|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | |
|
|
|
|
|
|
|
อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ ๗ / ๑๘
พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
สอนพระกรรมฐานในระหว่างเข้าพรรษาปี ๒๕๒๑ อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ ๗ อารมณ์พระโสดาบัน(ต่อ)
ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย และท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย สำหรับเวลานี้ ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อนี้ไปก็เป็นโอกาสที่ท่านทั้งหลายจะได้รับการศึกษาในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน สำหรับในระยะนี้เป็นระยะที่ท่านทั้งหลายศึกษาในด้านอานาปานุสสติกรรมฐาน
ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายจงสนใจกับอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นปรกติ สำหรับกรรมฐานกองนี้ผมจะพูดละเอียดกว่ากองอื่นๆ เพราะว่าเป็นแบบแผนที่มีความสำคัญ สำหรับกองต่อไปก็จะพูดโดยย่อ
คำว่า สนใจกับอานาปานุสสติกรรมฐาน ก็หมายความว่า จะนั่งอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี จะยืนก็ดี จะนอนก็ดี เอาจิตไปสนใจกับลมหายใจเข้าหายใจออก
เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก เวลาหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ อย่างนี้เป็นแบบหนึ่ง คือแบบของมหาสติปัฏฐานสูตร
สำหรับในแบบกรรมฐาน ๔๐ เวลาหายใจเข้ามีความรู้สึกว่าลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออกลมกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูกหรือว่าริมฝีปาก ถ้าคนมีริมฝีปากเชิดจะมีความรู้สึกว่าลมกระทบริมฝีปาก ถ้าริมฝีปากงุ้ม จะมีความรู้สึกว่าลมกระทบจมูก ถ้ามีความรู้สึกสามฐานก็แสดงว่า การทรงอานาปานุสสติกรรมฐานของท่านเริ่มใช้ได้
ผมใช้คำว่า เริ่มใช้ได้ เพราะว่ายังใช้ไม่ได้เต็มที่ ถ้าจะใช้ให้ได้เต็มที่ ก็ต้องมีความรู้สึกว่าลมหายใจเบาลง แต่ก็อย่าไปผ่อนลมหายใจ ให้เกิดความรู้สึกเอง และก็ในที่สุดไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ถ้าไม่มีความรู้สึกว่าหายใจนี่เป็นอาการของฌานสี่
ฉะนั้น อาการที่ท่านทั้งหลายพากันพยายามรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกกันเป็นปรกติ ก็จะเป็นการห้ามจิตไม่ให้ไปยุ่งกับนิวรณ์ ๕ ประการ และก็จะเป็นการห้ามจิตและป้องกันจิตไม่ให้ไปยุ่งกับอารมณ์ที่เป็นอกุศลทั้งหมด หลังจากนั้นจิตของท่านก็จะประกอบไปด้วยปัญญา ต่อนี้ไปจิตก็ก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้เข้าถึงวิปัสสนาญาน
