Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มีนาคม 2568
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
17 มีนาคม 2568

บึงบอระเพ็ด : ห่านเทาปากชมพู (ไซบีเรีย)




เราเริ่มจะหมดนกชนิดใหม่ๆ เพราะต่อให้หาเท่าใด
ในแถบกรุงเทพและปริมณฑล ก็จะมีนกวนๆ กันอยู่ไม่กี่ชนิด
ทางเดียวที่จะเราจะได้นกใหม่
ก็คือการออกเดินทางไปยังบ้านของมัน อันห่างไกลจากความวุ่นวาย
 
ปลายปีของทุกปี สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
ก็จะออกโปรแกรมไปดูนกกับผู้เชี่ยวชาญ ยังสถานที่ต่างๆ
เราเริ่มจากสถานที่ง่ายๆ ของทริปที่สองของปี พ.ศ. 2568 

one day trip บึงบรเพ็ด

ทำไมต้องไปดูนกกับกลุ่มที่จัดทัวร์เฉพาะทาง
 เพราะที่ผ่านมา เราเดินหานกเอง ก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง
คราวนี้จะมีไกด์ช่วยนำทางและบริหารจัดการทุกอย่างให้
โดยที่เราไม่ต้องเตรียมอะไร

 ราว 08.00 น. เราก็ลงมาจากรถ เพื่อเดินไปยังท่าเรือ
ลุงพนม
บุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็นคนหานกได้เก่งที่สุดในย่านนี้
เรือออกไปไม่นาน ผ่านความตื้นเขินของบึง แน่นอนว่า
หลายคนอาจจะคิดว่านี่เป็นสิ่งไม่ดี

แต่จริงๆ แล้วความตื้นเขินนี้ ทำให้เกิดวัชพืชจำนวนมาก
เป็นแหล่งหากินของนกน้ำอันสมบูรณ์
เราอาจจะเคยได้ยินข่าวการขุดลอกบึงนี้
ที่ทำให้นกอพยพหายไปหลายปีเลยทีเดียว


 

มีนกน้ำทั่วไป ชนิดที่เราเคยเห็นมาก่อน
แต่ตอนที่เราอยู่บนฝั่ง ไม่มีโอกาสที่จะได้ถ่ายภาพมันได้
เพราะความรกทึบของวัชพืช  เช่น
นกอีโก้งที่ดูสวยงาม
ไม่รวมหายากอย่าง
อ้ายงั่ว กระสาแดง กระสานวลที่มีอยู่มากมาย
 
เหนือท้องฟ้ามี
เหยี่ยวบินอยู่รายรอบ
นกน้ำสามัญอย่าง
เป็ดแดง เป็ดผีเล็ก มีจนนับไม่ถ้วน
นานไปเราก็เลิกให้ความสนใจ นั่งเรือไปชิลล์ๆ จนกระทั่งมาจนถึงฝั่ง
อย่างที่บอกไปว่า มากับทัวร์ไม่ต้องคิดมาก เขาพาไปไหนก็ไปกัน
 
ยืนรอมอเตอร์ไชค์ เขาบอกว่าจะพาไปดู ห่านเทาปากชมพู
นกไม่ได้อยู่ในบึงแบบที่เราจินตนาการไว้ แต่อยู่ในนาข้าวของชาวบ้าน
หากใครได้ดูคลิป คนที่ไปถ่ายภาพ
ห่านหัวลายเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ก็จะเห็นถึงความทุลักทุเลของเส้นทางนี้ โชคดีที่เราไม่เจอฝนแบบนั้น

 
ห่านกลุ่มนี้มากัน 6 ตัว ไกด์ตั้งสโคป ต้องผลัดกันไปดูว่าอยู่ตรงไหน
เมื่อได้ตำแหน่งก็แยกย้ายกันไปถ่ายภาพ เราแบกขาตั้งกล้องมาด้วย
แต่ไม่ได้ช่วยสักเท่าไหร่ เพราะว่าห่านนั้นอยู่ไกลมากกกกก
กดเพิ่มระยะ X2 ก็แทบไม่ได้อะไร กด X4 นี่กลายเป็นห่านวุ้นไปเลย
 
