รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
11 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
เมื่อเดินตามวิถีแห่ง.มรรค. .ผล.ก็จะเกิดตามมาเอง - มุมมือใหม่

ผมเคยเขียนเรื่อง อริยสัจจ์ 4 ไว้หลาย ๆ ที่ใน blog ของผม ซึ่งผมก็จำไม่ได้ว่า อยู่ที่ไหนกันบ้าง แต่ถ้าท่่านที่เพิ่งเข้ามาอ่าน และไม่เคยอ่านเรื่องเดิมที่ผมเขียนไว้แล้ว จะอ่านใหม่ในตอนนี้ ผมจะเขียนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ท่านมองภาพรวมของ อริยสัจจ์ 4 ได้

คำถามในใจท่าน ....ทำไมต้องมองภาพรวมของอริยสัจจ์ 4 ออก
คำตอบจากใจผม.... การมองภาพรวมของอริยสััจจ์ 4 นั้นจะทำให้ท่านเข้าใจวิถีทางแห่งการพ้นทุกข์ตามหลักการของอริยสัจจ์ 4 อย่างถูกต้อง เมื่อท่านเข้าใจหลักการและภาพรวมแล้ว ท่านจะปฏิบัติต่อไปได้ถูกต้องแบบไม่หลงทาง เมื่อไม่หลงทาง ก็คือถูกทางตามอริยสัจจ์ 4 เมื่อถูกทางก็จะถึงปลายทาง คือ การสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้

คำถามในใจท่าน .... ที่สอน ๆ กันตอนนี้ไม่ถูกทางหรืออย่างไร
คำตอบในใจผม .... ที่สอนกันตอนนี้มีทั้งถูกทางและไม่ถูกทาง แต่ที่ไม่ถูกทางจะมีจำนวนที่มากกว่า และค่อนข้างแพร่หลายในประเทศไทย การแพร่หลายนี้ จะทำให้คนที่ยังไม่เข้าใจในหลักการปฏิบัติหลงเข้าไปเป็นพวกด้วย และยิ่งขยายตัวมากขึ้น มีการตอบตำถามแนะนำสิ่งผิดทางมากมายทางอินเตอร์เนท ทั้ง ๆ คนเองก็ยังไม่รู้เลยว่า สิ่งที่ตนเชื่อนั้นคือ ทางสายผิด เมื่อมีการบอกต่อกันไปมาก ๆ สิ่งที่ผิด ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องไปในความเห็นของคนไทย

คำถามในใจท่าน .... เมื่อท่านเจ้าของ blog รู้ว่าผิดแล้วทำไมไม่เข้าไปเีขียนขัดแย้งเขาในเวปบอร์ดต่าง ๆ
คำตอบในใจผม .... การเขียนขัดแย้งในอินเตอร์เนทไม่ทำอะไรให้ดีขึ้น คนที่มาเขียนไว้จะไม่เชื่อไม่ยอมรับความเห็นที่ชัดแย้งกับความเชื่อของเขาอยู่แล้ว และจำนวนคนทีมาเขียนในแนวทางที่ผิดมีมาก เมื่อคนไม่รู้เข้ามาอ่าน เมื่อเห็นว่าคนส่วนใหญ่บอกว่าเป็นสิ่งนี้ ก็จะเชื่อตามจำนวนคนที่บอก เรื่องนี้เปรียบได้กับในสมัยโบราณ ที่คนเืชื่อว่าโรคแบน พอกาลิเลโอ ค้นพบว่าโลกกลม และออกมาประกาศ ก็ไม่มีใครเชื่อเขาเลย
นี่คือ เสียงจากหมู่มาก ที่น้อมนำคนที่ไม่รู้เรื่องเข้าเป็นพวกได้

คำถามในใจท่าน .... ถ้าเป็นอย่างนี้ ท่านเ้จ้าของ blog จะทำอย่างไร
คำตอบในใจผม ... นี่คือสิ่งทีผมได้ทำแล้ว ผมเขียน blog บอกวิธีการปฏิบัติตามแนวทางแห่งอริยสัจจ์ 4 ตามหลักของพุทธศาสนา ที่ผมขอชักชวนให้ท่านอ่านและพิจารณาอีกครั้งด้วยปัญญาของท่านเอง

เชิญอ่านได้ครับ....

