รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
25 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
สนทนาเรื่องการปฏิบัติธรรมกับเจ้าของ Blog

ผมเปิดหัวข้อนี้ขึ้นมา เพื่อท่านที่เข้ามาอ่าน ต้องการสนทนา ( เฉพาะ )เรื่องการปฏิบัติธรรมกับเจ้าของ Blog ก็สามารถเขียนได้ในนี้ครับ
แต่ขอให้เป็นเฉพาะเรื่องการปฏิบัติธรรมเท่านั้น เรื่องปริยัติธรรม หรือ ธรรมอื่น ๆ ผมขอเว้นไว้ เพราะผมไม่มีความรู้พอที่จะสนทนาด้วย ผมจะเข้ามาอ่านดูและสนทนาด้วยเป็นระยะ ๆ ครับ

๓๓๓๓๓๓๓๓



ขอให้ท่านที่ต้องการสนทนากับเจ้าของ Blog กรุณาไปเขียนต่อได้ที่ Group Blog ชื่อ ห้องรับแขก ที่
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=08-2009&date=21&group=3&gblog=1


ขออภัยในความไม่สดวกครับ



Create Date : 25 พฤษภาคม 2552
Last Update : 29 มกราคม 2555 19:51:21 น. 33 comments
Counter : 1190 Pageviews.

 
เริ่มปฏิบัติธรรมเเบบไม่ปะติดปะต่อมานานมากแล้วค่ะ
เรียกว่าได้แบบอย่างจากคุณยาย(ตอนนี้ท่านเสียไปแล้ว)
และก็ท่านเจ้าอาวาสวัดแถวบ้านที่ท่านกำเนิดโครงการพุทธศาสนาวันอาทิตย์เรียนอยู่ 5 ปี ตั้งแต่ ป.3 ถึง ม.1 แต่ว่าพอท่านเจ้าอาวาสสุขภาพแย่จนกระทั่งท่านมรณภาพไปนั้น
ไม่มีโรงเรียนนี้อีกแล้วค่ะ ตอนเป็นเด็กการเรียนดีขึ้นมีสมาธิเรียนดีค่ะ พอหยุดก็นานๆ เริ่มทำทีจนเด๋วนี้สวดมนต์ได้ แต่เวลาปฏิบัติธรรมไม่นิ่งเหมือนตอนเป็นเด็กอีกแล้วอ่ะค่ะ
กลุ้มเหมือนกันนะคะ อาจจะเป็นเพราะความตั้งใจของเราค่อนข้างน้อยอ่ะค่ะ
หรือว่าเราสับสน ถ้าให้นั่งนิ่งๆ สมาธิ ที่ทำ 10 นาทีบางทีก็นิ่งได้แค่ 1 นาที บางทีนั่งๆ ไปไม่ถึงห้านาที ก็อยากลุกแล้ว

แย่จังค่ะ พอจะมีอะไรแนะนำบ้างไหมคะ


โดย: narunaru (narunaru ) วันที่: 25 พฤษภาคม 2552 เวลา:17:36:35 น.  

 
ทุกวันนี้พยายามตามดูตามรู้ตัวเองค่ะ แต่เผลอบ่อยมาก แล้วก็พยายามตามอารมณ์ตัวเองไปด้วย โมหะ โทสะยังเยอะอยู่
ยึดติดง่าย ฟุ้งซ่านง่ายถ้ามีเรื่องอารมณ์มากระทบ รู้สึกไม่ก้าวหน้าเลย พอโกรธก็มักจะเก็บ แล้วก็ข่มๆลืมๆให้มันดับไปแต่รู้ว่ามันไม่ดับไปจริงๆ ไม่รู้จะทำไงดี รบกวนขอคำแนะนำได้มั๊ยคะทำไงจะตามดูจนเท่าทันและดับพวกโมหะ โทสะได้


โดย: ใบเตย IP: 210.56.88.201 วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:0:10:08 น.  

 
เรียนคุณ narunaru
เมื่อเราเป็นเด็ก ยังไม่มีเรื่องให้วิตกกังวลมาก ทำให้เด็ก ๆ ทำสมาธิประเภทจิตนิ่งได้ดีกว่าผู้ใหญ่ เพราะในผู้ใหญ่มีเรื่องต้องคิด ต้องทำ ต้องรับผิดชอบมากมากในครอบครัว ยิ่งถ้าใครพบปัญหาด้วยแล้ว ยิ่งจะคิดมากวิตกกังวล จึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำสมาธิแบบจิตนิ่งได้

สมาธิแบบจิตนิ่งนั้นมันเป็นสมาธิก่อนพุทธศาสนา
สำหรับคุณ narunaru ผมแนะนำให้เจริญสติแทนการทำสมาธินิ่ง การเจริญสตินี้เป็นสมาธิแบบพุทธศาสนาและฝึกได้ง่ายกว่าการทำให้จิตนิ่ง ผลที่ได้ยังทำให้จิตใจมั่นคงขึ้นเมื่อไปพบกับเหตุการณ์ต่าง ๆที่ไม่พึงประสงค์ แต่การฝึกต้องมีความขยันหมั่นเพียร ฝึกบ่อย ๆ ทำมาก ๆ
ทำได้ในทุกเวลาที่คุณว่าง ถึงแม้ตอนดู TV ฝึกทำไปด้วยก็ได้ วิธีนี้ผมเคยแนะนำคน ๆ หนึ่งเขาไปฝึกอยู่
ถ้าสนใจจะลองดู ให้ดูรูปจากที่นี่
//i439.photobucket.com/albums/qq120/namasikarn/Pantip/-Gif.gif


โดย: นมสิการ วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:1:37:13 น.  

 
เรียนคุณใบเตย
อาการของคุณคือ ฐานไม่แน่นพอครับ ผมแนะนำให้คุณฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วย
ถ้าคุณไม่รู้ว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐานฝึกอย่างไร
ให้คุณเข้าไปดูรูปที่ผมตอบคุณ narunaru
ที่อยู่ล่างสุดที่เป็น Link ไปที่ photobucket.com ครับ
แต่ถ้าคุณฝึกอยู่แล้วเช่นการเดินจงกรม ก็ขอให้ฝึกให้มากขึ้น
การมีฐานที่แน่นด้วยการฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จะทำให้สติสัมปชัญญะแน่นขึ้น

