานนี้ต้องยกนิ้วให้ผู้กำกับโอซามุ เดซากิ
ซึ่งเคยกำกับคอบร้าฉบับดั้งเดิมมาก่อนและผ่านงานย้อนยุคอย่าง Golgo13 หรือ
Black Jack มาแล้ว
ในอดีตเขายังกำกับแอนิเมชันคลาสสิคอย่างกุหลาบแวร์ซายส์และบรรดาการ์ตูนที่
ถือเป็นตัวแทนของยุค 70s ยุคทองของการ์ตูนมากมาย
ผลงานของเขาจึงกรุ่นด้วยกลิ่นเรโทรที่ทรงคุณค่าสำหรับแฟนการ์ตูนยุคโบราณค่ะ
(ยิ่งพูดก็ยิ่งรู้สึกว่าเราแก่จริงๆ)


เรื่องเริ่มขึ้นจาก Gipsy Doc
วายร้ายแห่งอวกาศบุกเข้าไปในพิพิธภัณฑ์และตามล่าตัวโปรเฟสเซอร์ยูโทเปีย
มอร์
สาวงามผู้กำลังวิจัยความลับของกำเนิดโลกผ่านทางฟอสซิลแอมโมไนท์ยุคดึกดำ
บรรพ์ แต่โชคดีที่คอบบร้าผ่านไปขโมยอัญมณีแถวนั้นพอดี
จึงช่วยโปรเฟสเซอร์สาวงามออกมาโดยไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรด้วยเลย
เห็นคนสวยก็ต้องช่วยไว้ก่อน...นั่นก็ส่วนหนึ่ง
แต่รู้สึกว่าวายร้ายที่บุกไปหาโปรเฟสเซอร์จะเป็นโจทก์เก่าของคอบร้าเสียด้วย
ค่ะ คุ้นๆ ว่าจะอยู่ในกลุ่มโจรสลัดกิลด์ แต่ก็นานจนจำแทบไม่ได้แล้วค่ะ


"
เลดี้ อาร์มารอยด์"
แอนดรอยส์สาวสหายคู่ใจของคอบบร้าสะกิดใจกับความสำคัญของหอยทากโบราณว่าเหตุ
ใดจึงเป็นที่ต้องการมากขนาดนั้น
ทั้งคู่จึงติดตามโปรเฟสเซอร์ยูโทเปียไปยังดาวอังคารและเข้าร่วมปฏิบัติการ
ตามหาหอยทากโบราณเพื่อค้นหาความลับนี้ค่ะ ที่นั่นเอง
ศัตรูสุดคลาสสิคตลอดการของคอบร้าก็ปรากฏตัวขึ้น เขาคือ "คริสตัล บอย"
ชายหนุ่มที่มีโครงกระดูกทองคำและผิวกายเป็นคริสตัล
เห็นปุ๊บทราบทันทีค่ะว่าพลังในการออกแบบของบุอิจิ
เทราซาว่าถือเป็นระดับเกจิในวงการการ์ตูนไซไฟของญี่ปุ่นแน่นอน
ไม่แน่ใจว่าคริสตัล บอยมาปฏิบัติการล่าหอยทากด้วยหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ
คือทั้งคอบร้าและโปรเฟสเซอร์ยูโทเปียก็ต้องหนีกันอีกรอบ


เป็นผลงาน
ที่ชวนให้ระลึกถึงมากเลยค่ะ ความสามารถของคอมพิวเตอร์กราฟิค 3D ทำให้เมื่อ
30 ปีผ่านไป
ผลงานชิ้นนี้ได้ถูกสร้างให้ดีใกล้เคียงกับจินตนาการเข้าไปทุกขณะ
แต่สาเหตุที่ควรห้อยป้าย 18+ ไว้เพื่อป้องกันเด็กเล็กๆ
เข้ามาดูเนื่องจากสาวงามในเรื่องนี้แต่งกายด้วยชุดที่เหมือนใช้ผ้าจากผ้า
เช็ดหน้าผืนเดียวมาตัดค่ะ
แฮ่ม...ที่จริงก็ดูเจริญตาเจริญใจกับก้นและหน้าอกงามๆ หรอกนะคะ
แต่เยาวชนไม่ต้องรีบสร้างจินตนาการจากแรงดึงดูดทางเพศเหล่านี้นักก็ได้


