บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
5 กันยายน 2554
 

พบคนอายุน้อยเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตเพิ่ม

สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง US strokes rates 'raising in young' = "พบคนอเมริกันอายุน้อยเป็นสโตรคมากขึ้น", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐฯ (CDC) รายงาน (ตีพิมพ์ใน Annals of Neurology) ว่า พบคนอายุน้อยเป็นสโตรค (strokes) หรือกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต เพิ่มขึ้นในช่วงปี 1995-2008/2538-2551

.

คนอเมริกันอายุน้อยในช่วง 5-44 ปี เป็นสโตรคหรือกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองเพิ่ม 1/3 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

.

ถ้าแบ่งเป็นช่วงอายุ 3 ช่วงจะพบเพิ่มขึ้นดังนี้


  • 5-14 ปี > 31%

  • 15-34 ปี > 30%

  • 35-44 ปี > 37%


กลุ่มเสี่ยงสูงได้แก่ คนรุ่นใหม่เป็นโรคความดันเลือดสูง เบาหวาน อ้วน-น้ำหนักเกิน หรือสูบบุหรี่

.

สโตรคหรือโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตันแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ หลอดเลือดตีบ และแตก, ชนิดที่พบเพิ่ม คือ หลอดเลือดตีบ

.

กลุ่มโรคสโตรคพบเพิ่มในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

.

เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดในสโตรค หรือกลุ่มหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตันได้แก่ ความดันเลือดสูง

.คนที่เป็นความดันเลือดสูงส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ส่วนน้อยมีอาการปวดหัวบริเวณท้ายทอย วิธีที่ดีที่สุด คือ ตรวจความดันเลือดเป็นประจำ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี, ถ้าสูงจะได้รีบรักษา โดยการกินยา และ/หรือ ควบคุมอาหาร


.

สถาบันคลีฟแลนด์คลินิกแนะนำวิธีป้องกันความดันเลือดสูงดังต่อไปนี้ [ Cleveland ]

.

(1). ควบคุมอาหาร > กินอาหารต้านความดันเลือดสูง (DASH) ได้แก่ ผัก-ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้)-ถั่ว (ถั่วที่ไม่ผ่านการทอด)-เต้าหู้-โปรตีนเกษตร (ที่ไม่ผ่านการทอด)-ปลา (ปลาที่ไม่ผ่านการทอด)-กินธัญพืชไม่ขัดสี (ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท-เติมรำ) อย่างน้อย 1/2 ของข้าว-แป้งทั้งหมด

.

(2). ระวังน้ำหนักเกิน-อ้วน > ควบคุมอาหาร + ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ

.

(3). ลดเกลือ-ลดเค็ม > ฝึกไม่เติมเกลือ-น้ำปลา-ซอส-น้ำจิ้มในอาหาร, ลดเนื้อสำเร็จรูป-ปลาเค็ม-เนื้อเค็ม-กุ้งแห้ง (เป็นอาหารเกลือสูง), กินอาหารทำเองอย่างน้อย 1 มื้อ/วัน (อาหารนอกบ้านใส่เกลือมากกว่า)

.

(4). แอคทีฟ (active) > ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ อย่างน้อยควรเดินสะสมเวลาให้ได้ 30-40 นาที/วัน, ขึ้นลงบันไดตามโอกาส 3-4 นาที/วัน และหาทางออกแรง-ออกกำลังรูปแบบอื่นเสริม

.

ไม่นั่งนานเกิน 1-2 ชั่วโมง, ให้ลุกขึ้นยืน-เดินไปมาสลับ

.

(5). ไม่ดื่มหนัก > คนเกือบทั้งหมดดื่มแล้วเบรคไม่ได้... ทางที่ดี คือ ไม่ดื่มเลย

.

(6). ตรวจเช็คความดันเลือดอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี, ครั้งแรกให้วัด 2 แขน (ถ้าต่างกันมาก อาจเสี่ยงหลอดเลือดใหญ่อุดตัน), ต่อไปให้วัดแขนข้างที่ถนัด เนื่องจากแขนข้างที่ถนัดมักโตกว่าแขนข้างที่ไม่ถนัด

.

ก่อนวัด, ควรพักสัก 10-15 นาที เนื่องจากช่วงที่เหนื่อย-ก่อนพักมักจะมีความดันสูงขึ้น และถ้าวัดที่บ้านให้พวกตัวเลข 5 เพิ่มเข้าไป (ปกติไม่ควรเกิน 140/90)

.

คนที่ออกแรง-ออกกำลังหนักเป็นประจำ เช่น นักกีฬา ฯลฯ มักจะมีความดันเลือด-ชีพจรช้าลง ตรงนี้ดีกว่ามาตรฐาน ไม่ใช่เป็นโรคความดันต่ำ
.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.


> [ Twitter ]



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 4 กันยายน 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.

  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.






Free TextEditor


Create Date : 05 กันยายน 2554
Last Update : 5 กันยายน 2554 7:13:40 น. 0 comments
Counter : 788 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com