เรื่องการเผลอนั้น มันเป็นธรรมดาครับที่ต้องเผลอ ถ้าเผลอ
เป็นเวลาสั้น ๆ นี่ดี ถ้าเผลอเป็นเวลายาว ๆ นี่ไม่ดีครับ
อย่าได้กังวลใจกับเรื่องเผลอ เราต้องเผลอครับแต่ เมื่อเผลอแล้วให้รู้สึกตัว ให้สลับเผลอ รู้สึกตัว ไปมาอย่างนี้บ่อย ๆ แล้ว เผลอจะค่อย ๆ หดสั้นลง
แต่เมื่อฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐานไปมาก ๆ ความคุ้นเคยมันจะฝังลงไปในจิตใจ และจะเกิดการจำได้ขึ้นเมื่อเราไปเจอสิ่งที่เคบพบในการฝึก สติจะทำงาน กระตุกให้กลับมารู้สึกตัวใหม่อีกครั้งหนึ่ง กลไกเขาทำงานแบบนี้ครับ

ถ้าคุณฝึกดี ๆ มันจะไปถึงอาการหนึ่ง คือเผลอบ่อย แต่เผลอช่วงสั้น ๆ แล้วกลับมารู้สึกตัว นี่จะเป็นปัญญาด้วยครับ ทำให้ห็นความเป็นไตรลักษณ์ได้ ดังนั้น อย่าไปรังเกียจการเผลอ ถ้าไม่ขอบมัน จิตใจไม่เป็นกลาง ก็เป็นการหลงกลกิเลสในจิตใจ เวลาฝึกฝน เราต้องปรับจิตใจให้เป็นกลางไม่ลำเอียงด้วยครับ
ลองดูกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนะครับ แล้วอีก 3 เดือนขึ้นไปหลังการฝึกนี้ คุณจะเริ่มเห็นผลว่า การเผลอเริมหดสั้นลงไปได้


โดย: นมสิการ วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:1:53:26 น.  

 
สวัสดีครับ คุณนมสิการ ไม่รู้เรื่องนี้จะเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม มากน้อยเพียงใด มันเป็นเรื่องในอดีต
ที่ส่งผลมาในปัจจจุบัน เมื่อก่อนผมพูดตรงไปตรงมา นึกจะพูดก็พูด ถนอมน้ำใจคนไม่เป็น มันเลยทำให้เพื่อนร่วมงาน เพศหญิง ที่อายุมากกว่าผมก็ 1-2 ปี ซึ่งมาทำงานในฝ่ายผมบางช่วงเวลา ซึ่งผมก็เรียกเธอว่าพี่ ผมก็เคยขอโทษ ยิ้มให้ พูดคุยปกติ มองปกติ แต่เขาก้ไม่ค่อยมองผม และไม่พูดกับเรา ถ้ามองมักจะใช้หางตา ครั้งหนึ่งในวัดที่ไปงานทำบุญเลี้ยงพระ ผมก็ทักทายยกมือไหว้ แต่เข้าก็หันหลังกลับ ไม่สนใจผม ทั้งที่รอบๆ ก็มีเพื่อนร่วมงานหลายคนอยู่ด้วย และผมสังเกตว่า บางครั้ง บางงานเราจะทำ เหมือนเธอจะไม่ให้เราช่วย เช่นมีคนเอาใบรายการของมาให้เธอ แต่เธอก็นั่งทำงานอยู่แล้ว เราจะหยิบใบรายการมา แต่เธอเหมือนจะรีบๆ ไม่ให้เราช่วย ผมจะมองเธอเป็นอากาศธาตุไปเลยดีไหมครับ หรือให้ผมวางใจยังไงดีครับ ขอบคุณหวังว่าคุณน่าจะให้คำแนะนำผมได้บ้าง...อดีตแก้ไม่ได้ เพราะเหตุที่ทำไป ผลเลยเป็นแบบนี้


โดย: Bigsun วันที่: 29 พฤษภาคม 2552 เวลา:12:20:26 น.  

 
เรื่องนี้เป็นเรื่องทางสังคมระหว่างบุคคล มันเป็นเรื่องธรรมดา ที่จะมีคนที่ชอบและไม่ชอบ แต่ก็จะมีคนจำนวนมากที่พยายามจะเปลี่ยนคนที่ไม่ชอบเราให้มาชอบเรา
ในความเห็นของผม เรามีหน้าที่กิจกรรมที่ต้องทำ เราก็ทำตามหน้าที่ของเราไป ส่วนเรื่องทางจิตใจว่า เขาจะขอบหรือไม่ชอบเรา มันก็เป็นเรื่องของเขา ถ้าเราไม่ควรทำอะไรให้เขาเดือดร้อนเป็นสิ่งดีที่สุด แต่เขาไม่ชอบเรา เราก็ไม่ต้องไปแคร์เขา การเอาใจคนอื่นถ้าเราเป็นทุกข์ หรือ เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ก็น่าจะหลีกเลี่ยง

ผมจะแบ่งประสบการณ์การปฏิบัติธรรมอย่างหนี่งที่เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้วได้ผลแล้ว เขาจะไม่สนใจคนอื่นว่าเขาจะเป็นอย่างไร แต่เขาจะไม่ทำอะไรให้คนอื่นเดือดร้อน เขาจะรักษาแต่จิตใจของตนเองไว้เสมอ ๆ และทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองโดยไม่เป็นที่เดือนร้อนแก่ผู้อื่นครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 29 พฤษภาคม 2552 เวลา:16:58:20 น.  

 
กำลังฝึกดูจิตเหมือนกัน แต่เผลอนานมาก ต้องทำอย่างไรถึงจะไม่เผลอนาน ไม่ได้ปฏิบัติตามรูปแบบ ตามรู้จิต ตามดูกายไม่เป็นช่วยแนะนำด้วย รู้กายจำเป็นมากหรือเปล่า


โดย: บัวละไม IP: 125.27.249.70 วันที่: 30 พฤษภาคม 2552 เวลา:11:19:34 น.  

 
เรียน บัวละไม IP: 125.27.249.70
จากประสบการณ์ที่ผมพบในการปฏิบัติธรรม ถ้าผู้ปฏิบัติยังไม่มีสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่นพอและ "จิตรู้" ยังไม่เกิดขึ้น การดูจิตที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะผู้ปฏิบัติจะไม่เห็นไตรลักษณ์ของจิตที่แท้จริง จิตของผู้ปฏิบัติจะถูกจิตที่กำลังปรุงแต่งลากเข้าไปผสมด้วย จนเกิดอาการที่เรียกว่า ฉันกำลังโกรธ ฉันกำลังรัก ฉันกำลังหลง
ทุกอย่างเป็นว่า เป็นฉัน เป็นของฉันไปหมด

ถ้าผู้ปฏิบัติมีสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่นพอ และมี .จิตรู้. เกิดแล้ว จิตรุ้นั้นจะตั้งมั่นเห็นจิตที่กำลังปรุงแต่งมันแปรเปลี่ยนไปมา
ตามเหตุปัจจัย และนี่คือปัญญาแรกเริ่มที่จะเกิดกับผู้ปฏิบัติธรรม อันจะนำไปสู่การคลายการยึดมั่นถือมั่นในจิตใจได้ต่อไป

