ธันวาคม 2558

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
31
 
 
All Blog
รีวิว "Stiff เรื่องลับที่ไม่รู้ของศพ" Pop-Science ที่สนุกดีนะ



เรื่อง: Stiff เรื่องลับที่ไม่รู้ของศพ
ผู้เขียน: Mary Roach 
ผู้แปล: สุกิจ และ วิรงรอง ตรีไตรลักษณะ 
สนพ. CORE FUNCTION

คำตอบของปริศนาเหล่านี้จะกระจ่างได้ด้วยเนื้อหาที่ถือได้ว่า อัดแน่น แต่อ่านง่าย เพราะผ่านการตกผลึกและย่อยมาจากข้อมูลที่ผู้เขียนได้ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลไว้เยอะมากๆ

ใช้เวลาอ่านนานมากกับ "Stiff เรื่องลับที่ไม่รู้ของศพ" เพราะตัวหนังสือเล็กอยู่ รายละเอียดค่อนข้างเยอะ บวกกับเป็นคนอ่านช้าแถมเวลาไม่ค่อยจะมี ดังนั้น เรื่องนี้เป็นแค่เล่มเดียวที่ได้จากงานหนังสือที่อ่านจบเรียบร้อย เรื่องอื่นค่อยเข้าคิวตามมาทีหลัง

ว่ากันตามจริงแล้ว หนิงอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับนิติวิทยาศาสตร์มาเยอะอยู่ ตั้งแต่ประเภท Non-fiction ที่หมอนิติฯ เล่าประสบการณ์ หรือแม้กระทั่งตำราวิชาการก็ตามที เรื่อง "Stiff" นี่ ถือว่าสนุกทีเดียวถ้าเทียบกับบรรดาหนังสือทั้งหลายแหล่ที่เกี่ยวกับศพที่เคยอ่านมา

"Stiff" จริงๆ แล้วไม่ใช่หนังสือนิติวิทยาศาสตร์จ๋า เรื่องนี้สมชื่อเรื่องภาษาไทย (ใครคิดหว่า) ที่เรื่องนี้ว่าด้วยเรื่องศพจริงๆ เพราะเกี่ยวข้องกับการใช้งานศพที่ได้รับบริจาคทั้งหลาย ตั้งแต่โรงพยาบาล ไปจนถึงการทดลองใช้ศพเพื่อพัฒนาระบบการป้องกันภายในรถ รวมทั้งเทคโนโลยีการฌาปณกิจด้วย

ฟังดูแล้ว ไม่เห็นน่าจะสนุกอย่างที่ว่าเลยใช่ไหม คือ อย่างที่บอกไปว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เล่มนี้จัดว่าสนุก เพราะคนเขียนเป็นนักข่าว (ปกติจะเป็นพวกหมอๆ) ซึ่งมีลีลาในการเล่า และเพราะตัวเขาเองก็เป็นคนธรรมดาอย่างเราๆ มุมมองหรือคำถามก็เลยเหมือนตรงใจเราอยู่สักหน่อย เพราะเป็นสายตาของคนนอกวงการเหมือนกัน อะไรที่เราสงสัย เขาก็สงสัยเหมือนเรา แล้วเขาก็วิ่งไปหาคำตอบของมัน

เนื้อเรื่องก็เหมือนเรื่องเล่าค่ะ เพราะคนเขียนต้องไปสัมภาษณ์คนนั้นคนนี้ ก่อนจะมาเรียบเรียงเป็นบทสนทนาให้เราได้อ่านกัน  บางทีคนเขียนก็มีเรื่องแอบมีอารมณ์ขันแบบแปลกๆ อยู่เหมือนกัน แต่ดีตรงที่อารมณ์ขันที่ว่าไม่ได้เป็นการล้อเลียนศพแต่ประการใด

เท่าที่อ่านดู ไม่ค่อยสยองเท่าไรหรอก เพราะคนที่สยองก่อนเราไปแล้วคือ คนเขียนผู้ซึ่งเดินทางไปทั่วสารทิศดูงานเกี่ยวกับศพแล้วมาบรรยายให้ฟัง แลดูนางจิตแข็งพอสมควร พอเวลาคนที่ไม่กลัวเขียนบทความ สิ่งที่สื่อมาถึงเรามันก็เลยไม่น่ากลัวไปด้วยโดยปริยาย และเมื่อไม่กลัว ก็เลยรู้สึกว่าเขาเขียนได้สนุกและน่าอ่านดี ได้เห็นมุมมองบางสิ่งเกี่ยวกับศพที่เราไม่เคยรู้ ไม่เคยคาดคิด

ตอนที่สยองสุดในความคิดของหนิงคือ ตอนที่ว่าด้วยเรื่องศีรษะมนุษย์ 

(คือ ถ้าสมมติว่าทุกคนที่เข้ามาอ่านรีวิว แล้วมองว่าเรื่องนี้สามารถอ่านต่อได้สบาย หนังสือเล่มนี้ก็อ่านได้แน่นอนค่ะ)

คนเขียนกล่าวถึงเรื่องไอเดียของชาวฝรั่งเศส คุณกิโยแตง ผู้คิดค้นเครื่องประหารกิโยตินโดยอาศัยสมมุติฐานที่ว่า การตายแบบกะทันหัน จะทำให้มนุษย์ไม่ทรมานกับความตายเกินไป (ในตอนนั้นเป็นการแขวนคอ)