Cobra
คืองาน Sexy sci-fi ที่จงใจขายหนุ่มใหญ่นะคะ
กลุ่มสิทธิสตรีดูแล้วคงของขึ้นเนื่องจากผู้หญิงในเรื่องถูกใช้เป็น
material หรือวัสดุอุปกรณ์เสียมากกว่า
สิ่งที่ทำให้ผู้ชายสยบได้คือความสวยและมีเสน่ห์
ในระหว่างผู้หญิงที่ดีและได้รับยกย่อยจากความสามารถอย่างแท้จริงกลับกลาย
เป็นแอนดรอยด์อย่างเลดี้ซึ่งไม่ใช่มนุษย์


อย่างไรก็ตาม Cobra
คือผลงานของยุคสมัยที่อยู่เหนือกาลเวลาและเป็นแรงบันดาลใจให้ชนรุ่นหลัง
สร้างงานที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ขึ้นมาเพื่อเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งเช่น
กันค่ะ


//www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01sun04110152§ionid=0120&day=2009-01-11


Free TextEditor



Create Date : 11 มกราคม 2552
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2556 17:03:31 น.
Counter : 2020 Pageviews.

1 comment
รักอุ่นๆ บนรถเมล์สีชมพู
รักอุ่นๆ บนรถเมล์สีชมพู

คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน

โดย วินิทรา นวลละออง



จำ ได้ว่าสมัยเรียนชั้น ม.5 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งตั้งอยู่กลางเมือง ความที่ขยันขันแข็งอยากเอ็นทรานซ์ได้คณะที่ต้องการก็เลยต้องอดทนเรียนพิเศษ หลังเลิกเรียนจนถึงเกือบหกโมงเย็น หลังจากนั้นก็นั่งรถเมล์กลับบ้าน ถึงบ้านก็ปาไปเกือบสองทุ่ม เหนื่อยค่ะแต่รู้สึกสนุกที่ได้มองผ่านหน้าต่างรถเมล์และดูคนเดินไปเดินมาริม ทาง บางทีก็มองเพื่อนร่วมทางบนรถว่าเขาทำอะไรกันบ้าง บางวันก็เจอคนดีๆ ช่วยถือกระเป๋าให้ บางวันก็หวาดเสียวเวลามีผู้ชายท่าทางเมาๆ ขึ้นมาบนรถ เป็นช่วงเวลาที่สนุกกับรถเมล์ก่อนจะห่างไปอีกเป็นสิบปี

วันนี้มา เรียนอยู่ต่างประเทศเลยต้องกลับมาใช้รถสาธารณะอีกครั้ง แต่ใช้รถไฟใต้ดินเป็นหลักนะคะ ไม่ค่อยสนุกหรอกค่ะที่ต้องอยู่บนรถไฟร้อนๆ แล้วออกมาเจออากาศหนาวๆ ข้างนอก แต่ถ้าจำเป็นต้องขึ้นไปเรียนทุกวัน การมองหาสิ่งดีๆ บนรถไฟน่าจะทำให้ชีวิตมีความสุขกว่านั่งเซ็ง ซึ่ง "รักหลากสีกับรถเมล์สายรัก" ช่วยให้สายตามองหาเรื่องเล็กๆ ชวนให้หัวใจกระชุ่มกระชวยได้ดีขึ้นค่ะ

"ชิโฮะ" เด็กสาววัยมัธยมเพิ่งย้ายจากโตเกียวมาเรียนในต่างจังหวัด ทั้งที่เธอเมารถแต่ก็จำเป็นต้องขึ้นรถเมล์ไปเรียน ดังนั้น เธอจึงรู้สึกเบื่อทุกครั้งที่ต้องขึ้นรถแล้วนั่งพะอืดพะอมไปเรื่อย แต่สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เธอลืมอาการคลื่นไส้ไปได้คือเด็กหนุ่มต่างโรงเรียน ที่ขี่จักรยานไปเรียนในเวลาเดียวกับที่เธอขึ้นรถ ชิโฮะแอบมองเขาทุกวันและคิดว่าเป็นสิ่งดีๆ ตอนเริ่มต้นวันใหม่ที่ทำให้หัวใจของเธอเป็นสีชมพู

