รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
31 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 

รูปฌาน ฉบับชาวบ้านอ่าน ตามที่ผมเข้าใจ

ในบทนี้ ผมจะเขียนเรื่อง รูปฌาน แต่เป็นแบบชาวบ้านอ่าน และเป็นแบบที่ผมเข้าใจเอง ดังนั้น จึงอาจไม่ตรงกับแบบที่กล่าวไว้ในตำรา ถ้าท่านต้องการแบบตำรา อย่าเสียเวลาอ่านบทความนี้ เพราะจะไม่ตรงกับความต้องการของท่าน

ในทางตำรา ฌาน มีผู้แปลว่า เพ่ง แต่ผมไม่รู้ภาษาบาลี ก็ไม่สามารถตอบได้ว่า ฌาน แปลว่า เพ่งหรือไม่ในภาษาบาลี แต่ถ้าท่านสังเกตสักนิด ท่านจะพบว่า เมื่อ ท่านเพ่งอะไร จะมีอารมณ์ทางจิตเกิด 3 ทางเสมอนั้นคือ
1 เพ่ง แล้ว ใจเป็นทุกข์
2 เพ่ง แล้ว ใจเป็นสุข
3 เพ่ง แล้ว เฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ หรือ ที่เรียกว่า อุเบกขา

ในทางตำรา ท่านแบ่ง รูปฌาน เป็น 4 ระดับก็มี 5 ระดับก็มีแล้วแต่ตำราจะว่ากันไป แต่ถ้าท่านอ่านในตำรา ท่านจะเห็นว่า ไม่ว่า จะแบ่ง รูปฌาน เป็น 4 หรือ เป็น 5 อารมณ์ทางจิตใจที่เป็น ฌาน จะไม่มีทุกข์อยู่ด้วย จะมีก็แต่ สุข หรือ มี อุเบกขา ไม่สุข ไม่ทุกข์ ดังนั้น การแปลว่า ฌาน ว่า เพ่ง ก็ไม่น่าจะตรงเท่าใดนัก เพราะเพ่ง จะมีทุกข์ด้วยในบางกรณี (ดังข้อ 1 ข้างบน ที่ว่า เพ่งแล้วเป็นทุกข์ใจ ) ในความเห็นของผม ฌาน น่าจะแปลว่า ไม่ทุกข์ น่าจะตรงกว่า

แต่นี่ไม่ใช่ ประเด็น สำคัญเรื่องความหมายของ ฌาน ว่าคืออะไร
มาดูภาพสมมุติของฌาน 4 กันก่อน อันนี้ว่าตามตำราครับ



เมื่อ จิต ไปกระทบสัมผัสเข้ากับ อะไรสักอย่าง ( ตำราเรียกสิ่งที่จิตไปกระทบสัมผัสเข้าว่า .อารมณ์. )
สำหรับ ฌาน ก็จะขบวนการขึ้น ดังภาพ เป็น ฌาน 1 ที่มีขบวนการ 5 อันดับเรียงตามกันไป
แต่ถ้าเป็น ฌาน 2 ก็จะมี 3 อันดับ
ถ้าเป็น ฌาน 3 ก็จะมี 2 อันดับ
ถ้าเป็น ฌาน 4 ก็จะมี 1 อันดับ
ซึ่งผมจะไม่กล่าวถึง เพราะอันดับต่าง ๆ ท่านหาอ่านได้อย่างมากมายมหาศาลในอินเตอร์เนท โดยค้นคำว่า .ฌาน4.

แต่สิ่งที่ผมจะนำเสนอ ซึ่งท่านจะหาอ่านไม่ได้ง่ายนัก ก็คือ ความแตกต่างระหว่าง โลกุตรฌาน และ โลกียฌาน ครับ

มาดูรูปเพื่ออธิบายความหมายกัน



จากภาพ ที่พระพุทธองค์ทรงประชุมหมู่สงฆ์ หมู่สงฆ์ที่นั่งชิดติดกัน นี่คือ อาการทางจิตที่เป็น โลกียฌาน
ผมขออธิบายเพิ่มเติมอีกหน่อย เพื่อให้ท่านเข้าใจได้ดีขึ้น โลกียฌาน คือ อาการที่ จิตวิ่งไปเข้าไปแนบชิดกับอารมณ์ ครับ (ดังภาพที่สงฆ์คนที่ 1 นั่งแนบชิดกับสงฆ์คนที่ 2 ) ท่านจะเห็นว่า การที่จิตวิ่งเข้าไปแนบชิดกับอารมณ์นั้น ในทางปฏิบัติก็คือ การเพ่ง ครับ ไม่ว่า ท่านจะเพ่งเท้า เมื่อเดินจงกรม หรือ เพ่งท้อง เมื่อดูท้องพองยุบ หรือ เพ่งปลายจมูก เพื่อดูลม นี่คือการเพ่งทั้งนั้น
ผลที่ได้คือเป็น โลกียฌาน จิตจะสงบนิ่ง ถ้าการเพ่งได้แนบแน่นดี จิตไม่หนีไปไหนเลย จิตจะเกาะติดกับอารมณ์ไม่ยอมปล่อยอารมณ์
เมื่อ จิตไปปล่อยอารมณ์ หมายความว่า จิตท่านกำลังมีตัฌหาครอบงำครับ เมื่อยิ่งเพ่งอารมณ์ จิตก็ยิ่งมีตัณหาให้มากขึ้นนั่นเอง นี่คือเหตุที่ทำไม ฤาษี ในสมัยพุทธกาล ที่เก่งด้านฌานสมาบัติ ไม่อาจรู้แจ้งในธรรมแห่งการหลุดพ้นจากตัณหาไปได้เลย เพราะเขามัวแต่สร้างตัฌหาขึ้นในจิตนั้นเอง แล้วจะหลุดจากตัฌหาได้อย่างไรกัน จริงมะ....

