บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
26 พฤษภาคม 2555
 

เรียนหนักงีบนาน ทำร้ายสายตาเรา

.
สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง 'Massive rise in Asian eye damage' = "พบโรคตาเพิ่มขึ้นมากในเอเชีย", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่ตีพิมพ์ใน Lancet พบเด็กๆ ในเมืองใหญ่ทั่วเอเชียมีปัญหาสายตาสั้น(myopia) เพิ่มถึง 90% ซึ่งน่าจะเกิดจากการเรียนหนัก ทำให้ได้รับแสงแดดอ่อนกลางแจ้งน้อยลง
.
เด็กเอเชียในเมืองใหญ่เป็นโรคสายตาสั้นมาก ซึ่งจะเพิ่มเสี่ยงโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น วุ้นน้ำตาเสื่อมเร็ว ต้อหิน จอประสาทตาลอก-ฉีกขาด ฯลฯ ในระยะยาว
.
ศ.เอียน มอร์แกน และคณะจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าวว่า สมัยก่อนคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือกลุ่มอาเซียนมีสายตาสั้นเฉลี่ย 20-30% คล้ายกับอังกฤษ (UK)
.
ทว่า... คนรุ่นใหม่ 2 รุ่น (generations = คนที่เกิดในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน รุ่น เช่น รุ่นปู่ยาตายาย-รุ่นพ่อแม่-รุ่นลูก ฯลฯ) มีสายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบสายตาสั้นเพิ่มเป็นกว่า 80% และ 90% ในผู้ใหญ่วัยต้น
.
ผู้เชี่ยวชาญโรคตากล่าวว่า ถ้ามองของไกลไม่ชัดในระยะ 2 เมตร ให้ถือว่า สายตาสั้น
กลไกที่ทำให้สายตาสั้นส่วนใหญ่เกิดจากลูกตามีความยาวในแนวหน้า-หลังมากขึ้น ทำให้โฟกัส หรือจุดชัดของภาพตกก่อนถึงจอรับภาพ (retina)
.
ศ.มอร์แกนกล่าวว่า เด็กเอเชียจำนวนมากต้องใช้เวลาเรียนนาน ทำการบ้านนาน... นี่ยังไม่นับเวลาดู TV, เล่นเกมส์, ใช้คอมฯ ที่นานขึ้นกว่าคนรุ่นก่อนๆ มาก
.
วิธีป้องกันสายตาสั้นที่ดี คือ ให้เด็กๆ มีโอกาสรับแสงแดดอ่อน เพื่อให้มีโอกาสมองไปกว้างๆ ไกลๆ 2-3 ชั่วโมง/วัน
.
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แสงแดดอ่อนมีส่วนช่วยเพิ่มระดับสารเคมีในสมอง ซึ่งใช้ในการสื่อสาร หรือสารสื่อประสาทที่ชื่อ "โดพามีน (dopamine)" ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ลูกตายาวเพิ่มขึ้นในแนวหน้า-หลัง
.
ความสว่างของแสงแดดอ่อนที่ดีอยู่ในช่วง 10-20,000 ลักส์ (lux) = สว่างพอๆ กับวันที่ฟ้าหลัว หรือมีเมฆปกคลุมทั่วไป (cloudy day) ในอังกฤษ (UK)
.
ศ.มอร์แกนกล่าวว่า เด็กๆ ที่ชอบงีบตอนพักเที่ยง (lunchtime nap) มีส่วนทำให้พลาดโอกาสในการได้รับแสงแดดอ่อน หรือการอยู่ในที่โล่ง และมีโอกาสมองไปไกลๆ
.
เด็กเอเชียในเมืองใหญ่มีปัญหาสายตาสั้นมากในช่วง 10-20% (สูงกว่าคนส่วนใหญ่ในโลก ซึ่งพบสายตาสั้นปานกลาง 10-20%
.
สิงคโปร์ ซึ่งมีประชากรหลายเชื้อชาติ คือ จีน มาเลย์ และอินเดียอยู่ปนกัน มีสายตาสั้นเพิ่มขึ้นมาก
.
เดิมเราคิดว่า สายตาสั้นเป็นผลจากพันธุกรรม ทว่า... ปกติพันธุกรรมมักจะไม่เปลี่ยนแปลงเร็วใน 2 ชั่วอายุคน
.
การศึกษาอีกรายงานหนึ่ง ทำโดย อ.แคตริน ซอนเดอส์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยอัลสเทอร์ อังกฤษ (UK), ทำการเปรียบเทียบเด็กๆ ในออสเตรเลียและไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งมีพันธุกรรมคล้ายๆ กัน
.
ผลการศึกษาพบว่า เด็กๆ ในไอร์แลนด์เหนือมีปัญหาสายตาสั้นมากกว่า ซึ่งอาจเป็นผลจากเด็กๆ ได้รับแสงแดดน้อยกว่าเด็กออสเตรเลีย
.
การออกแบบอาคารหรือที่อยู่อาศัย ให้คนมีโอกาสพักสายตา เดินไปเดินมา มองไปไกลๆ อย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมง เช่น ให้มีจุดชมวิวไว้บางส่วน ฯลฯ น่าจะดี
.
การฝึกออกแรง-ออกกำลังกลางแจ้ง เช่น เดินเร็วหรือขี่จักรยาน สะสมเวลาให้ได้ 40 นาที/วัน (ไม่จำเป็นต้องทำรวดเดียว แบ่งเป็นช่วงๆ เช่น 4 ช่วงๆ ละ 10 นาที ก็ได้) ฯลฯ มีส่วนช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้มาก
.
ยิ่งถ้าออกกำลังแบบต้านแรงเสริม เช่น ขึ้นลงเนิน หรือขึ้นลงบันได 4 นาที/วัน ฯลฯ มีส่วนช่วยป้องกันเบาหวาน ซึ่งทำให้ตาเสื่อม หรือตาบอดได้ในระยะยาว
 
.
ถ้าชอบงีบตอนเที่ยง... ก่อนงีบ - ให้มองที่โล่ง และมองไปไกลๆ, หลังงีบ - ให้มองที่โล่ง และมองไปไกลๆ อีกรอบ
.
ถ้าชอบดู TV, เล่นเกมส์ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ... ควรหาทางพักสายตา มองไปไกลๆ อย่างน้อย 1 ครั้งๆ ทุกๆ 30-60 นาที เพื่อถนอมสายตาไว้ใช้ดู "ของดี" (เช่น อ่านหนังสือสวดมนต์ ฯลฯ
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 8 พฤษภาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.



Create Date : 26 พฤษภาคม 2555
Last Update : 26 พฤษภาคม 2555 18:19:52 น. 0 comments
Counter : 5574 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com