รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
18 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
อย่างนี้คือเพ่งกายทั้งกายหรือเปล่าครับ

มีคำถามมาจากนักปฏิบัติท่านหนึ่ง ที่ผมเห็นว่า น่าสนใจ จึงขอนำมาแสดงความเห็นส่วนตัวของผมไว้ดังนี้

คำถามที่ 1. ...
การที่รู้สึกถึงกายเคลื่อนไหวทั้งกาย แต่มันเหมือนมองมาจากบริเวณส่วนหัว นี่เป็นการเพ่งกายทั้งกายหรือปล่าวครับ

ความเห็นของผม...

การเห็น กาย หรือ เวทนา หรือ จิต ด้วยสติปัฏฐานแบบวิปัสสนายิก นั้น
จะเป็นการเห็นด้วยการ .ไม่จงใจ .ที่จะเห็น แต่เป็นการ .เห็นได้เอง .ด้วยกำลังความตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ

สำหรับการเห็นกายแบบวิปัสสนายานิกนั้น จะเห็นแบบแว๊บ ๆ ไม่ใช่เห็นได้ตลอด ผมขออธิบายคำว่า เห็นแบบแว๊บ ๆ ให้กระจ่างอีกหน่อย ก็คือ คำว่า เห็นแว๊บ ๆ นี้ คือ เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง (อย่าลืมว่าต้องเป็นการเห็นที่เป็นไปเอง ไม่ใช่จงใจที่จะเห็นด้วย ) และการเห็นแต่ละช่วงอาจสั้นเป็นเสี้ยววินาที หรือ อาจนานเป็นนาทีก็ได้ แล้วแต่โอกาสในแต่ละขณะ

แต่ถ้าเป็นการจงใจที่จะเห็น นี่เป็นการเพ่งจ้องแน่นอนครับ

สรุปคำถามข้อนี้ก็คือ การปฏิบัติแบบวิปัสสนายานิก ถ้าจงใจทีจะเห็น ก็เป็นการเพ่งจ้อง ถ้าไม่จงใจ แต่เห็นได้เองแบบแว๊บ ๆ ก็ไม่ใช่การจ้อง
การเห็นได้เองนั้น เกิดจากกำลังความตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ

หมายเหตุ ถ้าเป็นสมถยานิก ผู้ปฏิบัติต้องเพ่งครับ เพ่งให้มาก จนเกิดินิมิต แล้ว เล่นนิมิตนั้นโดยย่อ ขยาย นิมิตนั้น

คำถามที่ 2....
เป็นแบบเดียวกับที่จะทำให้เกิด จิตรู้ ในแบบที่เพ่งไว้ หรือป่าวคับ ถ้าใช่ ผมควรฝึกแบบนี้ดีไหมคับ (จำได้ว่าพี่ก็เคยมีจิตรู้แบบเป็นดวงๆ เพราะเพ่งมาก่อน)

ความเห็นส่วนตัว....
เรื่องนี้ ผมขอตอบตามที่ผมพบและปฏิบัติมาในอดีตก็แล้วกัน ซึ่งอาจเหมือน หรือ ไม่เหมือนนักปฏิบัติท่านอื่นก็ได้ ครับ

เมื่อผู้ปฏิบัติใหม่ ๆ แบบที่เรียกว่า ข้ามาคนเดียว ไร้ครูอาจารย์ใกล้ชิดแนะนำสั่งสอน ย่อมต้องลองผิดลองถูกเสมอในการปฏิบัติ เพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจในการปฏิบัตินั่นเอง ผมเองก็อยู่ในสภาวะแบบนี้เช่นกัน ผมมองย้อนไปในอดีตที่ผ่านมาของผม ผมไม่เข้าใจเลยว่า อย่างไรคือเพ่ง อย่างไรคือไม่เพ่ง ดังนั้น ผมปฏิบัติ ก็จะมีทั้งเพ่งและไม่เพ่งครับ ลองไปลองมา ผิด ๆ ถูก ๆ ล้มลุกคลุกคลานไปเรื่อย ๆ ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น วันหนึ่ง จิตรู้ มันก็หลุดออกมาจากอามรมณ์ได้เอง ถึงแม้จิตรู้ จะหลุดออกมาได้เองแล้ว ผมก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่า เพ่ง ไม่เพ่ง ต่างกันอย่างไรในตอนนั้น

