รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
2 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
เมื่อ.จิตรู้. เกิดแล้ว ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้อย่างไร

ผมได้เขียนไว้ในบทความใน blog นี้ว่า เมื่อผู้ปฏิบัติด้วยการเจริญสติปัฏฐาน จนสติสัมปชัญญะเข้าที่เข้าทางบ้างแล้ว จะเกิด .จิตรู้. ขึ้น
ในบทความนี้ ท่านจะรู้ไว่า .จิตรู้. เกิดขึ้นแล้ว มันป็นอย่างไร

1. เมื่อ.จิตรู้.เกิดขี้นแล้ว มันจะแยกตัวออกมา คือ ตัวจิตรู้ และ จิตปรุงแต่ง เปรียบเหมือน น้ำและน้ำมัน ที่ไม่รวมเข้าด้วยกัน ดังภาพส่วนล่าง
เมื่อเกิดอาการนี้ จิตรู้ จะเห็นจิตปรุงแต่งได้

สำหรับผู้ที่จิตรู้ยังไม่เกิดขึ้น จิตรู้จะไม่แยกตัวออกมา แต่จะรวมเข้ากับจิตปรุงต่ง เปรียบเหมือน น้ำหวานทีผสมรวมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำเปล่า ที่แยกไม่ออกว่า นี่คือน้ำเปล่า นี่คือน้ำหวาน
ดังนั้น จิตรู้ จะไม่เห็นจิตปรุงแต่ง



2. คำว่าจิตปรุงแต่ง ในข้อ 1 หมายถึง อาการต่าง ๆของจิต เช่น อารมณ์โกรธ ความคิด และ อื่น ๆ ที่เป็นการปรุงแต่งของจิต
สำหรับผู้ที่ฝึกมายังไม่ชำนาญ ถึงแม้ว่า.จิตรู้.จะเกิดแล้ว แต่จิตรู้ ก็ยังไม่ตั้งมั่นพอ บางครั้ง มันก้จะถูกจิตปรุงแต่งดึงเอาไว้ ไม่ให้แยกตัวออกมาได้เช่นกัน
จิตปรุงแต่งมีความหยาบและละเอียดต่าง ๆ กันไป เมื่อจิตรู้เกิด ไม่ได้หมายความว่า จิตรู้จะเห็นจิตปรุงแต่งได้ทุกชนิดไป ซึ่งขึ้นกับความสามารถคือความว่องไวของจิตรู้ด้วย ในผู้ปฏิบัติ ความโกรธ เป็นจิตปรุงแต่งที่หยาบที่จิตรู้ จะเห็นได้ก่อนกว่าจิตปรุงแต่งตัวอื่น ความอยาก เป็นจิตปรุงแต่งที่ละเอียด จะเห็นได้ยากมาก

3.ท่านอาจสงสัยว่า เมื่อจิตรู้เห็นจิตปรุงแต่งแล้ว มีประโยชน์อะไร
ผมขอตอบว่า เมื่อจิตรู้เห็นจิตปรุงแต่งได้ใหม่ ๆ นี่เป็นเครื่องหมายว่า การฝึกสติปัฏฐาน 4 ของท่านกำลังเดินมาได้ดีพอสมควรแล้วและถูกทาง และเป็นต้นทางแห่งการเจริญวิปัสสนาได้ต่อไป แต่ท่านต้องอย่าทิ้งการฝึก ให้หมั่นฝึกเข้าไว้ เพื่อให้จิตรู้เขามั่นคงและว่องไวยิ่ง ๆ ขึนไปอีก
เมื่อจิตรู้เห็นจิตปรงแต่งทุกครั้ง จิตรู้จะเห็นไตรลักษณ์ของจิตปรุงแต่งด้วย
นี่เป็นปัญญาสะสมที่จะแสดงแก่จิตใจว่า อันว่าจิตปรุงแต่งนั้น มันไม่ใช่ของเรา มันไม่ใช่เรา มันไม่เที่ยง มันไม่มีตัวตน แต่จิตรู้ต้องเห็นไตรลักษณ์ของจิตปรุงแต่งเสมอ ๆ เห็นครั้งเข้า จิตก็จะยิ่งเข้าใจความเป็นไม่เป็นตัวตนของจิตปรุงแต่งได้ชัดขึ้น ทำให้เกิดการปล่อยวางจิตปรุงแต่งที่เกิดขึ้นนั้นในกาลเวลาต่อมา อันเป็นปัญญาทางพุทธศาสนาต่อไป

