รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
2 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

จิตมีกำลังแบบสมถะ จิตมีกำลังแบบวิปัสสนา

ในแวดวงกรรมฐานในประเทศไทย คำสอนที่ว่า ก่อนทำวิปัสสนานั้น ต้องทำสมถะเพื่อให้จิตมีกำลังเสียก่อน ในบทความนี้ ผมจะมาแสดงให้ท่านรู้ครับว่า คำสอนที่ว่าเป็นจริงหรือไม่อย่างไร ขอให้ดุรูปครับ



เมื่อท่านทำสมถะไม่ว่ารูปแบบใด จะปรากฏออกมาดังรูปข้างบน ( รู้แบบสมถะ ) .จิตรู้.นั้นจะถูกตรึงแน่นด้วยเส้นสีแดง ( ซึ่งก็คือตัณหา การยึดติด ) กับ วัตถุที่จิตไปจับติดอยู่ คำว่า วัตถุที่จิตไปจับติดอยู่ ก็เช่น ที่ปลายจมูก ที่ท้อง เมื่อท่านดูลมกระทบที่จุดนั้น หรือ พวกเพ่งท้องเหนือสะดือ 2 นิ้วที่สำนักดังเขาสอนกันอยู่ หรือไปเพ่งหน้าผาก (ตาที่สาม ) หรือ ไปเพ่งเท้าในขณะเดินจงกรม หรือไปเพ่งมือในขณะที่เคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียน

เมื่อมีการกระทำเพื่อการบังคับจิตให้ติดแน่นกับวัตถุ ไม่ยอมให้จิตหนีพรากไปไหน ย่อมต้องเป็นอัตตาตัวตนที่เข้ากระทำและเป็นความอยากที่จะกระทำ ซึ่งก็คือตัณหา ดังนั้น จึงเกิดตัณหาขึ้นเป็นแรงยึดจิต ( เส้นสีแดง ) เข้ากับวัตถุ

ยิ่งจิตแนบแน่นกับวัตถุมากเท่าใด นั่นแสดงว่า ตัณหายิ่งเข็มแข็งประดุจกาวตราช้างที่มีอนุภาพยิ่ง

เมื่อตัณหายิ่งเข็มแข็ง จิตยิ่งถูกตัณหาผูกมัดไว้ ทำให้จิตไม่เกิดปัญญารู้แจ้งในทางธรรม

ดังนั้น การกระทำสมถะ จึงไม่อาจเข้าถึงอริยสัจจธรรม ดังที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงทราบดีเมื่อคราวไปเรียนกับดาบส 2 รูป (ดังที่มีกล่าวไว้ในพุทธประวัติ )

..................

ทีนีมาดูกรณีของวิปัสสนา ดังรูปด้านล่างเส้นไข่ปลา (เส้นประ )

ในกรณีของวิปัสสานานั้น จิตรู้ จะไม่ติดหนึบกับวัตถุดังกรณีของสมถะ แต่.จิตรู้. จะเป็นอิสระจากวัตถุโดยสิ้นเชิง .จิตรู้.ที่เป็นอิสระนั้น จะรู้สภาวะธรรมที่เกิดตามอายตนะต่างๆ คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางจิตใจ ในแง่ทฤษฏีแล้ว การรู้ของจิตรู้ จะรู้ได้ครั้งละ 1 อย่าง แต่ในแง่การปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติจะพบเองก็คือ จิตรู้ จะรู้ได้พร้อม ๆ กันทุก ๆ อายตนะ

ในวิปัสสนา การที่จิตมีกำลังนั้น ทางภาษาพระเรียกว่า จิตตั้งมั่น ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นนั้นจะเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์แบบจากวัตถุอันเป็นการสัมผัสผ่านทางระบบประสาททางตา หู จมูก ลิ้น กาย จิตใจ
จิตรู้ จะรู้การสัมผัสที่เกิดขึ้น แต่จะไม่เข้าไปจับยึดกับวัตถุที่สัมผัสนั้นๆ นี่คืออาการของจิตที่มีกำลังทางวิปัสสนา

เมื่อจิตรู้ไม่จับยึดกับวัตถุที่เป็นอารมณ์ของจิต อารมณ์ของจิตจะแสดงไตรลักษณ์อันเป็นธรรมชาติให้จิตรู้ได้เห็น ทำให้จิตรู้เกิดปัญญา คลายความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ลงไปในขั้นต้น และถึงขั้นการตัดการยึดติดอย่างถาวรในขั้นปลาย อันเป็นการดับทุกข์ใจได้อย่างถาวร

ในแง่การฝึกฝนจิตตั้งมั่นแบบวิปัสสนานั้น คือ ฝึกเพียงความรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติอยู่เสมอ ๆ ให้ติดเป็นนิสัย เมื่อเป็นนิสัยแล้วจิตก็จะตั้งมั่นเป็นวิปัสสนาเอง ( บางพระอาจารย์จะเรียกว่า การมีปรกติเจริญสติปัฏฐาน )

...........................

