บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
12 สิงหาคม 2555
 

นักกีฬาผู้หญิง-ผู้ชาย, ใครหัวแข็ง(ทน)กว่า

.
สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Sex, age may affect athletes' concussion recovery' = "เพศ, อายุ (อาจ) มีผลต่อการฟื้นตัวยามชอกช้ำ (ถูกกระแทก)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
..
ผศ.แทรเซ โควัสซิน และคณะ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สเตท ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาที่ได้รับการบาดเจ็บที่หัว (concussion), ติดตามไปนานกว่า 2 ปี
.
ผลการศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน Am J Sports Med) พบว่า นักกีฬาใช้เวลาในการฟื้นตัวจากสมองชอกช้ำนานไม่เท่ากัน โดยเฉพาะความจำ ได้แก่
.
(1). ผู้หญิง > ฟื้นตัวช้ากว่าผู้ชาย (ใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า หายช้ากว่า)
.
(2). วัยรุ่น (มัธยมฯ ปลาย) > ฟื้นตัวช้ากว่าผู้ใหญ่วัยต้น (มหาวิทยาลัย)
.
นักกีฬาผู้หญิงที่หัวชอกช้ำมักจะมีอาการมากกว่านักกีฬาผู้ชาย (14 เทียบกับ 10 อาการตามลำดับ) เช่น ปวดหัว เมาหัว(มึนงง โคลงเคลง), คลื่นไส้ มีเสียงดังในหู เหนื่อย-ล้า-เพลีย สับสน ฯลฯ
.
การศึกษาก่อนหน้านี้ ทำในปี 2008/2551 พบว่า นักกีฬาที่เล่นกีฬากลางแจ้งมีโอกาสหกล้ม หัวกระแทกพื้น ทำให้สมองชอกช้ำ (concussion) = 5/10,000 = นักกีฬา 10,000 ราย พบหัวชอกช้ำ 5 ราย
สถิติใหม่พบนักเรียน-นักศึกษาที่เล่นกีฬาบาดเจ็บที่หัวสูงกว่าสถิติเก่า ซึ่งทำก่อนหน้านั้น 10 ปี คือ 1:10,000 = นักกีฬา 10,000 ราย พบหัวชอกช้ำ 1 ราย
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ
.
(1). คนอเมริกันรุ่นใหม่นิยมเล่นกีฬาที่มีโอกาสกระทบกระแทก (contact sports) มากขึ้น เช่น อเมริกันฟุตบอล บาสเกตบอล ฯลฯ (กีฬาที่มีโอกาสกระทบกระแทกน้อย เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ฯลฯ)
.
(2). การฝึก (training) เพื่อเข้าแข่งกันกีฬายุคนี้จริงจังกว่า หนักกว่ายุคก่อนๆ
.
(3). หมอมีวิธี หรือเครื่องช่วยในการวินิจฉัยสมองชอกช้ำ เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ฯลฯ ดีกว่ายุคก่อนๆ
.
สถาบันแพทย์เด็กอเมริกา (AAP) แนะนำให้นักกีฬาอายุน้อยที่มีสมองชอกช้ำได้รับการตรวจเช็คกับหมอให้แน่ใจว่า สมองที่ชอกช้ำทุเลาแล้วจริงๆ ก่อนกลับไปเล่นใหม่ ไม่ใช่พอนอน-ตื่นขึ้นมาแล้วหายปวดหัวก็ลุยต่อเลย
.
ผศ.โควัสซินเตือนให้ระวัง "กลุ่มอาการหัวชอกช้ำรอบสอง (second-impact syndrome)" หรือการที่หัวชอกช้ำรอบใหม่ก่อนรอบเก่าหายดี ซึ่งจะเพิ่มเสี่ยงต่อการตกเลือดในกะโหลกศีรษะ สมองบวม หรือตายได้ เช่น ที่พบบ่อยในนักกีฬามวยสากล ฯลฯ
.
คนส่วนใหญ่เชื่อว่า ถ้าไม่ซึม-ไม่สลบ (loss of consciousness), สมองจะยังไม่ถูกกระแทก หรือยังไม่กระทบกระเทือน
.
ทว่า... อาการที่พบบ่อยเมื่อสมองชอกช้ำอาจจะไม่ตรงไปตรงมา เช่น คุณสาวมาก(ไม่ใช่สาวน้อย)อาจจะโดนศอกกระแทกตอนเล่นบาสเกตบอล ฟุตบอล หรือฮอคกี้ตอนกลางวัน พอถึงตอนกลางคืนอาจไม่มีความอยากอาหารอะไรเลยก็เป็นได้
.
สถาบันแพทย์เด็กอเมริกา (AAP)แนะนำว่า สมองที่ชอกช้ำจำเป็นต้องได้รับการพักผ่อน ทั้งทางกายและทางใจ เช่น นอนให้พอ ไม่โหมทำงานหนัก หรือเล่นหนักไปพร้อมๆ กัน (เช่น ไม่เล่นเกมส์ หรือใช้คอมฯ มากในช่วงพักฟื้น ฯลฯ
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • Thank Reuters > SOURCE: bit.ly/K7xNOe American Journal of Sports Medicine, online April 26, 2012.
  • 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 18 พฤษภาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.



Create Date : 12 สิงหาคม 2555
Last Update : 12 สิงหาคม 2555 21:33:04 น. 0 comments
Counter : 1180 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com