จงทำสิ่งที่คุณทำได้...ด้วยสิ่งที่คุณมี...ณ จุดที่คุณยืนอยู่ - ธีโอดอร์ รูสเวลท์
Uploaded with ImageShack.us
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
13 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
เหลียวมองเงาตัวเอง


“เกียรติประวัติยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเรา มิใช่อยู่ที่การไม่เคยพ่ายแพ้ล้มเหลวแม้แต่ครั้งเดียว หากแต่อยู่ที่ทุกครั้งที่พ่ายแพ้ล้มเหลวแล้วสามารถลุกขึ้นมาต่อสู้ใหม่ต่างหาก”


เกอร์เต้ สมิธส์




















ภาพจากหนังสือ ทีวีรีวิว รายสัปดาห์ 12-18 กันยายน 2545




หลังจากที่ข้าพเจ้าอ่านความเรียงเรื่อง “เดียวดายใต้เงาจันทร์” ของพญามังกรโบราณ “โกวเล้ง” จบเป็นครั้งที่สอง ก็ทำให้ข้าพเจ้าอยากรำพันชีวิตของตัวเองออกมาบ้างโดยขอยืม “ของ” ของโกวเล้งมาบรรจุหีบห่อใหม่ด้วยความคารวะ

งานที่ลอกเลียนแบบกับงานที่สร้างสรรค์ย่อมแตกต่างกันอย่างแน่นอน ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าจะเรียกงานชุดนี้ของข้าพเจ้าว่าอย่างไรดี?

นี่คือข้อความผมเขียนไว้ที่หน้าแรกๆในหนังสือชื่อ “ย่ำไปใต้แสงจันทร์ฉาย” ซึ่งเป็นพ็อคเก็ตบุ๊คเล่มล่าสุดของผมในขณะนี้ (ในตอนนั้นปี พ.ศ.2545)

หากจะนับการเดินทางของหนังสือเล่มนี้ ตั้งแต่ผมเริ่มเขียนจนกระทั่งถึงปรากฏเป็นรูปเล่มเป็นระยะเวลาถึง 12 ปีพอดี คุณคงสงสัยว่าก่อนหน้านี้มันมัวไปมะงุมมะงาหราอยู่ที่ไหนหรือ?

ตั้งแต่เขียนเสร็จผมก็เคยไปเสนอตามสำนักพิมพ์ต่าง ๆมาบ้างเหมือนกัน ทว่าไม่ผ่านการพิจารณาที่ไหนสักแห่ง แต่ผมก็ไม่เคยคิดที่จะโยนมันทิ้ง

มีอยู่ช่วงหนึ่งที่งานเขียนชุดนี้มีโอกาสได้ทยอยตีพิมพ์ลงในนิตยสารรายสัปดาห์ “โลกนวนิยาย” ยุคหลังสุด(ราวๆปี พ.ศ2539)ซึ่งมีคุณ’ปราย พันแสงเป็นบรรณาธิการก่อนที่นิตยสารฉบับนี้จะลาลับไป

และในที่สุด “ย่ำไปใต้แสงจันทร์ฉาย” มีโอกาสได้เป็นรูปเล่มตามความปรารถนาของผม แม้จะใช้เวลาเดินทางเนิ่นนานไปบ้าง แต่วันนี้มันก็ได้มาถึงแล้ว ผมขอขอบคุณคุณเต็กตี่ แซ่ตั้งแห่งสำนักพิมพ์วลี ที่ช่วยทำเรื่องราวของผมให้เป็นรูปเล่มขึ้นมาได้ และขอขอบคุณคุณสุมาลี เอกชนนิยมผู้เอื้อเฟื้อภาพประดับงดงาม

งานเขียนชุดนี้เดินผ่านกาลเวลามาถึง 12 ปีเต็ม (จากวันเริ่มเขียนจนถึงวันที่ได้ตีพิมพ์) เพราะฉะนั้นทัศนะบางอย่างทีมีต่อในเรื่องต่างๆของผมอาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ตามวัยและวันเวลาที่เพิ่มขึ้น แต่ก็มีทัศนะอีกหลายอย่างที่ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้และอาจอยู่ต่อไปจนตราบสิ้นอายุขัยของผม