ท่านจะเห็นว่า ในคำสอนของครูอาจารย์นั้น ถ้าท่านไม่เข้าใจ ไปตีความผิดในแง่การปฏิบัติ ท่านจะหลงเข้าสู่สมถะทันที แล้วท่านก็จะไม่มีทางพบธรรม

ผมฟังซีดีธรรมมามากหลายอาจารย์ ผมพบว่า อาจารย์ส่วนใหญ่ทีสอน จะสอนเพียงว่า .ให้มีสติ รู้กาย รู้ใจ. บ้าง .ให้มีสติอยู่กับตัวบ้าง. นี่คือคำสอนที่ดูเหมือนจะปั้มกันออกมาดังเหรียญกระษาปณ์ของรัฐบาล ซึ่งไม่มีการชี้แนะให้ว่า สติรู้กาย รู้ใจ นั้นมีลักษณะอาการอย่างไร ถ้าท่านตีความผิด หรือเข้าใจผิด ท่านก็จะพบกับเหรียญกระษาปณ์ปลอมเข้าอย่างจัง แล้วคิดว่า นี่คือเหรียญของจริง
แล้วท่านก็จะหลงทางไปกับวังวนของสมถะ หาทางพ้นทุกข์ไม่พบเลย

....................................
เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงทราบจุดนี้ดี ครั้นเมื่อตรัสรู้เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ทรงสอนการเจริญวิปัสสนาให้แก่ชาวพุทธ
อันเป็นมรดกแก่ชาวพุทธเพื่อการพ้นทุกข์ทางใจอย่างถาวร

........................................
บทความนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาเอง ว่าท่านควรเจริญจิตตภาวนาอย่างไร เพื่อดำเนินตามรอยบาทพระศาสดา





 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2552
10 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 18:33:21 น.
Counter : 3241 Pageviews.

 

อือ อ่านแล้วเหมือนกับเข้าใจ ตอนที่อาจารย์ เคยบอกเรื่อง ยังไม่ได้ตาย เราจะนิ่งๆ ได้อย่างไรเลยนะคะ (คือความจำของหนูเอง) หนูพอเข้าใจว่า ในเมื่อมนุษย์เรามีประสาทสัมผัส และทุกอย่างยังคงทำงาน ซึ่งแน่นอนว่าทำงานพร้อมๆกัน ทุกอย่างหากมีสิ่งมากระทบ ก็ต้องรู้สึกไปได้พร้อมๆกัน แต่ เมื่อรับรู้ได้แล้ว เรา ยึดสิ่งนั้นมาตีความว่าอย่างไรหรือไม่

เช่นเมื่อเย็นนี้ หนูเห็นป้าข้างบ้าน ที่มักจะปล่อยหมามาอึหน้าบ้านคนอื่น (บ้านหนู) กำลังฉีดน้ำ ไล่ลูกหมา ของอีกบ้านเพื่อไม่ให้ไปฉี่บ้านตนเอง ตอนแรกหนูรู้สึก ป้ะที่บ้านตัวเองให้หมาไปฉี่บ้านคนอื่น แต่หมาบ้านคนอื่นฉีดน้ำไล่กะลังจะอ้าปากเล่าให้แม่หนูฟัง หนูก็รู้สึกว่า มันไม่ใช่สาระอะไรเพราะก็ไม่เกี่ยวกับเรา ก็รู้สึกเฉยๆ ประมาณนี้หรือเปล่าค่ะ

 

โดย: มือใหม่ คนเดิม IP: 119.42.113.96 2 พฤศจิกายน 2552 19:29:50 น.  

 

พอเราคิดจะพูดอะไร แต่หยุดมันได้ทันควันไม่พูดออกไป จะด้วยว่ามีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้ครับ นี่คือการมีสติเข้าไปควบคุมทีดีขึ้นครับ

แต่ถ้าเราเผลอ สติตามไม่ทันหรือ ขาดสติ พอเราคิดก็จะพูดออกไปทันทีแบบไม่มีเบรค แล้วก็อาจนำความเดือดร้อนตามมาได้

แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ติดเบรคคำพูดได้ทัน มันอาจเกิดไม่ได้บ่อย ๆ ก็ได้ ซึ่งเรื่องนี้คุณมือใหม่ต้องเข้าใจว่า มันต้องมีเผลอบ้างละ ซึ่งไม่เป็นไรนะครับ อย่าไปท้อใจ ให้หมั่นฝึกซ็อมสัมมาสติ สัมมาสมาธิเข้าไว้บ่อย ๆ แล้วอาการหลุดโลก มันก็จะลดลงไปเรื่อยๆ เอง พร้อมด้วยการพัฒนาการทางจิตใจอย่างอื่นตามมาอีก แล้วสักวัน สิ่งที่คุณหวังไว้ว่า ไม่อยากให้ความโกรธมันเกิดขึ้น มันก็จะเป็นจริงได้ครับ

 

โดย: นมสิการ 2 พฤศจิกายน 2552 20:22:19 น.  

 

ขออนุญาตนำไปบอกกล่าวเพื่อนน่ะค่ะ เพราะสิ่งที่จขกท.อธิบาย เข้าใจได้ง่ายค่ะ อนุโมทนาที่ให้ธรรมะเป็นทานค่ะ

 

โดย: เพื่อนธรรม IP: 118.173.83.166 2 พฤศจิกายน 2552 20:22:27 น.  

 

ผมว่าในทางปฏิบัติจริง ๆ คงต้องเดินทางไปด้วยกันน่ะครับ
ทั้งสมถและวิปัสสนา

 

โดย: อัสติสะ 3 พฤศจิกายน 2552 8:41:42 น.  

 

ในบทความข้างบนนี้ ผมพยายามสื่อให้ผู้อ่านทราบความแตกต่างของจิตมีกำลัง 2 แบบซึ่งต่างกันที่ความเป็นอิสระของจิต แบบทีจะนำพาเพื่อการพ้นทุกข์ กับแบบที่ยิ่งนำสู่การยึดติดของทุกข์

ในแง่การปฏิบัติวิปัสสนานั้น จิตที่มีกำลังจึงสามารถปฏิบัติวิปัสสนาได้ ลักษณะของจิตที่มีกำลังแบบวิปัสสนา ผมได้อธิบายไว้แล้วข้างบนใน blog นี้ ซึ่งในบางกรณี ถ้าจะเรียกกันในทางตัวหนังสือทางบัญญัติ ก็คือ จิตที่พร้อมสำหรับวิปัสสนาต้องถึงพร้อมดัวยจิตสงบ( บางท่านจะเรียกว่า จิตสงบแทนคำว่าสมถะ) + วิปัสสนา

แต่การสงบของจิตนั้น ก็ต้องมีลักษณะดังที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว ซึ่งก็คือ จิตที่เป็นอิสระ ตั้งมั่น นั่นเอง

 

โดย: นมสิการ 3 พฤศจิกายน 2552 9:01:36 น.  

 

การกล่าวถึงคำต่าง ๆ อันเป็นคำสมมุติทีใช้แทนสภาวะ เช่น สมถะ วิปัสสนา โดยไม่กล่าวถึงรายละเอียดสภาวะนั้น ๆ เลยว่า มีอาการอย่างไร ย่อมจะก่อให้เข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนในการสือความหมายได้ง่าย ๆ ครับ

 

โดย: นมสิการ 3 พฤศจิกายน 2552 9:32:46 น.  

 

ที่คุณอัสติสะเสนอมาว่า ต้องมีทั้ง การปฏิบัติต้องมีทั้ง สมถและวิปัสสนา นั้น
คุณอัสติสะกรุณาอธิบายลักษณะของ .สมถ. ที่คุณอ้างถึงด้วยครับว่า มีอาการอย่างไร
ขอบคุณครัย

 

โดย: นมสิการ 3 พฤศจิกายน 2552 9:54:47 น.  

 

ขอโอกาสแสดงความเห็น....

เปรียบว่า..ทุกคนเหมือนจมอยู่ในน้ำคืออารมณ์...

อาการที่ทะลึ่งขึ้นสู่ผิวน้ำ...เหมือนมีสติ

อาการที่ทรงตัวลอยคออยู่เหนือผิวน้ำ..คือสมาธิ

แยกอาการลอยคออยู่เหนือผิวน้ำ(ไม่จมไปในอารมณ์.คือน้ำ)..เป็น2อย่าง..
1..ลอยคอด้วยการเกาะหลักไว้..เหมือนจิตที่มีเครื่องเกาะเป็นอารมณ์..(ไม่สามารถว่ายน้ำเข้าหาฝ่งได้)
2..ลอยคอด้วยตัวเองไม่อาศัยหลักเกาะ..เหมือนจิตที่มีปัญญาญาณ..(สามารถว่ายน้ำเข้าหาฝั่งได้)

อาการที่มองหาฝั่งเพื่อว่ายเข้าไปหาที่ปลอดภัย...คือปัญญา..

จากนั้น..ก็จะจมลงไปอีก..

สมาธิที่เกิดขึ้นจึงเป็นสมาธิชั่วขณะ...(ขณิกสมาธิ)..เมื่อหมดสมาธิจิตก็จะหลงไปในอารมณ์อีก..เป็นเช่นนี้สลับกันไป..

เหมือนกับเราอยู่ในห้องมืดอาศัยเพียงแสงฟ้าแลบในการมองเห็นวัตถุ..ต้องอาศัยการเห็นหลายๆครั้ง(ฟ้าแลบหลายๆคร้ง)จึงจะรู้ว่าวัตถุสิ่งนั้นคืออะไร..

ท้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัว..โปรดพิจารณา

 

โดย: palmgang IP: 119.42.68.86 3 พฤศจิกายน 2552 10:18:40 น.  

 

เขียนได้เห็นภาพดีครับ
ขอบคุณครับ

 

โดย: นมสิการ 3 พฤศจิกายน 2552 12:55:55 น.  

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 18:52:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.