บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
4 ธันวาคม 2554
 

วิตามินDเม็ดมากไปเสี่ยงหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

จดหมายข่าวเว็บไซต์ อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'Overdoses of vitamin D pills can damage your heart' = "(กิน) วิตามิน D (ยาเม็ด) มากไป (อาจ) ทำลายหัวใจ" หรือ "วิตามิน D จากยาเม็ดมากไป-ไม่ดีกับหัวใจคุณ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

ผู้เขียนมีประสบการณ์ไปกราบนมัสการสังเวชนียสถาน (อินเดีย-เนปาล) พบอาจารย์หมอวัยเกษียณท่านหนึ่งกินอาหารเสริม 13 เม็ด/มื้อ ดูแล้วน่ากลัวมากกว่าน่าเลื่อมใส

.

วันที่ 1 ธันวาคม 54, อาจารย์จิตแพทย์บรรยายเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตที่โรงพยาบาล... ท่านกล่าวไว้ดี คือ คนที่กินวิตามินเม็ดละ 1 ล้านบาทไม่มีทางแข็งแรงเท่าคนที่วิ่งเป็นประจำ

.

ถ้าจะให้แข็งแรงทั้งกายทั้งใจจริงๆ ต้องขอออกกำลังแบบแอโรบิค เช่น วิ่ง เดินเร็ว ปั่นจักรยานเร็ว ว่ายน้ำเร็ว ฯลฯ 20-30 นาที/วัน, ทำให้ต่อเนื่องกัน 3 เดือนต่อไป จะช่วยลดเสี่ยง "เครียด-เศร้า-เหงา-เซง" ได้ดี (ไม่ใช่ออกกำลังตั้ง 1 วัน แล้วจะได้ผลเต็มที่เหมือนออกกำลังเป็นประจำ)

.

เคล็ดลับ คือ สารเคมีกลุ่มสร้างสุข-ลดเครียดในสมองส่วนใหญ่ใช้เวลา 3 สัปดาห์ขึ้นไปในการปรับตัว คล้ายยาต้านซึมเศร้าส่วนใหญ่ที่จะออกฤทธิ์เต็มที่หลัง 20-21 วัน, และจะเข้าสู่สมดุลใหม่ได้ดี ถ้ากินยาต่อเนื่อง 3 เดือนขึ้นไป

.

การศึกษาใหม่พบว่า ระดับวิตามิน D ในเลือดที่สูงเกินไป เพิ่มเสี่ยงหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนเต้นตัว (atrial fibrillation / AF) 3 เท่า

.

หัวใจคนเรามีระบบลูกสูบ 2 ชุด คือ ชุดห้องบน (atriums) กับชุดห้องล่าง (ventricles), ห้องบนมีแรงสูบเบากว่า คือ 15-20% ของแรงรวม, ห้องล่างมีแรงสูบมากกว่า คือ 80-85% ของแรงรวม

.

โรคหัวใจห้องบนเต้นรัว (ไม่เป็นจังหวะ / หดเป็นส่วนๆ-คลายเป็นส่วนๆ ไม่หดตัว-คลายตัวพร้อมกันทั้งห้อง) ชนิด AF เพิ่มเสี่ยงหัวใจวายได้เป็นส่วนน้อย (เนื่องจากหัวใจห้องบนมีผลต่อแรงบีบตัวของเลือดรวมน้อยกว่าห้องล่าง)

.

ทว่า... เพิ่มเสี่ยงการเกิดการไหลเวียนเลือดแบบปั่นป่วน รวนเร เปลี่ยนจากน้ำไหลเป็นน้ำวน และอาจทำให้เกิดลิ่มเลือด (blood clots), หลุดลอยไปอุดหลอดเลือดส่วนต่างๆ ได้มาก เช่น อุดหลอดเลือดสมอง เพิ่มเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ

.

คนที่กินอาหารเสริม หรือวิตามินเสริมแล้วพบใจสั่น หรือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ... ควรแจ้งให้หมอที่ดูแลท่านทราบ

.

