รํานาฏศิลป์อินเดีย ถวายพระพิฆเนศ ณ บ้านปาราวัติมาลัยไกรลาศสถาน
รํานาฏศิลป์อินเดีย ถวายพระพิฆเนศ ณ บ้านปาราวัติมาลัยไกรลาศสถาน
บ้านปาราวัติมาลัยไกรลาศสถาน ตั้งอยู่ ซอยนนทรี 2 เขตยานนาวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร 
พิกัด : https://maps.app.goo.gl/WV1jTDR5xRcKNynM8



นาฏศิลป์อินเดียมีความผูกพันอยู่กับคติความเชื่อ และศรัทธาในศาสนาฮินดู
การแสดงนาฏศิลป์สะท้อนให้เห็นถึงการเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เน้นความลึกลับ
ศักดิ์สิทธิ์ อินเดียถือว่านาฏศิลป์เป็นทิพยกำเนิดตามคัมภีร์ภารตะนาฏยศาสตร์



ซึ่งได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์อินเดีย และการแสดงที่อินเดียยึดถือ
เป็นแบบแผน ยกย่องว่าเป็นศิลปะประจำชาติมาพอสังเขป



ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์อินเดีย
ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์อินเดียตามคัมภีร์นาฏยศาสตร์
พระภารตะมุนีเป็นผู้รับพระราชทานนาฏลีลาจากพระพรหม และพระศิวะ
ชาวฮินดูจึงยกย่องพระศิวะเป็น “นาฏราชา” หมายถึง พระราชาแห่งการฟ้อนรำ



ยุคที่อินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ อินเดียได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
ทางด้านนาฏศิลป์ การละคร วัฒนธรรม ตะวันตกได้เข้ามาผสมผสานทำให้นาฏศิลป์
ที่เป็นแบบฉบับในราชสำนักกลายเป็นสิ่งไร้ค่า ขาดการดูแลรักษา จนเกือบจะสูญ



ต่อมาเมื่ออินเดียเป็นเอกราช จึงฟื้นฟูนาฏศิลป์ประจำชาติขึ้นมาใหม่ อันได้แก่
ภารตะนาฏยัม กถักกฬิ และมณีปุรี โดยมีรายละเอียด



ภารตะนาฏยัม เป็นนาฏศิลป์ที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย มีส่วนสำคัญในพิธี
ของศาสนาฮินดูสมัยโบราณ สตรีฮินดูจะถวายตัวรับใช้ศาสนาเป็น “เทวทาสี”
ร่ายรำขับร้อง บูชาเทพในเทวาลัย ซึ่งจะเริ่มฝึกตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ศึกษาพระเวท วรรณกรรม
ดนตรี การขับร้องของเทวทาสีเปรียบประดุจนางอัปสรที่ทำหน้าที่ร่ายรำบนสวรรค์



1. การแสดง ผู้แสดงต้องได้รับการฝึกฝนอย่างมีแบบแผน ด้วยระยะเวลายาวนาน
จนมีฝีมือยอดเยี่ยม สามารถเครื่องไหวร่างกายได้สอดคล้องกับจังหวะดนตรี เนื้อหาสาระ
ของการแสดง สะท้อนสัจธรรมที่ปลูกฝังยึดมั่นในคำสอนของศาสนา แสดงได้ทุกสถานที่ ไม่เน้น
เวที ฉาก เพราะความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของภารตะนาฏยัม คือลีลาการเต้น และการ่ายรำ



2. ดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดง ในวงดนตรีจะมีผู้ขับร้อง 2 คน คนหนึ่งจะตีฉิ่ง
คอยให้จังหวะแก่ผู้เต้น อีกคนจะเป็นผู้ขับร้องและตีกลองเป็นหัวใจสำคัญ
ของการแสดงภารตะนาฏยัม ส่วนเครื่องดีด และเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย
เป็นเพียงส่วนประกอบให้เกิดความไพเราะเท่านั้น



3. เครื่องแต่งกาย ในยุคโบราณ จากหลักฐานที่ปรากฏตามรูปปั้น รูปแกะสลัก ไม่สวมเสื้อ
สวมแต่ผ้านุ่งยาวแค่เข่า ใส่เครื่องประดับ สร้อยคอ ต่างหู กำไล ข้อมือ ข้อเท้า ต้นแขน
ปละเครื่องประดับที่ศีรษะ ปัจจุบันสวมเสื้อ ยึดหลักการแต่งกายสตรี
ที่เป็นชุดประจำชาติของอินเดีย