ในอริบสัจจ์ 4 นักเรียนชั้นมัธยมก็เีรียน คนทั่้ว ๆ ก็รู้ว่า ประกอบด้วยองค์ 4 คือ
ทุกข์ / สมุทัย / นิโรธ / มรรค

คำถามที่ 1. ทำไมต้องเริ่มที่ ทุกข์ ในเมื่อในหลักวิทยาศาสตร์ ต้องแก้ที่เหตุแห่งทุกข์ คือ สมุทัย
คำตอบ ..... ที่อริยสัจจ์ 4 ต้องเริ่มที่ทุกข์ เพราะว่า ปุถุชนโดยทั่้ว ๆ ไปจิตใจมืดบอดด้วยปัญญาเพราะถูกโมหะ(โมหะ เป็นชื่อของกิเลสตัวหนึ่ง) เข้าควบคุมจิตใจไว้ ทำให้ปุถุชนมองไม่เห็นสาเหตุแห่งทุกข์ คือ กิลส ตัณหา อย่างแท้จริง
แต่ปุึถุชน จะมองเห็นทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตใจของเขาได้
นี่คือจุดเริ่มต้นแห่งความคิดที่จะปฏิวัติตนเอง ที่จะหนีจากกองทุกข์นั้น

ทุกข์ ในอริยสัจจ์จึงเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการทั้งปวง ทั้งด้าน
1. เป็นแรงชักนำ (motivation)
2. เป็นสิ่งที่เมื่อรู้แล้ว จะเป็นการพัฒนากำลังจิตให้เข็มแข็ง เพื่อสามารถจะต้านทานแก่กิเลสได้ในระยะแรก ๆ และสามารถเห็น กิเลส ตัณหา ซึ่งก็คือ สมุทัย ได้ในะระยต่อไป เมื่อจิตใจมีพลังเข็มแข็งมากขึ้นในระยะต่อไปอีกด้วย

คำถามที 2. ทำไมต้องนำ สมุทัย เป็นข้อที่ 2
คำตอบ.... สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งก็คือ กิเลส ตัณหา นั้นเอง ดังที่กล่าวไว้แล้วในข้อ1 ว่า ในปุถุชนที่ไม่ได้ฝึกฝนตามหลักอริยสัจจ์ 4 จะมองไม่เห็นกิเลส ตัณหา เพราะถูกโมหะุเข้าครอบครองจิตใจจนมืดบอด เมื่อปุถุชนฝึกฝนให้เห็นทุกข์อริยสัจจ์อยู่เนือง ๆ จิตใจก็จะมีพลังและจะเห็นกิเลส ตัณหา อันเป็นสมุทัยได้ในระยะต่อมา

คำถามที่ 3 ทำไมต้องนำ นิโรธ เป็นข้อที่ 3
คำตอบ .. ผลแห่งการเห็นทุกข์อริยสัจจ์ในข้อ 1 ทำให้เห็น กิเลส ตัณหาในข้อ 2 เมื่อเห็นกิเลส ตัณหาได้ กิเลส ตัณหาย่อมดับไปเองตามหลักธรรมชาติแห่งไตรลักษณ์ เมื่อกิเลส ตัณหาดับไปแล้ว ทุกข์ใจก็จะไม่กิด ซึ่งก็คือ นิโรธ อันเป็นสภาพในขณะที่จิตใจไม่มีกิเลส ตัณหา

คำถามที่ 4 ทำไมต้องนำ มรรค เป็นข้อที่ 4
คำตอบ.. ข้อ 1 /2 / 3 เป็นเหมือนคำอธิบายหลักการการดับทุกข์ของอริยสัจจ์ 4 เมื่อได้เข้าใจหลักการแล้วและเกิดศรัทธาแล้ว ก็ให้ดำเนินการในข้อ 4 ก็คือวิธีการลงมือปฏิบัติ เมื่อได้ลงมือปฏิบัติตามหลักการในข้อ 1 / 2 / ก็จะเห็นผลในข้อ 3 ได้เอง