โชคช่วยเมื่อวัน หนึ่งรถเมล์เบรกกะทันหันจนชิโฮะหัวกระแทกกระจก เด็กหนุ่มขี่จักรยานเจ้าเก่าจึงหยุดและหันมามองรถเมล์ เขาสบตาเข้ากับชิโฮะและแอบขำในความเปิ่นเป๋อของเธอ นั่นคือครั้งแรกที่ได้ทำความรู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการ

ในวันฝนตก รถเมล์แน่นมากกว่าทุกวันจนชิโฮะอดนั่งริมหน้าต่างเพื่อส่องหนุ่มน้อยเหมือน เคย โชคร้ายกลับกลายเป็นโชคดีเพราะหนุ่มจักรยานก็ขึ้นรถเมล์มาด้วย เกือบจะได้ทำความรู้จักอยู่แล้วเชียว วิญญาณละครไทยเข้าสิงคนเขียนแน่ๆ ค่ะ เพราะเพื่อนหนุ่มน้อยจักรยานเรียกให้ไปนั่งด้วยกัน ระหว่างคุยเพื่อนก็ชวนให้นินทาคนเสียนี่ แล้วก็ไปนินทาว่าหนุ่มจักรยาน "มัตซึน" ไม่ชอบผู้หญิงที่พูดสำเนียงโตเกียวเนื่องจากเคยไปทัศนศึกษาที่โตเกียวแล้ว โดนดูถูกว่าเขาพูดสำเนียงบ้านนอก

ชิโฮะก็ดันได้ยินเสียงนินทาเสีย ด้วยค่ะ! แล้วมัตซึนค่อยมาทราบทีหลังว่าชิโฮะก็เพิ่งมาจากโตเกียวเสียด้วย อกหักทั้งที่ยังไม่ทันจีบอย่างนี้ต้องเรียกแห้วค่ะ น้ำเน่ามาก แต่ชอบจังเลยค่ะ

สุดท้ายก็ตามสไตล์การ์ตูนโรแมนซ์ทั่วไป มัตซึนตามมาขอโทษและปรับความเข้าใจ กลายเป็นความรักและคบกันเป็นแฟนในที่สุด

เป็น เรื่องที่ธรรมดาและพล็อตเก่าแก่มากใช่ไหมคะ แต่การอ่านหนังสือหรือการ์ตูนที่เล่าเรื่องราวที่เราคุ้นเคยหรือรู้สึกอ่าน แล้วเป็นสุขก็มีประโยชน์ในแง่เป็นงานอดิเรกเพื่อการผ่อนคลาย ไม่ว่าจะอ่านกี่รอบก็รู้สึกสบายใจได้ เหมาะกับการอ่านตอนเครียดๆ หรือชีวิตห่อเหี่ยวเป็นที่สุดค่ะ

ในเล่มนี้ยังมีความรักกุ๊กกิ๊กที่ เกี่ยวข้องกับรถเมล์อีกหลายเรื่องนะคะ อ่านแล้วก็รู้สึกว่าชีวิตน่าเบื่อในรถไฟใต้ดินก็ไม่ได้แย่เสียทีเดียวนัก ได้เห็นคนหลากหลายเชื้อชาติแต่งกลายแปลกตาขึ้นรถมาด้วยอารมณ์ต่างๆ แล้วก็สนุกค่ะ แถมก่อนไปเรียนหนังสือต้องเดินข้ามลอนดอนบริดจ์ไปขึ้นรถไฟด้วย อากาศยามเช้ากับสะพานสวยๆ ที่อยู่ใกล้ๆ ลอนดอนบริดจ์คือวิวร้อยล้านที่นักท่องเที่ยวหลายคนฝันจะมาเห็น แต่เราได้เห็นทุกวัน! ถ้าไม่เรียกว่าโชคดีก็ไม่ทราบจะเรียกอะไรแล้วค่ะ

การ มองหาความสุขเล็กๆ ในที่ทำงานหรือสถานที่เรียนถือเป็นหนึ่งในข้อปฏิบัติของการใช้ชีวิตอย่าง เป็นสุขนะคะ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนมุมมองก็ทำให้โลกแห่งความเป็นจริงกลายเป็น "โลกแห่งความเป็นจริงที่สวยงาม" ได้แล้ว

//www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01sun03240851§ionid=0120&day=2008-08-24



Create Date : 24 สิงหาคม 2551
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2556 17:03:23 น.
Counter : 958 Pageviews.