กถักกฬิ เป็นการแสดงละครที่งดงามด้วยศิลปะการ่ายรำแบบเก่าๆ ผู้แสดงจะต้องสวมหน้ากาก
นับว่ากถักกฬิของอินเดียเป็นต้นเค้าของนาฏศิลป์ตะวันออก เช่น ละครโน้ะของญี่ปุ่น
โขนของไทย และนาฏศิลป์อินโดนีเซีย ส่วนพม่าจะนิยมแสดงเรื่องรามายณะ และมหาภารตะ



1. การแสดง ผู้แสดงเป็นชายล้วน แบ่งตัวละครออกเป็นประเภท คือ
ประเภทแรกจะเป็นเทพเจ้าที่มีคุณธรรมสูง เช่น พระนารายณ์ พระอินทร์ เป็นต้น
ประเภทที่สองจะเป็นมนุษย์ และวีรบุรุษ เช่น พระราม พระลักษณ์



ประเภทที่สามจะเป็นตัวละครที่มีความชั่วร้าย การแสดงชุดกถักกฬินี้จะแสดงกัน
ตลอดทั้งคืนจึงยุติ เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของวีรบุรุษ และวีรสตรี พระเจ้า และยักษ์
จากมหากาพย์ของอินเดีย จุดเด่นของการแสดงละครกถักกฬิอยู่ที่การเล่นจังหวะ
กระทบเท้าอย่างรวดเร็ว ฉับไว แม่นยำ และลีลาที่หมุนตัวเป็นเอกลักษณ์ของระบำกถักกฬิ



2. ดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดงที่สำคัญที่สุด คือ กลอง นอกจากนี้ยังมีเครื่องสีที่มีลักษณะ
คล้าย ไวโอลีน เรียกว่า “ซารองงี” บรรเลงทำนองด้วย มีนักร้อง 1 คน



3. เครื่องแต่งกาย ตังละครชาย นุ่งกางเกงขายาว จีบรอบเอว มีผ้าคาดเอว ไม่สวมเสื้อ
ตัวละครที่แสดงเป็นผู้หญิง แต่งกายเป็นชุดประจำชาติสตรีอินเดีย ปัจจุบันปรับปรุงการแต่งกาย
ให้งดงาม เป็นผ้าไหมขลิบทองเป็นชุดกระโปรงยาว ใส่เสื้อสวมส่าหรีทับเสื้อ สวมเครื่องประดับ



ใครที่ยังไม่ได้เข้าไปอ่านบล๊อก ก๋วยเตี๋ยวต้มยำหมูสัม ป้าป๋อง วัดอ่างแก้ว
จังหวัดกรุงเทพฯ
 
สามารถกดที่นี่ได้เลยครับ



ฝากกด like Facebook นายแว่นขยันเที่ยว : 
https://www.facebook.com/นายแว่นขยันเที่ยว-110467381183341



ฝากกดติดตาม YouTube PT Channel : 
https://www.youtube.com/channel/UCGZdHn45JVfiyGdW4wZE0Tw 



ขอบคุณที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้ผม
"นายแว่นขยันเที่ยว"



ขอบคุณเพลง : Ganesh Mantra
ศิลปิน : SURESH WADKAR
Vote : ท่องเที่ยวไทย




Create Date : 25 กันยายน 2566
Last Update : 25 กันยายน 2566 1:08:58 น.
Counter : 702 Pageviews.

2 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณnewyorknurse, คุณปัญญา Dh, คุณกะว่าก๋า, คุณเริงฤดีนะ, คุณหอมกร, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณ**mp5**, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณhaiku, คุณSweet_pills, คุณเจ้าหญิงจอมซ่าส์

  
โอม..สตี...โอม

โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 25 กันยายน 2566 เวลา:6:39:33 น.
  
โดย: หอมกร วันที่: 25 กันยายน 2566 เวลา:7:02:26 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นายแว่นขยันเที่ยว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]



กันยายน 2566

 
 
 
 
 
2
3
5
7
9
10
12
14
16
17
19
21
23
24
26
28
30
 
All Blog