ทีนี้ มาถึงเรื่อง โลกุตรฌาน
พระพุทธองค์ที่นั่งห่างจากหมู่สงฆ์ พระองค์จะเห็นหมู่สงฆ์ได้เป็นวงกว้าง นี่คือลักษณะของโลกุตรฌาน
ถ้าจะอธิบายเพิ่มเติม ก็คือ โลกุตรฌาน นั้น จิตรู้ แต่ไม่แนบชิดกับอารมณ์ แต่จะอยู่ห่างจากอารมณ์นั้นเอง เมื่อ จิตอยู่ห่างจากอารมณ์ จิตก็จะเห็นอารมณ์ ไม่ใช่จิต แต่เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้านั่นเอง นี่คือเหตุผลว่า ทำไม โล
กุตรฌาน จึงเข้าถึงทางแห่งมรรคผลได้ ที่เห็น .อาการของจิต.ว่าไม่ใช่ตัวตนของเราได้เพราะเหตุนี้เองครับ

ผมขอเพิ่มเติมเรื่องระดับของฌาน 4 อีกหน่อยหนึ่งครับ

ในโลกียฌาน นั้น เมื่อถึง ฌานที่ 4 คือ จิตเป็นเอกัตารมณ์ หรือ จิตเป็นหลอมรวมเป็นหนึ่ง อันนี้ คือ จิตแนบแน่นกับอารมณ์จนเป็นหนึ่งเดียว เหมือน น้ำแดงผสมเข้ากับน้ำเปล่าจนเป็นเนื้อเดียวกัน แยกไม่ออกว่าไหนคือน้ำเปล่า ไหนคือน้ำแดง
ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จิตก็ไม่แยกออกจากอารมณ์ เหมือนกับว่า เธอไปไหน ฉันไปด้วย อย่างนั่นเลยครับ

สำหรับในโลกุตรฌาน นั้น เมื่อถึงฌานที่ 4 จิตเป็นหนึ่ง จะมีลักษณะอาการที่ จิตเป็นอิสระจากอารมณ์อย่างเต็มที่ (จะเห็นความต่างกันไหมครับระหว่าง โลกียฌานและโลกุตรฌาน ) จิตรู้ แต่ไม่เกาะอารมณ์เลย และที่สำคัญก็คือ จิตเป็นอุเบกขา ซึ่งหมายความว่า จิตจะไม่ไหว ไม่กระเพื่อม ไม่ว่าจิตจะไปกระทบสัมผัสเข้ากับอารมณ์ใด ๆ ก็ตาม จิตยังคงนิ่งเฉย ปล่อยวางอารมณ์ ไม่ทุกข์ ไม่สุข อยู่อย่างนั้น เอง

สรุปง่าย ๆ ก็คือ โลกียฌาน นั้นจิตเกาะแนบแน่นดีกับอารมณ์ แต่โลกุตรฌาน นั้น จิตไม่เกาะอารมณ์ครับ นี่คือความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน ราวอย่าง สีขาวกับ สีดำทีเดียว ดูรูปอีกรูปครับ เพื่อความเข้าใจมากขึ้น





ผมหวังว่า บทความนี้ จะทำให้ท่านเข้าใจวิธีการปฏิบัติแห่งการพ้นทุกข์ได้ดีขึ้น เพราะเท่าที่ผมพูดคุยกับนักปฏิบัติมา ส่วนมากมักหลงไปกับ โลกียฌาน โดยคิดว่า นี่คือ โลกุตรฌาน แล้วท่านจะถึงทางหลุดพ้นจากทุกข์ใจได้อย่างไรกัน

นี่คือสิ่งที่ผมเข้าใจแบบนี้ ขอให้อ่านด้วยวิจารณญาณ อย่าได้เชื่อโดยไม่ไตร่ตรองด้วยปัญญาของท่านเอง





 

Create Date : 31 กรกฎาคม 2552
4 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 19:33:45 น.
Counter : 5252 Pageviews.

 

โลกุตรฌาณ 1-4 มีั้ขั้นตอนเดียวกับโลกียฯ (ตามที่แสดงไว้ดังรูปแรก) หรือป่าวคับ
ขอบคุณคับ

 

โดย: บั๊กคุง 12 สิงหาคม 2552 14:13:01 น.  

 

โลกุตรฌาณ 1-4 มีั้ขั้นตอนเดียวกับโลกียฯ (ตามที่แสดงไว้ดังรูปแรก) หรือป่าวคับ
ขอบคุณคับ

 

โดย: บั๊กคุง 12 สิงหาคม 2552 14:13:08 น.  

 

ลำดับจะเหมือนกันครับ แต่สภาวะต่างกันที่โลกียะ จะติดกันส่วนโลกุตระ จะแยกกัน

 

โดย: นมสิการ 12 สิงหาคม 2552 16:42:07 น.  

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 19:34:12 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.