ที่ถามว่า การรู้กาย นี่จำเป็นไหม เรืองนี้ ผมขอตอบว่าจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ฝึกใหม่ เพราะการรู้กายนี้บ่อย ๆ เนื่อง ๆ จะนำไปสู่การพัฒนาสัมมาสมาธิของจิตให้ตั้งมั่นขึ้น

สำหรับผู้ที่ฝึกมานานๆ และได้ผลแล้ว เขาจะรู้ทังกาย รู้ทั้งจิต ไม่ใช่รู้แต่จิตเพียงอย่างเดียว

ผมขอแนะนำว่า ให้คุณหันมาฝึกรู้กายให้มากขึ้นก่อน เพื่อพัฒนาสัมมาสมาธิให้ตั้งมั่นมากกว่านี้ เมื่อสัมมาสมาธิตั้งมั่นมากขึ้น อาการเผลอนาน ก็จะค่อย ๆ เผลอด้วยเวลาที่น้อยลงไปเรื่อย ๆ เอง

การรู้กาย ก็คือ การฝึกรับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นที่กาย
เช่น การเดินจงกรม ก็รู้สึกถึงอาการที่ก้าวไป อาการสั่นไหวของกล้ามเนื้อขา เป็นต้น หรือ จะฝึกแบบในรูป ที่ผมเคยสอนคนใหม่ให้ฝึกได้อย่างง่าย ๆ เพื่อให้เขาทำก็ได้ นี่ก็เป็นการฝึกเพื่อรู้กาย ขอให้อ่านวิธีฝึกที่มีอยู่แล้วในรูป เวลาฝึกสามารถทำได้ตลอดเวลา ถ้ามีเวลาว่าง เช่นกำลังดู TV ฟังวิทยุ สบาย ๆ นั่งว่าง ๆ ในรถเมล์ก็ฝึกได้ จะนั่งท่าไหนก็ได้ แล้วแต่จะถนัด
ขออย่างเดียวว่า เวลาฝึกใหม่ ๆ อย่าเพิ่งได้มีการพูดคุยกับคนอื่น แต่ฟังเขาพูดได้ แต่อย่าคิดพูดตอบ ถ้าคุณฝึกทุก ๆ วัน เช้า เย็น ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที ผมคาดว่า ภายใน 3 เดือน จิตใจคุณจะเริ่มตั้งมั่นมากขึ้นอย่างแน่นอน
//i439.photobucket.com/albums/qq120/namasikarn/Pantip/-Gif.gif
ถ้าดูรูปแล้ว ไม่เข้าใจจุดใด สงสัยจุดใด ให้เขียนมาได้ครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 30 พฤษภาคม 2552 เวลา:16:47:46 น.  

 
เรียนคุณนมสิการ

บล็อคของคุณดีนะคะ ชื่นชมค่ะ

เริ่มปฏิบัติแบบดูจิตมาได้ประมาณ 8 เดือนค่ะ หลายครั้งพบว่า ตัวเอง จิตไม่ตั้งมั่น ยังไม่มีสมาธิ จึงเริ่มหัดมารู้กายเคลื่อนไหว เพิ่งหัดมาได้สองสามวันค่ะ จริงๆ แล้ว เมื่อก่อนไม่ได้หัดรู้กายจริงจัง อาศัยเดินจงกรม กวาดลานวัดบ่อยๆ เพื่อให้มีสติจับอยู่ที่กายบ้าง

พอกลับจากวัดมาอยู่บ้าน ค่อนข้างจะหลง เผลอสติบ่อยมาก การดูจิตไม่ค่อยได้เรื่องเลย วันนึงรู้สึกว่าเราน่าจะลองหัดเคลื่อนไหว เพื่อเอาสติมารู้ที่กายบ้าง เลยเริ่มศึกษาธรรมะของหลวงพ่อเทียนดูค่ะ คิดว่าจริงๆ ยังไม่เห็นอะไรนักเพราะเริ่มต้น แต่รู้สึกว่า การเจริญสติด้วยการเคลื่อนไหวมือ แขน ทำให้เรารู้เบาๆ พอจิตมันไปคิด ก็รู้มันเบาๆ เริ่มจะห่างจากคำว่า "หนีไปคิดละ" เมื่อก่อนมันจะมีคำพูดอย่างนี้อยู่ในหัวตลอดเวลาค่ะ


โดย: kaoim IP: 58.10.90.187 วันที่: 31 พฤษภาคม 2552 เวลา:14:11:25 น.  

 
เรียน คุณkaoim IP: 58.10.90.187
ยินดีด้วยครับกับความก้าวหน้า เมื่อได้เห็นคำว่า "เริ่มจะห่างจากคำว่า "หนีไปคิดละ" " นี่แสดงว่า จิตคุณเริ่มมีกำลังมากขึ้น จึงหนีไปคิดได้ยากขึ้น
การรู้กายด้วยการเคลื่อนไหว จะดีอย่างนี้เองครับ
มีอะไรก็เขียนมาเล่าให้ฟังกันนะครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 31 พฤษภาคม 2552 เวลา:15:52:20 น.  

 
สวัสดีค่ะ ปฏิบัติแนวดูจิตมา 2 ปีกว่าแล้วค่ะ ส่งการบ้านครั้งแรก หลวงพ่อบอกว่า ติดเพ่ง พอไปส่งครั้งที่ 2 ท่านบอกว่าจิตยังไม่ตั้งมั่น จิตยังไม่ตื่น

ตัวเองเข้าใจว่า ยังขาดการทำรูปแบบ เพราะไม่ค่อยขยันเท่าที่ควร เข้าใจว่าจะต้องทำรูปแบบด้วยนะคะ ถึงจะทำให้การภาวนาก้าวหน้า

ของตนเอง รู้และเข้าใจสภาวะบางอย่างค่ะ เช่น ประคอง หรือ โกรธ หลงไปคิดบ่อยมากทั้งวันค่ะ แต่ก้อไม่เห็นพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไรเลยนะคะ

อ่านดูที่แนะนำไว้ในบล็อก เด่วจะลองทำดูนะคะ

บุญรักษาค่ะ
เบญญาภา


โดย: เบญญาภา IP: 68.183.1.57 วันที่: 9 มิถุนายน 2552 เวลา:9:14:42 น.  