ถามว่าแล้วคนที่ถ่ายสวยๆ ตัวใหญ่ๆ ไปลง facebook นั้น
เค้าทำกันได้อย่างไร เราเห็นคนที่มาก่อนหน้าและสวนกลับไปก็เดาได้
ก็คือต้องใช้บังไพรลุยโคลนลงไปสักครึ่งทาง เพื่อตัดระยะให้มากที่สุด
ซึ่งเราก็ไม่ได้เก่งแบบเค้า ก็ดูห่านแบบคาดเดารูปร่างกันไป


 

 

ห่านเทา (Greylag goose) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Anser anser
มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิดย่อย คือ ห่านบ้าน (A. a. domesticus)
ห่านเทาปากชมพู (A.a. anser)
และ
ห่านเทาปากชมพู (ไซบีเรีย) (A. a. rubrirostris)
 
มีขนาดตัวราว 76-79 ซม. น้ำหนักตัวราว 2- 4.5 ก.ก.มีหลักฐานว่า
มันถูกนำมาเลี้ยงจนกลายเป็นห่านบ้าน อย่างน้อยก็ราว 1,360 ปี ก่อนคริสกาล
ห่านเทาปากชมพู ถูกตั้งชื่อโดย Carl Linnaeus ในปี 1758
ส่วนสายพันธุ์ไซบีเรียที่เราเจอ ถูกตั้งชื่อโดย Swinhoe ในปี 1871
 
ห่านเทาปากชมพู มีขอบเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในยุโรปตอนเหนือ
เช่น ไอซ์แลนด์ ยุโรปตะวันออก รวมถึงประเทศรอบๆ ทะเลดำ
เมื่อถึงฤดูหนาว มันจะอพยพลงมาทางใต้ เช่น เกาะอังกฤษ
คาบสมุทรไอบีเรีย อิตาลี และแอฟริกาตอนเหนือ  


ห่านเทาปากชมพู (ไซบีเรีย) อาศัยอยู่ในยุโรปตะวันออก รัสเซีย
เอเชียกลาง มองโกเลีย จีนตอนเหนือ ไปจนถึงไซบีเรียตะวันออก
เมื่อถึงฤดูหนาว มันจะอพยพลงมาทางใต้

ประชากรทางตะวันตกจะบินไปยังยุโรปตะวันออกและคาบสมุทรอาระเบีย

ประชากรในเอเชียกลางและรัสเซีย ใช้เส้นทางผ่านที่ราบสูงธิเบต
และบินตัดช่องเขาข้ามหิมาลัยไปยังอนุทวีปอินเดีย เป็นเส้นทางหลัก
มีส่วนน้อยเลือกที่จะบินอ้อมหิมาลัย ลงไปยังตอนเหนือของพม่า
ซึ่งห่านเทาปากชมพู ที่พบในประเทศไทยใช้เส้นทางนี้

และ
ประชากรในไซบีเรียตะวันออกและจีนตอนเหนือ
จะบินลงมายังจีนตอนใต้และจีนตะวันออก

รายงานการพบห่านเทาปากชมพู เท่าที่ลองรวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ
ปี 2550 รายงานโดยกรมป่าไม้พบจำนวน 7 ตัว ที่บึงบอระเพ็ด
เป็นรายงานที่ 3 ของประเทศ และเป็นรายงานแรกของภาคกลาง





เดาว่า 2 รายงานแรก ต้องเป็นภาคเหนือ เช่น ทะเลสาบเชียงแสน
ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ
ทำให้มีโอกาสพบนกน้ำอพยพที่หายาก ได้มากที่สุดในไทย

ปี 2551 พบห่านเทาปากชมพู ที่บึงบอระเพ็ด 1 ตัว 
ปี 2554 พบรายงานที่กว๊านพะเยา 3 ตัว
ปี 2560 พบรายงานที่บึงบอระเพ็ด 4 ตัว
ปี 2562 บึงบอระเพ็ด 3 ตัว ดอยหล่อ เชียงใหม่ 2 ตัว หนองหลวง เชียงราย 1 ตัว
ปี 2563 บึงบอระเพ็ด 3 ตัว ดอยหล่อ เชียงใหม่ 1 ตัว บึงกะโล่ 2 ตัว
 
ปี 2564 บึงบอระเพ็ด 1 ตัว ดอยหล่อ เชียงใหม่ 1 ตัว
ปี 2565 หนองหลวง เชียงราย 3 ตัว
ปี 2566  บึงบอระเพ็ด 2 ตัว หนองหลวง เชียงราย 3 ตัว
ปี 2567  บึงกะโล่ 2 ตัว และอุตรดิตถ์ มีรายงานบินผ่าน 5 ตัว
ปี 2568  รายงานโดยเราเอง ที่บึงบอระเพ็ด พบจำนวน 6 ตัว
 
ความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของ IUCN นั้นอยู่ในระดับ Less concern
เพราะห่านชนิดนี้มีถิ่นอาศัยที่กว้างขวาง ประชากรในทวีปยุโรปก็ไม่ได้ถูกทำร้าย
ชนิดย่อยไซบีเรียก็อยู่ในพิ้นที่รกร้าง ทำให้มีความเสี่ยงสูญพันธุ์ต่ำ

แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ ในยุโรปกลาง ที่ห่านทั้งสองชนิดย่อยนี้
ทำรังวางไข่ในบริเวณเดียวกัน (overlapping)
ทำให้มีโอกาสเกิดสายพันธุ์ผสม (hybrid)
 
แล้วนักดูนกจะแยกสองชนิดย่อยออกจากกันอย่างไร Chat GPT เล่าให้ฟังว่า

ปาก ชนิดย่อยยุโรปปากสีชมพูหรือส้มอ่อน ชนิดย่อยไซบีเรียจะออกส้มสว่าง
ขนาดตัว ชนิดย่อยยุโรปนั้นจะตัวเล็กป้อม  ชนิดย่อยไซบีเรียจะใหญ่กว่า
สีขน ชนิดย่อยยุโรปสีออกดำกว่าชนิดย่อยไซบีเรีย โดยเฉพาะหัวและคอ
 
แต่ถ้าจะใช้ประสบการณ์ไกด์ดูนกบอกเราว่า ให้ดูที่ขอบปากต่อกับใบหน้า
ชนิดย่อยยุโรปนั้นจะมีขอบปากสีดำ ชนิดย่อยไซบีเรียจะมีขอบปากสีขาว
แต่เมื่อเราดูรูปทั้งหมดแล้ว ก็บอกได้ยาก เอาเป็นว่า ใช้พื้นที่ที่พบดีที่สุด 
เพราะห่านเทาปากชมพูชนิดย่อยในยุโรป คงไม่บินมาไกลถึงประเทศไทย

และนั่นก็เป็นเรื่องราวของนกราคาแพงตัวแรก ในทริปนี้



Create Date : 17 มีนาคม 2568
Last Update : 4 เมษายน 2568 8:42:31 น. 4 comments
Counter : 341 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณSleepless Sea, คุณหอมกร, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณ**mp5**, คุณกะริโตะคุง, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณดอยสะเก็ด, คุณtuk-tuk@korat


 
น่ารักมากจ้า


โดย: หอมกร วันที่: 17 มีนาคม 2568 เวลา:13:06:47 น.  

 
มันบินมาจากไซบีเรียรึเปล่าครับ? แต่ห่านอะไรคอสั้นจัง น่าจะเรียกนกเป็ดน้ำมากกว่านะ


โดย: กะริโตะคุง วันที่: 17 มีนาคม 2568 เวลา:16:56:07 น.  

 
สวัสดีครับ

ตอนเด็กได้ยินชื่อบึงบอระเพ็ดแล้วกลัวๆ ครับ
เพราะมีข้อมูลฝังหัวว่ามันมีจระเข้

มาดูนกในบล็อกนี้แล้ว
จขบ. insert ข้อมูลแน่นปึ้กให้ด้วย
บังไพรที่ว่า ที่ใช้ซุ่มตัวแช่น้ำได้ด้วยใช่ไหมครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 18 มีนาคม 2568 เวลา:14:01:44 น.  

 
เวลาเห็นนะแปลก ๆ ตื่นเต้นดีเนาะ
เราไม่ค่อยได้ออกนอกสถานที่ไปดูนกสักเท่าไร
แค่เวลาไปเที่ยวกับเพื่อนที่อยู่ชมรม อนุรักษ์สัตว์ป่า เดินป่า ดูนก (เมื่อ 30 ปีที่แล้ว) เขาก็จะสอนว่าดูนกสังเกตุอะไรจึงจะเจอตัว

ห่านเทาปากชมพู ยังไม่เคยยลโฉมเลยค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 20 มีนาคม 2568 เวลา:8:44:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]




[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]