แต่ในตอนนี้ ผมมีความเห็นว่า ถ้าผุ้ปฏิบัติเดินได้ถูกต้องเลยว่า ไม่เพ่ง จะช่วยทำให้ จิตรู้ นั้นเกิดและแยกตัวออกได้เร็วกว่าการเพ่ง ยิ่งถ้าผู้ปฏิบัติเข้าใจดีว่า อย่างไรคือเพ่ง อย่างไรคือไม่เพ่ง การปฏิบัติก็จะยิ่งรุดหน้าไปได้เร็วมาก ๆ ด้วยครับ

ขอให้อ่านเรื่อง รูปฌาน ฉบัยชาวบ้านอ่านตามที่ผมเข้าใจ ใน blog ของผมเพิ่ม จะได้เห็นภาพของจิตรู้ ที่แยกออกจากอารมณ์นี่เป็นอย่างไร

คำถามที่ 3...
ช่วงหลังๆ มานี่เวลารู้ว่ามีโทสะ แต่ที่ใจมันไม่ไหว เหมือนไม่โดนกระทบเลย นี่เป็นแบบเดียวกับการที่รู้แบบจิตมันแยกออกมารู้ หรือป่าวคับ

ความเห็นส่วนตัว...
ถ้ารู้ว่ามีโทสะ นี่คือใจมันไหวแล้วครับ ถ้าใจไม่ไหว จิตใจจะต้องเฉย ๆ เป็นอุเบกขาครับ ถ้าผู้ปฏิบัติมี .จิตรู้. ที่แยกตัวออกจากอารมณ์ได้แล้ว และ จิตรู้ ตั้งมั่นพอ เมื่อโทสะ เกิด จิตรู้ จะเห็น โทสะ นี้ทันที เห็นได้จริง ๆ ครับด้วยจิตรู้ ถ้าโทสะ นี้แรกมากที่สามารถชนะ ความตั้งมั่นของจิตรู้ได้ จิตรู้ จะถูกมันดึงเข้าไปด้วย และ จิตรู้จะหายไป ส่วนโทสะนั้นจะคงอยุ่ ไม่หายไป ตอนนี้ ผู้ที่เกิดโทสะ ก็จะมีอาการแล้วครับ เช่นหน้าแดง มือสั่น ปากสั่น หัวใจเต็นแรง ด้วยความโกรธ เป็นต้น

แต่ถ้า จิตรู้ มีกำลังตั้งมั่น ที่มีกำลังมากกว่า โทสะ เมื่อ โทสะ เกิด จิตรู้ จะเห็น โทสะ นี้ แล้ว โทสะนี้ก้จะสลายไปเอง เพราะจิตรู้ ตั้งมั่นมากกว่า
ตอนนี้ ผุ้ปฏิบัติ จะเห็นไตรลักษณ์จริง ๆ ของโทสะ ได้ เห้นมันเกิด เห็นมันแปรเปลี่ยน เห็นมันหยุด แสะสลายไป การเห็นด้วยจิตรู้แบบนี้ คือ เห็นด้วยวิปัสสนาแล้ว

ขอให้อ่านเรื่อง ชักกะเบ่อ ใน blog ของผมเพิ่มเติมครับ


Create Date : 18 สิงหาคม 2552
Last Update : 29 มกราคม 2555 19:31:45 น. 11 comments
Counter : 1272 Pageviews.

