บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
7 ตุลาคม 2555
 

พลิกวิกฤติจีน-ญี่ปุ่นเป็นโอกาสอาเซียน-ไทย

.
สำนักข่าว 'TheDiplomat' ตีพิมพ์เรื่อง 'The Coming Economic Shift?' = "เศรษฐกิจที่(กำลัง)เปลี่ยนไป(ไม่เหมือนเดิม)" = ฮับ(ศูนย์กลางลงทุน-ค้าขาย)เศรษฐกิจจะย้ายไป(จากจีน)ไหม", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ญี่ปุ่นกำลังตกที่นั่งลำบาก หลังเศรษฐกิจโตช้า (มาก), ค่าเงินแข็ง (ทำให้สินค้าราคาแพง ส่งออกได้ยาก), หนี้ภาครัฐสูง, เด็กเกิดใหม่น้อย (ประเทศที่มีสัดส่วนเด็กน้อยมักจะมีเศรษฐกิจโตช้า เนื่องจากคนเรามีแนวโน้มจะกินจะใช้มากในช่วงอายุต่ำกว่า 35 ปี), สัดส่วนคนสูงอายุมาก (ทำให้รายจ่ายสุขภาพมาก รายรับจากภาษีคนทำงานน้อย), โดนซึนามิ-แผ่นดินไหวถล่มหลายครั้ง, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์รั่วไหล
.
ราวกับ "เคราะห์ซ้ำ-กรรมซัด (รับเคราะห์ ซวยซ้ำซาก)"... ตอนนี้มีปัญหาที่มาแรงอีก คือ การแย่งชิงหมู่เกาะกับประเทศอื่นๆ รอบทิศได้แก่
.
(1). ทางเหนือ > แย่งหมู่เกาะคูริลกับรัสเซีย
.
(2). ทางตะวันตก > แย่งหมู่เกาะเซนคากุ-เตี้ยวหยูกับจีน
.
(3). ทางตะวันตกเฉียงใต้ > แย่งหมู่เกาะกับเกาหลีใต้
.
ท่านคริสตีน ลาการ์ด ประธาน IMF (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) เตือนว่า กรณีพิพาทเกาะเซนคากุ-เตี้ยวหยู จะทำร้ายเศรษฐกิจของทั้งจีน-ญี่ปุ่น
.
จีนเองก็ไม่เบาเหมือนกัน มีเรื่องแย่งหมู่เกาะรอบทิศ... ตั้งแต่เวียดนาม มาเลเซีย บรูไน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น
ตอนนี้นักท่องเที่ยวจากจีนไปญี่ปุ่น, สินค้าญี่ปุ่นไปจีนลดฮวบ และนักลงทุนญี่ปุ่นส่วนหนึ่งกำลังมองหาที่ตั้งโรงงานใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกประท้วง-ทุบทำลายในจีน
.
มหาอำนาจด้านลูกดก-แรงงานรีบจีบโรงงานญี่ปุ่น 15 แห่ง... ขอให้ย้ายไปฟิลิปปินส์
.
ทางโตโยต้าก็มองว่า ผลิตในมาเลเซียแล้วส่งไปจีนน่าจะปลอดภัยกว่า(ผลิตในจีน)
.
การเปิดเสรีการค้าระหว่างจีน-อาเซียน (CAFTA) ที่คาว่า น่าจะลงนามแล้วเสร็จ และมีผลใช้ภายในปี 2015/2558 จะทำให้ภาษีส่งออก-น้ำเข่าเหลือเพียง 0.1% น่าจะทำให้อาเซียนเนื้อหอมขึ้นมากสำหรับญี่ปุ่น
.
การผลิตสินค้าในฮานอย เวียดนาม แล้วลงเรือ ส่งไปกว่างตง จีน มีแนวโน้มจะถูกกว่าการผลิตทางตอนเหนือ-ตอนกลางของจีน แล้วส่งไปเมืองท่าทางใต้ หลังเปิดเสรีการค้าจีน-อาเซียน (CAFTA)
.
ญี่ปุ่นขนเงินไปลงทุนในอาเซียนเกือบ 1/2 และอยู่ในขาขึ้น เช่น ลงทุนในฟิลิปปินส์เพิ่มกว่า 30% ในปี 2011/2554
.
.
ข้อดีของการลงทุนในอาเซียน คือ ตอนนี้ค่าแรงในจีนแพงขึ้น แถมตลาดในประเทศอินโดนีเซียก็ใหญ่มากจากประชากรกว่า 250 ล้านคน (248 ในปี 2011/2554) และ 2/3 (66.5%) อยู่ในวัยทำงาน (15-64 ปี) [ IndexMundi ]
.
จีนมีจุดแข็งที่เป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าของโลก มีตลาดขนาดใหญ่มาก, มีโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) เพื่อการขนส่ง (logistics), มีท่าเรือ-ระบบขนถ่ายสินค้า (shiping) ที่ดีเยี่ยม
.
อาเซียนมีท่าเรือน้ำลึกดีมากเฉพาะใน 3 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์, มาเลเซีย (มีท่าเรือที่ดีมาก แต่มีเรือเข้าออกน้อย ทำให้ขาดทุนเรื้อรังจากโครงการท่าเรือแกลง), และเวียดนาม
.