0 comment
"โอเดตต์"ความเป็นมนุษย์เริ่มที่หัวใจ
"โอเดตต์"ความเป็นมนุษย์เริ่มที่หัวใจ

คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน

โดย วินิทรา นวลละออง



จาก ประสบการณ์ในการพูดคุยอย่างจริงจังกับคนที่ไม่ได้ชอบอ่านการ์ตูน ความเห็นของคนเหล่านี้ต่อคนที่อ่านการ์ตูนมีเป็น 2 แบบค่ะ แบบแรกออกในเชิงบวกสักหน่อย คือ มองว่าคนที่อ่านการ์ตูนน่าจะเป็นคนอารมณ์ดีและไม่ซีเรียสกับชีวิตมาก กับแบบที่สอง คิดว่าคนที่อ่านการ์ตูน (ในระดับสะสมคือเกินกว่าอ่านเอาสนุกทั่วไป) เป็นคนไม่รู้จักโต มีความคิดเป็นเด็ก ไม่ยอมเผชิญหน้ากับความเป็นจริงและหลงใหลในโลกของจินตนาการ

ในฐานะคน อ่านการ์ตูนกลับรู้สึกว่าทั้งสองความเห็นมาจากสายตาของคนที่ไม่ได้อ่าน การ์ตูนจริงๆ ด้วยค่ะ ความจริงเป็นอย่างไรไม่สำคัญ แต่สายตาจากคนในสังคมที่มองก็ตัดสินไปแล้วให้คนที่เดินถือการ์ตูนอ่านในไทย กลายเป็นประชากรอีกชนชั้นหนึ่ง ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจนี้น่าจะคล้ายๆ กับที่ "โอเดตต์" หุ่นยนต์แอนดรอยด์สาวรู้สึก

"โยชิซาว่า โอเดตต์" คือหุ่นยนต์ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ ผลิตโดยศาสตราจารย์โยชิซาว่า อัจฉริยะด้านหุ่นยนต์ซึ่งอายุยังน้อยและเฮฮาปาร์ตี้กับการสร้างหุ่นให้ใกล้ เคียงกับมนุษย์มากที่สุด สิ่งที่ยังขาดไปสำหรับโอเดตต์คือ "ความเป็นมนุษย์" หมายถึงความรู้สึกสุขทุกข์สนุกสนาน โอเดตต์จึงอยากเข้าโรงเรียนมัธยมปลายเพื่อหาเพื่อนและเรียนรู้สังคมมนุษย์ จากเหล่าเพื่อนสาวของเธอโดยปิดเรื่องที่เธอเป็นหุ่นยนต์แรงช้างไว้เป็นความ ลับ

ยิ่งได้อยู่ร่วมกับมนุษย์ โอเดตต์ก็ยิ่งรัก "ความเป็นตัวเอง" น้อยลงและอยากจะเหมือนเพื่อนให้มากขึ้น พัฒนาการทางจิตใจขั้นนี้เหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไปเลยค่ะ วัยมัธยมเป็นวัยที่สังคมเพื่อนมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง อย่างน้อยเขาก็ใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียนมากกว่าอยู่กับครอบครัวเยอะ การยอมรับจากเพื่อนสำคัญกว่าพ่อแม่ด้วยเหตุผลเดียวกัน และการที่ตัวเองแตกต่างจากคนอื่นถือเป็นเรื่องน่าอับอายมากกว่าภูมิใจ จนกว่าจะค้นหาว่าแท้จริงตัวเขาเองก็มีเอกลักษณ์ คือ มีดีในแบบของตัวเองนั่นล่ะค่ะถึงจะได้เข้าวัยผู้ใหญ่เสียที