 
ติดเพ่ง โดยมากเกิดจากการเข้าใจคลาดเคลื่อนของลักษณะการรู้ของสติสัมชัญญะ โดยการส่งจิตไปเพ่ง
ผมแนะนำให้คุณลองฝึกการลูบแขนดังที่ผมเขียนในบทความเรื่อง ตัวอย่างการฝึกเพื่อการรู้กาย โดยการลุบแขนไป พร้อมกับดู TV ไปด้วย ในขณะที่คุณดู TV อยู่ แล้วคุณลูบแขน แล้วรู้สึกถึงการลูบการสัมผัสแขนได้ นั่นคือการรู้ที่ไม่เพ่ง เมื่อคุณเข้าใจว่า รู้อย่างนี้คือไม่เพ่ง คุณก็ฝึกอะไรก็ได้ ในลักษณะเดียวกัน คือรู้แบบไม่เพ่ง
ซึ่งจะทำให้จิตตั้งมั่นขึ้นด้วย ลองฝึกลูบแขนดูซิครับ ง่าย ๆ ดี ด้วยครับ
การฝึกตามรูปแบบจะช่วยให้การตั้งมั่นแห่งจิตได้เร็วขึ้น เพราะเกิดความคุ้นเคย แต่เรื่องจิตตื่นขึ้น ไม่ใช่ของง่าย
ครับ แต่ถ้าขยันฝึก จิตย่อมตั้งมั่นและย่อมตื่นขึ้นได้เอง


โดย: นมสิการ วันที่: 9 มิถุนายน 2552 เวลา:15:59:45 น.  

 
ค่ะ จะลองทำตามดูนะคะ แล้วเรื่องการทำรูปแบบ ก้อให้ทำแบบลูบแขนแทนไปเลยใช่มั้ยคะ

เคยดูลมหายใจ จิตมันแนบตามไปกับลมเลยอ่ะค่ะ ยังงงว่าดูอย่างไรที่จะรู้แค่ ลมเข้า ลมออก เพราะของปูจิตเค้าแนบไปด้วยกันเลยค่ะ

ขอบพระคุณนะคะ
ปู


โดย: เบญญาภา IP: 68.183.1.57 วันที่: 9 มิถุนายน 2552 เวลา:21:03:38 น.  

 
อยากทราบว่า เวลาออกไปข้างนอกระหว่างนั่งรอ อยากจะภาวนา แต่คงใช้การลูบแขน คนอื่นอาจจะมองเราแปลก ๆ ไม่ทราบว่าควรใช้วิธีไหนเป็นวิหารธรรมดีคะ


โดย: เบญญาภา IP: 68.183.1.57 วันที่: 10 มิถุนายน 2552 เวลา:3:02:38 น.  

 
เวลาที่เราอยู่ในที่สาธารณะ อย่าได้ทำอะไรเป็นที่สังเกต เดียวเขาจะหาเราเป็นบ้าครับ
ลองดูวิธีต่อไปนี้ ว่าจะปรับใช้ได้อย่างไรในที่สาธารณะ
1 กำมือ แบบมือ ไปเรื่อย ๆ ทำช้า ๆ สบาย ๆ ระหว่างที่กำมือ และ แบบมือ ให้สังเกตการขยับของนิ้วมือ และ อาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณมือที่จะสังเกตได้เช่นกัน

2. หรือจะใช้วิธี ให้นิ่วมือถูกันเบา ๆ ก็ได้ เช่นนิ่วโป้ง กับนิ้วชี้ วิธีนี้ จะทำตอนนั่งรถเมล์ก็ดีเหมือนกัน

3. ถ้าเรานั่งทำงานอยู่ในบริษัท อาจนั่งไขว้ห้าง ซึ่งแน่นอนว่า โต๊ะทำงานจะบังไว้อยู่ ทำให้คนอื่นมองไม่เห็น
เมื่อนั่งไขว่ห้าง ก็อาจใช้วิธี ขยับปลายเท้าไปมา
หรือ จะถอดรองเท้าออก แล้ว ก็ใช้นิ้วเท้าห้วแม่โป้ง ขยับและถูกับนิ้วเท้าที่อยู่ติดกัน ก็ได้

หลักการที่ฝึกฝนก็คือ ให้ฝึกเพื่อให้เกิดความรู้สึกตัวและได้ถึงความรู้สึกทีเกิดขึ้นบ่อย ๆ ที่มีโอกาสที่จะฝึกฝน ในที่นี้ ความรู้สึกที่เกิดขึ้น สติจะรู้การขยับของอวัยวะส่วนต่าง ๆ หรือ มีการถู มีการสัมผัสกันของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ครับ
เมื่อเราฝึกด้วยความรู้สึกตัวและให้จิตรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้น จะเป็นการปลุกจิตให้ตื่นตัว และ จิตจะมีความตั้งมั่นเป็นสมาธิมากขึ้นได้ครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 10 มิถุนายน 2552 เวลา:7:31:05 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณนมสิการ

ขออนุญาตตอบคุณปูด้วยค่ะ ว่าเวลาที่เราอยู่ต่อหน้าคนอื่น จะใช้วิธีกำมือ ขยำมือ หรือไม่ก็นั่งลูบแขน แต่เป็นในลักษณะเหมือนถูๆ เพื่อสร้างความรู้สึกที่กายน่ะค่ะ

ขอเรียนถามคุณนมสิการค่ะ วันก่อนดิฉันฝึกรู้การเคลื่อนไหว ตอนช่วงก่อนจะนอน ก็เลยนอนขยับมือเป็นจังหวะไปด้วย มีความรู้สึกว่ามันไม่เหมือนเดิม เวลาที่เราไปรู้ที่การเคลื่อนไหวมันเบาๆ หวิวๆ กลัวว่ามันจะกลายเป็นอาการเคลิ้ม จนไม่แน่ใจว่านี่มันเป็นอาการของสมถะหรือเปล่าคะ คือ เคลิ้มๆ ตัวเบาๆ ตัวลอยๆ

ต่อมาขณะที่ฝึกรู้กายเคลื่อนไหว ดิฉันก็สังเกตความคิดไปด้วย ระหว่างความคิดที่เกิดขึ้นและความคิดที่มันดับไป ว่ามันแตกต่างกันตรงไหน มีความรู้สึกว่าตัวเองชอบที่จะส่งจิตเข้าไปควานหาว่าเกิดความรู้สึกอะไรบ้าง มีทางแก้ไขอย่างไรบ้างไหมคะที่จะให้จิตรู้อารมณ์แบบเป็นธรรมชาติ


โดย: kaoim IP: 58.10.90.27 วันที่: 10 มิถุนายน 2552 เวลา:8:43:59 น.  