4.ท่านอาจสงสัยว่า ในบางครั้ง ท่านกำลังสบายใจ ไม่มีจิตปรุงแต่งในนั้นจิตใจ จิตรู้ยังแยกตัวออกมาหรือไม่ แล้วจะรู้ได้อย่างไร
ซึ่งเรื่องนี้ ต้องเป็นผู้ทีฝึกมาและได้ผลดีพอสมควร จิตรู้จะมีความสามารถเห็นจิตทีไม่มีการปรุงแต่งได้ หรือที่เรียกวันว่า จิตว่าง ( แต่ไม่เห็นได้ง่ายหรอกนะ ถ้าท่านยังไม่เห็น ก็ให้หมั่นฝึกต่อไป สักว้นก็จะเห็นจิตว่างได้อย่างแน่นอน ) ดังนั้นในสภาวะแบบนี้ ก้จะมีจิตรู้แยกตัวอยู่ และจิตว่างเป็นส่งที่จิตรู้ไปเห็นได้อยู่

....................................

จะเห็นว่า ทั้งหมดเกิดจากการหมั่นฝึกซ้อม ฝึกฝนอย่างถูกต้อง แล้วการเดินทางไปตามอริยมรรคของท่าน ก็จะแสดงผลออกมาเมื่อ.จิตรู้. เขาเกิดแล้วเท่านั้น ถ้า.จิตรู้.ยังไม่เกิด ท่านก็ยังไม่แน่ว่า เดินมาถูกทางมรรค 8
ของอย่างนี้ คิดเอาเองไม่ได้ ต้องลงมือฝึกอย่างถูกต้องเท่านั้น
ขอให้ท่านพบกับอริบมรรคอย่างแท้จริง


Create Date : 02 มิถุนายน 2552
Last Update : 29 มกราคม 2555 20:05:46 น. 10 comments
Counter : 2783 Pageviews.

 
ผมอ่านแล้วครับ ขอบพระคุณมากครับ.. ผมก้เคยทำได้แต่มันเสื่อมไปแล้วครับเพราะไม่ต่อเนื่อง...ผมเคยไปไหนมาไหนไม่มีวอกแว็ก ทั้งเนื้อตัวรวมกันเป็นหนึ่งเดียว จดจ่อ การเดินมีสติทุกก้าว ที่สงสัยคือผมไม่ได้กำหนดแต่มันเป็นของมันเองครับ....และที่สงสัยหนักมากก็คือ ผมไม่รู้ว่าอาการนี้คืออะไรครับ ท่านนมสิการ

ผมขอนอกเรื่อง หน่อยครับ เกี่ยวกับพระอาจารย์สงบ มนัสสันโต..คล้ายกับว่าท่านเป็นแค่ด่านหน้าเท่านั้น ต่อไปผมว่าคงเป็นเรื่องเป็นราวแน่ พระป่าหากท่านคิดทำอะไร ลึกซึ้งอ่านความคิดทะลุไปหลายระดับครับ ไม่เอาระดับบนลงมาชน แต่เอาระดับสมน้ำสมเนื้อลงมาแทน...ท่าน นมสิการ ฟังเทปแล้ว ผมเขวครับยอมรับว่า สับสน แต่ทั้งสองวิธี สามารถใช้ได้ โดยดูจิตในขั้นวิปัสสนาไปครับ
ท่านมีความเห็นเป็นประการใดครับ ด้วยความเคารพครับ ผมหยุดกระทู้ในพันทิพย์แล้วครับ เห็นชัดว่าถูกต่อต้านหนัก ในกระทู้ฟังวิทยุ Fm 98.2 ไม่มีใครเข้าไปอนุโมทนาเลยครับผิดปกติ ครับ


โดย: เกิดเป็นคนช่างยากแท้ IP: 117.47.93.34 วันที่: 2 มิถุนายน 2552 เวลา:10:05:41 น.  

