บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
12 สิงหาคม 2555
 

อังกฤษขาดหมอ,แต่หมอใหม่กำลัง(จะ)ตกงาน

.
สำนักข่าว Telegraph ตีพิมพ์เรื่อง 'Up to 1,000 new doctors could face unemployment' = "หมอใหม่อาจตกงานถึง 1,000 คน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่มีประชากรค่อนข้างน้อย ประเทศที่มีขนาดประชากรสูง (หน่วยล้านคน) ได้แก่ เยอรมนี (81.5); ฝรั่งเศส (65.3); อังกฤษ (62.7); อิตาลี (61) [ indexmundi ]
.
อังกฤษมีระบบประกันสุขภาพคล้ายๆ ไทย ทำให้คนไข้ไปใช้บริการค่อนข้างมากคล้ายๆ กัน
.
ก่อนหน้านี้อังกฤษนำเข้าหมอ ส่วนใหญ่เป็นอินเดีย ส่วนน้อยมาจากอาฟริกา ประเทศในยุโรปตะวันออก แถมยังนำเข้าหมอเวร เพื่อทำงานล่วงเวลา (OT) เพิ่มขึ้น หลังสหภาพยุโรป (EU) ออกกฎระเบียบกำจัดเวลาทำงานหมอ เพื่อลดข้อผิดพลาดจากการทำงานหนักมากเกิน หรือนอนไม่พอ
.
อังกฤษ (UK) ตั้งเป้าจะผลิตแพทย์ให้พอ (self sufficient in doctors) และเริ่มผลิตแพทย์เพิ่มตั้งแต่ปี 2002/2545
.
ทว่าตำแหน่งฝึกงาน (training posts) ซึ่งปกติจะเป็นโรงพยาบาลต่างๆ ที่มีแพทย์รุ่นพี่ที่เป็นหมอประจำมีไม่พอ (มีกฎกติกาว่า รพ.ขนาดใดจะรับฝึกงานได้กี่คน)
สมาคมแพทย์อังกฤษ (BMA) รายงานว่า หมออังกฤษใช้เงินทุนจากภาษีอาการ 260,000 ปอนด์/คน = 12.9 ล้านบาท/คน และใช้ทุนส่วนตัวในรูปเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา 70,000 ปอนด์/คน = 3.47 ล้านบาท/คน
.
ปกติแพทย์จะต้องผ่านการฝึกหนักหลังเรียนจบ 1 ปี (foundation year)
.
คาดว่า ปีหน้าน่าจะมีหมออังกฤษที่เรียนจบ โดยไม่มีตำแหน่งฝึกงานประมาณ 1,000 ราย ซึ่งถ้าไม่ผ่านการฝึก... จะทำงานเป็นหมอไม่ได้
.
หมอที่ไม่ผ่านการฝึกงานจะต้องขอฝึกใหม่ในปีต่อไป ทำให้เกิดกลุ่มอาการ "ดินพอกหางหมู" คือ มีหมอที่ไม่ได้ฝึกงานเพิ่มเรื่อยๆ ในแต่ละปี ทำให้หมอส่วนหนึ่งทนรอฝึกไม่ไหว และไปทำงานอื่น หรือไม่ก็ตกงาน
.
ตอนนี้อังกฤษมีตำแหน่งฝึกงาน (foundation places / internship - อินเทิร์น) มากกว่า 7,600 ตำแนห่ง/ปี แต่ก็ยังไม่พอสำหรับปีหน้า
.
หมออังกฤษมีรายได้ตอนฝึกงานเฉลี่ย 22,500 ปอนด์/ปี = 1.11 ล้านบาท/ปี (ตอนผู้เขียนทำงานปีแรกๆ มีเงินเดือน 3,955 บาท/เดือน = 47,460 บาท/ปี)
.
ระบบการเรียนแพทย์แบบสหรัฐฯ ใช้วิธีรับคนที่เรียนจบสายวิทยาศาสตร์ 4 ปี + เรียนแพทย์ 4 ปี + อินเทิร์น 1 ปี = 9 ปี, หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะเรียนต่อเฉพาะทาง หรือเฉพาะทางสาขาย่อย 4-8 ปี
.
ระบบการเรียนแพทย์แบบยุโรป ใช้วิธีเรียนรวดเดียว (เน้นหนักวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ) 6 ปี + อินเทิร์น 1 ปี = 7 ปี จบเร็วกว่าอเมริกา 2 ปี, เดิมไทยก็ใช้ระบบนี้
.
สหภาพเช็ค และยุโรปอีกหลายประเทศใช้วิธีเรียนแบบเข้มข้น-เร่งรัด (เพิ่มหน่วยกิต/เทอม, ลดวันปิดเทอม ทำให้ช่วงเรียนจริงๆ ลดจาก 6 เป็น 5 ปี; และฝึกหนักปีที่ 6) ทำให้มีชั่วโมงฝึกงานครบก่อนจบ ทำให้แพทย์จบใหม่จากยุโรปตะวันออกมีสิทธิ์เข้าไปทำงานในอังกฤษ (ตามข้อตกลงเปิดเสรีวิชาชีพ EU)
.
