บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
17 กรกฏาคม 2554
 

ชา-กาแฟ กับวิธีป้องกันติดเชื้อดื้อยา


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง Do tea, coffee drinkers have lower "superbug" risk? = "(คนที่ดื่ม) ชา กาแฟ มีเชื้อโรคร้ายลดลงไหม", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ 

.

การศึกษาใหม่ทำในกลุ่มตัวอย่างคนอเมริกันมากกว่า 5,500 คน พบว่า คนที่ดื่มชา-กาแฟร้อน มีจำนวนเชื้อดื้อยาชนิด MRSA ในช่องจมูก (nostrils) น้อยกว่าคนที่ไม่ดื่มครึ่งหนึ่ง

.

MRSA (ออกเสียงแบบอเมริกัน = 'mersa' = "เมอซา") เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ดื้อยาต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิด (methicillin-resistant Staphylococcus aureus)

.

เชื้อนี้ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง ฝีหนอง ปอดบวม หรือติดเชื้อในกระแสเลือดได้

.

ปัญหาใหญ่ตอนนี้ คือ คนส่วนน้อย ประมาณ 1% ของประชากรทั่วไป (100 คนพบ 1 คน) จะเป็นพาหะนำเชื้อนี้โดยมีเชื้ออาศัยอยู่ตามผิวหนัง หรือด้านในจมูก และไม่มีอาการ

.

อ.ดร.อีริค เอ็ม. แมตีซัน จากมหาวิทยาลัยเซาต์ แคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า ไอเดียที่นำไปสู่การศึกษานี้ คือ มีผู้สังเกตว่า สารสกัดจากใบชามีฤทธิ์ต้านเชื้อ MRSA ได้ เมื่อทดลองทาบนผิวหนัง หรือใส่ในจานเพาะเชื้อ

.

เมื่อทดลองกับกาแฟก็ได้ผลคล้ายๆ กัน แต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่า เป็นผลจากชา-กาแฟโดยตรง หรือจากไลฟ์สไตล์ (lifestyle - แบบแผนการใช้ชีวิต) ของคนที่ดื่มชา-กาแฟ

.

เชื้อ MRSA เป็นสาเหตุการตายของคนอเมริกัน 95,000 คนในปี 2005 /2548, ในจำนวนนี้ตายไปเกือบ 19,000 คน (โอกาสตาย = 1/5 หรือ 5 คน ตาย 1 คน)

.

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐฯ (CDC) รายงานว่า สถิติการติดเชื้อ MRSA ในโรงพยาบาลลดลง แต่กลับพบติดเชื้อนอกโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1990s (1990-1999 = 2533-2542)

.

วิธีการป้องกันการแพร่เชื้อ MRSA ได้แก่ [ CDC ]; [ mayoclinic ]; [ NHS ]

.

(1). ล้างมือด้วยสบู่ หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ > ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ-สัมผัสใบหน้า-เข้าบ้าน, หลังใช้ห้องน้ำ-ใช้ของร่วมกับคนอื่น (เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ)-สัมผัสสัตว์ (น้องหมาน้องแมวแพร่เชื้อ MRSA ได้)

.

(2). ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ มีดโกน เสื้อผ้า เครื่องแบบ ฯลฯ

.

(3). รีบรักษาแผลให้หาย และปิดแผลให้ถูกวิธี เช่น ปิดพลาสเตอร์ยา ฯลฯ

.

(4). อาบน้ำด้วยสบู่หลังออกกำลังกาย (คำเตือนนี้ใช้กับฝรั่ง เนื่องจากชาวตะวันตกไม่ค่อยชอบอาบน้ำ)

.

(5). ล้างมือด้วยสบู่ หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ก่อน-หลังเยี่ยมคนไข้ในโรงพยาบาล, เข้า-ออกสถานเลี้ยงเด็ก-คนชรา-พักฟื้นคนป่วย

.

(6). อย่านั่งบนเตียงคนไข้ (เมื่อไปโรงพยาบาล) เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อผ่านเสื้อผ้า

.

(7). ทำห้องนอนให้โล่ง (เพื่อให้ทำความสะอาดได้ง่าย), เปลี่ยนปลอกหมอนเป็นประจำ ควรใช้หมอนชนิดซักได้ (ถ้าเป็นฝีหรือสิวบ่อย อาจใช้ผ้าพับแทนหมอน เพื่อให้ส่งซักได้ง่าย-บ่อยขึ้น) และส่งซักทุกเดือน

.

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอผลการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป ทว่า... คงจะเป็นขวัญ เป็นกำลังใจให้คอชา-กาแฟไม่มากก็น้อยทีเดียว

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]




  • Thank Reuters > SOURCE: bit.ly/qA66m7 Annals of Family Medicine, July/August 2011.



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 15 กรกฎาคม 2554.




  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.





  • ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.










Free TextEditor




 

Create Date : 17 กรกฎาคม 2554
0 comments
Last Update : 17 กรกฎาคม 2554 11:35:23 น.
Counter : 1315 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com