 
ในความเห็นส่วนตัวของผม นั้น
การสร้างเหตุ คือ การฝึกที่ถูกต้องของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ จนเกิดความตั้งมั่นดั้งมั่นอย่างแน่วแน่แล้ว
ผลของ สัมมาสมาธิ ที่ตั้งมั่นนี้ มันจะนำพาให้เกิด วิปัสสนาปัญญา ญาณปัญญา ตามมาเอง ซึ่งผู้ปฏิบัติไม่ต้องไปกังวลว่าจะไม่เกิด มันต้องเกิดแน่ ๆ ถ้าปฏิบัติถูกต้องตามสติปัฏฐาน 4

จะเห็นว่า ใน blog ของผม ผมจะเน้นอบู่เสมอ ๆ ถึงการปฏิบัติที่ถูกต้อง ผมจะมีบอกไว้หลายแห่ง และมีตัวอย่างการฝึก กายานุปัสสนา ไว้ใน blog ด้วย ส่วนอย่างอื่น อันเป็นผล มันจะเกิดเอง ซึ่งเรื่องผลนี้ ผมจะเขียนถึงเท่าที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ฝึกฝน ได้รู้ว่า ถ้าเกิดผลอบ่างนี้แล้ว แสดงว่า ได้ก้าวหน้าขึ้นมาแล้ว ถ้าเกิดอบ่างนี้ แสดงว่า เดินผิดทางแล้ว

อุปมาเหมือน เราต้องการเดินทางไปเชียงใหม่ เราต้องรู้ว่าจะเดินทางไปทางไหน ถึงจะใกล้ ไปได้เร็วที่สุด แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตา เดิน เดิน เดิน เข้าไป ก็จะถึงเชียงใหม่อีก

แต่ถ้าเราไม่รู้ทาง เดียวเดินไปทางนี้ เดียวไปทางโน้น ก็ได้ครับ แต่จะเสียเวลาไปเปล่า ๆ ทำให้ใช้เวลานานเกินไป กว่าจะถึงเชียงใหม่ ยิ่งถ้าเกิดการท้อใจว่า เดินอย่างไร ก็ไม่ถึงเชียงใหม่สักที เลยหยุดเดินไปเลย อย่างนี้ ก็น่าเสียดายครับ

อย่างไรเสีย ขอให้ผู้ที่ถามมา เน้นการฝึกฝนที่ถูกต้องด้วยครับ และ อย่าท้อถอย


โดย: นมสิการ วันที่: 18 สิงหาคม 2552 เวลา:18:14:34 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: ขอบฟ้าบูรพา วันที่: 18 สิงหาคม 2552 เวลา:20:19:17 น.  

 
ผมติดเพ่งติดประคองอ่ะคับพี่


โดย: บั๊กคุง วันที่: 19 สิงหาคม 2552 เวลา:10:45:31 น.  

 
เมื่อก่อนนี้ ในสมัยที่ผมไม่เข้าใจว่า เพ่ง / ไม่เพ่ง คืออย่างไร เมื่อผมได้ยินคำสอนการปฏิบัติจากสำนักต่าง ๆ ที่มักสอนว่า .ให้รู้การกระทบสัมผัส. ผมก็เข้าใจว่า .ต้องรุ้.
ก็เลยไปเพ่งเสีย

การปฏิบัติที่ไม่เพ่งนั้น เพียงแค่รู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติเท่านั้น การรู้ก็เกิดเองได้แล้วโดยไม่ต้องไปเพ่งแต่อย่างไร
แต่ในผู้ปฏิบัติใหม่ มักมีปัญหา 2 ประการก็คือ
การหลงลืม/ไม่รู้สึกตัวอยู่บ่อย ๆ และ กำลังของสัมมาสติที่ยังไม่ดีพอ ผู้ปฏิบัติใหม่จึงมักจะใช้วิธีการเพ่ง เพื่อให้เกิดการรู้ขึ้น ซึ่งก็เลยกลายเป็นเพ่งไป

ข้อแนะนำของผมก็คือ ให้เริ่มฝึกการรุ้จากที่สัมผัสได้อย่างหยาบ ๆ ก่อน ฝึกให้มาก ๆ แล้วกำลังของสติจะแกร่งขึ้นมาเองหลังฝึกไปมาก ๆ เข้า ลองอ่านเรื่อง ตัวอย่างการรู้กาย ใน blog นี้ดู ผมมีตัวอย่างการฝึกไว้ ซึ่งมีการสัมผัสที่หยาบและเหมาะสำหรับคนใหม่ไว้ คือการลูบแขนดังที่เขียนไว้ใน blog

ผมมักได้ยินนักปฏิบัติเป็นจำนวนมาก มักดูแคลนการฝึกที่มีการสัมผัสที่หยาบ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องเลบ


โดย: นมสิการ วันที่: 19 สิงหาคม 2552 เวลา:12:24:07 น.  

