ประวัติสมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สา ปุสฺสเทโว)
ประวัติสมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก (สา ปุสฺสเทโว)

208 ปี วันคล้ายวันประสูติ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2564



สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม สา ฉายา ปุสฺสเทโว
เป็นสมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต
ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2436 ถึงปี พ.ศ. 2442 รวม 6 พรรษา



สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 86 ปี 145 วัน เคยเป็นสามเณรนาคหลวง
ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นผู้สามารถสอบ
เปรียญธรรม 9 ประโยค ได้ขณะยังเป็นสามเณร รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์
ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น "สามเณรอัจฉริยะ" แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) เดิมเป็นชาวตำบลบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี
ประสูติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 9 แรม 8 ค่ำ
ปีระกา จ.ศ. 1175 ตรงกับวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2356 บ้านเดิมอยู่บางเชิงกราน
จังหวัดราชบุรี พระบิดาชื่อจัน เคยอุปสมบทและชำนาญในคัมภีร์มิลินทปัญหา
และมาลัยสูตรมาก จึงได้ฉายาจากประชาชนว่า จันมิลินทมาลัย พระมารดาชื่อสุข
มีพี่น้องเกิดร่วมบิดามารดาเดียวกัน 5 คน คืออวบ, ช้าง, สา, สัง, และอิ๋ม
น้องชายของสมเด็จพระสังฆราช (สา) มีชื่อว่าสัง ได้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร



ได้สมณศักดิ์สูงสุดที่ตำแหน่งพระสมุทรมุนี แต่ภายหลังก็ลาสิกขา
ไม่ปรากฏว่าสมเด็จพระสังฆราช (สา) มีนามสกุลเดิมว่าอย่างไร ซึ่งในช่วงที่
พระองค์ลาสิกขามาครองเรือนมีภรรยานั้น จึงมีทายาทที่สืบเชื้อสายมาจากพระองค์นามสกุลว่า
"ปุสสเด็จ" และ "ปุสสเทโว" ซึ่งทั้งสองนามสกุลนี้ยังคงมีทายาท
สืบต่อกันมาในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีจนถึงปัจจุบัน



ผลงาน พระองค์ได้แต่งหนังสือเทศน์ขึ้นไว้ สำหรับใช้อ่านในวันธรรมสวนะปกติ
และในวันบูชา แต่งเรื่องปฐมสมโพธิ์ย่อ 3 กัณฑ์จบ สำหรับถวายเทศน์ในวันวิสาขบูชา 3 วัน ๆ
ละ หนึ่งกัณฑ์ และเรื่องจาตุรงคสันนิบาตกับโอวาทปาติโมกข์ สำหรับถวายในวันมาฆบูชา
ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และยังได้ รจนาปฐมสมโพธิ์ภาคพิสดาร สำหรับใช้เทศนา
ในวัด 2 คืนจบอีกด้วย พระนิพนธ์ต่าง ๆ ของพระองค์ ยังคงใช้ ในการเทศนา
และศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุ สามเณร จนถึงปัจจุบัน งานพระนิพนธ์ของพระองค์
มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นงานแปลพระสูตรที่มีอยู่ 20 สูตร หนังสือ
เทศนามี 70 กัณฑ์ และเบ็ดเตล็ดมี 5 เรื่อง



ในปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ
ให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งแต่เดิมจารึกไว้ด้วย อักษรขอม ด้วยการจารลงในใบลาน
การคัดลอกทำได้ช้า ทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลาย ไม่พอใช้ในการศึกษาเล่าเรียน
ไม่สะดวกในการเก็บรักษา และนำมาใช้อ่าน ทั้งตัวอักษรขอมก็มีผู้อ่านได้น้อยลงตามลำดับ
การพิมพ์พระไตรปิฎก เป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย



จะแก้ปัญหาข้อขัดข้องดังกล่าวได้ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้อาราธนาพระเถระนุเถระมาประชุม
ร่วมกับราชบัณฑิตทั้งหลาย ตรวจชำระพระไตรปิฎกภาษาบาลี
แล้วจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือขึ้น (เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับ ร.ศ. 112)
สมเด็จพระสังฆราช (สา) ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงดำรงพระยศกรมหมื่น
เป็นรองอธิบดี จัดการทั้งปวงในการสังคายนาครั้งนี้ พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ครั้งนี้
มีจำนวน 1000 จบ ๆ ละ 39 เล่ม ใช้เงิน 2,000 ชั่ง พิมพ์เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2436
เป็นที่เลื่องลือแพร่หลายไปทั่วโลก
 
และทรงผูกพระคาถาหน้าบันกระทรวงกลาโหม
และตราแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 (ตราอาร์ม)




ขอขอบคุณภาพ จากเพจ Facebook หอสมุดำิกุลศิลปาคร :
https://www.facebook.com/PikulKnowledgeCenter/



ฝากกด like Facebook นายแว่นขยันเที่ยว : 
https://www.facebook.com/นายแว่นขยันเที่ยว-110467381183341



ขอบคุณที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้ผม
"นายแว่นขยันเที่ยว"



ขอบคุณเพลง : ตามตะวัน
ศิลปิน : NUM KALA x แอ๊ด คาราบาว
Vote : ประวัติศาสตร์



Create Date : 19 สิงหาคม 2564
Last Update : 19 สิงหาคม 2564 16:46:01 น.
Counter : 2218 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณThe Kop Civil, คุณทนายอ้วน, คุณสองแผ่นดิน, คุณชีริว, คุณhaiku, คุณSweet_pills

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นายแว่นขยันเที่ยว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]



สิงหาคม 2564

1
7
8
12
14
15
20
22
28
29
31
 
 
All Blog