วันรำลึกพระโพธิสัตว์กวนอิม ปี 2564ปีนี้ตรงกับวันพุธ ที่ 28 กรกฏาคม พ.ศ.2564 (19 ค่ำเดือน 6 จีน)
อักษรคำว่า "พระโพธิสัตว์" ในภาษาจีนเรียกว่า "ผูซ่า"ส่วนในสำเนียงแต้จิ๋วออกเสียงว่า "ผ่อสัก"
觀音菩薩成道纪念日(กวงอิมผู่สักเส่งเต๋ากี้เหนี่ยมยิก)
ดังนั้น พระนามของพระโพธิสัตว์กวนอิมจึงมีอยู่ด้วยกันหลายชื่อ ส่วนใหญ่แล้ว
ในสำเนียงจีนกลางจะนิยมเรียกว่า "กวนอินผูซ่า"หรือ "กวนซื่ออินผ่อสัก" นอกจากนี้
ยังมีอีกบางชื่อที่มีเรียกกัน ได้แก่ "กวนจื้อไจ้ผูซ่า"และ "กวงซื่ออินผูซ่า"แต่สำหรับ
ชาวไทยแล้วจะเรียก "เจ้าแม่กวนอิม" แต่ที่ให้ถูกคือ" พระโพธิสัตว์กวนอิม"
เดิมทีนั้นพระนามเดิมที่เรียกพระโพธิสัตว์กวนอิม จะเรียกว่า "กวนซื่ออิน" หรือ
"กวนซีอิม"ในภาษาจีนแต้จิ๋ว แต่เนื่องจากในสมัยราชวงศ์ถัง อักษรคำว่า
"ซื่อ" ตรงกับชื่อเดิมของถังไท้จงฮ่องเต้ คือ "หลี่ซื่อหมิน"
จึงได้เลี่ยงมาเรียกย่อ ๆ ว่า "กวนอิน"หรือ"กวนอิม"
"ผูซ่า" หรือ "ผ่อสัก" คิอ ผู้ซึ่งตั้งจิตแน่วแน่ในการบำเพ็ญเพียร เพื่อที่จะเป็นพระพุทธเจ้า
ต่อไปในอนาคต จึงมีการสร้างสมบุญบารมีเพื่อโปรดสัตว์โลกให้พ้นจากทุกข์และเรียกกันว่า
"พระโพธิสัตว์" คติเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์นี้มาจากลัทธิมหายาน ที่มีต้นกำเนิดมาจาก
ประเทศอินเดีย เรียกกันในสันสกฤตว่า พระอวโลกิเตศวร (Avalokitesvara) ซึ่งแปลว่า
พระผู้เฝ้ามองดูด้วยความเมตตากรุณา หรือ พระผู้ทรงสดับฟังเสียงร้องไห้ของสัตว์โลก
พระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นพระโพธิสัตว์ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
ที่มีผู้รู้จักและศรัทธามากที่สุด เป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการกราบไหว้บูชาจากชาวจีน
ทั่วทุกมุมโลก และแพร่หลายไปอย่างกว้างขวางในทุก ๆ ที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่
ในคตินิยมทางสัญลักษณ์วัฒนธรรมมงคลของจีน องค์กวนอิม คือ พระผู้ทรงเปี่ยมด้วย
ความรักความเมตตาต่อสรรพสัตว์ เป็นพระผู้เปี่ยมด้วยความกตัญญู และเป็นสัญลักษณ์
แห่งเมตตามหาการุณย์เพื่อโปรดสัตว์ให้หลุดพ้นจากห้วงทุกข์ ดังคำปณิธาน
ของพระองค์ที่ว่า
หากยังมีสัตว์ตกทุกข์ได้ยากอยู่ ก็จะไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ
ดังนั้น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ของอินเดียนั้น ก็คือองค์เดียวกันกับ พระกวนอิมโพธิสัตว์
หรือ เจ้าแม่กวนอิมที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพนับถือด้วยความซาบซึ้ง
ในน้ำพระทัยแห่งมหาการุณย์ ที่พระองค์ทรงโปรดสัตว์ทั่วทั้งไตรภูมิ ให้พ้นจากกองทุกข์
ส่วนเหตุผลของความเปลี่ยนแปลงจากบุคลิกลักษณะของพระอวโลกิเตศวร
(พระโพธิสัตว์กวนอิม)ที่เดิมเป็น
เพศชาย จนแปรเปลี่ยนเป็นเพศหญิงนั้น
นักประติมานวิทยา สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากเหตุผล 2 ประการ
ประการแรก นั้นคือ พระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นผู้ทรงโปรดสัตว์โลก ผู้ตกทุกข์ได้ยาก
และในสมัยโบราณนั้น ผู้หญิงมักได้รับการกดขี่ข่มเหงและทุกข์ทรมานมากกว่าเพศชาย
จึงเกิดภาพลักษณ์ในด้านที่เป็นเพศหญิง เพื่อช่วยเหลือสตรีให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรม
ประการที่สอง นั้นคือ ผู้หญิงเป็นเพศที่มีความอ่อนโยนและมีจิตใจที่ดีงามกว่าเพศชาย
โดยเฉพาะความรักของผู้เป็นมารดา อันเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาการุณย์ต่อบุตร ดังนั้น
จึงเชื่อกันว่า นี้คือเหตุเปลี่ยนแปลงของภาพแห่งลักษณะพระโพธิสัตว์กวนอิม
ที่แปรเปลี่ยนรูปลักษณ์เป็นเพศหญิงในที่สุด
ฝากกด like Facebook นายแว่นขยันเที่ยว :
https://www.facebook.com/นายแว่นขยันเที่ยว-110467381183341ฝากกดติดตาม YouTube กูรูเอมมี่ แชลแนล :
https://www.youtube.com/channel/UCRYXqGydbgKYciPr2Kilw3gขอขอบคุณ อาจาร์เอมมี่ เทพนิมิตต์ โหราเวทย์ศรีธนญชัย
ขอบคุณที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้ผม
"นายแว่นขยันเที่ยว"
ขอบคุณเพลง : Pu Du Zhong Sheng
ศิลปิน : Amy Chan
Vote : ข้อคิด-ธรรมะ