 
เรียน คุณ kaoim IP: 58.10.90.27 วันที่: 10 มิถุนายน 2552
เรื่องสมถะ วิปัสสนา นั้น ผมขอแนะนำว่า อย่าได้ไปกัววลกับมันว่า มันจะเป็นอาการอะไรระหว่าง สมถะและวิปสสนาครับ เพราะมันจะเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อมกันเสมอ ถ้าเรายังรู้ ไม่เผลออยู่ คุณจะสังเกตได้ว่า เมื่อคุณเบา ๆ หวิว ๆ แล้วมันก็อาจจะไปเป็นเคลิ้ม หรือ มันจะกลายเป็นอย่างอื่นก็ได้ นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่จับได้ เขาเพียงรู้ก็พอว่า มันมีการแปรเปลี่ยน ไม่ต้องไปสนใจด้วยว่า เปลี่ยนไปดีขึ้นหรือเลวลง เปลี่ยนไปเป็นอะไรก็ไม่ต้องสนใจ รู้เพียงว่า มันเปลี่ยนแปลงก็พอครับ

เรื่องการสังเกตความคิด ก็เช่นกันครับ เพียงรู้ว่า มันมี มันไม่มี ก็พอครับ จิตเห็นอย่างนี้บ่อย ๆ จิตจะเข้าใจได้เองต่อไป อีกประการหนึ่ง ถ้าเราพยายามจะเข้าไปสังเกต อย่างนี้ มักจะพบว่า จิตมันจะนิ่ง ๆ ไม่ยอมแปรเปลี่ยน ถ้าเราไม่พยายามเข้าไปสังเกต เพียงฝึกรู้ไว้ พอมีการแปรเปลี่ยนเมื่อใด จิตมันจะเห็นเอง ทีนี้ พอจิตมันเห็นเองบ่อย ๆ จิตมันจะเก่งขึ้นเอง ว่าอะไรเป็นอะไร
ถ้าจะเปรียบ ก็เหมือนดาวตก ครับ ถ้าเราเห็นดาวตกเพียง 1 ครั้ง เราก็ไม่ทันสังเกต พอเราเห็นดาวตกมากครั้งขึ้น เราก็จะสังเกตอะไร ๆ ในดาวตกได้มากขึ้นเอง ขบวนการธรรมชาติต้องเป็นไปอย่างนี้ครับ

อาการที่ชอบส่งจิตเข้าไปเพื่อจะรู้อะไรต่อมีอะไร นี่เป็นธรรมชาติของคนอยู่แล้ว พอเราฝึกไปเรื่อย ๆ แบบไม่ส่งจิตไปรู้ แต่ให้จิตมีสติสัมปชัญญะ จิตมันจะรู้เองโดยไม่ต้องส่งจิตไปเพื่อจะรู้ จิตมันจะค่อย ๆ เปลี่ยนพฤตกรรมเอง แต่ต้องให้เวลากับตัวเอง อย่าได้กังวลกับเรื่องเหล่านี้

ถ้าจะเปรียบ ก็เหมือนเด็กที่หัดเขียนหนังสือ ใหม่ ๆ ก็จะยังเกร็ง เขียนไม่สวย ไม่เร็ว แต่พอเขียนไปเรื่อย ๆ ก็จะสวย จะไม่เกร็ง เป็นธรรมชาติเอง


โดย: นมสิการ วันที่: 10 มิถุนายน 2552 เวลา:9:52:15 น.  

 
ขอบพระคุณนะคะ ทั้งสองท่านเลยค่ะ

แต่จะบอกว่าปูอ่ะช่างคิด เลยใช้การคิดเป๋็นวิหารธรรม เอ ไม่ใช่สิ ใช้การรู้ว่าคิดเป็นวิหารธรรมค่ะ แต่ยังไม่เคยได้เห็นถึงขนาดว่าจิตไหลไปคิดเป็นอย่างไรอ่ะค่ะ แล้วก้อภาวนาไปยังไม่เห็นการพัฒนาการของตนเองเลยอ่ะค่ะ

อยากทราบว่าทำอะไรผิดตรงไหนหรือปล่าวคะ

อ่อ จะเล่าสภาวะนี้ค่ะ คือเวลาขับรถไปไกล ๆ มาดูเหมือนมือเค้าขยับไปมา แต่รู้สึกว่าไม่ใช่มือของเราอ่ะค่ะ มันอยู่ห่าง ๆ ยังไงไม่ทราบ แบบว่าอธิบายไม่ถูกอ่ะค่ะ ผิดถูกอย่างไรคะ


โดย: เบญญาภา IP: 68.183.1.57 วันที่: 11 มิถุนายน 2552 เวลา:9:19:20 น.  

 
เรียนคุณ เบญญาภา IP: 68.183.1.57 วันที่: 11 มิถุนายน 2552 เวลา:9:19:20 น.

จากประสบการณ์ที่ผมปฏิบัติมา และ ผมได้เห็นการทำงานของจิตใจว่าเป็นอย่างไร มันทำให้ผมทราบว่า ทีแท้แล้ว อันว่า จิตรู้ จิตคิด จิตส่งออกนอก นี่เป็นจิตเดียวกัน
ที่แปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยครับ หมายความว่า ถ้าจิตคิดเกิดอยู่ จิตรู้จะหายไป หรือ จิตส่งออกนอกอยู่ จิตรู้ก็จะหายไป มันเกิดอยู่ได้ขณะเดียวในสิ่งเดียวเท่านั้นครับ

สมมุติว่า มีคน ๆ หนึ่ง เขาฝึกสติสัปมชัญญะมาดีมาก ๆ จนจิตรู้เกิดแล้วและตั้งมั่นพอสมควร การทำงานของจิตจะเป็นอย่างนี้ครับ ถ้าจิตกำลังจะหลงไปคิด จิตรู้ที่มีกำลังและตั้งมั่นจะยังไม่แปรเปลี่ยนเป็นจิตคิดเต็มรูปแบบ 100 % ทำให้คนๆ นั้นเห็นความคิดที่เกิดขึ้นได้ โดยที่จิตไม่ไหลออกไปกับความคิดจนกลายเป็นการหลงคิดไป

ในทำนองเดียวกัน ถ้ามีอีกคนที่ไม่ได้ฝึก หรือ ฝึกแต่สติสัมปชัญญะยังไม่มั่นคงพอ พอจิตเปลี่ยนไปคิด คน ๆ นี้จะหลงไปกับการคิดทันที โดยที่จิตรู้ ก็จะหายไปด้วย ทำให้คน ๆ นี้ไม่เห็นความคิดครับ