ฉะนั้นขอท่านพระโยคาวจรทุกท่าน จงอย่าทิ้งอารมณ์การรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกเสีย ถึงแม้ว่าท่านจะทำกองอื่นก็ตาม ต้องขึ้นอานาปานุสสติก่อนเสมอ
ความจริงเรื่องของพระโสดาบัน ผมก็คิดว่าจะหยุดตั้งแต่เมื่อคืนที่แล้ว แต่มาวันนี้มาคิดได้ว่า ความจริงเรื่องการเป็นพระโสดาบันนี่เป็นยาก ที่ว่าเป็นยากก็เพราะว่าจิตดวงเดิมของเรา มีการคบหาสมาคมกับอารมณ์ที่เป็นอกุศลอยู่เสมอ ฉะนั้นจึงขอย้ำอีกสักครั้งหนึ่ง หรือว่าย้ำอีกวาระหนึ่ง
คือการย้ำนี่ ผมจะขอเอาความประพฤติและการแนะนำของลัทธิฝ่ายตรงกันข้ามมาใช้ ความจริงเขาจะเป็นลัทธิอะไรก็ตาม ถ้าของเขาดี เราก็ควรนำมาใช้ ลัทธิอันนี้ถึงจะเรียกว่าลัทธิอะไรไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่การประพฤติปฎิบัติ
เขาแนะนำกันว่าอย่างนี้ เด็กๆ ในสมาคมนั้น เขาแนะนำว่า จงลืมพ่อ จงลืมแม่ จงลืมครูบาอาจารย์ ลืมพระมหากษัตริย์ ลืมทุกอย่างเสีย เรามีความต้องการอย่างเดียวคือสังคมนิยม นี้เป็นอาการที่สอน
โตขึ้นมาแล้ว เมื่อถือปืนเข้าต่อสู้หวังจะยึดพื้นที่ เขาก็แนะนำว่า จงติด เกาะติดประชาชน หมายความว่าประชาชนอยู่ที่ไหน เกาะติดที่นั่น ไม่ทำตนให้เป็นศัตรูกับประชาชน ทำตนให้เป็นมิตรกับประชาชน
ประการที่สอง เกาะติดพื้นที่ พื้นที่ที่ใดที่เรารักษาอยู่ พื้นที่นั้นเราจะไม่ยอมให้เป็นที่อยู่ของข้าศึก หมายความว่าจะไม่ยอมให้ฝ่ายตรงกันข้าม เข้ามายุ่งกับพื้นที่นั้นได้
ประการที่สาม เกาะติดกองทัพ คือหมายความว่าคู่ต่อสู้ของเราอยู่ที่ไหน เราจะเกาะติดที่นั่น ไม่ยอมถอยเด็ดขาด
แล้วต่อมาคติของเขาก็มีว่า มึงมากูมุด มึงหยุดกูแหย่ มึงแย่กูตี มึงหนีกูตาม อันนี้เป็นคติของเขา ถึงแม้ว่าจะเป็นคติการเมืองหรืออะไรก็ช่างเถอะ เรามีความต้องการอย่างเดียว นำนโยบายของเขามาใช้ในด้านธรรมะของเรา
คำว่า ลืม อันนี้ผมจะพูดเฉพาะขั้นพระโสดาบัน
อันดับแรก เราก็จงลืมความทรงชีวิตตลอดกาลตลอดสมัยเสีย นี่ความรู้สึกเดิมของเรามีอยู่ว่า เราเกิดมาแล้วเราจะไม่ตาย อารมณ์อย่างนี้เราลืมเสียให้หมด จงมีความรู้สึกใหม่ว่าความเกิดมีขึ้นมาได้ ความแก่ความแปรปรวนมันก็มีได้เหมือนกัน ความป่วยไข้ไม่สบายมันก็มีได้ ความตายมันก็มีได้ ฉะนั้นเราจะต้องตายแน่ อันนี้เราไม่ลืม เราลืมความรู้สึกที่คิดว่าจะไม่ตายเสีย หันเข้ามาหาความรู้สึกว่าเราจะต้องตายแน่
แต่ก่อนที่เราจะตาย เราก็ต้องเกาะติด เกาะติดอะไร เกาะติดความดี ให้ทำความรู้สึกไว้เสมอว่าถ้าเราเป็นคนดี ถ้าตายจากคนเป็นผี เราก็เป็นผีดี ผีดีผีอะไร คือผีเทวดา ผีพรหมหรือผีพระนิพพาน เป็นอันว่าดินแดนที่เราจะไปอยู่เป็นดินแดนที่มีความสุขมาก ถ้าดีมากก็สุขมาก ดีปานกลางสุขปานกลาง ดีน้อยสุขน้อย