โอเดตต์ เข้าใจตัวเองอย่างแจ่มแจ้งอย่างรวดเร็วเพียงแค่จบตอนแรกค่ะ เธอขอร้องให้ศาสตราจารย์สร้างความรู้สึก "อร่อย" ให้เธอเมื่อกินอาหารทั้งที่อาหารของเธอเพียงแค่ชาร์ตไฟฟ้าก็เพียงพอแล้ว ขอร้องให้ทำน้ำตาที่ไหลออกมาตอนรู้สึกเสียใจ แน่นอนว่าเธอมีน้ำตาไว้ล้างฝุ่นที่ตาแต่ความรู้สึกเสียใจคืออะไรก็ไม่รู้ และขอร้องให้ลดพละกำลังช้างสิบเชือกของเธอเท่ากับมนุษย์คนอื่นๆ สุดท้ายศาสตราจารย์ก็ใจอ่อนยอมทำให้จนโอเดตต์ใกล้เคียงกับมนุษย์ธรรมดา

แต่ กลับมีเหตุการณ์ที่ทำให้เธอนึกเสียใจในการทิ้งเอกลักษณ์ของตัวเองไปค่ะ เธอกับเพื่อนตกลงไปในบ่อน้ำแห้งขอดโดยไม่ได้ตั้งใจ โชคไม่ดีที่เพื่อนสาวมีอาการหอบหืดกำเริบและกำลังจะเสียชีวิต แม้โอเดตต์จะพยายามปีนขึ้นไปจากบ่อก็ทำไม่ได้เพราะเธอไม่ใช่หุ่นยนต์แรงช้าง อีกแล้ว เธอเป็นเพียงเด็กสาวธรรมดาและกำลังจะปล่อยให้เพื่อนตาย

ผู้ วาดยังไม่ทำท่อน้ำตาแตกตั้งแต่ต้นเรื่องค่ะ โอเดตต์และสหายรักรอดทั้งคู่ แต่สิ่งที่น่าซาบซึ้งยิ่งกว่าการรอดตายคือโอเดตต์เข้าใจแล้วว่าเธอก็เป็นเธอ มีดีที่ความเป็นตัวเธอเอง ซึ่งแม้จะต่างจากคนอื่นอยู่หลายขุมเพราะเป็นหุ่นยนต์แต่เธอก็มีสิ่งที่ มนุษย์ไม่มีมากมาย

เรื่องนี้อ่านได้เรื่อยๆ แต่กลับดึงดูดให้วางมือไม่ลงค่ะ เป็นเรื่องเล่าเรียบง่ายของประชากรอีกชนชั้นหนึ่งซึ่งถูกมองว่าต่างจาก มนุษย์ทั่วไปทั้งที่ภายนอกก็เหมือนชาวบ้าน ให้อารมณ์คล้ายนักอ่านการ์ตูนหลายคนที่หากหน้าตาเลยวัยรุ่นไปแล้วแต่หยิบ การ์ตูนขึ้นมาอ่านเมื่อไร ก็จะถูกมองว่าเป็นประชากรอีกประเภทหนึ่งและถูกตัดสินว่าเป็นคนอย่างนู้น อย่างนี้ไปทันที การค้นหาความเป็นมนุษย์ของหุ่นยนต์อย่างโอเดตต์จึงอาจเปรียบได้กับการค้นหา ความภูมิใจในตัวเองของนักอ่านการ์ตูนด้วยค่ะ วันใดที่ภูมิใจว่าตัวเองชอบอ่านการ์ตูน วันนั้นคือวันที่เริ่มก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่แล้ว

แต่ก็ต้องดู ความเหมาะสมด้วยนะคะ! ก่อนที่โอเดตต์จะเผยบรรดาสายไฟและแผงวงจรของตัวเองต่อหน้าเพื่อน เธอขอร้องให้เพื่อนหลับตาเสียก่อนเพราะเธอไม่มีเวลามากพอจะอธิบายที่มาที่ไป เช่นเดียวกับจิตแพทย์ที่ชอบอ่านการ์ตูนคนนี้ แม้จะย่องไปร้านการ์ตูนและซื้ออย่างสง่างามแต่ก็จะไม่นั่งอ่านการ์ตูนตามที่ สาธารณะค่ะ

ไม่ได้อยากปิดบังแต่ก็ไม่ได้อยากป่าวประกาศ ความภูมิใจในตัวเองต้องสมดุลกับความเหมาะสมของการเป็นส่วนหนึ่งในสังคมด้วย ซึ่งโอเดตต์นำเสนอการทดลองหาจุดสมดุลนี้ได้อย่างสนุกเลยล่ะค่ะ

//www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01sun04100851&day=2008-08-10§ionid=0120



Create Date : 10 สิงหาคม 2551
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2556 17:03:17 น.
Counter : 1125 Pageviews.