 
จิตรู้ จิตปรุงแต่ง.. จิตรู้ นี่หมายถึง จิตผู้รู้ หรือเปล่าคะ และตัวจิตปรุงแต่ง ก็คือ จิต และ เจตสิก รวมไปถึงสังขาร เวทนา สัญญา ด้วยไหม...

บอกตรงๆ ค่ะ ว่าไม่ใช่คนที่ศึกษาอภิธรรมอะไรเลย แต่พอเข้าใจเรื่องขันธ์ 5 อยู่บ้างค่ะ ทีนี้เวลาปฏิบัติไปเนี่ย มีความเข้าใจ (ส่วนตัว) ว่า ขอให้ปฏิบัติไปเถอะ เรื่องทฤษฏีไม่จำเป็นต้องรู้มาก ให้ลงมือทำให้เยอะๆ แต่ต้องไม่ให้ผิดทาง

ทีนี้มาเข้าเรื่องนิดนึงค่ะ คืออย่างที่เคยสนทนาไป..ตอนนี้ก็ยังทำกายเคลื่อนไหวไปตลอด เท่าที่จะทำได้ เกือบทุกเวลา บางทีท่าไม่ได้ยกมือ ยกแขน จะคอยรู้สึกที่ตากระพริบ

ตอนแรกที่หันมารู้สึกทางกาย จะพบว่า ใจมันไปเอาใจใส่การเคลื่อนไหว จนดูเหมือนจะกลายเป็นเพ่ง แต่พอทำไปนานๆ จนรู้สึกว่ามีความเคยชินเกิดขึ้น การยกมือ พลิกมือ หรือว่า ลองหัดลูบแขนลงแบบที่คุณนมสิการแนะนำ มันจะเป็นอัตโนมัติ โดยที่ไม่ได้ไปดักจ้อง จึงเห็นความคิดพุ่งออกมาเป็นสาย โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนฟุ้งซ่าน คิดมาก จึงเห็นความคิดมันไหลพรวดๆ ออกมาเหมือนน้ำไหลเลยค่ะ

ไม่ได้พยายามให้หยุดคิด แต่ค่อยๆ ดูไป ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าให้ดูอยู่ห่างๆ ไม่กระโจนลงไปคิดด้วย แล้วก็เห็นว่า เราหยุดความคิดไม่ได้ เดี๋ยวมันก็เกิดขึ้นตลอด แล้วก็ไม่ได้ไปสนใจว่า "อ้อ..มันคิดอีกละ" หรือไปรู้ว่า มันเกิดแล้วก็ดับ คือมันไม่เห็นความเกิดดับของความคิดน่ะค่ะ หรือจริงๆ แล้ว จิตของเรามันเห็นไตรลักษณ์เอง มันสะสมความเห็นตรงนี้เองคะ

ดิฉันมาถูกทางหรือเปล่า ???


โดย: kaoim IP: 58.10.90.151 วันที่: 2 มิถุนายน 2552 เวลา:11:12:22 น.  

 
"ผมก็เคยทำได้แต่มันเสื่อมไปแล้วครับเพราะไม่ต่อเนื่อง..."

มันเสื่อมได้ด้วยเหรอคะ ทำไมมันไม่อยู่กะเราตลอดไปหละคะ
สงสัยหนะค่ะ..


อ่านของคุณkoiam มีความรู้สึกว่าเจออะไรคล้ายๆกับของเธออยู่เหมือนกัน คือเรารู้ตัวว่าคิดอยู่แต่ห้ามหรือหยุดคิดไม่ได้ ถึงห้ามไปเดี๋ยวมันก็มาอีก มันไหลเหมือนสายน้ำจริงๆ รู้สึกหงุดหงิดบ้างเหมือนกัน เพราะความคิดมันเยอะ หลังๆนี่ไม่ได้บอก(เตือน)ตัวเองว่าเผลอคิดนะ คือเหมือนมันจะเนียนๆกลับมาตั้งสติเองเมื่อรู้สึกตัว มันไม่สะดุ้งตกใจเหมือนตอนฝึกใหม่ที่รู้ว่าตัวเองเผลอคิดอีกแล้ว แล้วก็ไปโกรธตัวเอง

แล้วก็เหมือนคุณkoiam อีกว่าเราไม่เห็นไตรลักษณ์หรอกค่ะ เราไม่รู้การเกิด ดับ ที่ว่า....

