รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
 
มกราคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
26 มกราคม 2549
 
All Blogs
 
การวัดผลการปฎิบัติวิปัสสนา

ถ้าท่านได้อ่านบทความวิธีปฎิบัติของท่าน Koknam ไปแล้ว ผมเชื่อว่า หลายท่านพอจะเอาจริง ๆ ก็ยังต้องสงสัยอยู่ดีว่า มันถูกหรือเปล่าหนอ ผมขอนำสิ่งที่เป็นประสบการณ์จริงที่ผมพบในการปฎิบัติมาแบ่งปันท่าน เพื่อเป็นตัวแนวทางชี้ว่าท่านเดินมาถูกต้องแล้วหรือไม่
หมายเหตุ สิ่งที่เป็นตัวบอกนี้ใช้ได้เฉพาะผู้เป็นปุถุชนเท่านั้นครับ

1 เมื่อท่านปฎิบัติวิปัสสนาอยู่ ท่านต้องมีอารมณ์อยู่เหมือนเดิม คำว่าอารมณ์นี้คือความชอบใจ ความไม่ชอบใจนั้นเอง

2 สำหรับท่านที่ปฎิบัติมายังไม่นานนัก ในชิวิตประจำวันท่านจะเผลอเป็นเวลานาน อาจถึงกับไม่รู้สึกตัวทั้งวันเลยก็ได้ แต่ถ้าท่านปฎิบัติมาพอสมควร ท่านจะมีอาการเผลอและรู้สึกตัว เกิดสลับกันบ่อยขึ้น แต่เวลาเผลอจะมีเวลายาวนานกว่าเวลารุ้สึกตัว ยิ่งท่านที่ปฎิบัติมาแล้วพอได้ผล อาการเผลอตัวที่เกิดขึ้นจะเป็นเวลาสั้นมาก ๆ แต่เวลารู้สึกตัวจะยาวนานขึ้น

3 ท่านจะแปลกใจตนเองเป็นอย่างมาก ที่ก่อนปฎิบัติ ท่านจะรู้สึกว่า ตัวเรานี้ช่างเป็นคนดี มีกิเลสน้อย แต่เมื่อท่านปฎิบัติ ท่านจะกลับพบว่า กิเลสในใจท่านมันแสดงหน้ากันสลอน ยิ่งเห็นกิเลสได้มากเท่าใด แสดงว่าท่านมีชั่วโมงบินได้ดีพอตัว ทีเป็นดังนี้ เพราะก่อนปฎิบัติ ท่านไม่รู้สึกตัว เมื่อไม่รู้สึกตัว ก็จะไม่เห้นกิเลสนั่นเองครับ

4 ความรวดเร็วในการยับยั้งชั่งใจหรือการข่มใจ อันนี้หมายถึง เวลาที่ท่านมีอารมณ์ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ ท่านเห็นอารมณ์ชอบใจหรือไม่ชอบได้เร็วเพียงใด ใหม่ ๆ อารมณ์ชอบใจหรือไม่ชอบใจ อาจเกิดขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ท่านไม่เห็นมันทันที ถ้าท่านปฎิบัติมาดีพอตัว อารมณ์เหล่านี้ พอเกิดปุ๊บ จะเห็นปั๊บ ทันที หรือว่า อาจเห็นได้ในขณะที่กำลังก่อตัวอยุ่ในจิตใจท่านเลยก็ได้ เมื่อท่านเห็นอารมณ์ที่มันเกิดได้แล้ว ท่านจะเห็นตามมาคืออารมณ์นั้นมันดับไปต่อหน้าต่อตาท่านทีเดียว เมื่อท่านเดินมาถึงตอนนี้ ท่านจะพบว่า ท่านได้ค้นพบกับยาวิเศษที่ทำให้ท่านสดใสได้เกือบตลอดเวลา เมื่อท่านมาถึงจุดนี้ได้แล้ว ทุกข์ในใจท่านมันก็ลดลงไปมากแล้วละครับ

5 เมื่อท่านปฎิบัติมาถึงระดับหนึ่ง ท่านจะพบว่า ท่านจะเห็นความคิดที่เกิดตลอดเวลา เหมือนเราฟุ้งซ่านและหยุดมันไม่ได้เสียด้วย ท่านอาจสงสัยว่า การปฎิบัติของเรานั้นเสื่อมถอยแล้วหรือ สำหรับเรื่องนี้ ขอย้ำให้ท่านเข้าใจครับว่า การฟุ่งซ่านไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญในการเจริญวิปัสสนา เพราะความสำคัญในการเจริญวิปัสสนาคือการมีความรู้สึกตัวและมีสติรู้อยู่ เมื่อท่านฟุ่งซ่านและเห็นความฟุ่งซ่านของท่านโดยทีท่านยังมีความรู้สึกตัวรู้อยู่ แค่นี้ก็ใช้ได้แล้ว

6 ในการปฎิบัติของท่าน ท่านอาจพบว่า วันนี้มึความรู้สึกตัวแย่มากคือมีการเผลอบ่อย ในขณะที่เมื่อวานนี้ดีกว่า เรื่องนี้เป็นธรรมชาติของจิตที่ต้องเปลี่ยนแปลงและบังคับให้มันดีตลอดตามกิเลสในใจของท่านไม่ได้ ขอเพียงแต่ให้ท่านอดทนปฎิบัติต่อไป ขอให้ท่านเข้าใจว่า เมื่อมันไม่ดีได้ มันก็จะกลับมาดีได้อีกเช่นกัน