ผมมีความห็นอย่างนีว่า (ขออภัย ถ้าเกิดไปขัดแย้งกับอาจารย์ท่านใดท่านหนึ่ง ) ถ้าผู้ปฏิบัติยังมีสติสัมปชัญญะยังไม่แนบแน่นพอ ต้องฝึกเจริญสติสัมปชัญญะก่อนครับด้วยกายานุปัสสนา ซึงการฝึกรู้ด้วยกายานุปัสสนาแบบเจริญสติ ไม่ใช่การนั่งนิ่งเงียบครับ ผมจึงไม่แนะนำให้ผู้ฝึกใหม่ไปฝึกด้วยการดูลมหายใจ เพราะนั้นเป็นสิ่งที่อยากมากสำหรับคนใหม่ ผมเองก็เป็นคนช่างคิด ผมได้พิสูจน์จากตัวเองว่า การฝึกกายานุปัสสนาแบบไม่ใช่นั่งนิ่ง สามารถฝึกได้กับคนที่เป็นคนช่างคิด เมื่อได้ฝึกกายานุปัสสนาแล้ว จิตรู้จะเกิด และถ้าฝึกกายานุปสสนาต่อไปอีก จิตรู้จะตั้งมั่น ถึงตอนนั้นแหละครับ ถึงจะไปดูจิต ปรุงแต่ง ดูความคิดต่อไปได้

การที่คุณเห็นมือขยับไปมา และรู้สึกว่ามือไม่ใช่ของเรา
มันเป็นอาการอย่างหนี่งที่เกิดขึ้นที่เป็นผลมาจากการปฏิบัติ ผมเองก็เคยเป็นครับ และเป็นหลายครั้งด้วย แต่ผมก็ไม่ใส่ใจอะไรกับการรุ้สึกแบบนี้ อาการแบบนี้ แต่ผมพบว่า การรู้แบบนี้ ยังไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์พอที่จะลดทุกข์ใจไปได้ครับ มันคงเป็นทางผ่านอย่างหนึ่งของผู้ปฏิบัติธรรม และผมมึความเห็นส่วนตัวว่า การรู้สึกได้แบบนี้ ก็ยังไม่ใช่ สักกายทิฐิ ด้วยครับ

ขอบคุณครับ ที่เขียนเล่าประสบการณ์ปฏิบัติมา


โดย: นมสิการ วันที่: 11 มิถุนายน 2552 เวลา:10:24:37 น.  

 
สวัสดีค่ะ

ขอบพระคุณมากนะคะ ปูไม่ชอบการนั่งสมาธิเลยค่ะ นั่งแล้วไม่เคยรู้จักกับคำว่าจิตสงบเลย เห็นแต่ความฟุ้งซ่านของตัวเองอย่างเดียวค่ะ ถ้าให้เลือกจะชอบการเดินจงกรมมากกว่าค่ะ

ที่คุณแนะนำ คือให้ปูฝึกการขยับร่างกายนะคะ ทำเป็นรูปแบบ ทำไปเรื่อย ๆ ที่ปูเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องมั้ยคะ

มีอะไรช่วยแนะนำเพิ่มเติมได้นะคะ

บุญรักษาค่ะ
ปู


โดย: benyapa IP: 68.183.1.57 วันที่: 12 มิถุนายน 2552 เวลา:9:15:36 น.  

 
การนั่งสมาธิ ไม่เหมาะสำหรับคนใหม่ โดนเฉพาะพวกที่เป็นฆราวส ครับ แต่ถ้าฝึกมาแลวเก๋ากึก มีพลังสัมมาสติสัมมาสมาธิดีแล้ว จะนั่งก็ได้ ไม่นั่งก็ได้ครับ

สำหรับคนที่ผมไปสอนฝึกปฏิบัติ ผมจะสอนให้เขาขยัยร่างกายครับ ขยับร่างกายอะไรก็ได้ เช่นมือ เท้า เต็นแอร์โรบิคก็ยังได้ เดินก็ได้ วิ่งก็ยังได้ ถ้าไม่มีอะไรทำ ขณะดู TV จะใช้พัดมาโบกให้ลมคลายร้อนก็ยังได้ครับ อะไรก้ได้ให้มีการขยับ อย่านั่งนิ่ง แต่มีข้อแม้ว่า ในขณะที่ขยับ ต้องรู้สึกตัวและรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะขยับด้วย เช่น ถ้าคุณปูชอบเดินจงกรม อันนี้ดีครับ ควรฝีกได้ถ้าชอบใจ เดินไปแบบสบาย ๆ อย่าเกร็ง การเกร็งจะทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ ให้เราเดินแบบสบาย ๆ เหมือนไม่มีธุระอะไรต้องทำ แบบเดินชมธรรมชาติในยามเช้าแบบนั้น ในขณะที่เดิน เมื่อรู้สึกตัว คุณปูควรจะรับรู้ธรรมชาติไปพร้อมกับการเดินด้วย ตาก็ยังเห็นอยู่ หูยังได้ยินอยู่ ถ้ามีลมมาพัดโดนก็รู้สึกได้ ในขณะเดียวกัน
ในการเดินจะมีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายก็คือ การเคลื่อนไหว รวมทั้งการสั่นไหวภายในกล้ามเนื้อขา ซึ่งจะรู้สึกได้ถึงการไหวของอวัยวะ และการสั่นไหวของกล้ามเนื้อขา
สำหรับการรู้การสั่นไหวของอวัยวะ การสั่นไหวของกล้ามเนื้อขา ขอให้คุณปู ตอนอ่านบทความนี้อยู่ ลองสบัดมือไปมาแบบซิครับ แล้วสังเกต อาการสั่นไหวที่มือสบัดไปมา รวมถึงการสั่นไหวของอวัยวะภายในไหมครับ ถ้าสังเกตได้ การเดินก็จะเกิดการสั่นไหวเหมือนกัน ผมแนะนำให้คุณปู ลองเดินเดี่ยวนี้เลย เดินนิดหน่อยก็ได้ เดินในห้องก็ได้ แล้วสังเกตอาการการสั่นไหวอันมาจากการเดิน ถ้าคุณเข้าใจการรู้การสั่นไหวได้แล้ว ก็นำไปใช้ในการเดินในครั้งต่อไปได้เลยครับ ไม่ว่าจะเดินในบ้าน ในที่ทำงาน ตามท้องถนน เดินไปด้วยรู้การสั่นไหวของร่างกายไปด้วย เรียกว่า ฝึกในชิวิตประจำวันเลยครับ นอกเหนือจากการฝึกตามรูปแบบ
การรับรู้การสั่นไหวภายในร่างกายนี้มีประโยชน์มากในการพัฒนาความสามารถของสัมมาสติครับ เพราะในขณะที่จิตมันไหว มันจะเหมือนการสั่นไหวของกล้ามเนื้อเลย เพียงแต่ว่า มันเบากว่ามากเท่านั้น ถ้าจิตได้ฝึกรับรู้การสั่นไหวของกล้ามเนื้อภายในร่างกาย จิตจะพัฒนาความสามารถในการรับรู้การสั่นไหวขึ้นเรื่อย ๆ เอง ต่อไปอะไรเบา ๆ เกิดก็จะสังเกตรู้ได้เอง

อีกประการหนึ่ง การที่เราฝึกอะไรก็ได้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว อันนี้จะดีสำหรับฆราวาส เพราะฆราวาสจะเคลื่อนไหว ต้องทำงานตลอด พอเราฝึกรู้ในขณะเคลื่อนไหว ทีนีในชิวิตจริง ๆ พอเราเคลื่อนไหว สติก็จะเกิดได้ง่าย ปลุกให้รู้สึกตัวได้ง่ายเพื่อสติไปรับรู้การเคลื่อนไหวที่เกิดจริง ๆ ในชิวิตประจำวันครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 12 มิถุนายน 2552 เวลา:10:43:06 น.  

