รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
5 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
เวลาทำอะไรอยู่ พร้อมด้วยการมีความรู้สึกตัว นั่นแหละคือปฏิบัติธรรมแล้ว - มุมมือใหม่

ถ้าท่านเป็นผู้หนึ่งที่ไม่เคยสนใจในพุทธศาสนาเลย ไม่เคยเข้าวัด ไม่เคยรู้จักวิธีการทำสมาธิ วิปัสสนา แต่ตอนนี้ต้องการจะเริ่มต้นการปฏิบัติธรรม เพื่อการพ้นทุกข์ ผมมีข้อแนะนำให้ท่านได้พิจารณาครับ

1. หัวใจหลักของการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ในพุทธศาสนา ก็คือ การดำรงค์ชีวิตประจำวันด้วย .ความรู้สึกตัว. ครับ

ถ้าท่านจะเริ่มการปฏิบัติ ท่านต้องรู้จักก่อนครับ .การรู้สึกตัว. ว่ามีลักษณะอย่างไร เมื่อท่านรู้จักลักษณะของ .การรู้สึกตัว.แล้ว ก็ขอให้ท่านฝึกฝนอะไรก็ได้ เพื่อให้ท่านมีความคุ้นเคยกับ.ความรู้สึกตัว.ให้มาก ๆ ให้บ่อย ๆ

ตอนนี้ ผมขอให้ท่านรู้จักความรู้สึกตัวของจริงกันเลย ผมขอให้ท่านทำตามที่ผมจะบอกต่อไปนี้

ขอให้ท่านใช้ฝ่ามือซ้าย ไปนวดแขนข้างขวา หรือว่า จะใช้ฝ่ามือขวาไปนวดแขนข้างซ้ายก็ได้ครับ พอท่านนวด ท่านจะรู้สึกได้ถึงมีแรงกด แรงบีบตัวที่แขนข้างที่ถูกนวดอยู่ ท่านรู้สึกได้ไหมครับ ถ้าท่านรู้สึกได้ นั้นแหละ ท่านกำลังรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะที่นวดอยู่
หรือ ท่านจะนวดน่อง นวดนิ้วเท้า นวดบริเวณเท้าก็ได้ครับ

สรุปก็คือ เมื่อท่านรับรู้ความรู้สึกได้อยู่ นั่นแหละครับ ท่านกำลังรู้สึกตัวอยู่ครับ ในขณะเดียวกันที่ท่านรู้สึกตัวได้อยู่ ตาท่านก็จะยังมองเห็นสิ่งรอบตัวได้ หูท่านก็จะได้ยินเสียงรอบ ๆ ตัวได้เช่นกัน

เอาละ เมื่อท่านรู้จักอาการความรู้สึกตัวแล้วว่ามีอาการอย่างไร ทีนี้ ก็ขอให้ท่านฝึกฝนอะไรก็ได้แล้วแต่ท่าน ให้ท่านรับรู้ความรู้สึกตัวให้บ่อย ๆ ให้มาก ๆ ท่านจะใช้วิธีนวดแขน นวดขา ก็ได้ หรือ จะเลือกวิธีที่ผมมีเขียนไว้ที่นี่ก็ได้เช่นกัน //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=05-2009&date=30&group=1&gblog=20

เมื่อท่านฝึกให้รับรู้ความรู้สึกดังที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้นแล้วอยู่บ่อย ๆ อยู่เสมอ ๆ ผลที่ตามมาก็คือ จิตท่านจะมีกำลังมากขึ้นครับ ท่านไม่ต้องไปสนใจว่า ตอนนี้จิตมีกำลังมากไปถึงไหนแล้ว แต่ท่านควรจะฝึกให้มากเข้าไว้ ฝึกบ่อย ๆ แล้วจิตของท่านจะยิ่งมีกำลังมากขึ้นไปเรื่อย ๆ

2. การปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์นั้น ง่ายอย่างเหลือเชื่อ เพียงแต่คุณหมั่นฝึกฝนความรู้สึกตัวตามข้อ 1 นั้นบ่อย ๆ มาก ๆ ถี่ ๆ และเวลาที่คุณไม่ได้ฝึกฝนตามข้อ 1 เวลาคุณทำอะไรอยู่ เช่น อาบน้ำ ซักผ้า ถูบ้าน ทำครัว ดูทีวี หรือ ทำอะไรอยู่ก็ตาม ขอให้พร้อมดัวยความรู้สึกตัวเท่านั้น นั่นแหละ ท่านกำลังปฏิบัติธรรมไปในตัวอยู่แล้ว ทีนี้ท่านอาจสงสัยว่า ถ้าอย่างนั้น ทำไมต้องฝึกฝนดังข้อ 1 ที่ผมเขียนไว้ ที่เป็นดังนี้เพราะว่า คนทั่ว ๆ ไปที่ยังไม่เคยฝึกฝนเลย จะไม่คุ้นเคยกับการอยู่พร้อมด้วยความรู้สึกตัวครับ การฝึกฝนในข้อ 1 จะช่วยให้ท่านคุ้นเคยกับความรู้สึกตัว ยิ่งฝึกมาก ก็จะยิ่งคุ้นเคย เมื่อคุ้นเคยไปมาก ๆ เข้า ต่อไป เวลาที่ไม่ได้ฝึกฝนในข้อ 1 คือเวลาที่ท่านทำกิจวัตรประจำวันอยู่ ท่านจะทำด้วยความรุ้สึกตัวได้เองแบบอัตโนมัติ เรื่องนี้ ผมขอให้ท่านที่เคยหัดขับรถเกียรมือ เวลาท่านหัดใหม่ ๆ ท่านจะรู้สึกว่า การขับรถนียากจริง ๆ ต้องเหยียบคลั๊ซท์ ค่อย ๆ ปล่อย พร้อมกดคันเร่ง ตาก็ต้องมองทาง ดูรถคันอื่น ดูคน แต่พอท่านฝึกขับไปจนเก่ง ทุกอย่างก็เป็นอัตโนมัติหมด ท่านเหรียบคลั๊ทซ์เอง เข้าเกียรเอง ดูมันง่ายไปหมด นี่ก็เหมือนกับการฝึกฝนในข้อ 1 ทีฝึกจนเป็นอัตโนมัติ เพื่อให้รู้สึกตัวในข้อ 2 ครับ
มันเป็นอย่างนี้ครับ

3. เมื่อท่านฝึกข้อ 1 ข้อ 2 ไปมาก ๆ เข้า จิตท่านจะมีกำลังมากขึ้น ทีนีเวลาที่ท่านมีอารมณ์เสีย หวุดหงิด จิตท่านจะเห็นอารมณ์เสีย อารมณ์หงุดหงิดนี่ได้ครับ นี่คือผลแห่งการปฏิบัติในข้อ 1 และ ข้อ 2 ครับ

พอจิตท่านเห็นอารมณ์หงุดหงิด เห็นอารมณ์เสีย อารมณ์หงุดหงุด อารมณ์เสีย มันจะหยุดลงไปเอง โดยอัตโนมัติ

ยิ่งถ้าท่านฝึกไปมาก ๆ ผลทีได้ยิ่งมีกำลังมากขึ้นของจิต การหยุดตัวลงขอารมณ์หงุดหงิด อารมณ์เสีย ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ถึงแม้ว่า ท่านจะหยุดอารมณ์เหล่านี้ได้แล้ว ท่านก็ยังต้องฝึกในข้อ 1 ข้อ 2 ต่อไปอีกเรื่อย ๆ อย่าได้หยุดฝึกนะครับ

4. ข้อ 1 และ 2 คือ วิธีการปฏิบัติ ที่ท่านต้องฝึกไปตลอด ฝึกบ่อย ๆ
ส่วนข้อ 3 คือผลการฝึกจากข้อ 1 และ 2 ครับ ส่วนการปฏิบัติในขั้นต่อไปอีก จะเรียกว่า ขั้นปัญญา ก็ได้ ท่านต้องไปเสาะหาครูบาอาจารย์เอาเองครับ ให้ท่านแนะนำให้ท่านเรื่องปัญญาเพื่อการพ้นทุกข์ ท่านปฏิบัติต่อไปในข้อ 1 และ 2 เมื่อท่านได้ผลบางอย่างในข้อ 3 ท่านจะเข้าใจได้ว่า มันคืออะไร เพราะมันจะต้องไปสอดคล้องกับเรื่องของปัญญาในข้อ 4

แต่ว่า..... การเสาะหาอาจารย์ ต้องระวังให้มาก ถ้าไปพบอาจารย์ที่สอนไม่ตรงทาง ท่านก็อาจจะหลงทางไปได้เช่นกัน

ผมให้หลักบางอย่างเพื่อให้ท่านพิจารณาเอาเองว่า อาจารย์อย่างไร ที่สอนตรงทางครับ อันนี้เป็นความเห็นของผมเอง ไม่มีอยู่ในตำราแต่อย่างไร

ลักษณะของอาจารย์ที่ท่านควรหลีกเลี่ยง
1 เอาสวรรค์มาล่อ มานรกมาขู่
2.ชักชวนให้เสียแต่สตางค์ สารพัดให้ทำบุญด้วย
3.ไม่สอนอะไรเลย นอกจากข้อ 1

ลักษณะของอาจารย์ที่ท่านพอจะศึกษาด้วยได้
1.สอนเรื่องขันธ์ 5 ลักษณะของขันธ์ 5 อาการของขันธ์ 5 ความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ 5
2 สอนเรื่องสภาวะธรรม 72 ประการ สอนให้รู้จักสภาวะธรรมต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร
3 สอนลักษณะของอวิชชาว่าเป็นอย่างไร มีอาการอย่างไร

>>>>>
สรุป ก็คือ การปฏิบัติธรรม คือ การทำอะไรพร้อมด้วยความรู้สึกตัวครับ ถ้าไม่รู้สึกตัว ก็ไม่ใช่การปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ในพุทธศาสนาครับ





Create Date : 05 ธันวาคม 2552
Last Update : 29 มกราคม 2555 18:30:49 น. 3 comments
Counter : 1124 Pageviews.

 
ขอบพระคุณค่ะ


โดย: มังคุดม่วง วันที่: 7 ธันวาคม 2552 เวลา:20:55:24 น.  

 
ได้ประโยชน์สูงสุดทีเดียว ขออนุโมทนาครับ ข้อ 1 ยังต้องฝึกต่อไป


โดย: น้ำเปรี้ยวsp วันที่: 7 ธันวาคม 2552 เวลา:21:59:03 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:18:43:49 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.