 
ผมตามอ่านหัวข้อที่พี่แนะนำกับแก้ทางเพ่งของ Koknam ด้วยคับ

ขอบคุณคับพี่


โดย: บั๊กคุง วันที่: 19 สิงหาคม 2552 เวลา:12:36:38 น.  

 
เมื่อศีลปรมัตถ์ปรากฏความเข้าใจจะตีกลับทั้งหมด

ถ้าไม่เพ่งแล้วจะรู้รึ นี่คือ คำตอบของคนที่แนะผม เคยตอบให้ฟัง

ถ้าไม่เพ่งอยู่ที่มัน คุณจะไม่เข้าใจมันอย่างถ่องแท้ และถ้าไม่เพ่งมัน คุณจะไม่เข้าใจว่าทำไม ในหนึ่งช่วงชีวิตคน มันถึงเที่ยง

ถ้ามีความอยาก หรือทำไปเพราะไม่รู้จริง หรือทำไปเพราะไม่รู้ตัว ผมใช้สมมตเรียก อาการนั้นว่า เพ่ง

แต่ถ้าเป็นการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดโดยเพื่อเรียนรู้ ทำความเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อจะเอา ทำไปแล้วรู้ตัวว่าเพ่ง ผมเรียกเอาเองว่า สมาธิ

เมื่อคุณต้องการเข้าใจสิ่งใดอย่างแท้จริง คุณจำต้องเพ่งมันก่อนครับ ของมันมีด้านบวกและลบ

แค่หนึ่งประสบการณ์แบบมวยวัดเช่นกันครับ


ขอให้ตื่นตัวครับ


โดย: koknam วันที่: 19 สิงหาคม 2552 เวลา:18:43:50 น.  

 
ผมจะแสดงความเห็น ในส่วนที่คุณก๊อกน้ำเขียนไว้ดังนี้

1 ... ถ้าไม่เพ่งแล้วจะรู้รึ...
ผมกล้ายืนยันครับว่า รู้ ได้แน่นอนครับ การรู้ที่เป็นไปเองเกิดเสมอเมื่อความรู้สึกตัวปรากฏอยู่ ถ้าไม่รุ้สึกตัวนีซิ จะไม่รู้ครับ เอาง่าย ๆ กับคำกล้ายืนยันนี้ ในฤดูหนาว ถ้าลมหนาวพัดมาโดนตัวในขณะที่คุณกำลังรู้สึกตัวอยู่ เคยจะรู้สึกได้ไหมถึงการกระทบนี้ หรือ ในขณะที่คุณเดินอยู่ริมถนน ถึงแม้คุณใส่รองเท้าอยู่ก็ตาม แต่เมื่อเท้าคุณไปเหยียบก้อนหินที่มีขนาดไม่เล็กนัก คุณจะรู้ไหมว่า คุณไปเหนียบอะไรเข้าแล้ว การรู้ตามตัวอย่างที่ผมยกมา ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพ่งทั้งนั้นใช่ไหมครับ

ในแง่การปฏิบัติ ถ้า.จิตรู้.เกิดแล้ว เมื่อเหตุและปัจจัยยังไม่หมดลง จิตรู้ จะเพ่งอารมณ์นั้นเองโดยที่เราไม่ได้ต้องการเพ่งมันเลย ผมเคยปวดท้องเพราะโรคกระเพาะอาหารมาก่อน พอเกิดการปวด จิตรู้ มันเด่นขึ้นมาทันที และมันเพ่งไปที่อาการปวดท้องนั้น เมื่อจิตรู้ ไปเพ่งอาการปวดท้องนั้น จิตรู้ จะเห็นอาการนี้เอง แต่แปลกมาก ที่ จิตรู้ เห็นแล้ว เราจะไม่ปวดเลย แต่ความปวดนั้นยังคงมีอยู่ ที่ไม่ปวดเพราะ จิตไม่ไปยึดเวทนานั้นแล้ว แต่จิตรู้ เห็นเอง เข้าใจได้เอง

