Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มีนาคม 2568
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
20 มีนาคม 2568

บึงบอระเพ็ด : เป็ดเปียหน้าเหลือง




ไม่ได้อยู่ในรายชื่อนกที่คาดหวังในทริปนี้ ไกด์อาจจะส่องๆ ไปเจอ
ก็เลยเรียกไปดู โดยบอกว่า ให้มองหาเป็ดสีส้มๆ
ขนาดในสโคปยังเดายาก เพราะว่าตัวเล็กและอยู่ไกลกว่าห่านอีก
สารภาพเลยว่า ไม่เห็น แต่สิ่งที่ต้องทำคือสุ่มถ่ายตรงที่ชี้ๆ กันไปก่อน
  
มาเปิดดูภาพในคอม รูปห่านว่าแย่ ภาพนี้กลับแย่สุดๆ
กว่าจะแคะออกมาได้ ต้องอาศัยจินตนาการเป็นอย่างสูง
แต่สำหรับเรา เป็ดตัวนี้มีเรื่องราวที่ยาวนาน ย้อนกลับไปได้หลายสิบปี
พอได้ตัวนี้มา บอกเลยว่า คุ้มค่ากับการเดินทางมาทริปนี้แล้ว
 
เพราะเป็นนกหายากตัวแรก ที่เราเจอในการดูนก 
จึงเป็นนกตัวเดียวที่ชอบเรียกชื่อภาษาอังกฤษ เพราะจำได้ขึ้นใจ
ในขณะที่ชื่อภาษาไทยนั้นจำยากมาก 
เป็ดเปียหน้าเหลือง

โชคดีที่วันนี้เจอตัวผู้ เพราะหากเป็นตัวเมีย ในระยะทางขนาดนี้
คงยากที่ไกด์จะหาเจอ พอเราเล่าว่า เคยเห็นเป็ดตัวนี้ที่เป็นตัวเมีย
ไกด์ยังถามเลย รู้ได้อย่างไรว่าเป็น
Baikal teal มาๆ เราจะเล่าให้ฟัง

 



ย้อนกลับไปในสมัยก่อน เลนส์ที่มีระยะทางยาวๆ พอจะถ่ายนกได้นั้น
น่าจะมีไม่กี่คนที่จะซื้อได้ การสื่อสารสมัยนั้นก็ยังใช้โทรศัพท์บ้าน
ข่าวสารก็หาอ่านในนิตยสารเอา ช่วงนั้นหนังสือยังขายดี
ก็เลยมีนิตยสารเฉพาะทาง เกี่ยวกับเรื่องราวทางธรรมชาติอยู่หลายเล่ม
 
ในปี 2533 มีการพบ Baikal teal ตัวผู้ที่บึงบอระเพ็ดเป็นครั้งแรก
แต่ที่มีหลักฐานได้รับการยอมรับ จนบรรจุลงใน bird guide ของไทยนั้น
คือรายงานของ อ. สุธี ศุภรัฐวิกร ที่พบ Baikal teal ทั้งตัวผู้และตัวเมีย
ที่บ่อ 6 ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2535
 
การค้นพบ Baikal teal เป็นข่าวดัง แต่บ่อ 6 กำแพงแสนนั้น
เคยมีการพบนกน้ำหายากระดับตำนาน ไม่ว่าจะเป็นเป็ดหงส์ เป็ดเปีย
เป็ดดำหัวดำ เป็ดปากพลั่ว หรืออาจจะมีนกทื่เราไม่ได้ข่าว มาก่อนหน้านี้แล้ว
 
คำถามว่าในปี 2539 ที่เราเจอ Baikal teal ตัวเมียนั้น น่าเชื่อถือหรือไม่
คำตอบคือ มีนักดูนกจากกรุงเทพตามมาดู และยืนยัน
คำถามต่อไปคือ ตัวเมียตัวเดียวที่มีแต่สีน้ำตาล ไม่มีตัวผู้ให้สังเกตการณ์ร่วมนั้น
จะสามารถแยกออกจากเป็ดลายที่อยู่รวมกัน และคล้ายๆ กันได้อย่างไร

