กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
ธันวาคม 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
13 ธันวาคม 2564
space
space
space

พุทโธวาทก่อนปรินิพพาน. ธรรมะบนแท่นปรินิพพาน




     เมื่อพระอานนท์หายไปนานผิดปกติ  พระศาสดาจึงตรัสถามว่า

       “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์หายไปไหน?”

       “ไปยืนร้องไห้อยู่โคนต้นไม้โน้น พระเจ้าข้า” ภิกษุทั้งหลายทูล

       “ไปตามอานนท์มานี่เถิด” พระศาสดา ตรัสสั่ง

     พระอานนท์เข้าสู่ที่เฝ้าด้วยใบหน้าที่ยังชุ่มด้วยน้ำตา พระศาสดาตรัสปลอบใจว่า “อานนท์ อย่าคร่ำครวญนักเลย เราเคยบอกไว้แล้วมิใช่หรือว่า บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจเป็นธรรมดา ในโลกนี้หรือในโลกไหนๆ ก็ตาม ไม่มีอะไรยั่งยืนถาวรเลย สิ่งทั้งหลายมีการเกิดย่อมมีการดับเป็นธรรมดา เป็นที่สุดไม่มีอะไรยับยั้งต้านทาน”

       “ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นประดุจดวงตะวัน”  พระอานนท์ทูลด้วยเสียงสะอื้นน้อยๆ  “ข้าพระองค์มารำพึงว่า  ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงพระชนม์อยู่  ข้าพระองค์เที่ยวติดตามประดุจเงา  ต่อไปนี้ข้าพระองค์จะพึงติดตามผู้ใดเล่า  จะพึงตั้งน้ำใช้น้ำฉันเพื่อผู้ใด  จะพึงปัดกวาดเสนาสนะที่หลับที่นอนเพื่อผู้ใด  อนึ่งเวลานี้ข้าพระองค์มีอาสวะอยู่  พระองค์มาด่วนปรินิพพาน  ใครเล่าจะเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์  กำจัดกิเลสให้หมดสิ้น  ข้าพระองค์อยู่อย่างว้าเหว่และเดียวดาย  เมื่อคำนึงอย่างนี้แล้ว  ก็สุดจะหักห้ามความโศกสลดได้”

       “อานนท์  เธอเป็นผู้มีบารมีธรรมที่สั่งสมไว้แล้วมาก  เธอเป็นมีบุญที่สั่งสมไว้แล้วมาก อย่าเสียใจเลย  กิจอื่นใดที่ควรทำแก่ตถาคต  เธอได้ทำกิจนั้นอย่างสมบูรณ์ด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม  อันประกอบด้วยเมตตาอย่างยอดเยี่ยม  จงประกอบความเพียรเถิด  เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว  เธอจะต้องประสบอรหัตผล  เป็นพระอรหันต์ในไม่ช้า”  ตรัสดังนี้แล้ว  จึงเรียกภิกษุทั้งหลายเข้ามาสู่ที่ใกล้  แล้วทรงสรรเสริญพระอานนท์เป็นอเนกปริยาย  เป็นต้นว่า

       “ภิกษุทั้งหลาย  อานนท์เป็นบัณฑิตเป็นผู้รอบรู้และอุปัฏฐากเราอย่างยอดเยี่ยม พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ซึ่งมีภิกษุเป็นอุปัฏฐากนั้น ก็ไม่มีดีเกินไปกว่าอานนท์ อานนท์เป็นผู้ดำเนินกิจด้วยปัญญา รู้กาลที่ควรไม่ควร รู้กาลที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มาเฝ้าเราว่า กาลนี้สำหรับกษัตริย์ กาลนี้สำหรับราชามหาอำมาตย์ กาลนี้สำหรับคนทั่วไป ควรได้รับการยกย่องนานาประการ มีคุณธรรมน่าอัศจรรย์ ผู้ที่ยังไม่เคยเห็นไม่เคยสนทนาก็อยากเห็นอยากสนทนาด้วย อยากฟังธรรมของอานนท์ เมื่อฟังก็มีจิตใจเพลิดเพลิน ยินดีในธรรมที่อานนท์แสดง ไม่อิ่มไม่เบื่อด้วยธรรมวารีรส ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบุคคลที่หาได้ยากผู้หนึ่ง”

