รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
3 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

ส่งจิตออกนอก ฉบับชาวบ้านอ่าน

ท่านที่เป็นนักอ่านหนังสือธรรมปฏิบัติ หรือ นักฟังซีดี มักได้ยินคำว่า .ส่งจิตออกนอก. ผมจะเขียนถึงสภาวของอาการนี้ด้วยภาษาชาวบ้านให้ท่านได้อ่านกัน

ในธรรมชาติของปุถุชน เมื่อเห็นอะไร ได้ยินอะไร ก็มักสนใจไปยังสิ่งที่พบเห็น สิ่งที่ได้ยินเสมอ ตัวอย่างเช่น เวลาคนเดินสวนทางกับเพศตรงข้าม พอพบเห็นเพศตรงข้ามที่ถูกสเป๊คในใจ ก็อาจคิดอยู่ในใจว่า อุ๊ย คนอะไรหล่อเป็นบ้า (ในกรณีที่เป็นหญิง) หรือ สวยอะไรอย่างนี้ (ในกรณีที่เป็นชาย)
นี่คือสภาวะของการส่งจิตออกนอกครับ

ในเหตุการณ์เดียวกัน สำหรับนักปฏิบัติที่เจริญสติปัฏฐานอยู่เป็นนิสัย
เมื่อมีการเดินสวนทางกับเพศตรงข้าม การอุทานดังกล่าวก็อาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่สภาวะหนึ่งที่ได้เกิดขึ้นเหมือนกัน แต่ปุถุชนที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐานจะไม่ทราบ แต่คนที่เจริญสติปัฏฐานจะทราบก็คือ การที่จิตใจเกิดการไหวตัวขึ้นแล้ว

การที่นักปฏิบัติที่เจริญสติปัฏฐานเห็นการไหวตัวของจิตใจ นี่คือปัญญาทางพุทธศาสนา แต่ปุถุชนที่ไม่เห็นการไหวตัวนี้ ก็ไม่เกิดปัญญานี่ขึ้น

ดังนั้น ในแง่การปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์นั้น สิ่งที่สำคัญคือการเห็นจิตใจที่มันไหวตัว เมื่อมีการกระทบสัมผัสอะไรเข้าแล้วส่งผลให้มีการไหวได้

อนึ่งการรู้การไหวตัวของจิตใจนี้ ต้องเป็นการรู้ได้เองที่เป็นธรรมชาติ อันเนื่องด้วยการมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิอยู่ ถ้านักปฏิบัติยังต้องมาจงใจรู้การไหวตัวในจิตใจนี้ ก็ยังเป็นการจงใจที่จะรู้อยู่ ผมแนะนำว่า ท่านต้องฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิต่อไปจนให้มันเป็นการทำงานที่เป็นไปเองแบบอัตโนมัติ แล้วผลจึงจะส่งให้เข้าตรงต่อการดับทุกข์ทางจิตใจของท่านได้

สรุป การส่งจิตออกนอก คือ การไปรับรู้แต่เรื่องราวภายนอกร่างกาย ภายนอกจิตใจ โดยไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนอง

ใน blog ของผม ผมพยายามนำสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมาเขียนอธิบายให้ท่านที่ติดตามอ่านได้ทราบว่า เมื่อท่านปฏิบัติแล้วผลที่ควรจะเป็นเพื่อการดับทุกข์จะออกมาอย่างไร เมื่อท่านได้ทราบ มันก็จะเป็นแนวทางให้ท่านได้ตรวจสอบตนเองได้ว่า ท่านเดินมาตรงหรือยัง ซึ่งเรื่องนี้ ในสมัยที่ผมยังเริ่มต้นการปฏิบัติ ผมเองมีปัญหาามาก จะไปถามใครก็ไม่ได้ ทำให้เกิดความสับสน ไม่แน่ใจ เดินผิดเดินถูกเสียเวลาไปมาก ๆ ต่อมากโดยไม่จำเป็น ครั้นไปถามครูบาอาจารย์ต่างๆ ก็มักได้คำตอบว่า ให้มีสติ ให้มีสติ แล้วก็ไม่รู้ว่า มันคืออย่างไรกัน