ก่อนที่ผมจะเขียนต้นฉบับเรื่องนี้ ผมไปรื้อหาต้นฉบับ “ย่ำไปใต้แสงจันทร์ฉาย” ที่เขียนด้วยลายมือในร่างแรก ปรากฏว่ามันอยู่ในสมุดบันทึกเก่าแก่เล่มหนึ่ง ด้านหนึ่งเป็นต้นฉบับ “ย่ำไปใต้แสงจันทร์ฉาย” อีกด้านหนึ่งบันทึกที่ผมเขียนถึงลูกสาวซึ่งยังเป็นทารกอยู่ มีหน้าหนึ่งเขียนไว้ว่า

“พ่อสังเกตว่าช่วงนี้ลูกกำลังพยายามพลิกคว่ำบ่อยขึ้น จับอะไรก็ยัดใส่เข้าปากหมด หัวเราะและยิ้มบ่อย เวลาพ่ออุ้มก็ชอบใช้มือเล็กๆจับปากพ่ออยู่เรื่อย พ่อตั้งใจว่าจะช่วยแม่เลี้ยงลูกให้มากขึ้นกว่าเดิม แต่พ่อแทบไม่มีเวลาว่างเลย เพราะต้องลุยงานอยู่คนเดียว ป้าแบ๋วใจดีเอาเงินให้พ่อไถ่กล้องออกมาจากโรงจำนำ พ่อจะได้มีเครื่องมือทำมาหากิน งานสารคดีก็เป็นอีกงานหนึ่งที่พ่อสามารถทำได้ และถือว่าเป็นการหารายได้มาจุนเจือครอบครัวในตอนนี้

บางคืนพ่อกลับมาตอนดึกๆ จะเข้านอนแล้วลูกยังตื่นขึ้นมายิ้มกับพ่อ ทำให้พ่อมีกำลังใจที่จะลุยงานที่รออยู่ข้างหน้าอย่างไม่ลดละ พ่อได้เขียนงานอย่างที่อยากเขียนเกินครึ่งแล้ว พ่อได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่อง “เดียวดายใต้เงาจันทร์”ของ โกวเล้ง ซึ่งแปลโดย เรืองรอง รุ่งรัศมี หากเขียนเสร็จแล้วพ่อก็ยังไม่รู้จะส่งไปที่ไหนเลย"
(23 สิงหาคม 2533)

เมื่อผมพลิกดูสมุดบันทึกเล่มนี้ ความทรงจำหลายๆอย่างก็ประเดประดังเข้ามา มีสิ่งหนึ่งที่ผมจำได้แม่นยำก็คือ ที่ผมต้องเขียนลงในสมุดบันทึกคนละด้านอย่างนี้ ก็เพราะว่าในตอนนั้นผมไม่มีเงินแม้จะซื้อสมุดบันทึกเล่มใหม่ เพื่อที่จะใช้เขียนบันทึกเรื่องอีกเรื่องหนึ่งได้

กลิ่นอายของความยากจนและความลำบากยากแค้นจับเขรอะอยู่ในสมุดบันทึกเล่มนี้ และฟุ้งกระจายยามเมื่อเปิดอ่าน แต่ละหน้าที่พลิกอ่านคือวันคืนเก่าๆที่มีทั้งสุขและเศร้ารันทดคละเคล้ากันไป ชีวิตที่ผ่านมามองเห็นแต่ความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จ ถึงกระนั้นก็มีถ้อยคำในนิยายของโกวเล้งคอยปลุกปลอบให้กำลังใจเสมอมา

“ในใต้หล้า ไม่มีเรื่องดีงามเพียบพร้อมและก็มิมีเรื่องชั่วร้ายสุดยอด ความล้มเหลวแม้ไม่ดีงาม แต่ความล้มเหลวคือรากฐานของความสำเร็จ ความสำเร็จแม้เลอเลิศ แต่มักทำให้ผู้คนกลับกลายเป็นยโสถือดี อย่างนั้นความล้มเหลวก็อุบัติตามมา” (จาก “วีรบุรุษสำราญ”น.นพรัตน์ แปล)