ปัจจุบันไทยใช้ระบบเข้มข้น-เร่งรัดเช่นกัน และมีการฝึกหลังจบ (อินเทิร์น) 1 ปีแรกด้วย เพื่อให้หมอไทยเรียนต่อประเทศที่ไม่ยอมรับหลักสูตรเข้มข้น-เร่งรัดได้
.
อาเซียนกำลังจะเปิดเสรีการค้า-วิชาชีพ เช่น วิศวกร สถาปนิก พยาบาล ทันตแพทย์ แพทย์ ฯลฯ ทำให้การแข่งขันในหลายวิชาชีพเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่ลูกดก และพูดอังกฤษเก่ง เช่น ฟิลิปปินส์ ฯลฯ มีโอกาสไปทำงานนอกประเทศมากขึ้น
.
วิศวกรท่านหนึ่งเล่าว่า รุ่นพี่กลับไปที่มหาวิทยาลัย สอนรุ่นน้องว่า เงินเดือนวิศวกรจบใหม่ตอนนี้... คนที่ภาษาอังกฤษดีกับไม่ดี ต่างกันถึง 3,000 บาท (ต่อไปอาจจะมากกว่านี้)
.
ผู้เขียนมีโอกาสไปดูงานโรงพยาบาลสมิติเวช ซึ่งอาจารย์ท่านเล่าว่า มีการเรียนการสอนอังกฤษให้พยาบาลฟรี ถ้าสอบเทียบได้ (คงจะเป็น TOEIC/TOEFL) จะมีค่าภาษาให้อีกต่างหาก (หลายพันบาท/เดือน)
.
โรงพยาบาลเอกชนไทยมีตำแหน่งล่ามหลายภาษา และมีส่วนช่วยชาติตอนแผ่นดินไหว-ซึนามิภูเก็ตมาแล้ว นี่ก็บอกเราว่า ภาษาที่ 2 (อังกฤษ) และภาษาที่ 3 (เช่น จีน ฯลฯ) กำลังบูมแบบสุดๆ ทีเดียว
.
เมื่อก่อนมีข่าวหมอพม่าที่ลี้ภัยออกนอกประเทศหลายท่านต้องหางานอื่นทำไปพลางๆ เช่น เสิร์ฟกาแฟที่เชียงใหม่ รับจ้างเล่นหุ่นกระบอกที่กรุงเทพฯ
.
พม่าอยู่ตรงกลางระหว่างอินเดีย-จีน-อาเซียน และจีนอาจต้องตีฝ่าพม่าลงมา เพื่อหาทางออกทะเล ถ้ามีสงคราม และถูกปิดล้อมทะเลจีนใต้ (เหตุการณ์นี้น่าจะยังไม่เกินใน 10 ปีนี้)
.
ถ้าพม่าปิดประเทศต่อ จะอ่อนแอมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่ง จะเสี่ยงถูกมหาอำนาจยึดแผ่นดิน สิ้นชาติ
.
ทุกวันนี้พม่าก้าวไปถูกทาง "อย่างฉลาด" คือ เปิดประเทศให้เป็นศูนย์กลาง เชื่อมอินเดีย-จีน-อาเซียน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจพม่าโตเร็ว(มาก) และปลอดภัยขึ้นในระยะยาว
.
กล่าวกันว่า เวลานี้เป็นเวลาดีที่หมอพม่าจะอพยพกลับเข้าประเทศ และเป็นโอกาสของไทยที่จะร่วมมือกับพม่า
.
เช่น ตั้งวิทยาลัยพยาบาลที่ชายแดน ให้เด็กพม่า-เด็กไทยมีโอกาสเรียนร่วมกัน สอนเป็นภาษาอังกฤษ และส่งเสริมให้เด็กรุ่นใหม่พูดได้ทั้งพม่า-อังกฤษ-ไทย เพื่อส่งเสริมมิตรภาพ-การศึกษาร่วมกัน
.
ชาวพม่าและมอญในพม่า (เมียนมาร์) มีชื่อเสียงในเรื่องการรักการเล่าเรียน... พระชาวพม่าเล่าว่า แม้แต่การสอบบาลี ยังให้สอบได้ 2 ภาษา คือ บาลีพม่ากับบาลีมอญ
.
พม่ากับไทยร่วมมือกันตั้งเขตอุตสาหกรรมทวาย โดยทีมบริษัทอิตัลไทยเป็นแม่แรงใหญ่ ซึ่งถ้าทางอิตัลไทยสร้างโรงเรียน วิทยาลัยอาชีวะ วิทยาลัยพยาบาลที่มีคุณภาพสูง จะ "ได้ใจ" ทั้งชาวพม่า-มอญ-ทวาย (เมียนมาร์) แถมยังเป็นการเตรียมแรงงานฝีมือไว้ทำงานในระยะยาวอีกด้วย
.
อนาคตของไทยคงจะต้องทำการค้า-ลงทุนในพม่ามากกว่าชาติอื่นๆ ในอาเซียน (ไม่รวมสิงคโปร์ที่เข้ามาซื้อ บริการกิจการหลายแห่งในไทย), การรักษามิตรภาพกับพม่าเป็นทางเลือก และเป็นทางรอดของไทยในระยะยาว
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 20 พฤษภาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.



Create Date : 12 สิงหาคม 2555
Last Update : 12 สิงหาคม 2555 21:48:28 น. 0 comments
Counter : 1533 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com