คำตอบนั้นมีอยู่ 3 ประการ



https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcStPMuzLLjr8Spsof94bLzARZbgsD3kjA7gbQ&s


หนึ่ง คือสภาพบ่อ 6 กำแพงแสนนั้น เป็นพื้นที่ที่เราสามารถจะแอบๆ
จากเขตที่เป็นต้นไม้ในสวนไปยังบริเวณขอบบ่อได้ โดยนกจะตื่นตัวน้อยมาก
สอง คือระยะทางจากขอบบ่อไปยังฝูงเป็ดนั้น ไม่น่าเกิน 20 กว่าเมตร
และสาม คือมุมที่เราอยู่นั้น สูงกว่าเป็ดที่หากินอยู่ในบ่อ
 
ท่ามกลางฝูงเป็ดลาย เราเห็นเป็ดที่ตัวใหญ่กว่าตัวอื่นเล็กน้อย
เมื่อมองผ่านกล้องส่องทางไกล ก็เห็นมาร์กสำคัญคือ มี
จุดขาวที่มุมปาก 
ที่ใช้แยกเป็ดชนิดนี้ออกจากนกน้ำชนิดอื่น โดยถูกระบุไว้ในหนังสือ
bird guide ซึ่งได้บรรจุมันเป็นนกชนิดใหม่ของประเทศไทยแล้ว

ทั้งหมดนี้คือคำตอบว่า เราเห็น Baikal teal ตัวเมียที่แยกยากได้อย่างไร

ย้อนกลับมาที่สถานการณ์ในวันนี้ ต่อให้มีเป็ดตัวเมียปะปนอยู่
เชื่อว่าไม่มีใครจะสังเกตออกมาได้ เพราะระยะทางมันไกลกว่าสนามฟุตบอล
มุมมองก็แทบเสมอกับฝูงเป็ด ที่สำคัญอากาศร้อนมาก ไม่มีใครจิตใจแน่วแน่พอ
ที่จะค่อยๆ ดูสโคป เพื่อแกะ Baikal teal ตัวเมียออกมาจากฝูงเป็ดลายแน่ๆ

ถูกตั้งชื่อโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
Johann Gottlieb Georgi
ที่ออกสำรวจไปยังไซบีเรียร่วมกับ Peter Simon Pallas
ในช่วงปี 1768-1774 เดิมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Anas Formosa  
Anas เป็นภาษาละติน แปลว่า เป็ด
Formosa เป็นภาษาละติน แปลว่า สวยงาม



 https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRUrCDhkU2SqR2L3KlQM_BWOv1U8qwe-Z5QkFkYD4C4SQmu5gmbW_aeyintJK-rnid6k5e2A6xcLYMBlsq9kED5uw


มีถิ่นอาศัยอยู่ในทุ่งทุนดราของไซบีเรีย ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบมันเป็นครั้งแรก
ในฤดูหนาวที่พื้นน้ำจับตัวเป็นน้ำแข็ง พวกมันจะอพยพลงมาหากิน
ยังคาบสมุทรเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน และชายฝั่งของเวียดนาม
การพบ Baikal teal ในประเทศไทยนั้น มีโอกาสไม่มากนัก
 
มีขนาดตัวราว 39-43 ซ.ม. ตัวผู้มีใบหน้าเป็นแถบสีเหลืองสลับเขียว
แตกต่างจากเป็ดชนิดอื่นอย่างชัดเจน ตัวเมียมีขนสีน้ำตาลหม่น 
มีจุดสีขาวชัดเจนบริเวณโคนปาก มีลวดลายจาง ๆ บนใบหน้า

จากการจัดอันดับเป็ดที่สวยที่สุดในโลกนั้น Baikal teal
จัดอยู่ในลำดับ 3 รองจากเป็ดแมนดาริน และ Wood duck
 
ในปี 2009 มีการศึกษาในระดับพันธุกรรม
พบว่ามันเป็น Non-monophyletic
ในขณะที่สกุล Anas นั้น เป็น monophyletic
หรือมีสายวัฒนาการที่สามารถสืบย้อนกลับขึ้นไปได้ว่า มีต้นตระกูลร่วมกัน