เมื่อผมได้กลับมาอ่าน “ย่ำไปใต้แสงจันทร์ฉาย” ในวันนี้ ผมก็พอจะได้ข้อสรุปกับหนังสือเล่มบางๆเล่มนี้ว่า

“ชีวิตที่ประสบพบพานมาเช่นไร งานเขียนก็ย่อมออกมาเป็นเช่นนั้น หรืองานก็คือเงาเจ้าของชีวิตนั่นเอง”




-------------------------------------------



เรื่องนี้เขียนไว้ตั้งแต่หนังสือพิมพ์เสร็จใหม่ๆ ราวพ.ศ. 2545


Create Date : 13 กรกฎาคม 2553
Last Update : 13 กรกฎาคม 2553 11:38:57 น. 12 comments
Counter : 2552 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะพี่โดม เล่มนี้มีอยู่
ในครอบครองพอดี
อ่านจบไปหลายรอบและ
ชอบประโยคที่ว่า

" ความรักคืออะไร? "

ความรักนั้นชั่งตวงไม่ได้
จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น
แต่สัมผัสได้จากผู้รับหรือ
ผู้ให้ ไยสิ่งที่มองไม่เห็น
ตัวตนกลับมีพลังลึกลับ
อย่างประหลาด...

คล้ายดั่งพายุที่มองไม่เห็น
แต่เห็นอาการของคลื่นใน
ทะเลและใบไม้ในป่าที่ถูก
กระทบ...

คล้ายดั่งสายลมโชยแผ่ว
เบา หอบเอากลิ่นหอมของ
มวลดอกไม้มาให้ แต่เรา
กลับมองไม่เห็นผู้นำพา...

ตอนที่ไปรับหนังสือเล่มนี้
ที่ร้านหนังสือพนักงานมอง
หนังสือเล่มนี้นิดนึงอาจ
เพราะมีร่องรอยการแตก
ลายงาอยู่บ้างประปราย...







โดย: ปราย IP: 118.173.238.38 วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:12:03:22 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แวะมาอ่านค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:12:12:22 น.  

 
ตั้งชื่อเรื่อง หรือชื่อหนังสือเพราะจังค่ะ แนววรรณกรรมมากๆ



โดย: Love At First Click วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:01:22 น.  

 
สวัสดีค่ะ..

ฟุตบอลโลกจบแล้ว จะดูอะไรดีนะ..


มีความสุขมากๆนะค่ะ


โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:46:50 น.  

 
ย่ำไปใต้แสงจันทร์ฉาย…ความหมายของการดำรงอยู่

หนังสือบาง ๆ เล่มหนึ่ง มีหน้าปกสะอาดสะอ้านเรียบง่าย ไม่น่าเชื่อว่าจะมีประวัติการเดินทางนับจากวันที่ผู้เขียนเริ่มเขียนจนกระทั่งปรากฏเป็นรูปเล่มในวันนี้ ยาวนานถึง 12 ปีเต็ม

เหตุผลคงไม่มีใดอื่น นอกจากหนังสือบาง ๆ เล่มนี้ เป็นเพียงความเรียงว่าด้วย “ปรัชญาโลกียชน บนถนนนักเขียน” ซึ่งถูกสำนักพิมพ์หลายแห่งปฏิเสธมาแล้ว เพราะมองเห็นผลลัพธ์แห่งความล้มเหลวในเชิงธุรกิจซึ่งรออยู่ที่ปลายทางอย่างชัดเจนก่อนที่จะได้เริ่มต้น แต่ผู้เขียนก็มิได้ทดท้อหรือคิดที่จะโยนมันทิ้ง นั่นย่อมหมายถึงความเรียงชุดนี้ต้องมี “อะไร” ที่ผู้เขียนผูกพันและเห็นคุณค่าไม่มากก็น้อย

วันนี้ คุณเต็กตี่ แซ่ตั้ง แห่งสำนักพิมพ์วลี ได้ทำให้ความฝันของนักเขียนหนุ่มใหญ่เป็นรูปธรรมจับต้องได้แล้ว การเดินทางของตัวหนังสือกว่า 12 ปี คงมิสูญเปล่า