ดีน้อยสุขน้อยหมายถึงว่าเกิดบนสวรรค์เป็นเทวดา ดีปานกลางหมายถึงว่า เกิดเป็นพรหมอยู่ชั้นพรหม ดีถึงที่สุดดีมากก็หมายถึงว่าตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานไปพระนิพพาน นี่เราต้องเกาะติดความดี
เมื่อเกาะติดความดีแล้ว ความดีที่เราจะพึงเกาะติด ตามที่ผมพูดมาแล้ว ก็คือ
หนึ่ง เราไม่ลืมใช้ปัญญาวินิจฉัยคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านี่เราจะเชื่อโดยที่เราไม่ใช้ปัญญาพิจารณาไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่ชอบ พระพุทธเจ้าทรงชอบคนที่ฟังแล้วนำไปคิดและก็ทดลองในการปฏิบัติ ในเมื่อทดลองมีผลแล้วจริงค่อยเชื่อท่าน
ฉะนั้นอันดับแรกเราจะเชื่อพระพุทธเจ้าก็ต้องอาศัยการพิจารณาเสียก่อน ว่าคำสอนขององค์สมเด็จพระชินวรมีผลจริงหรือไม่ เมื่อแน่ใจว่าดีแน่ เราก็เชื่อพระพุทธเจ้าคือยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า ยอมรับพระธรรม ยอมรับนับถือพระอริยสงฆ์ ที่พยายามร้อยกรองพระธรรมวินัยที่องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงแนะนำไว้เพื่อให้เราศึกษากัน
อันนี้ก็หมายความว่าเราเกาะติดพระพุทธเจ้า เราเกาะติดพระธรรม เราเกาะติดพระอริยสงฆ์
คำว่า เกาะติดพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า สัพพปาปัสสะ อกรณัง ซึ่งแปลว่า เธอทั้งหลายจงอย่าทำความชั่วทั้งหมด ทั้งกาย วาจา และใจ เราเกาะติดคำนี้ เราไม่ทำความชั่วทุกอย่าง
กุสลัสสูปสัมปทา พระพุทธองค์ทรงสอนว่า เมื่อเราไม่ทำความชั่วแล้วก็จงประพฤติแต่ความดี เราก็เกาะติดตัวนี้สร้างความดีให้เกิดขึ้นในทุกด้านที่พระองค์ทรงสั่งสอน ทั้งกาย วาจาและใจ
สาม สจิตตปริโยทปนัง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเธอจงทำใจของเธอให้ผ่องใสจากกิเลส
อันนี้เราก็ต้องเกาะติดสมถะและวิปัสสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อสามเป็นด้านของวิปัสสนา ข้อสองเป็นด้านของศีลและสมาธิ ข้อหนึ่งเป็นด้านการทำจิตให้มีความรู้สึกว่าความชั่วเป็นโทษเป็นทุกข์เป็นภัย
เอตัง พุทธานะสาสนัง พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ตรัสเหมือนกันอย่างนี้หมด
คำสอนอย่างนี้ที่เราจะรู้ได้ก็เพราะอาศัยพระสงฆ์เป็นผู้นำมา พระสงฆ์รับคำสอนจากพระพุทธเจ้าแล้วจำมา แล้วก็นำมาสอนพวกเรา ท่านประพฤติปฏิบัติได้แล้ว
ฉะนั้นเราจึงเกาะติด ลืมความชั่วเสียทั้งหมด ขึ้นชื่อว่าความชั่วในอดีต ที่มีมาแล้วทั้งหมด เราลืมมันเสีย คือว่าเราไม่หันไปประพฤติความชั่วใดๆ ทั้งหมด ทั้งกาย วาจาและใจ
