ขออย่ายอมแพ้ ....อย่าอ่อนแอ ...แม้จะร้องไห้ จงลุกขึ้นสู้ไป จุดหมายไม่ไกลเกินจริง
Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
12 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
ฮาเนะสึกิ แบดบินตันโบราณของญี่ปุ่น

ย้อนบันทึกก่อนปีใหม่ได้ไปเที่ยวชมงานวัดเซนโซจิ หรือวัดอะซากุสะ
ในระหว่างวันที่17 18 19 ธันวาคม ทางวัดได้จัดให้มีการออกร้านจำหน่ายไม้แบดบินตันโบราณ
ฮาเนะสึกิ เป็นการเล่นคล้ายกับการเล่นแบดบินตันในปัจจุบัน แต่ต่างกันตรงที่ไม่มีการใช้แน็ตมากั้นแบ่งฝ่าย
อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับการเล่น ฮาเนะสึกิ ก็คือไม้ตีลูกขนไก่หรือฮาโกะอิตะ และลูกขนไก่คือ ฮาเนะ
โดยฮาเนะสึกิ สามารถเล่นได้ทั้งแบบคนเดียวหรือสองคน โดยหากเล่นคนเดียว ผู้เล่นจะต้องพยายามตีลูกขนไก่ให้ลอยอยู่ในอากาศให้นานที่สุด
เท่าที่จะทำได้ แต่ถ้าเล่นสองคน ก็จะเป็นการตีโต้กลับไปมาโดยไม่ให้ลูกตกถึงพื้น โดยคนที่ทำลูกตกจะต้องโดนทำโทษด้วยการเขียนหน้าด้วยหมึก




จากหลักฐานพบว่า การเล่นฮาเนะสึกิ ในญี่ปุ่นเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยมุโระมาชิ โดยช่วงแรกจะเล่นกันเฉพาะในหมู่คนชั้นสูง
ก่อนจะแพร่หลายไปทั่วทุกชนชั้น ก็คงเหมือนกับการเล่นแบดบินตันในไทย ที่ครั้งแรกเริ่มจากในรั้วในวัง



บางครั้งก็จะใช้เป็นกีฬาที่มีการพนันขันต่อกันเพื่อเพิ่มสีสันและความสนุกสนานในเกม
ต่อมาความนิยมในการเล่น ฮาเนะสึกิ เริ่มลดลงในหมู่ผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงและเด็กกลายมาเป็นกลุ่มผู้เล่นหลัก
และในที่สุด ก็เหลือแต่เด็กผู้หญิงที่จะเล่นกันในช่วงเทศกาลปีใหม่



แม้ทุกวันนี้ญี่ปุ่นจะพ้ฒนารุดหน้าไปในทุกด้าน ของเล่นแบบใหม่ๆไม่ว่าจะเป็นวิดีโอเกม ตุ๊กตา หรือยอดมนุษย์แบบต่างๆ
จะกลายเป็นที่นิยมของเด็กๆรุ่นใหม่ แต่กีฬาแบดบินตันแบบโบราณของญี่ปุ่นก็ยังยืนหยัดต้านกระแสโลกาภิวัฒน์
ได้อย่างเหนียวแน่น แม้ว่าความนิยมไม่มากเหมือนเมื่ออดีตกาล



ทว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้การเล่น ฮาเนะสึกิ ยังเป็นที่รู้จักของคนรุ่นใหม่รวมถึงชาวต่างชาติก็คือ อุปกรณ์ที่ใช้เล่น ฮาเนะสึกินั่นเอง



โดยเฉพาะ ฮาโกะอิตะ ซึ่งปัจจุบันไม่เพียงเป็นแค่ไม้ตีลูกขนไก่เท่านั้น แต่มันยังกลายเป็นเครื่องประดับ
ตลอดจนเป็นขอที่ระลึกที่ผู้คนนำมามอบให้กันในช่วงเทศกาลปีใหม่อีกด้วย