 
ขอบพระคุณค่ะ ปูจะนำไปปฏิบัติดูนะคะ ไว้มีโอกาสจะมาส่งการบ้านนะคะคุณนมสิการ

บุญรักษาค่ะ
ปู

งือออ ไม่ค่อยมีเวลาทำรูปแบบเลยค่ะ เนี่ยกลุ้มใจที่สุดเลยอ่ะค่ะ


โดย: เบญญาภา IP: 69.198.106.6 วันที่: 13 มิถุนายน 2552 เวลา:5:49:14 น.  

 
การฝึกในรูปแบบนั้น จะช่วยให้ย่นเวลาได้สั้นขึ้นได้
ถ้าไม่มีเวลานาน ๆ ก็ใช้เวลาสั้น ๆ ก็ได้ครับ เช่น ครั้งละ 5 นาที 10 นาที แล้วหาจังหวะโอกาสทีว่างแบบนี้ ฝึกในรูปแบบบ่อย ๆ ครั้งละสั้น ๆ ตามโอกาส แต่บ่อย ๆ ครับ

การฝึกในชีวิตประจำวันนี่ เป็นสิ่งที่ดีครับ เพราะเป็นธรรมชาติจริง ๆ ธรรมจะโผล่งออกมาให้ผู้ปฏิบัติได้รู้จริง ก็ตอนเป็นธรรมชาติครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 13 มิถุนายน 2552 เวลา:7:26:50 น.  

 
เข้าใจแล้วค่ะว่าอย่างไรก้อตามการทำรูปแบบก้อมีส่วนช่วยในการภาวนาจริง ๆ อย่างเช่นตนเองตอนนี้ ที่ว่าไม่เห็นพัฒนาก้าวหน้าไปไหน คงเพราะไม่ได้ทำรูปแบบแน่ ๆ เลยค่ะ

บุญรักษาค่ะ
ปู


โดย: benyapa IP: 68.183.1.57 วันที่: 13 มิถุนายน 2552 เวลา:9:22:26 น.  

 
เรียน คุณปู
ถ้าคุณฝึกการรู้กายแบบที่ผมเขียนไว้ในบทความเรื่องตัวอย่างการรู้กาย
วิธีตรวจสอบว่าก้าวหน้าขึ้นหรือยังได้อย่างง่าย ๆ ในขั้นแรก ๆ ของการฝึกก็คือ
เมื่อคุณกระพริบตา หรือ ขยับตัว คุณจะรู้สึกได้ทันทีอย่างรวดเร็วว่า เมื่อกี้กระพริบตา เมื่อกี้มีการขยับตัว
นี่แสดงว่ามีความก้าวหน้าแล้วครับ ดูมันไม่มีอะไร แต่ในคนที่เขาไม่ได้ฝึก หรือ ยังไม่ได้ผลการฝึก เขาจะไม่รู้เลยครับ ถึงการเปลี่ยนแปลงนี้
ต่อไป สำหรับความก้าวหน้าทีจะรู้ได้ ก็คือ จะเริ่มเห็นอาการจิตปรุงแต่งได้ มันจะเห็นอะไรวูบขึ้นมาบริเวณใบหน้าที่รู้สึกได้ ผมเน้นนะครับว่า เห็น ไม่ใช่แค่ รู้ มันอธิบายเป็นตัวหนังสือได้ยากครับ คำว่า .เห็น. แต่ถ้าคุณเห็นได้จริง ๆ แล้วคุณจะเข้าใจได้ว่า เห็น เป็นอย่างนี้เอง
มันไม่ได้นึกเอาครับ แต่มันเห็นจริง ๆ


โดย: นมสิการ วันที่: 13 มิถุนายน 2552 เวลา:15:53:46 น.  

 
ขอบพระคุณค่ะ

ขำตัวเองค่ะ พอดีเปิดบล็อกกำลังจะอ่านข้อความของคุณนมสิการอยู่พอดี ไปเห็นการกระพริบตาของตัวเองค่ะ พอดีมาอ่านเจอตรงวิธีตรวจสอบของคุณอยู่พอดี แอบดีใจเล็ก ๆ ว่าเราคงก้าวหน้าบ้างหละนะ อัตราอีกหละ


โห งง คำว่าเห็น กับรู้อีกหละค่ะ แล้่วปูจะทราบได้อย่างไรคะว่าปูเห็นหรือปูรู้อ่ะค่ะ แล้วมันแตกต่างกันตรงไหนคะเนี่ยว่า รู้ กับเห้นเนี่ยค่ะ แต่เข้าใจว่าคุณคงอยากอธิบายคำว่าเห็นให้ฟัง ถึงได้บอกว่าอธิบายเป็นตัวหนังสือได้ยาก

แต่ที่รู่ืคือ รู้ว่าสงสัยค่ะตอนเนี่่ย

บุ่ญรักษาค่ะ
ปู

***ขอบพระคุณอีกครั้งนะคะ ที่เมตตาให้คำแนะนำตลอดมา ดู ๆ แล้ว เหมือนตัวเองไม่ได้เรื่องในการภาวนาเลยนะคะเนี่ย


โดย: เบญญาภา IP: 68.183.1.57 วันที่: 13 มิถุนายน 2552 เวลา:21:58:33 น.  