เราเข้ามาเกาะติดความดี คือคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็ดูจริยาของพระพุทธเจ้าที่ทรงปฏิบัติมาอย่างไร เราเกาะติดจริยาแบบนั้น เป็นอันว่าเราเกาะติด แล้วก็ดูพระสงฆ์ทั้งหลายที่เป็นพระอรหันต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้เพราะทรงปฏิบัติอย่างไร เราก็เกาะติดจริยาอย่างนั้น อันนี้เป็นการเกาะติด
ต่อมาเราก็เกาะติดอีก เกาะติดอะไร คือ เกาะติดศีล ศีลพระมีเท่าไหร่ ๒๒๗ ศีลเณรมี ๑๐ ศีลฆราวาสเอา ๕ เป็นสำคัญ จะปฏิบัติศีล ๘ ก็ได้ แต่ว่าศีล ๕ ต้องถือว่าเป็นสำคัญ เพราะว่าพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ฆราวาสเขาทรงแค่ศีล ๕ เท่านั้น
สำหรับพระเณรต้องถือว่าศีล ๒๒๗ หรือศีล ๑๐ เป็นศีลปรกติที่เราจะต้องปฏิบัติ จะไปปฏิบัติศีล ๕ ไม่ได้ ฉะนั้นก็จงระวังว่า ถ้าเราบกพร่องในศีล ๕ ก็หมายถึงว่าศีล ๑๐ หรือศีล ๒๒๗ ไม่มีสำหรับเรา เราเป็นผู้ไม่คู่ควรกับผ้ากาสาวพัตร์ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุมัติให้กับเรา
ฉะนั้นเมื่อเราจะเกาะติดศีล เราจะเกาะติดศีล เราก็ต้องลืม ลืมอะไร อันนี้คุณฟังไว้แล้วก็จำไว้นะ ให้มันเป็นนิทัสนะประจำใจของเรา เราฟังคำสอนกันมากกว่าที่อื่นทั้งหมด แต่ทว่าถ้าจิตใจของท่านไม่สามารถจะลดความชั่ว ทรงความเป็นพระโสดาบันได้ ผมจะเสียดายเวลาที่ผมแนะนำอย่างยิ่ง
คำว่าลืมทั้งหมด เราลืมอะไร
● เราลืมความโหดร้าย คืออารมณ์จิตที่ขาดความเมตตาปรานีเนี่ย ลืมมันเสีย เรามีแต่อารมณ์จิตที่ประกอบไปด้วยความเมตตาปรานีเป็นสำคัญ เป็นอันว่าเราลืมความโหดร้าย เราก็เกาะติดความเมตตาปรานี อย่าลืมนะครับ อันนี้เป็นศีลข้อที่ ๑
● ศีลข้อที่ ๒ ลืมมือไว หมายถึงว่าการฉกชิงวิ่งราว การลักการขโมย การยื้อแย่งทรัพย์สินของเขา มือไวหรือใจไว ถ้าใจมันช้ามือมันก็ช้า ถ้าใจไวมือมันก็ไว ให้มันไวด้วยกัน เราลืมความมือไวในด้านความเลวเสีย ลืมใจไวในด้านความเลวเสีย ถ้าใจเราไม่ยุ่งกับความเลว มือหรือวาจามันก็ไม่เลวเหมือนกัน
นี้การที่จะคิดลักคิดขโมย คิดยื้อแย่งคิดคดโกงทรัพย์สินของบุคคลอื่น เราลืมมันเสีย เรามีอารมณ์ตรงกันข้ามคือแทนที่เราจะมีความรู้สึกอย่างนั้น เราสร้างความรู้สึกเสียใหม่ คือ เกาะติดทานการให้ อย่าลืมนะขอรับ นี้เราลืม ลืมลัก ลืมขโมย ลืมทุจริต แต่ว่าเราเกาะติดผลของทานการให้หวังในการสงเคราะห์เป็นสำคัญ
อันนี้ทำอารมณ์ของเราให้เกาะติดตัวนี้ไว้ เรามีจิตเมตตา กรุณา สงสารคนทั้งหลายและสัตว์ทั้งหลาย สงสารเขาเหมือนกับสงสารตัวเรา อันนี้เราใช้อารมณ์เกาะติดคือแทนที่เราจะแย่ง จะลักขโมยเขา เรากลับเป็นผู้ให้ ตั้งใจคิดว่าจะให้ไว้เสมอ และก็เต็มใจในการให้ถ้าเรามี ถ้าเราไม่มีวัตถุเป็นที่ให้ เราก็ให้แรงงานช่วยแรงงาน ถ้าแรงงานเราไม่มีจะให้เราก็ให้ปัญญา ช่วยในการแนะนำ