ปัจจุบัน หน้าตาของฮาโกะอิตะ ถูกพัฒนาจนแตกต่างจากอดีตอย่างสิ้นเชิง โดยถูกออกแบบให้มีทั้งขนาดเล็กที่สุด
ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่สุดตามแต่วัตถุประสงค์เพื่อเป็นของประดับบ้านหรือเป็นของที่ระลึก



โดยผู้ผลิตบางรายได้พัฒนารูปแบบของลวดลาย ฮาโกะอิตะ ซึ่งแต่เดิมจะใช้รูปตัวละครคาบูกิเป็นหลัก
มาเป็นใช้รูปคนดังในแวดวงต่างๆ โดยเฉพาะผู้นำประเทศ หรือรูปการ์ตูนยอดนิยมต่างๆ



ในช่วงเดือนธ.ค.ของทุกปี ตามเมืองต่างๆทั่วประเทศญี่ปุ่น จะมีการจัดเทศกาลออกร้านขาย ฮาโกะอิตะ
กันอย่างสนุกสนาน แต่เทศกาลฮาโกะอิตะที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นเทศกาลที่จัดขึ้นที่วัดเซนโซจิหรือวัดอะซากุสะ



โดยในงานจะมี่พ่อค้านำฮาโกะอิตะามาขายในรูปแบบต่างๆ

(ข้อมูลจากหนังสือWAIWAI THAILANDปี๕๑)




Create Date : 12 มกราคม 2552
Last Update : 14 มกราคม 2552 17:40:10 น. 6 comments
Counter : 4303 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะ

ตามมาเที่ยวและมาเก็บเกร็ดความรู้นะคะ

ขอบคุณนะคะ


โดย: บุปผามาลา วันที่: 12 มกราคม 2552 เวลา:19:54:07 น.  

 
ของหนูก็จะซื้อคราดไม้ไผ่อันเล็ก ๆ มากวาดเงินกวาดทองเข้าบ้านทุกปีค่ะ ปีนี้ไม่รู้ว่าจะได้ไปเยือนญี่ปุ่นเดือนไหน แต่ได้ไปทุกปีค่ะ ปีละ สองครั้งอย่างน้อยเพราะต้องไปติดต่องานที่นั่นค่ะ ฮาโกะอิตะ ปีนี้สวยจังไม่รู้ว่าจะซื้อทันหรือเปล่า


โดย: Jujastar วันที่: 12 มกราคม 2552 เวลา:21:34:14 น.  

 
ผมเคยอยู่ที่ญี่ปุ่นมา18ปีคิดถึงที่นั่นจังเลยอยากกลับไปแต่คงไม่มีโอกาสแล้วแหละถ้าพระเจ้ามีจริงขอให้ผมได้กลับไปด้วยเทอน


โดย: อยากกลับบ้านที่ยี่ปุ่น IP: 124.121.59.222 วันที่: 12 มกราคม 2552 เวลา:23:37:24 น.  

 
wooooooooooow


โดย: yr_naughty_annie วันที่: 13 มกราคม 2552 เวลา:9:39:19 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ


โดย: หญ้าญี่ปุ่น IP: 203.154.149.228 วันที่: 13 สิงหาคม 2555 เวลา:16:05:19 น.  

 
อยากได้บ้างอ่
ะแต่ในไทยไม่มีขายมีคแต่แบต
มินตันอยากได้มากเลยอ่ะลองทำเองก็ได้
นี่นา



โดย: สุรวัชร IP: 49.231.97.107 วันที่: 8 กันยายน 2556 เวลา:11:03:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พนอจัน
Location :
กรุงเทพฯ Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 291 คน [?]




ป้าพนอจัน เกิด วันที่ ๒ พฤกษภาคม ๒๔๙๔

เป็นคนกรุงเทพ เกิด ที่ เขตดุสิต ถนนสุโขทัย

ชอบทำอาหาร ชอบดอกไม้ ชอบท่องเที่ยว

ตอนนี้แต่งงาน มาอยู่ประเทศญี่ปุ่น ได้ 16 ปี
New Comments
Friends' blogs
[Add พนอจัน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.