แต่ก็คิดว่าใจเย็นๆค่อยๆฝึกไป เพราะมีคุณนมัสสิการเป็นกัลยาณมิตรอยู่ ไม่ผิดทางแน่ๆ ...


โดย: 12ปันนา IP: 58.9.74.66 วันที่: 2 มิถุนายน 2552 เวลา:16:31:15 น.  

 
จะยังคงติดตามอ่านต่อไป


โดย: Magnolia IP: 118.174.81.9 วันที่: 2 มิถุนายน 2552 เวลา:16:33:07 น.  

 
เรียนคุณ kaoim IP: 58.10.90.151 วันที่: 2 มิถุนายน 2552 เวลา:11:12:22 น.

ผมเคยพูดคุยกับเพือนที่เป็นนักปฏิบัติท่านหนึ่ง
ผมและเขามีความเห็นเหมือนกันอย่างหนึ่งว่า
ถ้าชาวนาหรือเด็กเลี้ยงควายมาฝึกปฏิบัติธรรม
คนพวกนี้จะรู้ธรรมได้เร็วมาก เร็วกว่าพวกเรียนจบปริญญาสูง ๆ เป็นอันมาก
เพราะว่า คนพวกนี้ เขาไม่รู้อะไรมากนั่นเอง

ในการปฏิบัติธรรมนั้น ไม่จำเป็นเลยที่ต้องรู้ว่า นี่คือเวทนา นี่คือสัญญา นี่คือสังขาร
หรือนี่คืออะไร แต่ในการสื่อสารเพื่อให้เข้าใจกันได้อย่างถูกต้อง ผมจำเป็นต้องเอ่ยชื่อออกมาเพื่อให้เข้าใจกันได้
มันมาจากเหตุนี้

ในการปฏิบัติธรรม เพียงแต่เห็นว่า อะไรสักอย่างหนึ่ง ไม่ต้องไปรู้มันด้วยว่า
มันคืออะไร มันชื่ออะไร หลวงพ่อเทียนท่านเรียกสรรพสิ่งเหล่านี้ว่า วัตถุ
โดยไม่แปลว่า มันคืออะไร มันชื่ออะไร
ในการปฏิบัติ ขอให้จิตรู้ (หรือบางแห่งก็เรียกว่า จิตผู้รู้ ) เห็นมันเกิดขึ้น แล้วก็เห็นมันแปรเปลี่ยน
แล้วก็เห็นมันหยุดสลายลงไป (ต้องเห็นจริง ๆด้วยครับ ไม่ใช่ไม่เห็นแล้วคิดเอาเองนะครับ )
จิตผู้รู้เห็นแค่นี้ก็ใช้ได้แล้ว

ในพระไตรปิฏก ก็ยังมีการกล่าวไว้เลยว่า ตอนท่านโกณทัญญะ เห็นธรรมด้วยว่า
สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา

การที่คุณรู้กายแล้วรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนการไหว รู้สึกได้ถึงการกระพริบตา ซึ่งรู้สึกได้เองโดยไม่มีเจตนา
จะเข้าไปคอยรู้ นี่เป็นสิ่งบอกเหตุว่า คุณกำลังไปได้ดีครับ
การที่คุณแล้วเห็นจิตมันทำงานพุ่งออกมาตลอดนั้น ก็แสดงว่า
คุณไม่ได้กดข่มจิตไว้ (ซึ่งดีครับที่ไม่กดข่มจิตไว้) คุณปล่อยให้จิตมันทำงานเป็นธรรมชาติของมัน
เนื่องจากมันมีเรื่องต้องคิด มันก็ต้องทำงานครับ แต่ที่จิตไม่หยุดคิด แสดงว่า
กำลังของจิตผู้รู้ยังมีแข็งแรงพอ จิตคิดมันจึงคิดไม่หยุดครับ