เป็นอันว่าเรากลับใจจากอารมณ์อยากจะได้ของเขากลายเป็นผู้ให้ เราลืมคิดลัก คิดขโมย แต่เราเกาะติดในการให้ มันก็เป็นการทำลาย ป้องกันความชั่วในด้านของศีล ที่จะละเมิดศีลเสียได้ในข้อที่สอง
● ข้อที่สาม เราลืมความเป็นคนใจเร็ว คำว่าใจเร็วในที่นี้คือใจลืมคิด เห็นลูกเขา เห็นเมียเขา คนในปกครองของเขา เรามีความต้องการจะสมสู่อยู่ร่วมกันในฐานะสามีภรรยา โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากท่านผู้ปกครองหรือเจ้าของของเขา นี่เป็นความชั่วที่เราจะต้องลืม เราลืมมันเสีย อารมณ์อย่างนี้อย่าให้มีในจิตของเรา
เราก็เกาะติดอารมณ์สันโดษ พอใจแต่เฉพาะคู่ตัวผัวเมียของเราเท่านั้น ไม่ปรารถนาจะไปล่วงเกินยื้อแย่งบุตรธิดาสามี ข้าทาสหญิงชายคนในปกครองของบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง
คำว่ากาเมนี่ไม่ใช่เฉพาะผัวเขาเมียเขา ลูกเขาหลานเขาเหลนเขา คนใช้เขา คนในปกครองของเขา ถ้าเขายังมีผู้ปกครองอยู่ เราไม่ได้รับอนุมัติ ไปร่วมรักถึงแม้ว่าจะมีความพอใจในระหว่างซึ่งกันและกัน ก็จัดว่าเป็นโทษของกาเม
นี่อาการประพฤติปฏิบัติข้อนี้ต้องละเอียดนิดหนึ่ง อันนี้เราก็เกาะติดสันโดษ ถ้าเราเป็นคนโสดก็พอใจในความเป็นโสด เกาะติดความเป็นโสด ต้องการจะแต่งงานก็มีความยินดีเกาะติดเฉพาะภรรยาหรือสามีของเราเท่านั้น บุคคลอื่นใดเราไม่ต้องการ
● สำหรับศีลข้อที่สี่ เราจะต้องลืมวาจาสี่สถาน ไม่มีในอารมณ์จิตของเรา หนึ่งพูดไม่จริง สองพูดหยาบ สามพูดยุแยงตะแคงแส่ให้เขาแตกร้าวซึ่งกันและกัน แตกความสามัคคี สี่พูดวาจาสำราก เป็นที่สะเทือนใจของบุคคลผู้อื่นคือไร้ประโยชน์
อาการสี่อย่างนี้ เราต้องลืมมันเสีย ไม่พีงประสงค์จะนำมาใช้ มันจะมีประโยชน์เพียงใดก็ตามที ก็ถือว่ามันไม่ใช่ความปรารถนาของเรา เรามีความต้องการอย่างเดียว คือ เกาะติดสัจจธรรม เกาะติดความจริง
จะพูดอะไรก็ตาม จะพูดตรงต่อความเป็นจริงเสมอ แต่การพูดจริงต้องมีความฉลาด ฉลาดในการพูดจริง หมายความว่า ต้องดูกาลดูสมัย ถ้าบางระยะถ้าพูดจริงไปมันจะเป็นโทษ เราก็ต้องหลบไปเสียนิดหน่อย แต่ไม่ถึงกับทำลายประโยชน์ของเขา
เราจะต้องลืมคำหยาบที่เราเคยใช้ จะมีวาจาแต่เฉพาะวาจาอ่อนหวานเป็นที่ชื่นใจ เราจะต้องลืมวาจาที่เราจะทำให้บุคคลอื่นเขาแตกแยกซึ่งกันและกัน คือยุให้รำตำให้รั่ว ยุแยงตะแคงแส่ อันนี้ลืมมันเสีย ใช้แต่วาจาที่สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น
● และเราจะต้องลืมที่มีความรู้สึกว่าน้ำเมาเป็นของดี คำว่าน้ำเมาเป็นของดีมีประโยชน์เพื่อสังคม เราลืมมันเสีย เกาะติดคิดแต่ว่าน้ำเมาเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท สุราเมระยะมัชชะปมาทัฏฐานาเวรมณี สุราและเมรัยก็ดี ดื่มเข้าไปแล้วมันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ทำคนให้เสียคน ทำจริยาให้เสียจริยา