ข้าพเจ้ากำลังกล่าวถึง “ย่ำไปใต้แสงจันทร์ฉาย” หนังสือบาง ๆ เล่มหนึ่ง ซึ่ง “โดม วุฒิชัย” ผู้เขียน ได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนถ้อยความรำพันชีวิตของตนเอง จากการอ่านความเรียงผลึกความคิดเรื่อง “เดียวดายใต้เงาจันทร์” ของพญามังกรโบราณ “โกวเล้ง” ซึ่งแปลโดย เรืองรอง รุ่งรัศมี โดยการขอยืม “ของ” ของโกวเล้งมาบรรจุหีบห่อใหม่ด้วยความเคารพรัก

ผู้เขียนได้ตั้งชื่อชุดความเรียงของตนขึ้นก่อนให้สอดรับกับงานเขียนชุด “เดียวดายใต้เงาจันทร์” โดยแฝงนัยยะที่ใกล้เคียงกัน และนำชื่อตอนของแต่ละบทจำนวน 14 บท ซึ่งเป็นเพียงครึ่งแรกของ “เดียวดายใต้เงาจันทร์” มาใช้เป็นกรอบในการดำเนินเรื่อง มีเพียงเนื้อหาภายในแต่ละบทที่เป็นของผู้เขียนอย่างแท้จริง

“ย่ำไปใต้แสงจันทร์ฉาย” เป็นเสมือนบันทึกบทหนึ่งของชีวิตผู้เขียน บันทึกร่องรอยการเดินทางของความคิด ความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ชีวิต และสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวผู้เขียน ในขณะเมื่อผู้เขียนมีวัยเพียงสามสิบปีเศษ ซึ่งยังมีความหวัง ยังมีไฟฝัน และยังมีเรี่ยวแรง ในการแสวงหาความหมายของการดำรงอยู่ตามแบบโลกียชน โดยมีจุดเริ่มต้นจากวงสุราเมรัย ที่บรรดานักเดินทางบนถนนหนังสือได้โคจรมาพบกัน ก่อเกิดมิตรภาพ ยินเสียงสรวลเสเฮฮาและบทสนทนาที่ออกรส ร่วมร่ำรสหวานจากสุรา บางคราผสมผสานรสขมปร่าของชีวิต ตัวละครตัวแล้วตัวเล่า ผ่านเข้ามาแล้วจากไป แม้วงสุราเมรัยจะเลิกราไปแล้วเมื่อกลางดึกของทุกค่ำคืน แต่ผู้เขียนกลับต้องย่ำไปเพียงลำพังใต้แสงจันทร์เพียงเพื่อแสวงหาความหมายของการดำรงอยู่อย่างมีคุณค่าผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ของชีวิต เช่น งานเขียนหนังสือ การงาน ความคิด การดื่มกิน ผู้หญิง ความรัก มิตรภาพ ปัญหาชีวิตของแต่ละผู้คน การพบและการจากลา แม้กระทั่งในเรื่องของการใช้ชีวิตคู่ ฯลฯ

ผู้เขียนได้ให้แง่คิด ทัศนะ บทสรุป ด้วยภาษาที่ได้อรรถรสและงดงาม หลากถ้อยคำหลายถ้อยความเรียกได้ว่าเป็นคำคมบ่มเพาะให้พลังแก่จิตใจผู้อ่านได้เป็นอย่างดี ข้าพเจ้าชอบตอนที่ผู้เขียนกล่าวถึง “มิตรภาพ” ว่า “เพราะโลกนี้มีเพื่อน โลกนี้จึงมีมุมรื่นรมย์สำหรับมนุษย์” หรือเมื่อผู้เขียนพูดถึงการเผชิญหน้ากับปัญหาว่า “คนเราแม้ไม่สามารถเผชิญหน้ากับปัจจุบันได้อย่างอาจหาญแล้วละก็ ยากนักที่จะดำเนินชีวิตให้เป็นปกติสุขได้”
และบทที่ข้าพเจ้าชื่นชอบอีกบทหนึ่งคือบทที่ผู้เขียนบันทึกความรู้สึกของตนที่มีต่อความรักและชีวิตคู่ไว้อย่างน่าประทับใจว่า “จนกระทั่งข้าพเจ้ามาพบเธอ เธอซึ่งนำข้าพเจ้าเข้าไปสู่หอรักในกำแพงล้อม พบกับความอบอุ่นในร่มเงาแห่งความรัก รสชาติในกำแพงล้อมถึงแม้มิได้อบอุ่นยิ่งเกินใคร แต่ก็ยังดีกว่าความหนาวเย็นที่อยู่ภายนอก จนข้าพเจ้าไม่คิดอยากออกไปนอกกำแพงอีก”