เรื่องความคิดไม่หยุดนั้น ในแวดวงการปฏิบัติธรรม
มีสอนไว้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ถ้ามันคิด ปล่อยให้มันคิดไป อย่าไปหยุดมัน จนกว่ามันจะหยุดเอง
แบบที่ 2 ให้หยุดมันเสียทันที อย่าให้มันคิด
ผมจะไม่ตัดสินว่า แบบใดถูก แต่สำหรับเราที่เป็นฆราวาส เราจำเป็นต้องคิดเรื่องหน้าทีการงาน
ผมจึงขอเสนอแนวทางสำหรับฆราวาสให้คุณได้พิจารณาไว้ดังนี้ครับ
เรื่องการคิดไม่หยุดนั้น คุณสมควรพิจารณาดูด้วยว่า การที่จิตมันคิดมันเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์
ก็ปล่อยมันทำงานไป เพราะเราจะใช้มันทำงานในทางโลก
แต่ถ้ามันเป็นเรื่องที่ไร้ประโยชน์ เรื่องฟุ่งซ่าน ก็สมควรต้องหยุดมันครับ
อย่าให้มันคิดฟุ่งซ่านเด็ดขาด

ความเป็นจริงในการปฏิบัติธรรม ถ้าคุณฝึกใหัรู้กายให้มากขึ้นไปอีกอย่างต่อเนื่อง
การรู้กายมากขึ้น จะทำให้สติสัมปชัญญะแน่นขึ้น เมื่อสติสัมปชัญญะแน่นขึ้นแล้ว
การที่จิตมันจะคิดเองไม่หยุดนั้น มันก็จะค่อย ๆน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุด การคิดไม่หยุดมันจะไม่มี (นอกจากที่เราต้องการใช้ความคิดเรื่องหน้าที่การงาน เรื่องเป็นประโยชน์เท่านั้น)


ในขบวนการของการเกิดปัญญาทางพุทธศาสนานั้น เราฝึกให้มีสติสัมปชัญญะ
เกิดจิตรู้ (จิตผู้รู้) ขึ้น ถ้าจิตผู้รู้มีกำลังมากที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง
พอจิตมันคิดปุ๊บ จิตรู้จะเห็นจิตคิดนั้นทันที แต่ด้วยกำลังอันมากของจิตรู้ ความคิดจะทนอยู่ไม่ได้
มันจะหยุดคิดเองโดยอัตโนมัติ
แต่ถ้าจิตรู้ กำลังยังไม่มากพอ จิตคิดมันจะคิดต่อไปอีก ไม่หยุดเองง่าย ๆ จนกว่ามันจะเลิกคิดไปเอง

ในการปฏิบัติ อย่าได้ไปกดช่มไม่ให้จิตมันไม่คิดเพราะการเห็นจิตคิดด้วยจิตรู้
พอจิตรู้เห็นแล้วจิตคิดมันหยุด นี่เป็นปัญญาทางพุทธศาสนา ผู้ปฏิบัติถ้าได้เห็นจิตคิดแล้วเห็นจิตหยุดคิดได้บ่อย ๆ เขาจะเข้าใจเรื่องธรรมขาติของจิตคิดได้เองต่อไป อันเป็นปัญญาทางพุทธศาสนา

เมื่อเราฝึกฝนจนจิตรู้มีกำลังกล้า มันจะหยุดจิตคิดได้
จิตคิดนี้จริง ๆ มันเป็นกลางไม่ดีไม่เลว แต่เมื่อคนคิด คนมักจะลืมตัว
และมีความคิดปรุงแต่งเกิดตามมาเป็นลูกหลานอีกเป็นพรวน ซึ่งความคิดปรุงแต่งที่ตามมานี้ มันจะก่อให้เกิดทุกข์ เกิดการไม่สบายใจตามมา
ถ้าเราฝึกจนหยุดจิตคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิดได้ การปรุงแต่งที่ตามมาก็จะไม่เกิดขึ้น แล้วทุกข์ใจก็จะหยุดลงได้ด้วยเหตุนี้

สรุปที่เขียนมาเสียยาว คุณกำลังเดินไปด้วยดีแล้ว ขอให้ฝึกรู้กายต่อไป ให้จิตรู้มีกำลังมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ไปอีก แล้วจิตรู้เขาจะเห็นวัตถุ เห็นไตรลักษณ์แห่งวัตถุได้เอง


โดย: นมสิการ วันที่: 2 มิถุนายน 2552 เวลา:17:10:52 น.  