คิดว่าคนใดที่มีความประมาทอยู่ สมเด็จพระบรมครูท่านกล่าวว่าเป็นคนที่ก้าวเข้าไปหาความตาย ถ้าเราไม่ตายจากชีวิต เราก็ตายจากความดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตเรามักจะรักน้อยกว่ารักความดี ฉะนั้นเราก็ต้องเกาะติดอารมณ์อย่างนี้ คือเกาะติดอารมณ์ที่เราคิดว่าจะไม่ดื่มสุราและเมรัย และเราก็ไม่ติดมันด้วย
เป็นอันว่าจริยาทั้งหมดนี้ เป็นจริยาที่คู่ควรแก่พระโสดาบัน
นอกจากนั้นเราก็ต้องมีอารมณ์เกาะติด นั่นคือ เกาะติดพระนิพพานเป็นอารมณ์ เราทำทุกสิ่งทุกอย่างไม่หวังผลตอบแทนในชาติปัจจุบัน เราเกื้อกูลใครพูดดีกับใครสงเคราะห์ใคร เขาจะมีความกตัญญูรู้คุณในเราหรือไม่ไม่สำคัญ เราคิดเสียว่าเราทำทุกอย่าง เพื่อการเข้าถึงพระนิพพาน นี่เป็นสิ่งที่เราต้องการ เป็นอันว่าจิตเราเกาะติดพระนิพพานเป็นอารมณ์ เมื่อเราลืมความชั่วเกาะติดความดีอย่างนี้
ความจริงอารมณ์เกาะติดนี่ อารมณ์ลืมก็ดี อารมณ์เกาะติดก็ดี มันต้องมีกับนักปฏิบัติทุกท่าน อย่าไปคบค้าสมาคมกับอารมณ์ของความชั่ว ถ้าอย่างเกาะติดจริงๆ น่ะท่านทั้งหลาย ไม่เกินหนึ่งเดือน เราได้แน่
ที่นี้เราก็หันไปมองดู ภาษิตของเขามีว่า มึงมากูมุด มึงหยุดกูแหย่ มีงแย่กูตี มึงหนีกูตาม ใช่หรือไม่ใช่ คงจะใช่นะ ผมก็จำไม่ได้นัก
● มึงมากูมุด หมายความว่า อารมณ์แห่งความชั่วต่างๆ ที่มันจะเข้ามาถึงใจ สมมติว่าสักครั้งหนึ่งเราลืมตัวลืมตน คิดว่าเราจะไม่ตาย คิดว่าเราเป็นคนดี คิดว่าเราไม่ชั่ว ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันเกิดขึ้นกับใจเรา จงนึกว่านี่ศัตรูร้ายมาแล้ว ศัตรูร้ายที่ทำลายความดีมาแล้ว เมื่อมันมาเรามุดเสีย มุดไปตรงไหน
มันคิดว่าร่างกายเราจะไม่ตายเกิดขึ้น มันมีอารมณ์เกิดขึ้นอย่างนี้ เราก็มุดเข้าไปหามรณานุสสติกรรมฐาน คิดว่าลมปราณของเราที่ทรงอยู่นี่ เราหายใจเข้าแล้วเราไม่หายใจออกแล้วมันก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้ามันก็ตาย เราจะไปเชื่อมันทำไมกับอารมณ์เลวๆ แบบนั้น เรามุดเสีย
แทนที่จะยอมรับนับถือว่าเราจะไม่ตาย เราไม่ยอมคิด คิดว่าวันนี้แหละเราอาจจะต้องตาย ความตายจะมีกับเราขึ้นได้ในที่ทุกสถานทุกกาลเวลา ไม่ใช่ไปรอวันรอคืน
ท่านกล่าวว่ามึงมากูมุด อีตอนมึงหยุดกูแหย่ พอ ● มึงหยุดกูแหย่ หมายความว่า อารมณ์ที่มีความทะนงตนไม่เกิดขี้น อารมณ์ที่คิดประทุษร้าย ความโหดร้าย มือไวใจเร็วพูดปดหมดสติไม่เกิดขึ้น อารมณ์ทรงความดีทั้งศีลทั้งธรรม ทั้งมรณานุสสติกรรมฐานก็ทรงตัว การยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็มั่นคง ศีลก็มั่นคง อารมณ์เกาะพระนิพพานก็มั่นคง นี้เรียกว่ามันหยุด