ทีนี้พวกเพชรฆาตที่จะต้องคอยเป็นคนดูแลเรื่องหัวที่ว่า รวมทั้งมีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องหัวหลังประหารว่า ผู้ถูกประหารมีทีท่าว่ารับรู้สิ่งรอบตัวอยู่ เป็นไปได้มากว่าพวกเขาไม่ได้ตายทันทีอย่างที่คุณกิโยแตงสันนิษฐาน บางทีในช่วงเวลาแค่ 10 - 15 วินาทีที่ยังคงมีเลือดวิ่งไปเลี้ยงสมอง จึงยังทำให้พวกเขารับรู้อยู่ได้

ดังนั้นเครื่องประหารที่ถูกผลิตขึ้นมาด้วยความคิดกรุณา กลับกลายเป็นเครื่องประหารชวนสยองอย่างยิ่ง เพราะมันแปลว่ามนุษย์อาจรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัว อาจจะรับรู้ว่าศีรษะและลำตัวของตัวเองขาดออกจากกัน

แต่ถึงอย่างนั้น ก็กลายเป็นความรู้ต่อยอดในเวลาต่อมา ถ้ามนุษย์เราหลังถูกตัดศีรษะแล้ว ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกครู่หนึ่ง น่าจะนำไปสู่การผ่าตัดเปลี่ยนศีรษะได้ คือ คนประเภทที่ร่างกายอยู่ในสภาพบุบสลาย หัวใจหยุดเต้น กับ คนที่สมองตายแล้วแต่หัวใจยังเต้นอยู่

คนประเภทหลังน่ะ ทางกฎหมายถือว่าเป็นคนที่ตายแล้ว แต่คนประเภทแรก ถ้าผ่าตัดได้ทันท่วงที อาจจะรักษาชีวิตของเขาไว้ได้

การทดลองเปลี่ยนศีรษะนี้มีขึ้นแล้วกับลิง ซึ่งเจ้าของหัวที่ถูกเปลี่ยนถ่ายไปอยู่ในร่างกายของลิงอีกตัวหนึ่งใช้ชีวิตอยู่ได้ระยะหนึ่ง

ทีนี้ข้อจำกัดทางการแพทย์ปัจจุบันคือ ยังไม่สามารถเชื่อมต่อประสาทตรงหลังได้ ทำให้เจ้าของหัวเหมือนคนเป็นอัมพาตทั้งตัว แต่สามารถหายใจได้ กินได้ (พูดได้หรือเปล่าไม่รู้ เพราะไม่ได้เชื่อมท่อลม เพื่อให้มีลมขึ้นไปใช้ในการช่วยเปล่งเสียง)

มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการผ่าตัดเปลี่ยนหัวนี่อยู่ว่า เอาเข้าจริง มันก็คือ การผ่าตัดของคนรวย (ที่มีปัญญาจ่าย) กลุ่มหนึ่งมากกว่าเพื่อมนุษยชาติทั้งมวล การทดลองนี้จึงยังไม่เคยใช้มนุษย์จริง (อีกอย่างก็คือ ใครจะบริจาคตัวเองให้เป็นหนูทดลอง?)

หนิงเลยรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นดราม่าของการแพทย์พอๆ กับเรื่องการโคลนนิ่งมนุษย์ แต่เรื่องผ่าตัดเปลี่ยนหัวคงไม่ค่อยมีคนพูดถึงเท่าไร ที่กล่าวถึงเยอะสุดเท่าที่หนิงเคยอ่านก็คงเป็นหนังสือเล่มนี้แหละ

ถ้าใครที่ไม่กลัว หรือเฉยๆ กับเรื่องที่หนิงเล่าข้างบน หนังสือเล่มนี้จัดว่าน่าอ่านทีเดียวค่ะ ไปลองหาอ่านดูได้นะคะ ^^




Create Date : 10 ธันวาคม 2558
Last Update : 10 ธันวาคม 2558 21:42:02 น.
Counter : 1913 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

peiNing
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]



เป็นเด็กกรุงเทพแท้ๆ แต่อยู่บ้านนอกของกรุงเทพน่ะนะ ไม่ได้ชอบอะไรเป็นพิเศษนอกจากแกล้งสัตว์เลี้ยงที่บ้าน นั่นคือนกฮู้ผู้มีอายุ 10 ปีได้ (นกแก่มีหนวด) (แต่ตอนนี้ในที่สุดนกฮู้ก็จากไปอย่างสงบ ไม่รู้อายุรวมเท่าไรแต่มาอยู่ที่บ้านได้ 11 ปี ขอไว้อาลัยปู่ฮู้ ขอให้ไปสู่สุขคตินะ T^T)

ขอชี้แจงอีกอย่าง ชื่อ peiNing นี้ เป็นชื่อที่พี่กะน้องใช้ร่วมกันสองคน ดังนั้นอย่างงว่าเดี๋ยวก็แทนตัวว่ารุ้งบ้างหนิงบ้าง ก็มันคนละคนนิ (รุ้งน่ะคนพี่ หนิงน่ะคนน้อง)

FB สำหรับคนชอบงานเขียน peiNing ค่ะ

FB สำหรับคนชอบบทความสอนห้องเรียนนิยายค่ะ

  •  Bloggang.com