การเข้าใจในสภาวะธรรมที่ปรากฏแล้ว เมื่อท่านเข้าใจและพบเห็นได้ด้วยตนเอง ท่านจะมีเข้มมุ่งที่ตั้งมั่นพุ่งไปข้างหน้าอย่างไม่ต้องเกรงกลัวว่าจะปฏิบัติผิดทางเลย มันจะทำให้ท่านเดินได้ตรง เห็นได้ชัด ไม่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

เมื่อท่านนักปฏิบัติอ่านบทความนี้จบลง ท่านทราบไหมครับว่า เมื่อท่านอ่านแล้วจิตใจท่านเป็นอย่างไร ถ้าไม่ทราบ ก็แสดงว่า ท่านต้องขยันฝึกให้มาก ๆ อีกสักหน่อย ถ้าท่านทราบแล้ว ผมก็อนุโมทนาต่อท่านครับ




 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2552
7 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 19:01:36 น.
Counter : 888 Pageviews.

 

หมายเหตุ
การหลงคิด ที่รู้เรื่องราวที่คิด แต่ไม่รู้อาการของจิตใจในขณะที่กำลังหลงคิด ก็ถือว่าเป็นส่งจิตออกนอกได้เช่นกันครับ

 

โดย: นมสิการ 3 พฤศจิกายน 2552 9:35:18 น.  

 

ขออนุโมทนาด้วยค่ะ

 

โดย: benyapa IP: 68.183.49.153 3 พฤศจิกายน 2552 10:43:51 น.  

 

ที่เก้าได้พบคือ ทุกข์เกิดจากปรุงแต่งความคิด หลังจากเกิดความคิดน่ะค่ะ ลำพังที่พอรู้ว่าเกิดความคิด แล้วไม่ปรุงต่อ ก็ปล่อย ตรงนี้ไม่ทุกข์
แต่ถ้าวันไหนที่จิตไม่มีสมาธิ ไม่มีสติ ก็จะหลงเพลินกับความคิด ทั้งเรื่องที่คิดแล้วมีความสุข และเรื่องที่คิดแล้วเป็นทุกข์ มันคือทุกข์ทั้งสองอย่างเลย

 

โดย: kaoim IP: 110.49.159.174 3 พฤศจิกายน 2552 13:11:30 น.  

 

อนุโมทนาค่ะ

 

โดย: เพื่อนธรรม IP: 118.173.77.91 3 พฤศจิกายน 2552 16:59:41 น.  

 

"เมื่อท่านนักปฏิบัติอ่านบทความนี้จบลง ท่านทราบไหมครับว่า เมื่อท่านอ่านแล้วจิตใจท่านเป็นอย่างไร"

1.พออ่านคำถามนี้จบ มันก็เลยวกกลับไปมองหาในใจ ก็รู้สึกว่ายินดีพอใจ ที่ได้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น การรู้เช่นนี้ ยังไม่ใช่"การรู้ได้เองที่เป็นธรรมชาติ" ยังถือว่าเป็นการจงใจ/เป็นการอยากที่จะรู้ ใช่มั๊ยครับ
2.ความรู้สึก ยินดีพอใจ ที่เกิดขึ้นมันเบามาก เหมือนไม่มีน้ำหนักอะไรเลยในใจ
อย่างนี้ถูกต้องมั๊ยครับ
3.อ่านแล้วผมเข้าใจว่า "การเห็นจิตใจที่มันไหวตัว" มันอาจเป็นแค่ ่สภาวะหนึ่งที่ได้เกิดขึ้น โดยรวดเร็ว/บางครั้งไม่อาจอธิบายว่าคืออาการอะไร แต่แค่รู้ว่า ความรู้สึกในใจมีการเปลี่ยนแปลงไป แตกต่างจากสภาวะก่อนหน้านั้น

รบกวนสอบถามเพื่อเป็นความรู้ครับ
ขอบคุณมากๆครับ

 

โดย: สงสัย IP: 202.139.223.18 4 พฤศจิกายน 2552 5:53:02 น.  