การศึกษานี้พบว่า คนที่มีระดับวิตามิน D3 สูงเกิน 100 ng/dl (250 nmol/L) หรือสูงเกินค่าปกติที่ควรอยู่ในช่วง 30-40 ng/dl (75-100 nmol/L) หรือสูงเกินไปประมาณ 3 เท่า เพิ่มเสี่ยงหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิด AF 3 เท่า

.


ภาพ: วิตามิน D มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีให้แรงขึ้น จากวิตามิน D1 (มาจากแสงแดดประมาณ 90%, อาหารประมาณ 10%) > ตับเปลี่ยนเป็นวิตามิน D2 > ไตเปลี่ยนเป็นวิตามิน D3 [ healingtherapies ]

.

UV มี 3 ชนิดคือ UVA, UVB & UBC, บรรยากาศชั้นโอโซนเหนือผิวโลก 10-17 กม. ช่วยกั้น UVC ไม่ให้ลงมาสู่ผิวโลก, ยอมให้ UVA & UVB ลงมาสู่ผิวโลก [ NOAA ]

.

โอโซน (ozone) ที่อยู่ใกล้ผิวโลกมีฤทธิ์ระคายเคือง ทำให้แสบจมูก, แต่ถ้าอยู่ในบรรยากาศชั้นโอโซน จะช่วยป้องกันโลกจาก UV ที่สูงเกิน

.

เดิมพบบรรยากาศชั้นโอโซนรั่วใกล้ขั้วโลกใต้ และออสเตรเลียบางส่วน, ปีนี้พบบรรยากาศชั้นโอโซนรั่วใกล้ขั้วโลกเหนือ

.

UVB ในแสงแดดช่วยเปลี่ยนสารอาหารชนิดหนึ่ง (7-dehydrocholesterol) เป็นวิตามิน D1 ซึ่งร่างกายจะรีบดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด

.

ทว่า... ถ้าได้รับแสงแดดนานๆ, UVB จะทำลายวิตามิน D1 ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการสร้างวิตามิน D1 มากเกินไป

.

คนที่ได้รับแสงแดดนานหรือบ่อยจะมีการสร้างเม็ดสีผิว (melanin) เพิ่ม ซึ่งช่วยป้องกันการสร้างวิตามิน D1 มากเกินไปเช่นกัน

.

กระจกส่วนใหญ่ยอมให้ UVA ผ่านแต่ไม่ยอมให้ UVB ผ่าน ทำให้คนที่รับแสงแดดผ่านกระจกไม่ได้รับวิตามิน D, ได้รับแต่ความแก่ เนื่องจาก UVA เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผิวผนังเสื่อมสภาพ ดูแก่เร็ว และผิวคล้ำขึ้น

.

ผู้ใหญ่ควรได้รับวิตามิน D 600 หน่วยสากล (IU)/วัน โดยควรได้รับจากแสงแดดอ่อนตอนเช้า-เย็น 15-20 นาที/วัน, และอาหารธรรมชาติ เช่น ปลา ไข่ น้ำมันปลา ฯลฯ โดยต้องกินพร้อมอาหารที่มีไขมัน จึงจะดูดซึมได้

.

ตับและน้ำมันตับปลา (ทำจากน้ำมันปลาคอด / cod liver oil) มีวิตามิน D แต่ถ้ากินมากหรือนานจะเสี่ยงพิษจากการได้รับวิตามิน A มากเกิน

.

วิตามินรวมส่วนใหญ่มีวิตามิน D 400 หน่วยสากล (IU), ถ้าจะกิน... ควรดูฉลากยาข้างขวด หรือขอให้อาจารย์หมอ-หมออนามัย-เภสัชกร-พยาบาลใกล้บ้านช่วยดูให้

.

วิตามิน D ที่สูงเกินในเลือด ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูง ซึ่งอาจไปรบกวนการสร้างสัญญาณให้หัวใจหดตัว และ/หรือ การนำกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจได้

.