มรรค ในข้อ 4 ความเข้าใจในการปฏิบัติ ก็คือสัมมาทิฐิ การปฏิบัติสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการปฏิบัติ ถ้าเข้าใจผิดเสียแล้ว การปฏิบัติย่อมไม่เกิดผลแห่งนิโรธได้เลย

เมื่อผู้ปฏิบัติดำเนินครบ 4 ข้อ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
และเห็นผลแห่งอริยสัจจ์ คือ นิโรธ ได้แล้ว
เขาย่อมเชื่อมั่นในคำสอนแห่งพุทธศาสนาอย่างไม่ลังเลในใจอีก
เพราะเห็นได้เห็นจริง ได้พิสูจน์จริงดังที่สอนแล้วทุกประการ
เมื่อเขาได้เห็นจริงแล้ว เขาย่อมมีกำลังใจ มีความศรัทธา
มีความมุ่งมั่นในข้อที่ 4 คือมรรค ที่พากเพียรให้รู้ในทุกข์ (ดังข้อ 1 )
สกัดกั้นกิเลส ตัณหา ไม่ให้เขาสู่จิตใจ (ดังข้อ 2 )
จนได้ผลแห่งนิโรธ คือ ความไม่ทุกข์ใจอีก (ดังข้อที่ 3 )


นี่คือวิถีทางแห่งมรรค เมื่อได้เดินตามมรรค ผลย่อมได้เอง
คล้ายกับ เราได้อ่านวิธีการปลูกต้นมะม่วงว่าทำอย่างไร
และได้ลงมือปฏิบัติตามวิธีการที่เรียนรู้มา
ต้นมะม่วงย่อมออกผลเป็นมะม่วงให้เราได้รับประทานอย่างแน่นอนที่สุด

--------------
ขอท่านผู้มีปัญญาพิจารณาดูคำสอนของพระพุทธองค์เถิดว่าเป็นอย่างไร
การไปนั่งสมาธิตัวนิ่งแข็งแบบฤาษี ไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์อย่างแน่นอน
เพระาการนั่งสมาธิแบบฤาษีนั้น เ็ป็นการกดจิตในนิ่ง ไม่ให้รับรู้อะไรเลย
เมื่อไม่รู้อะไรเลย ทุกข์ในข้อ 1 ก็ไม่อาจรู้ได้
การกดจิตให้นิ่ง ทำให้จิตถูกโมหะ อันเป็นตัณหา เข้าครอบงำ นี่ก็เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับคำสอนอริยสัจจ์ 4 ในข้อ 2 แล้ว
ผลแห่งข้อ 3 คือนิโรธ จะเกิดขึ้นได้อย่างไรกัน
ในพุทธประวัติก็มีการกล่าวไว้ถึงเ้จ้าชายสิทธัตถะได้ออกจากสำนักฤาษีที่ได้ไปเรียนมา
ว่าพระองค์ทรงทราบว่า แนวทางนี้ไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์

ขอท่านที่เป็นพุทธบริษัทใช้ปัญญาพิจารณาดูเถิดว่า สิ่งที่ท่านกำลังฝึกฝนอยู่ หรือกำลังพบายามเพยแพร่อยู่นั้น ถูกต้องตามหลักอริยสัจจ์ 4 หรือไม่

*************
เรื่องที่คล้ายกันแนะนำอ่านคือ
วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ จะเริ่มต้นอย่างไรดี - มุมมือใหม่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=20-01-2010&group=5&gblog=69

เรื่องต่อจากเรื่องนี้คือ
การเห็นจิตว่างที่ไม่มีอะไร คือ การปฏิบัติที่ต่อจากขั้น
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=01-2010&date=23&group=5&gblog=70




Create Date : 11 มกราคม 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 18:27:46 น. 4 comments
Counter : 3119 Pageviews.