ข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างอรรถรสของความเรียงชุดนี้ ซึ่งแม้ผู้เขียนจะลอกเลียนวิธีการนำเสนอมาจาก “ของ” ของโกวเล้ง แต่สารัตถะภายในนับเป็นงานเขียนที่สร้างสรรค์ยิ่งชิ้นหนึ่ง

ยิ่งเมื่อมาจัดพิมพ์เป็นหนังสือในรูปแบบที่เรียบง่าย ภายในเล่มมีภาพลายเส้นประดับงดงามน่ารัก ฝีมือของ สุมาลี เอกชนนิยม ให้พักสายตาและเพื่อเว้นวรรคตอนทางความคิดระหว่างบท อีกทั้งผู้เขียนได้คัดสรรถ้อยวาทะอันเฉียบคมจากนวนิยายหลาย ๆ เรื่องของโกวเล้ง ซึ่ง ว. ณ เมืองลุง กับ น. นพรัตน์ เป็นผู้แปล จากการรวบรวมของ ธนิต สุขเกษม มาเป็นของแกล้ม เพื่อให้ผู้อ่านได้ลิ้มรสคำรสความบางส่วนของ “โกวเล้ง” มังกรโบราณผู้ล่วงลับด้วยแล้ว ยิ่งทำให้หนังสือเล่มนี้มีเสน่ห์ชวนอ่านมากยิ่งขึ้น

หากจะมีข้อติอยู่บ้าง ก็คงจะเป็นเรื่องของการจัดหน้า การจัดข้อความ การใช้รูปแบบตัวอักษร ตัวหนา ตัวเอียง ซึ่งคงต้องการความเอาใจใส่เป็นพิเศษมากกว่านี้ เพื่อการสื่อความหมายที่ชัดเจนและให้อ่านง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพราะความคมเข้มของสารที่ผู้เขียนนำเสนอในแต่ละวรรคแต่ละบรรทัด ล้วนเป็นวาทะและข้อคิดที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน

“ย่ำไปใต้แสงจันทร์ฉาย” จึงเป็นหนึ่งเล่มหนังสือที่ข้าพเจ้าอยากให้คุณได้ลองสัมผัสด้วยสายตาและอ่านด้วยหัวใจ คงไม่ง่ายนัก ที่ผู้อ่านจะอ่านความเรียงใด ๆ ได้อย่างออกรสและใช้เวลาในการอ่านจนจบเล่มในชั่วเวลาสั้น ๆ หากแต่ต้องใช้เวลาครุ่นคิดต่อยอดอีกยาวนาน หนังสือเล่มนี้มีคุณลักษณะเช่นนั้น และเมื่ออ่านจบ คุณอาจค้นพบ “ความหมายของการดำรงอยู่” ในแบบฉบับของคุณเอง

แต่สำหรับข้าพเจ้า “ย่ำไปใต้แสงจันทร์ฉาย” ของ โดม วุฒิชัย คือแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าต้องหวนกลับไปอ่าน “เดียวดายใต้เงาจันทร์” เพื่อค้นหาความหมายของการดำรงอยู่ในแบบฉบับของโกวเล้งอีกคำรบหนึ่ง.