7 การวัดผลแบบตั้งใจ ไม่สามารถเป็นการวัดที่ดีได้ เช่น ท่านอาจลองให้เพื่อนท่านด่าท่านอย่างเสีย ๆ หาย ๆ เพื่อดูว่าท่านหลงโกรธไหม หรือบางท่านดูหนังโป้เปลือยเพื่อทดสอบดูว่าอารมณ์ทางเพศมันลดลงหรือไม่ เป็นต้น การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยตั้งใจ ท่านรู้ตัวมาก่อน เมื่อรู้ตัวมาก่อน อารมณ์ของท่านก้จะถูกควบคุมอยู่ในขณะทดสอบ ถ้าท่านจะทดสอบจริง ๆ ละก็ ต้องทดสอบแบบที่ท่านไม่รู้ตัวล่วงหน้า เช่น ขณะที่ท่านขับรถอยู่ แล้วมีรถคันอื่นขับมาปาดหน้าท่านอย่างกระชั้นชิด ท่านหลงไปโกรธใหม หรือว่า เพื่อนของลูกชายท่าน ชกลูกของท่านจนสบักสบอม ท่านหลงไปโกรธใหม อย่างนี้เป็นต้น

8 ทั้งอาการ "ปิติ" หรือ "สุข" ที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติ ไม่ใช่การวัดผลสำหรับการปฎิบัติวิปัสสนา นักปฎิบัติบางท่านอาจเข้าใจว่า ถ้าปฎิบัติจนเกิด "ปิติ" หรือ "สุข" ขึ้นคือความก้าวหน้าแล้วซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิด ๆ ในการปฎิบัติวิปัสสนา ทั้ง ปิติ และ สุข เป็นเพียงอาการทางใจที่จรเข้ามา ที่นักปฎิบัติวิปัสสนาต้องทิ้งเมื่อมันหลงเข้ามาให้รับรู้แล้ว เมื่อนักวิปัสสนาปฎิบัติไปมากๆ เข้า อารมณ์ของผู้ปฎิบัติจะเป็นอุเบกขามากขึ้นเรื่อย ๆ

9 เมื่อท่านปฎิบัติไปนานจนช่ำชอง ท่านจะพบว่า ท่านรู้สึกตัวได้บ่อยมากโดยไม่ต้องประคองความรู้สึกตัวบ่อย ๆ ท่านคงเผลอบ้าง ซึ่งก็เป็นสิ่งปรกติ เมื่อท่านถึงจุดนี้ได้ ท่านจะมองเห็นสัจจธรรมของการเกิดทุกข์ทางใจว่ามันเกิดได้อย่างไร และดับไปได้อย่างไร และท่านจะตอบตัวเองได้เองว่า ท่านได้ปฎิบัติมาถูกทางแล้ว

==========================
ถ้าท่านไปอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับวิปัสสนา ท่านจะพบกับวิปัสสนาญาณ 16 ขั้น อธิบายเป็นขั้นเป็นตอนของการเกิดวิปัสสนาญาณ ในความเห็นส่วนตัวแล้ว ท่านไม่จำเป็นต้องไปใส่ใจในวิปัสสนาญาณ 16 ขั้นเป็นการวัดผล ในแง่การปฎิบัติ ขอเพียงท่านทำให้ถูกแล้ว อะไร ที่มันจะต้องเกิด มันจะเกิดมาเองและขออย่าให้ท่านใส่ใจไปยินดีกับมันที่มันเกิดขึ้น มิฉะนั้น ท่านจะเดินหลงทางได้ครับ

เล่ห์กลกิเลสที่หลอกให้ผู้ปฎิบัติหลงไปกับมัน ทางวิชาการเรียกว่า วิปัสสนูกิเลส มันเป็นกิเลสที่ก่อในจิตของผู้ปฎิบัติที่ผู้ปฎิบัติต้องเจออย่างแน่นอนเมื่อผู้ปฎิบัติเดินทางมาได้ระดับหนึ่งแล้ว มันจะหลอกท่านให้ดีใจและคิดว่าเราสำเร็จแล้วหรือเป็นผู้วิเศษที่เหนือคน ถ้าท่านสำเร็จขั้นต้นเป็นพระอริบบุคคลได้จริง ก็ไม่ต้องใส่ใจและหลงดีใจว่าเราสำเร็จแล้วหนอ ขอเพียงให้ท่านปฎิบัติต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ปฎิบัติเหมือนเดิมไม่ต้องไปพลิกแพลงอะไร ท่านจะก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกข์ในใจจะลดลงไปเรื่อย ๆ อย่าลืมว่าการปฎิบัติวิปัสสนาเพื่อการพ้นทุกข์ ไม่ใช่เพื่อเกีตรติยศประดับว่าข้าพเจ้าเป็นพระอริยบุคคลแล้ว
ถ้ายิ่งถ้าท่านยังไม่สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลที่แท้จริงแต่กลับถูกกิเลสมันหลอกเอา การไปหลงติดดีใจกับตราตั้งการเป็นพระอริบบุคคลจะทำให้ท่านเเพลี่ยงพล้ำและอาจหลงในวังวนหาทางออกไม่ได้ก็ได้ครับ ยิ่งนานวัน ท่านยิ่งยากในการหาทางออกและการดับทุกข์ของท่านก็จะสะดุดลงไปอย่างน่าเสียดาย








Create Date : 26 มกราคม 2549
Last Update : 29 มกราคม 2555 19:56:40 น. 1 comments
Counter : 1003 Pageviews.

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:19:56:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.