 
คำว่า เห็น อธิบายยากมากครับ เท่าที่นึกออก
ก็พอจะได้ แต่ไม่เหมือนนัก คุณปู เคยเดินไปชนอะไรเข้าที่ศรีษะแรง ๆ ไหมครับ แล้วเกิดการเห็นแสงขึ้นมาแว๊บหนึ่งที่สั้นมาก ๆ มันจะคล้าย ๆ แบบนั้น แต่การเห็น จิตปรุงแต่ง มันจะว่าเป็นแสง ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่แสงก็ไม่เชิง
มันจะเห็นเป็นอะไรที่บาง ๆ แว๊บหนึ่งโผล่ขึ้นมาเพียงเสี้ยววินาที จิตปรุงแต่งที่คนใหม่ ๆ จะเห็นได้ครั้งแรก ก็คือความโกรธ เพราะความโกรธเป็นพลังที่แรงมาก สิ่งที่เห็นได้ยากมาก ๆ คือ ความโลภ

คำว่า รู้ เช่นเวลาคนโกรธขึ้นมา จะรู้ว่าโกรธ นี่คือสภาวะที่คนทั่ว ๆ ไปก็รู้ แต่คนทั่ว ๆ ไปจะไม่เห็น ความโกรธ ที่เป็นจิตปรุงแต่งที่เกิดขึ้น


นี่คือความต่างระหว่าง รู้ และ เห็น

ส่วนเรื่องการพัฒนาการความก้าวหน้า จะมีพัฒนาการแน่นอนครับ ถ้าฝึกผิด ก็พัฒนาไปอีกทาง ถ้าฝึกถูก ก็พัฒนาไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งคนที่ฝึกใหม่ ๆ มักไม่รู้ว่าตนเองพัฒนาไปแล้ว เพราะไม่มีประสบการณ์ หลาย ๆ คนก็เกิดท้อใจไป ทั้ง ๆ ที่พัฒนาไปแล้ว แต่ก็คิดว่ ยังไม่พัฒนา ทั้งนี้เพราะว่า ใจร้อนนั้นเอง อยากได้ความก้าวหน้าเร็ว ๆ

การภาวนา อย่าใจร้อน อย่าหวังผล แล้วจะก้าวหน้าได้เร็วกว่า ส่วนเรื่องการภาวนาแล้วก้าวหน้า ก็คือความมีสติสัมปชัญญะที่ตั้งมั่นขึ้น รู้ละเอียดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ ผมจะเขียนลงใน blog ต่อไปครับ อดใจรอสักหน่อยครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 14 มิถุนายน 2552 เวลา:0:54:31 น.  

 
อยากเรียนถามอีกเรื่องนึงค่ะว่า ทำไมการออกกำลังสามารถช่วยให้การดูจิตได้ง่ายขึ้น หรือเป็นส่วนช่วยในการดูจิตอ่ะค่ะ

ขอบพระคุนคะ


โดย: benyapa IP: 68.183.1.57 วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:10:44:31 น.  

 
การดูจิตจะไม่มีทางเป็นไปได้เลย ถ้า จิตรู้ ยังไม่เกิดขึ้น
การที่ จิตรู้ เกิดขึ้นมาก็เนื่องจากการฝึกฝนสติสัมปชัญญะ
การออกกำลังกาย จะมีการสั่นไหวภายในร่างกายค่อนข้างมากกว่าธรรมดา ถ้าผู้ฝึกฝนรู้วิธีการฝึกสติสัมปชัญญะโดยการรับรู้ความรู้สึกถึงการสั่นไหวภายในร่างกายที่กำลังเกิดขึ้นในขณะที่กำลังออกกำลังกาย ก็จะเป็นการเจริญสติสัมปชัญญะไปในตัวในขณะออกกำลังกาย แต่ถ้าคน ๆ นั้นไม่รู้จักการฝึกสติสัมปชัญญะ การออกกำลังกายของเขาก็จะไม่เอื้อให้จิตรู้เกิดได้ เมื่อจิตรู้ไม่เกิดขึ้น การดูจิตก็ไร้ผล

เส้นทางจะเป็นอย่างนี้ครับ
การอออกกำลังกาย >>> เกิดการสั่นไหวภายในร่างกายมาก >> ผู้ฝึกฝนหัดรู้สึกถึงการสันไหวภายในร่างกายที่เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย >> เกิดการเจริญสติสัมปชัญญะ >> ทำให้จิตรู้เกิด >> เมื่อจิตรู้เกิด ก็ดูจิตได้


โดย: นมสิการ วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:13:03:32 น.  

 
ขอบพระคุณนะคะ แสดงว่าการออกกำลังกายก้อมีส่วนเสริมด้วยเช่นกัน เข้าใจแล้วค่ะคุณมนสิการ อย่างน้อยการออกกำลังกายก้อทำให้เราสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้วนะคะ แหะแหะ ถึงมาใช้ในการเจริญสติไม่เป็น แต่อย่างน้อยก้อช่วยในด้านร่างกายนะคะ

บุญรักษาค่ะ
ปู
ไว้จะมาส่งการบ้านเรื่อย ๆ นะคะ


โดย: เบญญาภา IP: 68.183.1.57 วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:22:25:08 น.  

 
การออกกำลังกายพร้อมเจริญสตินี่ง่ายมากครับ
ก็ให้ออกกำลังกายไปตามปรกติของเรา ไม่ต้องไปกังวลว่านี่เป้นการจริญสติทีต้องทำ เพียงออกกำลังกายไปเรื่อย ๆ สมองไม่ต้องคิดอะไร เพียงรู้สึกตัวอยู่ แล้วจิตเขาจะรับรู้อาการสั่นไหวภายในร่างกายได้เอง
การสั่นไหวภายในร่างกาย คุณปูลองกำมือแบบมือตอนนี้เลย ทำไปสบาย ๆ ขณะที่อ่านหนังสือทีผมเขียนอยู่นี้
คุณปู จะรู้สึกได้ด้วยถึงการเคลื่อนการไหว การเกร็งการหย่อนในที่มือกำลังกำ กำลังแบได้เอง ถ้าคุณปูเข้าใจรับรู้ความรู้สึกภายในกาย จากการทดลองกำมือแบบมือแล้ว ต่อไป เมื่อไปออกกำลังกาย การรับรู้ความรู้สึกภายในกาย ก็จะเหมือนกันทุกอย่าง ยิ่งถ้ามีการกระโดดโลดเต้น
การวิ่ง การสั่นสะเทือนภายในร่างกายยิ่งแรง ยิ่งสังเกตได้ง่ายด้วย สมัยที่ผมฝึกใหม่ๆ ผมก็ใช้วิธีเต็นไปเต็นมานี่แหละครับ ออกกำลังกายไปพร้อมเจริญสติไปด้วย เรียกว่า 2 in 1 ได้ทั้งร่างกาย ได้ทั้งจิตใจ
ท่านที่เป็นครูสอนเด็กนักเรียน จะนำเทคนิคการเจริญสติในขณะออกกำลังกายไปสอนเด็ก ก็จะดีมากสำหรับเด็กครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:23:46:53 น.  

 
ขอบพระคุณค่ะ ปูจะนำไปปฏิบัติดูนะคะ ขอบพระคุณที่เมตตาให้เมล์มาไว้ส่งการบ้านนะคะ

บุญรักษาค่ะ


โดย: benyapa IP: 68.183.1.57 วันที่: 16 มิถุนายน 2552 เวลา:6:50:26 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:19:52:00 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.