 
เรียน คุณ12ปันนา IP: 58.9.74.66 วันที่: 2 มิถุนายน 2552 เวลา:16:31:15 น

อย่าได้กังวลกับจิตทีมันคิดเองเลยครับ การปฏิบัติธรรมนั้น (ไม่ใช่การทำงานทางโลก ) เราต้องปล่อยให้จิตมันเป็นอิสระ อย่าไปบังคับมันครับ แล้วมันจะคิดขึ้นมา มันจะคิดสารพัด แต่เมื่อจิตมันคิดแล้ว ถ้าจิตรู้มีกำลังดี จิตรู้จะเห็นจิตมันคิด แล้วความคิดมันจะหยุดทันทีแบบอัตโนมัต แต่ถ้าจิตรู้ยังไม่มีกำลัง จิตคิดมันจะไม่หยุด ถ้าเรารู้ตัวว่าจิตมันคิดอยู่ ให้เราหยุดมันทันที วิธีหยุดก็คือให้รู้สึกที่กายแทน เช่นถ้าเราฝึกลูบแขนอยู่ เราก็ลูบแขนครับ พอเรารู้สึกถึงการลูบแขนได้ จิตคิดจะหยุด แล้วสักครู่ มันก็จะคิดใหม่ เราก็ปฏิบัติเหมือนเดิมอีก ให้ปฏิบัติแบบนี้ อย่าไปเบื่อมัน อย่าไปเซ้งมัน ว่าทำไมมันยังคิดอยู่อีก มันต้องคิดซิครับ เพราะเรายังไม่ตายนี่

การที่จิตมันคิด นี่ถ้าเราปฏิบัติเป็น มันจะก่อให้เกิดปัญญา แต่ถ้าเราปฏิบัติไม่เป็น เราก็จะทกข์ไปกะมัน
การปฏิบัติเป็นก็คือว่า เราอย่าไปห้ามมันคิด ปล่อยมันเป็นธรรมชาติ พอมันคิดขึ้นมา ถ้ามันหยุดเองได้ ก็ปล่อยมันไปตามธรรมชาติ ถ้ามันไม่หยุดเอง เราก็ไปลูบแขนเพื่อให้รู้สึกที่กายแทน แล้วมันก็จะหยุดได้

สำหรับคนที่ไม่เช้าใจในการปฏิบัตินั้น เขาจะไปกดมันไว้ ไม่ให้มันคิด พอมันคิดขึ้นมาก็เกิดอารมณ์เสีย อย่างนี่เรียกว่า ปฏิบัติไม่เป็นครับ (แฮะ ผมไม่ได้ว่าคุณนะ เพียงแต่อธิบายให้คุณรู้ ให้เข้าใจ )

แล้วทำไมเราต้องปล่อยให้มันคิดละ แล้วพอมันคิดขึ้นมาก็ไปหยุดมันอีก คุณอาจสงสัยก็ได้
ซึ่งเรื่องนี้ ผมจะบอกว่า การที่เราปล่อยให้มันคิด ถ้ามันหยุดเองได้เพราะจิตรู้มีกำลังดี จิตรู้จะเห็นไตรลักษณ์ของจิตคิดครับว่า จิตคิดมันไม่เที่ยงแท้ จิตรู้มันจะเห็นอย่างนี้ มันจะเป็นปัญญาสะสมไว้ก่อน พอมันสะสมไปมาก ๆ เข้า ทีนี้จะเกิดขบวนการอีกอย่างเกิดขึ้น ก็คือเกิดการรู้จริง ๆ อีกครั้งหนึ่งแล้วจิตมันจะร้องอ๋อ ว่า ความคิดมันไม่เที่ยงนี่ มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ตัวของเรา สิ่งที่มันไม่เที่ยง มันไม่ใช่เรา ก็ไม่สมควรไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา จิตมันจะปล่อยวางความคิดได้ ทีนี้พอจิตมันปล่อยวางความคิดได้ ความทุกข์ทีมันปรุงแต่งต่อจากความคิด มันก็ไม่ทำให้เราทุกข์ใจ แต่ขบวนการนี้มันต้องมาจากการสะสมที่จิตรู้มีกำลังทีเห็นจิตคิดมันเป็นไตรลักษณ์ให้ได้เสียก่อน มันไม่ใช่ของง่ายเลยครับ แต่ก็เป็นไปตามนั้นจริง ๆ และต้องใช้เวลาในการฝึกฝน ให้เวลาจิตรู้เห็นสะสมไตรลักษณ์ของจิตคิดก่อน