อินโดนีเซียกับไทยที่ฟื้นตัวหลังยุค IMF อาจจะดูมีเงินทุนสำรองค่อนข้างมาก ทว่า... โครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึก-ระบบขนถ่ายสินค้า และระบบราง (รถไฟ-รถไฟความเร็วสูง) ล้าหลัง
.
ทั้งหมดนี้บอกเราว่า ญี่ปุ่นจะยังไม่ทิ้งฐานการลงทุนในจีนไปอีกนาน
.
ถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง... การประท้วง-ทุบทำลายสินค้าญี่ปุ่นในจีนก็มีส่วน "ระบายความแค้น" ออกไปบ้าง ดีกว่าเก็บกดแล้วไประเบิดวันหลัง (เช่น ก่อสงคราม ฯลฯ)
.
.
ธรรมดาของคนในประเทศที่เคยเจ็บ (ถูกรุกราน) ย่อมมีความแค้นเป็นธรรมดา... ไม่ต้องดูไกล, คนไทยหลายคนยังไม่หายแค้นพม่า, คนขแมร์หลายคนยังไม่หายแค้นไทย
.
ชาวพม่าคงจะงงว่า ทำไมเรื่องมันนานมาแล้ว แต่คนไทยไม่ลืม, คนไทยคงจะงงว่า ทำไมเรื่องมันนานมาแล้ว แต่คนขแมร์ไม่ลืม
.
ถ้าประเทศที่เคยทำเขาเจ็บ (รุกราน) เชื่อคำโบราณ คือ "เอาใจเขามาใส่ใจเรา" แล้ว, อาจจะชนะใจอีกฝ่ายได้ในระยะยาว
.
ชาวพม่าแค้นอังกฤษกับญี่ปุ่นมานาน, อาจารย์ชาวพม่ากล่าวว่า สมัยก่อนตามบ้านนอกจะไม่นับคนอังกฤษกับญี่ปุ่นเป็นคน นับเป็นตัวแบบนับ "เคว่(น้องหมา)" เช่น อังกฤษ 2 ตัว, ญี่ปุ่น 2 ตัว ฯลฯ
.
ข่าวดีนิดหน่อย คือ ชาวพม่านับคนไทยเป็น "คน" 
.
ท่านทูตอังกฤษท่านหนึ่งได้ไอเดียดี... ไปบริจาคเลือดให้ชาวพม่า หนังสือพิมพ์ชมกันใหญ่ ทำให้ชาวพม่าได้เมตตาในชาวอังกฤษ
.
.
ฝ่ายญี่ปุ่นบริจาครถใช้แล้ว แถมยังหาอาสาสมัครไปทำงานช่วยคลังเลือดพม่ามานาน... นี่ก็ทำให้ชาวพม่าได้เมตตาในชาวอังกฤษมากขึ้นเช่นกัน
.
ประวัติศาสตร์สอนเราว่า ชาติที่เข้มแข็ง และหลีกเลี่ยงสงครามให้มาก เช่น สวิสเซอร์แลนด์ ฯลฯ... มักจะเป็นชาติที่ "ได้กำไร" จากความขัดแย้งในระยะยาว (ปล่อยให้คนอื่นทะเลาะกัน ค้าขาย-ลงทุนลูกเดียว)
.
รัฐบาลไทยยุคนี้ทำถูกแล้วที่ดีกับพม่า... ดีกับขแมร์ (กัมพูชา - ชาวกัมพูชาหลายท่านบอก ไม่ชอบให้คนไทยเรียกว่า "เขมร", ชอบให้เรียกว่า "ขแมร์")
.
เรื่องคลังเลือดในพม่านี่... พี่ไทยก็ไม่เบาเหมือนกัน กาชาดไทยไปซ่อมตึกโรงพยาบาลย่างกุ้ง ใกล้ตลาดนัดโบจก อ่องซาน แถมยังให้อุปกรณ์บริจาคเลือดแบบไม่อั้น
.
ตอนนาร์-กิส, ไทยช่วยพม่ามาก นี่ก็ได้ใจชาวพม่าเช่นกัน
พม่า-ไทย-กัมพูชายังมีปัญหาขาดพยาบาล, ถ้าไทยตั้งมหาวิทยาลัยสุขภาพนานาชาติที่ชายแดน... รับนักศึกษาต่างชาติกับไทยฝ่ายละครึ่ง (ใกล้พม่า-รับพม่า, ใกล้กัมพูชา-รับขแมร์), สอนพยาบาลผ่านภาษาอังกฤษ-ไทย, คิดค่าเล่าเรียนไม่แพงนัก (ไม่จำเป็นต้องฟรี เพราะมีคนอยากมาเรียนเพียบ), ส่งเสริมให้นักศึกษาทุกคนเก่ง 3 ภาษา (พม่า-อังกฤษ-ไทย, ขแมร์-อังกฤษ-ไทย) น่าจะทำให้ไทยเป็นฮับด้านการศึกษาสุขภาพของอาเซียนได้ในอนาคต
.
.
และถ้าโครงการท่าเรือทวายจะลงทุนให้โอกาสด้านการศึกษา... ตั้งโรงเรียน-โรงเรียนอาชีวะ-มหาวิทยาลัยสุขภาพนานาชาติที่นั่นให้ได้ จะทำให้พม่า-ไทยเป็นฮับด้านการศึกษาร่วมกัน
.
การส่งเสริมการศึกษาในพม่าจะทำให้ท่าเรือทวายมีแรงงานฝีมือเก่งๆ ในระะยาว โดยเฉพาะพม่าไม่มีวิทยาลัยอาชีวะ ทำให้ขาดแรงงานฝีมืออย่างหนัก
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 7 ตุลาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.



Create Date : 07 ตุลาคม 2555
Last Update : 7 ตุลาคม 2555 9:44:20 น. 0 comments
Counter : 3282 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com