 ดังนั้นการที่จัด Baikal teal ให้อยู่ในสกุล Anas ซึ่งเป็นเป็ดที่หากินบนผิวน้ำ
จะทำให้อนุกรมวิธานของเป็ดกลุ่มนี้มีปัญหา จึงถูกแยกออกมาเป็นสกุลใหม่
ปัจจุบันจึงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
Sibirionetta Formosa
ซึ่งมีเป็ดในสกุลนี้อีกเพียงหนึ่งชนิด ที่เป็นซากฟอสซิลจากยุคไพลโตซีน




ภาพบ่่อ 6 กำแพงแสน 23/3/68


จากการประเมินในช่วงปี 1980s ว่ามีประชากรอยู่เพียงราว 10,000 ตัว
IUCN จึงจัดให้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ อยู่ในระดับ VU
ในช่วงปี 2000s พบว่า ประชากรเพิ่มขึ้นเป็นราว 100,000 ตัว
และในปี 2010 พบว่า น่าจะมีประชากรมากกว่า 1,000,000 ตัว   
หลังปี 2011 IUCN จึงจัดให้ความเสี่ยงต่อการสูญพันธ์อยู่ในระดับ LC
 
การเพิ่มประชากรของ Baikal teal นั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ดี
แต่ในอีกมุมหนึ่ง เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2568 เกาหลีใต้ได้มีการแถลงข่าว
ถึงสาเหตุการตกของเครื่องบินของเจจูแอร์ เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2567
ว่าชิ้นส่วนของนกที่หลุดเข้าไปในเครื่องยนต์นั้น คือ Baikal teal
 
หลังปี พ.ศ. 2540 ผู้บริหารมหาวิทยาลัย มีความคิดในการพัฒนาสถานที่ 
โดยการปรับพื้นที่เพื่อสร้างสนามกอล์ฟ และขุดลอกบ่อ 6 
ที่รกร้างไปด้วยวัชพืช ดูไม่เจริญหูเจริญตาออกไป
มีการประท้วงจากนิสิต การสร้างสนามกอล์ฟจึงหยุดลงหลังจากสร้างไป 3 หลุม

เหลือเพียงการขุดลอกบ่อ 6 ให้ลึกและกำจัดวัชพืชออก 
 นั่นทำให้นกน้ำ ไม่มีสถานทื่หากินอีกต่อไป
ปัจจุบันที่นี่จึงเป็นเพียงตำนาน ว่าเคยเป็นสถานที่ดูนกน้ำอพยพจากไซบีเรีย
ที่ไม่ต้องจ้างเรือเพื่อออกไปดู และอยู่ใกล้กรุงเทพมากที่สุดไปตลอดกาล



Create Date : 20 มีนาคม 2568
Last Update : 4 เมษายน 2568 8:53:48 น. 4 comments
Counter : 323 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณปัญญา Dh, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณSweet_pills, คุณhaiku, คุณtuk-tuk@korat, คุณ**mp5**, คุณnewyorknurse, คุณสมาชิกหมายเลข 3902534


 
ต้องกลับไปถ่ายซ่อมใหม่จ้า



โดย: หอมกร วันที่: 20 มีนาคม 2568 เวลา:11:02:05 น.  

 
สวัสดีครับ

มาตามส่องนกต่อครับ

Baikal teal ธรรมชาติรังสรรค์ให้สวยงามมากครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 20 มีนาคม 2568 เวลา:21:48:33 น.  

 
Baikal teal เป็นเป็ดที่สวยเป็นอันดับ 3
สีสันและลวดลายสวยจริงๆค่ะ
ส่วนตัวเมียเห็นจุดขาวที่โคนปากชัดเจน
ขอบคุณที่ทำให้รู้จักเป็ดสวยๆชนิดนี้นะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 20 มีนาคม 2568 เวลา:22:44:31 น.  

 
การขุดลอกบึง เป็นไปได้ไหมคะ หากจะทำเป็นส่วน ๆ ให้มี wetland เพื่อนกน้ำไม่ขาดตอน


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 22 มีนาคม 2568 เวลา:9:25:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]




[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]