ในแง่อภิธรรม ความต้องการ คือ โลภะเจตสิก การที่โลภะเเจตสิกเกิดมันเป็นการปรุงแต่งด้วยอกุศลจิตครับ
แต่การรู้แบบ กุศลจิต หรือ เรียกตามศัพย์ทางธรรมว่า โสภณเจตสิก นั้น มันจะเป็นปัญญาเจตสิก ที่เป็นคนละตัวกับ โลภะเจตสิก การรู้แบบปัญญาเจตสิก ก็คือการรู้ด้วย จิตรู้ ที่รู้ที่เป็นไปเอง ไม่ใช่การเพ่งด้วยความจงใจอันเป็นโลภะเจตสิก นี่คือความต่างระหว่าง เพ่งและไม่เพ่ง

2. ผมขอเสริมเรื่อง การรู้ธรรมนั้น จะมี 2 แบบ แบบหนึ่ง ก็คือ รู้ด้วยจิตรู้ อันนี้เป็นวิปัสสนา ที่เกิดเมื่อจิตรู้นั้นเกิดและเห็นอารมณ์ปรมัตถ์เอง ซึ่งการรู้แบบนี้ เกิดได้บ่อย ๆ เมื่อจิตรู้เกิดแล้ว จิตรู้ เห็นอารมณ์ เป็นไตรลักษณ์ เป็นความรู้สะสมในผุ้ปฏิบัติ

แต่ยังมีการรู้อีกแบบหนึ่ง ที่ผมไม่รู้ว่าจะเรียกว่า อะไรดี
รู้อันนี้ ผมเขียนไว้ใน blog ของผมเรื่อง Get
อันนี้อธิบายยาก คือ รู้แบบเข้าไปถึงจิตถึงใจ รุ้อันนี้มันจะลบล้างความเข้าใจต่าง ๆ ไปได้ รู้แล้วคนจะเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ไปได้เอง รู้แบบนี้ จะเกิดยาก นาน ๆ จะเกิดสักทีหนึ่ง แต่ก็เกิดได้ เมื่อมีการรู้แบบแรกที่เป็นการรู้แบบวิปัสสนาเป็นพื่นฐานแห่งการรู้มาก่อน

........................
อย่าได้แปลกใจว่า ทำไมนักปฏิบัติถึงมีความเห็นในการปฏิบัติไม่ตรงกัน มันเป็นเรื่องธรรมดาที่นักปฏิบัติพบเห็นในระหว่างทางการเดินของแต่ละคน
เมื่อนักปฏิบัติพบเห็นไม่เหมือนกัน ก็ย่อมมีความเข้าใจไม่เหมือนกัน และก็มันกจะยึดถือความเข้าใจที่ตัวเองพบเป็นหลักสำคัญมากกว่า แต่ก็ไม่ปฏิเสธความเห็นของนักปฏิบัติท่านอื่นที่เห็นไม่ตรงกัน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ มักสร้างความสับสนวุ่นวายให้กับคนใหม่ ๆ ที่เข้ามาสู่การปฏิบัติเสมอ ๆ ผมได้เคยแนะนำคนที่ผมสอนการปฏิบัติเสมอ ๆ ว่า อย่าไปฟังคนอื่นในเรื่องการปฏิบัติ โดยที่คนที่เอาผลการปฏิบัติมาเล่าให้ฟังแบบอัศจรรย์พันลึกประหนึ่งภาพยนตร์ที่สร้างแบบหนังฮอลิวู๊ด เพราะจะทำให้เขาเองสับสนในจิตใจในการปฏิบัติได้ การปฏิบัตินั้นขอให้เข้าใจหลักการให้แม่น แล้วฝึกเอง จะเข้าใจเอง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็จะแก้ได้ด้วยตนเองเช่นกัน..........
เล่าสู่กันฟัง อย่าได้ซีเรียสครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:8:17:56 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ค่ะ