1 comment
Tokyo Alice ฝันอันสูงสุดของนักช็อป
Tokyo Alice ฝันอันสูงสุดของนักช็อป

คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน

โดย วินิทรา นวลละออง



" ช็อปปิ้ง" หมายถึงการซื้อของในความคิดของคนทั่วๆ ไป แต่สำหรับบางคน การช็อปปิ้งเป็นมากกว่าแค่ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค แต่มันคือ "พิธีกรรม" ที่ส่งผลทางจิตใจในหลายเรื่อง เช่น ผ่อนคลายความเครียด สนุกสนานเฮฮาเหมือนเที่ยวสวนสนุก หรืออาจจะเป็นเป้าหมายในชีวิตเพื่อกระตุ้นให้อดทนสู้ทำงานอย่างมุ่งมั่นโดย หวังว่าสักวันจะเก็บเงินได้เพียงพอที่จะซื้อของที่หมายปอง ถ้าเห็นคนใกล้ตัวบ้าช็อปปิ้งแล้วรู้สึกหงุดหงิด ลองอ่าน "โตเกียว อลิซ" ดูนะคะ รับรองว่าจะหงุดหงิดน้อยลง (เพราะไม่อยากเชื่อว่าจะมีคนบ้าช็อปได้ขนาดนี้)

"อาริสุกาวะ ฟู" นางเอกของเรื่องคือเด็กสาวทำงานออฟฟิศธรรมดาที่นับถือการช็อปปิ้งเป็นลัทธิ ประจำใจ หลายคนอาจใช้ความสงบ ความดี หรือบุคคลที่นับถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว แต่สำหรับฟูแล้ว เธอปรารถนาเพียงการช็อปปิ้ง ขอให้ได้ซื้อของเถอะ สิ่งร้ายๆ ก็จะถูกปัดเป่าให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

ปัญหาที่เธอมักจะพบ เป็นประจำคือตัวเลขในบิลบัตรเครดิตปลายเดือนค่ะ เพราะทั้งที่คิดว่าจะประหยัดเงินอดมื้อกินมื้อเพื่อสอยกระเป๋าชาแนลรุ่นคัม บอนไลน์ (Cambon line) สีชมพูน่ารักมานอนกอด (เธอคิดจะเอามากอดบนเตียงจริงๆ) แต่พอเผลอเห็นข้าวของที่ลดราคาตามห้างทำตาระยิบระยับแล้วขอไปอยู่ด้วย เธอก็ใจอ่อนซื้อมาจนค่าใช้จ่ายเกือบติดลบทุกเดือน แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ลำบากที่สุดแต่ฟูก็ไม่เคยเข็ด เธอยังคงช็อปต่อไปและมุ่งมั่นฝันถึงคัมบอนไลน์ทุกคืน

ในที่สุดวันที่ ต้องการก็มาถึง ฟูชวนเพื่อนสาวไปห้างสรรพสินค้าด้วยกันเพื่อซื้อคัมบอนไลน์ให้ได้ เธอถึงขนาดต้องเอาที่ปิดตามาปิดไว้เพื่อไม่ให้เผลอสบสายตาออดอ้อนจากบรรดา สินค้าที่เรียงรายอยู่ก่อนถึงเคานท์เตอร์กระเป๋าชาแนล (ขนาดนั้นเลยนะ) แม้จะเตรียมการอย่างดี แต่ช่วงลดถล่มราคาของบาร์นนี่ส์ก็ทำให้ฟูและเพื่อนขาดสติ ช็อปกระจายจนสิ้นเนื้อประดาตัวและต้องพลาดหวังจากชาแนลสุดรักอีกครั้งค่ะ

อ่าน แล้วก็ตลกทั้งฟูและเพื่อนของเธอค่ะ ลองคิดเล่นๆ ดูว่าถ้าฟูชอบชาแนลมาก อย่างนี้ไปทำงานเป็นพนักงานขายกระเป๋าชาแนลเลยไม่ดีกว่าเหรอ