     พระอานนท์ ผู้มีความห่วงใยในพระศาสดาไม่มีที่สิ้นสุด กราบทูลด้วยว่า

       "พระองค์ ผู้เจริญ พระองค์เป็นประดุจพระเจ้าจักรพรรดิ์ในทางธรรม ทรงสถาปนาอาณาจักรแห่งธรรมขึ้น ทรงเป็นธรรมราชาสูงยิ่งกว่าราชาใดๆ ในพื้นพิภพนี้ ข้าพระองค์เห็นว่า ไม่สมควรแก่พระองค์เลยที่จะปรินิพพานในเมืองกุสินารา อันเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย ขอพระองค์ไปปรินิพพานในเมืองใหญ่ๆ เช่น ราชคฤห์ สาวัตถี จำปา สาเกต โกสัมพี พาราณสี เป็นต้นเถิด พระเจ้าข้า ในมหานครเหล่านั้น กษัตริย์ พราหมณ์ เศรษฐี คฤหบดี และชาวนครทุกชั้นที่เลื่อมใสในพระองค์ก็มีอยู่มาก จักได้ทำมหาสักการะแด่สรีระแห่งพระองค์เป็นมโหฬาร ควรแก่การเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งอุดมรัตน์ในโลก"

       "อานนท์  เธออย่ากล่าวอย่างนั้นเลย  ชีวิตของตถาคตเป็นชีวิตแบบอย่าง  ตถาคตนิพพานไปแต่เพียงรูปเท่านั้น  แต่เกียรติคุณของเราคงอยู่ต่อไป  เราต้องการให้ชีวิตนี้งามทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด  อานนท์เอ๋ย  ตถาคตอุบัติแล้วเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน  เมื่ออุบัติมาสู่โลกนี้  เราเกิดแล้วในป่านามว่าลุมพินี  เมื่อตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  เราก็ได้บรรลุแล้วในป่าตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  แขวงเมืองราชคฤห์มหานคร  เมื่อตั้งอาณาจักรแห่งธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก  ได้สาวกเพียงห้าคน  เราก็ตั้งลงแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมิคทายะ  เขตเมืองพาราณสี  ครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งเรา  เราก็ควรนิพพานในป่าเช่นเดียวกัน"


       "อนึ่ง  กุสินารานี้  แม้บัดนี้  จะเป็นเมืองน้อย  แต่ในโบราณกาล  กุสินารานี้เคยเป็นเมืองใหญ่มาแล้ว เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าจักรพรรดิ์ นามว่าสุทัสสนะ นครนี้เคยชื่อกุสาวดี เป็นราชธานีที่สมบูรณ์ มั่งคั่ง มีคนมาก มีมนุษย์นิกรเกลื่อนกล่น พรั่งพร้อมด้วยธัญญาหาร มีรมณียสถานที่บันเทิงจิตประดุจดังราชธานีแห่งทิพยนคร กุสาวดีราชธานีนั้น กึกก้องคฤหาสน์ทั้งกลางวันและกลางคืน ด้วยเสียงสิบประการ คือ เสียงคชสาร เสียงภาชี เสียงเภรีและรถ เสียตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงสังข์ รวมทั้งสำเนียงประชาชน เรียกกันบริโภคอาหารด้วยความสำราญเบิกบานจิต"


       "พระเจ้ามหาสุทัสสนะ องค์จักรพรรดิ์เล่า ก็ทรงเป็นอิสราธิบดีปฐพีมณฑล ทรงชำนะปัจจามิตรโดยธรรม ไม่ต้องใช้ทัณฑ์และศัสตรา ชนบทสงบราบคาบปราศจากโจรผู้ร้าย มารดาและบุตรธิดามีความอิ่มอกด้วยความเพลิดเพลิน ประตูบ้านปราศจากลิ่มสลัก เป็นนครที่รื่นรมย์ร่มเย็นสมเป็นราชธานีแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์อย่างแท้จริง"


       "อีกอย่างหนึ่ง อานนท์เอ๋ย เมื่อมองมาทางธรรมให้เกิดสังเวชสลดจิตก็พอคิดได้ว่า สิ่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มุ่งไปสู่จุดสลายตัว อานนท์จงดูเถิด พระเจ้าจักรพรรดิ์มหาสุทัสสนะก็สิ้นประชนม์ไปแล้ว เมืองกุสาวดีก็เปลี่ยนมาเป็นกุสินาราแล้ว ประชาชนกุสาวดีก็ตายกันไปหมดแล้ว นี่แลไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรยั่งยืน ตถาคตเองก็จะปรินิพพานในไม่ช้านี้"

 


Create Date : 13 ธันวาคม 2564
Last Update : 11 กรกฎาคม 2568 18:58:25 น. 0 comments
Counter : 415 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space