ติดตามอ่านอยู่เสมอค่ะ

ตอนนี้อยู่ในช่วงเวลาปรับตัวจากสภาพคนป่า กลับมาเป็นคนเมือง (แต่..อยู่แต่ในบ้าน)
สภาพแวดล้อมมันเปลี่ยนแปลงไปเพราะสถานที่อย่างนึง ผู้คนรอบข้างอย่างนึง รวมถึง สิ่งกระตุ้นความอยาก ความลุ่มหลง ความสนุกสนานเพลิดเพลิน บันเทิงใจ อีกหลายๆ อย่างด้วยมังคะ เลยทำให้ต้องปรับตัวอีกแล้ว

เก้ารู้สึกว่าตอนนี้สภาพชักกะเย่อมันมาเยือน เดี๋ยวเผลอ เดี๋ยวมีสติ เดี๋ยวก็ลืมตัว เดี๋ยวก็รู้ตัว บางทีจิตมันก็แยกออกมาจากอารมณ์ บางทีมันก็ไหลเข้าไปรวมกัน

ยังต้องฝึกอีกมากเลยค่ะ


โดย: kaoim IP: 119.31.44.148 วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:8:34:00 น.  

 
อย่ากังวลกับอาการ เดียวเผลอ เดียวมีสติ เดียวก็ลืมตัว เดียวก็รู้ตัว มันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง

เรื่อง ชักกะเย่อ ก็เช่นกัน เรื่องแต่ละเรื่องจะมีแรงดึงไม่เท่ากัน บางเรื่อง แรงดึงมันน้อย จิตรู้ ก็ชนะไป
บางเรื่อง แรงดึงก็จะมาก จิตรู้ ก็จะแพ้ไป

ด้วยนิสัยความเคยชินแบบทางโลก มักทำให้ผู้ปฏิบัติมักเกิดความอยากที่จะชนะ อยากที่จะรู้สึกตัวได้นาน ๆ แล้วหาทางออกด้วยการไปเพ่งอะไรสักอย่างเข้า เพื่อให้บรรลุความต้องการนั้น ๆ
ขอแนะนำว่า อย่าเชียวนะครับ ที่จะไปเพ่งเพื่อให้บรรลุความต้องการนั้น ๆ

ขอให้ฝึกฝนด้วยการเจริญสติ รู้ ตามที่ผมได้แนะนำไปแล้ว

เมื่อ เจริญสติ รุ้ ไปมาก ๆ เข้า ก็จะเกิด จิตรู้ แยกออก

เมื่อฝึกต่อไปอีก จิตรุ้ ที่แยกออก ก็จะปรากฏชัด เป็นอาการตื่นรู้

เมื่อจิตรู้ เกิดอาการตื่นรุ้อย่างมั่นคง
อะไรจะเข้ามาทำให้ทุกข์ ไม่มีทางเข้าได้เลย

ผู้ปฏิบัติต้องเดินอย่างนี้ครับ เป็นธรรมชาติที่เป็นไปเองอย่างมั่นคงด้วยการตื่นรู้ของจิตรู้

ขอให้อดทนและหมั่นเพียรในการฝึกต่อไปเรื่อย ๆ ครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:17:27:07 น.  

 
รู้อย่างนั้นไม่ต้องเพ่งก็รู้ได้ครับ สุนัขหรือแมวก็สามารถรู้ได้ไม่ต่างจากคน แต่สิ่งที่ผมกล่าวหมายถึง สภาวะที่มันตื่นรู้ หรือตัวศีลล้วนๆ มันต้องมีสมาธิตั้งอยู่มันถึงรู้ได้

รู้อย่างที่ว่านั้น รู้เป็นธรรมชาติ รู้ว่างๆ ก็จริง แต่การตื่นนั้นไม่มี คุณจะสังเกตได้ว่ามันไม่กระฉับกระเฉง มันรู้เนิบๆ แต่รู้ที่ผมกล่าวว่า ต้องอาศัยสมาธินั้น มันเป็นการรู้สึกแบบที่คุณสนุกอยู่กับการเล่นกีฬาน่ะครับ พร้อมจะหวดลูกกลับอยู่ตลอดเวลา

บางครั้งมันก็ยากครับ ใช้คำพูดเดียวกันแต่พูดถึงคนละจุด

ขอให้ตื่นนะครับ


โดย: koknam วันที่: 26 สิงหาคม 2552 เวลา:13:22:47 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:19:32:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.