กิเลสศัตรูคือศัตรูหยุด เราก็แหย่ แหย่ตรงไหน แหย่โจมตีมันเข้าไป กวนมันเข้าไปอย่าให้มันเกิดขึ้น พยายามเจริญมรณานุสสติกรรมฐานโดยใช้ลมหายใจเป็นลมปราณเป็นที่กำหนด พยายามควบคุมอารมณ์ศีลให้ทรงตัว พยายามควบคุมอารมณ์ยอมรับนับถือด้วยปัญญาในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม พระสงฆ์ พยายามยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์
รวมความแล้ว เราใช้มรณานุสสติกรรมฐาน กับพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ อุปสมานุสสติกรรมฐาน พร้อมกันไปในคราวเดียวกัน พยายามทำจิตให้มันทรงตัวอย่างยิ่งเพื่อความเป็นพระโสดาบัน
ที่นี้มึงแย่กูตี เมื่อเราทรงตัวได้ดีแล้วอย่างนี้ ● มึงแย่กูตี หมายความว่า จับสักกายทิฎฐิในวิปัสสนาญาณขึ้นมาใช้ พิจารณาว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่ของมัน มันไม่ใช่ของเรา
มันเป็นเพียงธาตุสี่มาประชุมกันชั่วคราว เมื่อมันสลายตัวเราจะต้องไป แต่การไปของเราจะไม่ไปเพื่อความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในภพใดๆ อีก เราจะเป็นผู้สิ้นชาติ สิ้นภพ
ตีโลภะความโลภให้พินาศไป ตีราคะความกำหนัดยินดีในกามารมณ์ให้พินาศไป ตีโทสะให้พินาศไป ตีโมหะให้พินาศไป
การโจมตีแบบนี้เพราะว่าเข้าถึงพระโสดาบัน ให้จิตทรงตัว ตีอันดับสำคัญให้ถึงอรหันต์เลย ไม่ต้องไปตีพระสกิทาคา อนาคา ตีให้มันจบจุด
มึงแย่กูตี ที่นี้มันก็หนี ● มันหนีเราตาม หมายความว่า เราจะทรงอานาปานุสสติกรรมฐานให้เป็นฌานไว้ในปรกติ แล้วใช้สักกายทิฎฐิในวิปัสสนาญาณเข้าประหัตประหาร โดยจับสังโยชน์ ๑๐ ประการเป็นเครื่องวัดอารมณ์ใจ ว่าเวลานี้สังโยชน์ตัวใดบ้างที่ยังขวางใจของเราอยู่
เอาละบรรดาสาวกของสมเด็จพระบรมครู เท่าที่พูดมานี้มองดูเวลามันก็หมด ผมคิดว่าการที่เอาจุดซอยๆ ความจริงน่าจะซอยมากกว่านี้ แต่เวลาไม่พอ มาซอยกันเรื่องพระโสดาบัน คิดว่าคงไม่เกินวิสัยของท่านที่จะพึงทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านทั้งหลายหมั่นฝึกฝนในด้านของมโนมยิทธิเป็นของดี คือการฝึกกำลังจิตให้มั่นคง
เอาละต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านอุบาสก อุบาสิกา บรรดาพระสงฆ์ภิกษุสามเณรทั้งหลาย ตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าที่ท่านทั้งหลายจะเห็นว่าเวลานั้นเป็นการอันสมควร
ส่งให้เพื่อน
Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2553 |
|
101 comments |
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2553 0:01:41 น. |
