กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
ธันวาคม 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
12 ธันวาคม 2564
space
space
space

พุทโธวาทก่อนปรินิพพาน ๓

ต่อ


  และแล้วพระจอมศาสดาก็เสด็จไปยังภัณฑุคาม  และโภคนครตามลำดับ   ในระหว่างนั้นให้โอวาทภิกษุทั้งหลายด้วยพระธรรมเทศนา  อันเป็นไปเพื่อโลกุตราริยธรรม  กล่าวคือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ  และวิมุตติญาณทรรศนะ   เป็นต้นว่า
 
     “ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่   ประหนึ่ง   แผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้   เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์  มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด  บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบาย  มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาดเช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน”
 
     “ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ  คือ ความสงบใจ    สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้น   เป็นสมาธิที่มีผลมาก   มีอานิสงส์มาก    บุคคลมีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบ    เหมือนเรือนที่มีฝาผนัง   มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย  มีหลังคาสำหรับป้องกันลม  แดด  และฝน  ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้  ฝนตกก็ไม่เปียก  แดดออกก็ไม่ร้อน  ฉันใด  บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิดีก็ ฉันนั้น   ย่อมสงบอยู่ได้    ไม่กระวนกระวาย  เมื่อลม  แดด  และฝน  กล่าวคือ  โลกธรรมแผดเผา  กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า    สมาธิอย่างนี้   ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยีและเชือดเฉือนกิเลสอาสวะต่างๆ  ให้เบาบางและหมดสิ้นไป เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตราอันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียนก็ปานนั้น”
 
     “ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ปัญญาซึ่งมีสมาธิเป็นรากฐานนั้น   ย่อมปรากฏดุจไฟดวงใหญ่กำจัดความมือให้ปลาสนาการ  มีแสงสว่างรุ่งเรืองอำไพ  ขับฝุ่นละอองคือกิเลสให้ปลิวหาย  ปัญญาจึงเป็นประดุจประทีปแห่งดวงใจ”
 
     “อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติผ่องใสอยู่โดยปกติ  แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด   ศีล  สมาธิ  และปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม   จิตที่ฟอกแล้วด้วยศีล  สมาธิ  และปัญญา  ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง”
 
     “ดูกรภิกษุทั้งหลาย    บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ  ย่อมพบกับปีติปราโมทย์อันใหญ่หลวง  รู้สึกตนว่าได้พบขุมทรัพย์มหึมา   หาอะไรเปรียบมิได้  อิ่มอาบซาบซ่านด้วยธรรม  ตนของตนเองนั่นแลเป็นผู้รู้    บัดนี้กิเลสานุสัยต่างๆ  ได้สิ้นไปแล้ว  ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว    เหมือนบุคคลผู้ตัดแขนขาด   ย่อมรู้ด้วยตนเองว่าบัดนี้แขนของตนได้ขาดแล้ว”

     "ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บรรดาทางทั้งหลาย  มรรคมีองค์แปดประเสริฐที่สุด  บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจประเสริฐสุด  บรรดาธรรมทั้งหลาย  วิราคะ  คือ  การปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐสุด  บรรดาสัตว์สองเท้าพระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด  มรรคมีองค์แปดนี่แลเป็นไปเพื่อทัศนะอันบริสุทธิ์  หาใช่ทางอื่นไม่  เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปดนี้  อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้  เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติ  เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป  ความเพียร เธอทั้งหลายต้องทำเอง  ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น  เมื่อปฏิบัติตนดังนี้  พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร"


    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหา อุปาทาน ความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นเป็นเราเป็นของเรา  รวมถึงความเพลินในอารมณ์ต่างๆ  สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตน  เป็นของตนที่จะไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี หาไม่ได้ในโลกนี้  เมื่อใด  บุคคลมาเห็นสักแต่ว่าเห็น  ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง  รู้สึกสักแต่ว่าได้รู้  เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เพียงสักว่าๆ ไม่หลงใหลพัวพันมัวเมา  เมื่อนั้น  จิตก็จะว่างจากความยึดถือต่างๆ ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่"


     "ดูกรภิกษุทั้งหลาย   เธอจงมองโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า  มีสติอยู่ทุกเมื่อ  ถอนอัตตานุทิฏฐิ  คือ ความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย  ด้วยประการฉะนี้   เธอจะเบาสบาย คลายทุกข์คลายกังวล   ไม่มีความสุขใดยิ่งไปกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม"

 
     "ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ  ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ในตัวเรานี้เอง   ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น   เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย  มนุษย์ได้สรรค์สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตาม   แต่ก็ไม่เคยทัน  การแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจ  ให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้น  เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มเหนื่อย  เหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็กๆ เพียงตัวเดียว   มนุษย์ส่วนใหญ่  มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม  เรื่องกิน และเรื่องเกียรติ จ นลืมนึกถึงสิ่งหนึ่ง  ซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา  สิ่งนั้น  คือ ดวงจิตที่ผ่องแผ้ว  เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรน   เรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา และเรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้  เมื่อมีเกียรติมากขึ้น  ภาระที่จะต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้ว ในหมู่ชนที่เพ่งมองแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น  จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย  เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตา  เขาพากันบ่นว่าหนัก และเหน็ดเหนื่อย  พร้อมๆกันนั้น  เขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง"

 


Create Date : 12 ธันวาคม 2564
Last Update : 1 กันยายน 2567 16:53:54 น. 0 comments
Counter : 463 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space