อีกประการหนึ่ง ถ้าจิตรู้ยังไม่มีกำลังพอ พอจิตคิดเกิด จิตคิดมันไม่หบุดเอง แต่เราไปลูบแขนเพื่อหยุดจิตคิดนั้นทันทีที่เรารู้สึกตัวว่าจิตคิดมันเกิดแล้ว การกระทำดังนี้ ก็คือการทำงานของสติอย่างหนึ่ง ที่ไประลึกรุ้ว่าจิตคิดมันเกิดครับ ถ้าเราฝึกอย่างนี้ไปบ่อย ๆ สติมันก็จะเก่งขึ้น จำได้แม่นขึ้น พอจิตคิดมันเกิดปุ๊บ เราจะรู้ปั๊บ แต่เรื่องหยุดจิตคิดได้ หรือ ไม่ ยังเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ขึ้นอยู่กับกำลังวังชาของจิตรู้ นี่คือวิธีนการปฏิบัติ

สิ่งที่ผมเขียนใน blog นี้ เนื่องจากผมเองก็ยังปฏิบัติอยู่ ยังไม่ถึงปลายทาง แต่ผมจะไม่เขียนเรื่องที่ผมยังไปไม่ถึง
แต่ทุกเรื่องขอให้อ่านแล้วพิจารณาไปด้วยปัญญาด้วย

จากการปฏิบัติที่ผ่านมา ผมพบว่า พอเราปฏิบัติไปถึงที่หนึ่ง ความเข้าใจบางเรื่อง ก็จะเปลี่ยนไป เพราะเราไปพบเห็นอะไรมากขึ้นนั้นเองครับ



โดย: นมสิการ วันที่: 3 มิถุนายน 2552 เวลา:0:05:08 น.  

 
อนุโมทนา และขอบคุณ คุณนมสิการ ที่ช่วยกรุณาแนะนำค่ะ

ช่วงนี้จะคอยติดตามอ่าน และก็ฝึกไปเรื่อยๆ ค่ะ

by the way ... เป็นกำลังใจให้คุณ 12ปันนา ด้วยนะคะ


โดย: kaoim IP: 58.10.90.28 วันที่: 3 มิถุนายน 2552 เวลา:7:20:15 น.  

 
อนุโมทนาด้วยครับ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นเองจริงๆครับ ผมก็เคยอธิบายให้คนอื่นฟังในสภาวะนี้ว่าเหมือนน้ำกับน้ำมันที่แยกกันระหว่าง ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ แล้วจิตก็รู้ขึ้นมาเองว่าอันนี้คือรูป อันนี้คือนาม น่าอัศจรรย์จริงๆครับ แต่ขณะนั้นจิตก็รู้ด้วยความเป็นปกติธรรมดา แล้วก็รู้ต่อว่าอย่างนี้นี่เองที่ความทุกข์จะไม่เกิดขึ้น อ้อคุณนมสิการยังอธิบายด้วยรูปเหมือนกับที่ผมก็เคยบันทึกไว้เหมือนกันครับ


โดย: ช.ช้าง IP: 202.28.124.35 วันที่: 3 มิถุนายน 2552 เวลา:16:49:11 น.  

 
ขอบคุณทั้งคุณนมสิการที่ไม่เคยย่อท้อที่จะคอยพร่ำสอนว้ำแล้วซ้ำเล่า ให้กับ12ปันนา อย่างอดทนมากกกกก
และขอบคุณคุณkaoim ที่อุตส่าห์เป็นกำลังใจให้นะคะ

เราต่างคนต่างเลือกที่จะเดินทางนี้เหมือนกันก็ขอให้คุณมีความเจริญในธรรมด้วยเช่นกันค่ะ


โดย: 12ปันนา IP: 58.9.213.62 วันที่: 3 มิถุนายน 2552 เวลา:17:27:40 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:20:06:13 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.