 

1.พออ่านคำถามนี้จบ มันก็เลยวกกลับไปมองหาในใจ ก็รู้สึกว่ายินดีพอใจ ที่ได้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น การรู้เช่นนี้ ยังไม่ใช่"การรู้ได้เองที่เป็นธรรมชาติ" ยังถือว่าเป็นการจงใจ/เป็นการอยากที่จะรู้ ใช่มั๊ยครับ

>> ใช่ครับ ถ้ายังมีการจงใจมองเข้าหาใจ นี่คือไม่เป็นธรรมชาติครับ การรู้ที่ใจ ต้องรู้ที่เป็นไปเอง โดยไม่ต้องจงใจมองเข้าที่ใจ ถ้าใจไม่มีอะไร คือเป็นปรกติ ก็รู้ว่า ขณะนี้ใจมันไม่มีอะไร เป็นปรกติ ถ้าใจมันสั่นไหวไป ก็รู้ว่าใจมันสั่นไหวไปครับ

2.ความรู้สึก ยินดีพอใจ ที่เกิดขึ้นมันเบามาก เหมือนไม่มีน้ำหนักอะไรเลยในใจ
อย่างนี้ถูกต้องมั๊ยครับ
>> อันนี้ขึ้นกับผู้ปฏิบัติครับว่ามีกำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิแค่ไหน ถ้าดีมาก ก็เห็นได้ครับ ถึงจะเห็นได้ แต่มันก็จะเบามาก ๆ ยิ่งถ้าเป็นผู้ปฏิบัติใหม่ จะไม่เห็นเลยครับ
เมื่อไม่เห็น ก็ไม่รู้ว่า ตอนนี้กำลังหลงไปยินดี พอใจแล้ว
ตัวนี้มันมาแบบเนียนมาก นุ่ม ๆ
ในการปฏิบัติ เห็นง่ายสุด คือ อารมณ์โกรธ ครับ
ผู้ปฏิบัติจะเห็นตัวนี้ก่อนทีสุดครับ

3.3.อ่านแล้วผมเข้าใจว่า "การเห็นจิตใจที่มันไหวตัว" มันอาจเป็นแค่ ่สภาวะหนึ่งที่ได้เกิดขึ้น โดยรวดเร็ว/บางครั้งไม่อาจอธิบายว่าคืออาการอะไร แต่แค่รู้ว่า ความรู้สึกในใจมีการเปลี่ยนแปลงไป แตกต่างจากสภาวะก่อนหน้านั้น

>> อันนี้จะมี 2 แบบครับ แบบที่หนึ่ง ก็อย่างที่คุณว่าไว้ พวกที่เห็นแบบนี้ ส่วนมากกำลังสัมมาสติจะตั้งมั่นมาก ๆ
รู้ว่ามีอะไรไหวยิก ๆ อยู่ แต่ไม่รู้ว่าที่มันไหว ในทางภาษาสมมุติบัญญัติคืออะไร

อีกแบบหนี่ง ก็คือรู้ว่าไหว และรู้ว่า ที่มันไหวอยู่นี่ ภาษาทางสมมุติเขาเรียกว่าอะไร ผู้ปฏิบัติจะรู้แบบนี้ก่อนครับ
แล้วการพัฒนากำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิมากขึ้น จึงจะไปสู่แบบที่ไม่รู้ภาษาสมมุติบัญญัติ

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน การเห็นอาการจิตไหว นี่ก็คือ การส่งผลที่เป็นปัญญาทางพุทธศาสนาทั้งสิ้นครับ



 

โดย: นมสิการ 4 พฤศจิกายน 2552 9:43:56 น.  

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 19:02:03 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.