คำ ตอบอยู่ในตอนถัดไปไม่กี่ตอนค่ะ เมื่อฟูบ้าช็อปปิ้งอีกครั้งและซื้อช็อกโกแลตมามากจนกินไปถึงชาติหน้าก็ไม่ หมด เธอจึงนำมาจัดเป็นดิสเพลย์แล้วยกให้หัวหน้างานของเธอค่ะ เดาว่าเป็นการถ่ายเทสต๊อคสำหรับนักช็อปเพื่อเตรียมพื้นที่ให้ซื้อของมาเพิ่ม อีกได้ ฟูมอบให้หัวหน้าในวันวาเลนไทน์โดยไม่คิดอะไรแต่รู้สึกว่าหัวหน้าจะคิดค่ะ เขาเห็นรูปกระเป๋าชาแนลบนโต๊ะทำงานของฟูและทราบว่าเป็นสิ่งที่เธออยากได้ ก็เลยซื้อมาให้เป็นของขวัญขอบคุณซะเลย

อ่านถึงตรงนี้แล้ววี้ดวิ้วใน ใจค่ะ คิดว่าฟูคงดีใจกรี๊ดกร๊าดที่ได้ของที่ต้องการแน่นอน แต่...ไม่ใช่อย่างนั้นเลยค่ะ! หัวหน้าไม่เข้าใจถึงวิญญาณนักช็อป! สิ่งที่เธอต้องการไม่ใช่กระเป๋าชาแนล แต่เป็นความรู้สึกที่ได้เก็บเงินและเฝ้ามองอยู่ทุกวัน จนวันที่เงินถึงก็เดินไปซื้อมานอนกอดต่างหาก! ของฟรีที่มีคนยื่นให้มันไร้ค่าสิ้นดี ส่งผลให้ฟูรับกระเป๋ามาและวางไว้ห่างๆ ด้วยความเสียใจ

แม้จะไม่ค่อย เข้าใจสิงห์นักช็อปเท่าไรแต่ก็เห็นใจฟูค่ะ ศรัทธาของคนเราตีความด้วยสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมเข้าใจไม่ได้ทั้งหมดหรอก แต่ก็ยังงงอยู่ดี งงได้สองวันก็บรรลุเลยค่ะ เมื่อฝากเพื่อนซื้อเครื่องสำอางในร้าน duty free สนามบินเพราะถูกกว่าในห้างสรรพสินค้า เพื่อนก็ใจดีน่ารักมากค่ะ ซื้อแล้วส่งไปรษณีย์มาให้โดยคิดแค่ค่าสินค้ากับค่าส่ง ไม่คิดค่าเหนื่อยหรือค่าแรงแม้แต่นิดเดียว ทีแรกนึกว่าเขาคงเกรงใจเรา แต่ไม่ใช่ค่ะ เธอบอกว่า...

"มีอีกก็ฝากอีกได้นะ ถ้าไม่รู้ราคาก็ถามได้ เรามีบินบ่อยๆ (เป็นแอร์ฯ น่ะค่ะ) รับรองไม่คิดค่าแรง เพราะเราชอบช็อปปิ้งน่ะ"

สรุป ว่าเธอชอบความรู้สึกที่ได้เดินดูสินค้า เปรียบเทียบ ตัดสินใจ จ่ายตังค์ (ถ้าจ่ายน้อยจะยิ่งดี หรือเพื่อนจ่ายแต่เราขอไปเดินช่วยเลือกก็จะดีมาก) หลังจากซื้อแล้ว ถ้าเป็นของชอบก็อาจจะเอากลับมากอด แต่ถ้าเฉยๆ อาจจะไม่ใช้ไม่แตะเลยก็ได้ค่ะ นี่น่ะหรือ...ลัทธิช็อปปิ้ง

คงต้องลอง ศึกษาสัจธรรมนักช็อปจากการ์ตูนเรื่องนี้อีกซักหน่อยค่ะ แค่ทุกวันนี้ช็อปการ์ตูนเดือนละหลายพันบาทก็แทบต้องกินแกลบแทนข้าวอยู่แล้ว อย่าต้องให้ช็อปปิ้งขึ้นสมองแบบสาวฟูเลยค่ะ งานนี้กระทั่งแกลบอาจจะไม่มีให้กินก็ได้

//www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01sun03030851&day=2008-08-03§ionid=0120



Create Date : 03 สิงหาคม 2551
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2556 17:03:12 น.
Counter : 1205 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend