รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
11 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
เล่าเรื่อง นิพพิทา

บทความนี้ ผมจะนำเอาประสบการณ์ เมื่อผมพบกับ นิพพิทา มาเล่าให้ท่านฟัง เพราะผมเชื่อว่า นักปฏิบัติจำนวนมาก เมื่อพบกับ นิพพิทา จะติดอยู่ที่นี่ แล้วแก้ไม่หลุด จมอยู่กับความทรมาน
*************

ก่อนอื่น ผมจะอธิบายคำว่า นิพพิทา ก่อนว่า มันต่างจากโทสะ อย่างไร

นิพพิทา คือ ความเบื่อหน่าย ฟังดูคล้ายโทสะ แต่ไม่เหมือนกัน

นิพพิทา จะเป็นการเบื่อหน่ายในกองสังขารทั้งปวง ที่เป็นอาการของการปรุงแต่งทีเกิดขึ้นในโลกภายใน การปรุงแต่งนี้จะออกมาในอาการรู้สีกได้ว่าเป็นทุกข์ในจิตใจเกิดอยู่
และทุกข์นี้ ไม่มีวี่แววว่าจะหายไปได้ ทุกข์จะติดค้างอยู่อย่างนั้นอย่างยาวนาน จนกว่า นักภาวนาจะสามารถหลุดออกจากการยึดติดในทุกข์นี้ได้

ส่วนโทสะ จะเป็นอาการไม่พอใจ ไม่สมหวังในความอยากที่ต้องการ
ในวัตถุ ในสิ่งต่างๆ ในผู้คน ในเรื่องราวต่างๆ ทีอยู่ในโลกภายนอก
เมื่อมีโทสะเกิด ก็ยังมีความอยากในเรื่องอื่น ๆ อยู่ เช่น เบื่อในงานที่ทำอยู่ แต่ก็ยังมีความอยากไปท่องเที่ยว อยากไปดูหนัง อยากไปกินอาหารอร่อย ๆ เป็นต้น

ท่านคงมองความต่างออกระหว่าง นิพพิทา และ โทสะได้นะครับ

ในพระไตรปิฏก ไม่มีการกล่าวไว้ เมื่อเกิดนิพพิทาแล้วจะจัดการกับนิพพิทาอย่างไร แต่ถ้าท่านได้อ่านดูในพระไตรปิฏก จะกล่าวไว้ดี โดยจะเขียนว่า เมื่อเบื่อหน่าย แล้วคลายกำหนัด แล้วก็ถึงนิพพาน ฟังดูสวยเหลือเกินให้อยากได้นิพพิทามาก แต่ถ้าใครได้แล้ว แก้ไม่ออกจะรู้สึกเองว่ามันทรมานแค่ไหน
.
เมื่อผมเกิดนิพพิทาและติดมันเป็นเวลานานเกือบ 4 เดือน มันทำให้ผมเข้าใจเองว่า ทำไมในสติปัฏฐาน 4 จึงเขียนไว้ว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 อย่างเร็ว 7 วัน อย่างช้า 7 ปี จะได้เป็นพระอรหันต์ หรือ ไม่ก็เป็นพระอนาคามี
ทำไมในพระไตรปิฏก ไม่ฟันธงว่า ต้องเป็นพระอรหันต์สถานเดียว ที่มีห้อยพระอนาคามี เพราะการติดในนิพพิทานี่เอง ที่แก้ไม่หลุดสักที
.
นอกจากนี้ ในพระไตรปิฏก ยังมีการกล่างถึง พระในยุคนั้นที่จ้างคนต่างศาสนามาฆ่าให้ตาย ผมคาดว่า พระเหล่านั้น คงติดในนิพพิทาแล้วแก้ไม่ออก เพราะตอนทีผมติดในนิพพิทา ผมมีความรู้สึกทรมานและต้องการตายให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย เพราะผมรู้ว่า ถ้าผมตายเสียในตอนนั้น ผมจะไปที่ไหนต่อไป อย่างน้อย ผมก็สบายใจได้ในภพเบื้องหน้าที่ผมจะไป
.
จริง ๆ แล้ว นิพพิทา เป็น ความคิด ของตัวเราเอง แล้วเรามองไม่ออกว่า นี่คือการยึดติดในความคิด มันเป็นความคิด .เบื่อหน่าย. ที่เกิดในจิตปรุงแต่งของนักปฏิบัติ

การแก้อาการติด นิพพิทา ก็คือ อย่าไปดูความคิด อย่าไปดูจิต ครับ
แต่ให้ดูกายอย่างเดียวเท่านั้น ให้ทิ้งเรื่องดูจิตไปเลยในตอนนั้น เพราะจิตมันปรุงแต่งอยู่ในอาการ .นิพพิทา.อยู่แล้ว ถ้าขืนไปดูจิต มีแต่แย่ลง กับแย่ลงไปเรื่อย ๆ

เมื่อมาดูกายอย่างเดียว ใช้เวลานานมากเป็นเดือน ๆ ในที่สุด มันก็หลุดจากความคิด.นิพพิทา.นี้ได้ เมื่อหลุดออก จิตก็ไม่คิดเรื่องนี้อีก เมื่อไม่คิดเรื่องนี้ จิตก็เป็นปรกติอีกครั้ง นี่แหละครับ ทุกข์จริงๆ ของนักปฏิบัติ เรื่องขาชาเพราะนั่งสมาธิ นี่เด็ก ๆ ไปเลยครับ เพราะขาชาพอเลิกนั่งไม่นานก็หายได้ แต่ถ้าติด.นิพพิทา เป็นเดือน ๆ แล้วแก้ไม่ออกซิครับ ทุกข์จริง ๆ

แต่ผลของนิพพิทา เมื่อหลุดแล้ว การเห็น .ความว่างของจิตใจ. จะเห็นได้ชัดเจนขึ้นมากกว่าเดิม

นำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังครับ ถ้าท่านปฏิบัติไปแล้วเจอนิพพิทา ก็ลองพิจารณาการแก้ของผมดู อาจเป็นประโยชน์ต่อท่านเอง หรือ
ถ้าท่านเกิดอยากจะทรมานเพื่อลิ้มรสแห่งทุกข์ในนิพพิทาสักตั้งหนึ่ง
ท่านจะลองดูหาวิธีของท่านเองก็ได้ครับ

**************
Update 7 ตุลาคม 2557

ความแตกต่างระหว่าง นิพพิทา และ โทสะ

1.....

นิพพิทา - ความเบือหน่ายในกองสังขาร ทีเป็น โลกภายในของจิตใจ
โทสะ - ความเบื่อหน่ายในสิ่งต่างๆ ทีเป็น โลกภายนอกทีเป็น คน สัตว์ สิ่งของ

2..

เมื่อเกิด นิพพิทา จะต้องมีญาณเกิดด้วย คือ เป็น นิพพิทาญาณ
ตัวรู้นั้นสงบนิ่ง เห็นจิตทีเป็นกองสังขารทีมันปรุงเป็นความเบื่อหน่าย
จิตเห็นการปรุงได้อยู่ แต่จิตดูความเบื่อหน่ายด้วยความสงบนิ่ง

โทสะ ไม่เกิดเป็นญาณ เพราะเป็นกิเลส จิตไม่เห็นการปรุงแต่งแต่จิตนั้นหลงไปกับการปรุงแต่งทีเกิดอยู่นั้น

*********************
Update 18 ตุลาคม 2557

3..อาการแห่ง นิพพิทา นั้นจะเกิดได้หลายครั้ง ไม่ใช่เพียงครั้งเดียว
เมื่อเกิดขึ้นในแต่ละครั้ง แล้วหลุดออกได้ในแต่ละครั้ง กำลังจิตจะเพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับ

*************************
Update 01 มิถุนายน 2561

4..เมื่อนักภาวนาผ่านนิพพิทามาได้หลายครั้งแล้ว เมื่อหลุดจากนิพพิทาได้ในแต่ละครั้ง นักภาวนาจะพบกับสภาวะธรรมของการวางจิตทีตรง กล่าวคือ การวางจิตทีเป็นธรรมชาติแท้ ๆ ไม่มีการกระทำว่า ต้องทำอย่างนี้ อย่างโน้น ไม่มีการปรุงแต่งใด ๆ เกิดขึ้น ไม่มีกาย ไม่มีจิต เป็นสุญญตา








Create Date : 11 มีนาคม 2553
Last Update : 1 มิถุนายน 2561 9:25:03 น. 1 comments
Counter : 3630 Pageviews.

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:18:17:48 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.