Counter : 1292 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
โดย: พ่อระนาด 25 กุมภาพันธ์ 2553 0:25:14 น. |
|
|
|
| |
โดย: nathanon 25 กุมภาพันธ์ 2553 5:18:35 น. |
|
|
|
| |
โดย: ลุงแว่น 25 กุมภาพันธ์ 2553 7:07:28 น. |
|
|
|
| |
โดย: อุ้มสี 25 กุมภาพันธ์ 2553 9:00:49 น. |
|
|
|
| |
โดย: nootikky 25 กุมภาพันธ์ 2553 10:23:00 น. |
|
|
|
| |
โดย: JohnV 25 กุมภาพันธ์ 2553 10:48:40 น. |
|
|
|
| |
โดย: พ่อระนาด 25 กุมภาพันธ์ 2553 13:01:31 น. |
|
|
|
| |
โดย: sawkitty 25 กุมภาพันธ์ 2553 13:49:24 น. |
|
|
|
| |
โดย: Budratsa 25 กุมภาพันธ์ 2553 14:25:07 น. |
|
|
|
| |
โดย: พธู 25 กุมภาพันธ์ 2553 16:41:39 น. |
|
|
|
| |
โดย: แอน IP: 112.142.130.93 25 กุมภาพันธ์ 2553 17:13:04 น. |
|
|
|
| |
โดย: โซดาบ๊วย 25 กุมภาพันธ์ 2553 21:19:13 น. |
|
|
|
| |
โดย: nootikky 25 กุมภาพันธ์ 2553 21:33:23 น. |
|
|
|
| |
โดย: อุ้มสี 25 กุมภาพันธ์ 2553 23:19:06 น. |
|
|
|
| |
โดย: Budratsa 26 กุมภาพันธ์ 2553 3:50:30 น. |
|
|
|
| |
โดย: maxpal 26 กุมภาพันธ์ 2553 4:42:45 น. |
|
|
|
| |
โดย: ลุงแว่น 26 กุมภาพันธ์ 2553 7:11:03 น. |
|
|
|
| |
โดย: redclick 26 กุมภาพันธ์ 2553 8:02:19 น. |
|
|
|
| |
โดย: หน่อยอิง 26 กุมภาพันธ์ 2553 13:09:21 น. |
|
|
|
| |
โดย: โซดาบ๊วย 26 กุมภาพันธ์ 2553 16:35:33 น. |
|
|
|
| |
โดย: tukta (tukta510 ) 26 กุมภาพันธ์ 2553 17:45:26 น. |
|
|
|
| |
โดย: ขึ้น15ค่ำ 26 กุมภาพันธ์ 2553 23:39:35 น. |
|
|
|
| |
โดย: redclick 27 กุมภาพันธ์ 2553 9:28:50 น. |
|
|
|
| |
โดย: ooy (ooybangyom ) 27 กุมภาพันธ์ 2553 10:17:30 น. |
|
|
|
| |
โดย: cengorn 27 กุมภาพันธ์ 2553 14:38:00 น. |
|
|
|
| |
โดย: มินทิวา 28 กุมภาพันธ์ 2553 5:12:30 น. |
|
|
|
| |
โดย: ลุงแว่น 28 กุมภาพันธ์ 2553 7:36:19 น. |
|
|
|
| |
โดย: โซดาบ๊วย 28 กุมภาพันธ์ 2553 18:09:00 น. |
|
|
|
| |
โดย: ลุงแว่น 2 มีนาคม 2553 9:28:19 น. |
|
|
|
| |
โดย: มินทิวา 3 มีนาคม 2553 8:21:40 น. |
|
|
|
| |
โดย: ลุงแว่น 4 มีนาคม 2553 6:53:09 น. |
|
|
|
| |
โดย: พธู 4 มีนาคม 2553 17:02:27 น. |
|
|
|
| |
โดย: ลุงแว่น 6 มีนาคม 2553 7:49:54 น. |
|
|
|
| |
โดย: มินทิวา 6 มีนาคม 2553 9:09:38 น. |
|
|
|
| |
โดย: พธู 6 มีนาคม 2553 20:55:29 น. |
|
|
|
| |
โดย: maxpal 8 มีนาคม 2553 6:34:19 น. |
|
|
|
| |
โดย: ลุงแว่น 8 มีนาคม 2553 7:02:05 น. |
|
|
|
| |
โดย: ลุงแว่น 8 มีนาคม 2553 7:02:28 น. |
|
|
|
| |
โดย: yosa 8 มีนาคม 2553 18:08:52 น. |
|
|
|
|
|
|
|
จะพยายามฝึกนะค่ะ