วิตามิน D ก็คล้ายกับ "อีกหลายเรื่อง" ในชีวิต คือ มากไปน้อยไปมักจะไม่ดี, การศึกษาเร็วๆ นี้พบว่า คนที่มีระดับวิตามิน D ต่ำเพิ่มเสี่ยงติดไข้หวัดใหญ่ โรคหัวใจ และตายเร็ว

.

สาเหตุที่ทำให้คนเราขาดวิตามิน D ได้แก่

.

(1). ได้รับแสงแดดอ่อนน้อยเกิน หรือมีเครื่องกั้น UVB เช่น ผิวคล้ำ ทายากันแดด สวมเสื้อแขนยาว-ขายาว กางร่ม ฯลฯ (แสงแดดอ่อนดีกับสุขภาพ แสงแดดจ้าเพิ่มเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง)

.

(2). ได้รับวิตามินจากอาหาร เช่น ปลาทะเล ตับ ฯลฯ น้อยเกิน หรือกินอาหารที่ไม่มีไขมันต่ำเกิน ทำให้ไม่มีตัวทำละลายวิตามิน (วิตามิน A, D, E, K ละลายในน้ำมัน) เป็นตัวพาเข้าสู่กระแสเลือด

.

(3). น้ำหนักเกินหรืออ้วน... วิตามิน D ละลายได้ดีในไขมัน และสะสมในเนื้อเยื่อไขมัน, ช่วงขาขึ้นของน้ำหนักเป็นช่วงที่ร่างกายจะสูญเสียวิตามิน D ไปในทะเลไขมัน

.

(4). อายุมากขึ้น... อายุมากขึ้นทำให้ร่างกายสร้างไขมันที่ผิวหนังน้อยลง, ดูดซึมไขมัน (ที่มีวิตามิน D จากแสงแดด) กลับเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อยลง, เปลี่ยนวิตามินจากรูปฤทธิ์อ่อน (D1) ให้เป็นรูปที่มีฤทธิ์แรงขึ้น (ตับเปลี่ยนเป็น D2, ไตเปลี่ยนเป็น D3) ได้น้อยลง

.

(5). โรคตับ-ไตเรื้อรัง... คนไทยป้องกันโรคตับได้จากการไม่สำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบ, ไม่ดื่มหนัก

.

และป้องกันโรคไตได้จากการตรวจเช็คความดันเลือด-น้ำตาลในเลือด รีบรักษา-ปรับเปลี่ยนชีวิตให้ต่อเนื่องเมื่อพบว่า เป็นความดันเลือดสูง, ว่าที่เบาหวาน(ภาวะก่อนเบาหวาน), หรือเบาหวาน

.

การดื่มน้ำตั้งแต่ช่วงตื่นนอนจนถึงพระอาทิตย์ตกดินช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ และป้องกันนิ่วในไต ซึ่งทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น

.

ไม่แนะนำให้ดื่มน้ำมากเกินครั้งละ 1/2 แก้วหลังพระอาทิตย์ตกดิน เพื่อจะได้หลับสนิท ไม่ตื่นมาปัสสาวะกลางคืน และไม่ฝันร้ายจากการปวดปัสสาวะ

.

ถ้าเป็นโรคกรวยไตอักเสบ (ติดเชื้อ) ควรกินยาให้ครบตามที่หมอแนะนำ (ปกติจะให้ 10-14 วัน) เนื่องจากถ้ากินยาไม่ครบ... จะเสี่ยงต่อโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง ไตเสื่อม ไตวาย

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]



  • Thank Dr.Gabe Mirkin & source > Annual meeting of the American Heart Association on November 16, 2011.

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 4 ธันวาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.

  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.






Free TextEditor


Create Date : 04 ธันวาคม 2554
Last Update : 4 ธันวาคม 2554 10:23:30 น. 0 comments
Counter : 2619 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com