*****

หนังสือเล่มนี้ทำให้ระลึกถึงความหลัง เมื่อปี 2545

เห็นไฟล์ยังอยู่เลยขอเอามาใส่ไว้ในที่เดียวกันค่ะ


โดย: หนอนฯ IP: 10.20.3.30, 202.28.180.202 วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:56:24 น.  

 
ขอชื่นชมว่าบทวิจารณ์ของหนอนฯช่วยเพิ่มคุณค่า "ย่ำไปใต้แสงจันทร์ฉาย" ให้น่าสนใจมากขึ้น

คงต้องหวนกลับไปอ่านใหม่อีกครั้ง

หนอนฯสบายดีนะคะ


โดย: แก้วเจียระไนย IP: 192.168.51.74, 58.136.74.208 วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:27:38 น.  

 


ในยุทธจักรแห่งนี้คับแคบ แต่ก็ดูโอ่อ่าชวนยึดติดอยู่ไม่น้อย
มีบรรดานักเดินทางได้มาพบกันที่นี่ !
มิตรภาพเกิดขึ้นท่ามกลางบทสนทนาและรสสุราเมรัย จนแทบจะกลายเป็นจารีตประเพณีแห่งการสังสรรค์


บางครั้งร่ำไห้ต่อกันด้วยความรักซาบซึ้ง
บางครั้งโกรธขึ้งวิวาทกันเพราะความคิดต่างกัน
บ้างคบหากันเป็นมิตรสหายยืนยง
บ้างดำรงตัวเป็นศัตรูกัน


จากปกหลัง
“ย่ำไปใต้แสงจันทร์ฉาย”

ปรัชญาโลกียชนบนถนนนักเขียน


โดย: แฟนตัวหนังสือ IP: 118.172.49.244 วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:31:51 น.  

 

น่าอ่านๆๆ

ชอบชื่อหนังสือ


โดย: ผู้หญิงที่หลงรักพระจันทร์ IP: 117.47.149.249 วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:56:50 น.  

 

"หากเขียนเสร็จแล้วพ่อก็ยังไม่รู้จะส่งไปที่ไหนเลย".....

เป็นประโยคที่ให้ความรู้สึกโดดเดี่ยว จังค่ะ



















โดย: จันท์เจ้า IP: 118.172.247.102 วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:41:17 น.  

 
ยังไม่เคยอ่านงานเล่มนี้ของพี่โดมเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:39:41 น.  

 
สวัสดีครับทุกๆท่าน


ผมยังอยู่ในช่วงเร่งงานให้เสร็จก่อนเตรียมตัวไปตะกั่วป่าในวันที่ 23 นี้

ทั้งงานบ้านและงานเขียน
และต้องเตรียมตัว เพราะยังไม่รู้ว่าจะไปนานกี่วัน

ต้องขอโทษที่ไม่ได้ตอบเป็นรายบุคคลอย่างที่อยากทำ


ขอบคูณเหมือนทุกครั้งที่ทำให้บล็อกนี้ไม่เงียบเหงา
ไม่ว่าจะตอบคอมเม้นท์ของผมหรือไม่ก็ตาม

ถ้างั้นขอเอาเพลงนี้ของมาลีฮวนน่ามาฝากก็แล้วกันนะครับ





โดย: พ่อพเยีย วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:20:47:49 น.  

 
พ่อพเยียคะ
มาเมนต์สั้นๆแล้วจากไป ...

Miss Toy-Think อยากรายงานตัวค่ะพี่


โดย: Love At First Click วันที่: 15 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:08:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พ่อพเยีย
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]







ด้วยความยินดี...
หากมีผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่าย,บทความ
หรือข้อเขียนต่างๆ
ใน Blog นี้ไปใช้
ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด
สามารถทำได้เลยทันที
โดยไม่ต้องขออนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

เว้นเสียแต่ว่า…
ถ้านำไปพิมพ์จำหน่าย
กรุณาจ่ายค่าลิขสิทธิ์ด้วย

อ่านเรื่องของ "ปะการัง" ที่นี่



โหลดเพลง คลิปวีดีโอ นิยาย การ์ตูน


www.buzzidea.tv
Friends' blogs
[Add พ่อพเยีย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.