 
คำถามที่ 5 ทำไม ทุกข์อริยสัจจ์ จึงต้องให้รู้ด้วย รู้แล้วได้อะไร
คำตอบ .. ทุกข์อริยสัจจ์ นั้น ถ้าจะกล่าวด้วยภาษาไทยง่าย ๆ แบบชาวบ้านให้เข้าใจกันก็คือ สภาพของร่างกายและจิตใจของคนเรานั้นเอง
ที่คนเราปรกติเป็นทุกข์ เพราะว่า คนเข้าใจว่า ทุกข์ที่เกิดขึ้นที่ร่างกายหรือจิตใจนั้น มันเป็นร่างกายหรือจิตใจของเรา เมื่อร่างกายหรือจิตใจเป็นทุกข์ คนก็จะทุกข์ตามไปด้วยเพราะความเข้าใจนั้น
ในทุกข์อริยสัจจ์ข้อที่ 1 ที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้ทุกข์อริยสัจจ์นั้น เพื่อให้พุทธบริษัทได้เห็นความเป็นจริงว่า อันว่า ร่างกายและจิตใจ นั้นที่แท้ม้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา อันเป็นการเปิดตาปัญญาทางธรรมให้รู้แจ้งในเรื่องนี้
การเฝ้ารู้ทุกข์อริยสัจจ์อยู่เนือง ๆ จะทำให้เข้าใจในเรื่องนี้ได้อย่างแท้จริง ว่า ร่างกายและจิตใจ นั้นมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเราเลย
ถ้าเปรียบในทางโลก ก็เหมือนกับการเฝ้าดูพฤติกรรมของสัตว์ในสารคดี BBC ที่มีการเฝ้าดูติตตามพฤติกรรมอยู่นาน จนเข้าใจฟฤติกรรมของสัตว์ที่เฝ้าดูนั้นได้ในที่สุด

คำถามที่ 6 ทำไมต้องละ ตัณหา อันเป็นสมุทัย
คำตอบ..ตัณหา เมื่อเกิดขึ้นในจิตใจ จะเปรียยได้เหมือนตนตาดี ที่ถูกผ้ามาปิดตาไว้ ทำไห้มองอะไรไม่เห็นเลย การเฝ้าดูทุกข์อริยสัจจ์ดังคำถามที่ 5 นั้น ต้องเฝ้าดูในขณะที่ดวงตาแจ่มใส นั้นคือจิตใจไร้ตัณหา จึงจะเห็นสภาพที่แท้จริงของร่างกายและจิตใจที่ชัดเจนได้

อนี่ง ตัณหา ที่ปิดบังจิตใจ เมื่อเกิดขึ้นจิตใจแล้ว ก็จะทำให้ผู้คนที่ถูกตัณหาครอบงำอยู่ ยากยิ่งที่จะสลัดทุกข์ใจที่เกิดขึ้นมาได้ ทำให้ทุกข์ใจที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ได้นาน
ถ้าได้สลัดตัณหาออกจากจิตใจได้ การตั้งอยู่ของทุกข์ใจ ก็จะอยู่ไม่ได้เองตามกฏแห่งไตรลักษณ์ที่ทุกข์นั้นจะแปรเปลี่ยนไปเองตามธรรมชาติ เมื่อมันเกิดขึ้น มันก็จะดับไปเอง ความรวดเร็วแห่งการดับทุกข์ได้นั้น ขึ้นอยู่กับคน ๆ นั้นเองว่า สามารถที่จะสลัดตัณหาออกไปได้เร็วเพียงใด ถ้าเขาสลัดได้เร็ว ทุกข์ก็จะเสือมสลายไปเร็ว ถ้าเขาสลัดได้ช้า ทุกข์ก็จะเลื่อมสลายไปช้า ถ้าเขาสลัดไปไม่ได้เลย ทุกข์ก็จะค้างคาอยู่ในใจเขาไปนานแสนนาน

ผมหวังว่า คำอธิบายนี้ คงทำให้ท่านเข้าใจอริยสัจจ์ 4 ได้ชัดเจนขึ้น และได้นำความเข้าใจนี้ ไปปฏิบัติได้ตรงทางเพื่อการพ้นทุกข์ทางใจได้อย่างถูกต้องต่อไป


โดย: นมสิการ วันที่: 11 มกราคม 2553 เวลา:18:14:39 น.  

 
คำถามที่ 7 ที่ว่า ตัณหา ให้ละ แต่ เจ้าของ blog บอกว่าให้มีความเพียรในการฝึกฝนสัมมาสติ สัมมาสมาธิ แล้วจะให้ทำอย่างไรจึงจะถูก
คำตอบ.. ที่ผมบอกให้มีความขยันหมั่นเพียร ฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิ นั้นถูกต้องครับ แต่ท่านต้องเข้าใจด้วยครับว่า ในการฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิ นั้น อย่าฝึกด้วยความอยาก อันเป็นตัณหาครับ

วิธีการฝึกสัมมาสติที่ดีนั้น ให้ฝึกด้วยจิตใจที่สบาย ๆ ไร้ความเครียด ไร้ความวิตกกังวล ไร้ความอยากที่จะรู้สภาวะธรรมที่เป็นทุกข์อริยสัจจ์ แต่ให้มีการรู้สภาวะธรรมได้เองของ .จิตรู้ อันเนื่องด้วยการมีความรู้สึกตัว ในขณะที่กำลังปฏิบัติครับ นี่คือการฝึกที่ดี

ส่วนการฝึกที่มีความอยาก ก็คือ ฝึกด้วยความเครียด ฝึกด้วยความต้องการ เช่น อยากนั่งสมาธิให้ได้นาน ๆ หลาย ๆ ชั่วโมง การส่งจิตไปจับลมหายใจที่ปลายจมูก นี่เป็นการอยากรู้สภาวะธรรม หรือ การกดจิตให้นิ่งดังก้อนหิน ที่ทำให้จิตเป็นโมหะ อันเป็นกิเลสตัวใหญ่ที่นักปฏิบัติผิดทางทำขึ้น
ผมยกตัวอย่างเท่านี้ ท่านคงมองออกนะครับ
ขอยคุณครับที่สนใจ


โดย: นมสิการ วันที่: 11 มกราคม 2553 เวลา:18:23:41 น.  

 
คำถามที่ 8 เมื่อปฏิบัติข้อ 1 คือ รู้ทุกข์และข้อ 2 คือสมุทัยให้ละ แล้ว ผลแห่งนิโรธ เป็นอย่างไร
คำตอบ.. เมื่อปุถุชนลงมือปฏิบัติข้อ 1 และ ข้อ 2 แล้ว จะเกิดกำลังแห่งสัมมาสติที่มากขึ้นในระยะที่ 1 (คนทั้ว ๆ ไปที่ไม่ได้ปฏิบัติ ก็มีสัมมาสติ แต่อ่อนแอมาก ) ซึ่งกำลังแห่งสัมมาสติที่มากขึ้นนั้น จะมีพลังแห่งการหยุดการยึดติดของตัณหาที่กำลังยึดทุกข์อริยสัจจ์ได้ เมื่อตัณหายึดทุกข์อริยสัจจ์อยู่ จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ใจไปด้วย เมื่อตัณหาถูกหยุดด้วยพลังแห่งสัมมาสติ การยึดติดก็หยุดลงไป ทำให้ท่านหายจากทุกข์ใจไปได้ (นี่เป็นการอธิบายแบบง่าย ๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจได้ด้วยภาษาชาวบ้าน )

สำหรับระยะที่ 2 นั้นผลแห่งการปฏิบัติจะทำให้ท่านเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงด้วยจิตใจของท่านเองว่า ร่างกายนี้ จิตใจนี้ มันไม่ใช่ท่าน มันไม่ใช่ของท่านเลย นี่เป็นปัญญาในระดับโลกุตรปัญญา

สำหรับระยะที่ 3 ท่านจะเกิดญาณปัญญาหยั่งรู้สภาพที่แท้จริงของร่างกายและจิตใจของเท่านว่า ที่ว่ามันไม่ใช่ท่าน ไม่ใช่ของท่านนั้น ที่แท้แล้วมันคืออะไร
เมื่อท่านเข้าใจในระยะ 3 ท่านก็เข้าใจธรรมขั้นสูงสูดอันเป็นธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ของพุทธศาสนา อันเป็นธรรมที่ท่านจะเห็นเอง รู้เอง เข้าใจเอง ไม่ใช่การอ่านจากตำรามา เพราะการอ่านจากตำรามา ไม่สามารถจะได้ผลในการลดทุกข์ทางใจลงได้เลย


โดย: นมสิการ วันที่: 11 มกราคม 2553 เวลา:18:40:44 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:18:38:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.