ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
1 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 

เจอแล้วต้นตออุกกาบาตถล่มรัสเซีย!


ภาพแสดงวิถีโคจรของอุกกาบาตที่เชื่อว่าเป็นกลุ่มดาวเคราะห์น้อยอพอลโลที่มีเส้นโคจรตัดกับวงโคจรของโลก และคาดว่าอุกกาบาตลูกนี้มาจากแถบดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี(บีบีซีนิวส์)


นักดาราศาสตร์ตามรอยจนเจอต้นตออุกกาบาตที่ระเบิดเหนือรัสเซียจนมีผู้คนบาดเจ็บกว่า 1,000คน เมื่อกลางเดือน ก.พ.นี้ โดยอาศัยวิดีโอที่มือสมัครเล่นบันทึกไว้จำนวนมากพล็อตกราฟหาวิถีเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก จากนั้นจึงหาวิถีโคจรรอบดวงอาทิตย์ต่อไปได้

บีบีนิวส์รายงานข่าวทีมจากโคลัมเบียได้คำนวณหาวงโคจรของอุกกาบาตที่ระเบิดเหนือเมืองเชลยาบินสก์ (Chelyabinsk) ของรัสเซียจนเกิดคลื่นกระแทกทำให้กระจกและอาคารต่างๆ เสียหาย โดยพวกเขาได้เผยแพร่ผลการวิถีโคจรดังกล่าวลงเว็บไซต์เผยแพร่งานวิจัย Arxiv ผลจากการคำนวณพบว่าอุกกาบาตเชลยาบินสก์หรือ ChM นี้มีวงโคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์ก่อนที่จะพุ่งชนโลก

คลิปวิดีโอของลูกไฟยักษ์จำนวนมากนี้ถูกบันทึกด้วยกล้องจากโทรศัพท์มือถือกล้อง CCTV รวมทั้งกล้องที่ติดตั้งบนรถยนต์และถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ เป็นวงกว้าง นอกจากนี้กล้องบันทึกการจราจรยังเก็บภาพทั้งตำแหน่งและเวลาที่อุกกาบาตตกเข้ามาได้อย่างแม่นยำ ในการประเมินเบื้องต้นบ่งว่ามวลของอุกกาบาตน่าจะอยู่ราวๆ 10 ตัน แต่องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ประเมินในภายหลังว่าอุกกาบาตลูกนี้น่าจะหนักราว 7,000-10,000 ตัน และมีขนาดประมาณ 17เมตร

ทั้งนี้ จอร์จ ซูลัวกา (Jorge Zuluaga) และอิกนาซิโอ เฟอร์ริน (Ignacio Ferrin) จากมหาวิทยาลัยแอนทิโอเกีย (University of Antioquia) ในเมเดลลินโคลอมเบีย ได้ใช้ภาพวิดีโอและตำแหน่งที่อุกกาบาตตกในทะเลสาเลคเชบาร์กูล (Lake Chebarkul) และตรีโกณมิติอย่างง่ายเพื่อคำนวณหาความสูงความเร็วกละตำแหน่งที่หินอุกกาบาตตกสู่พื้นโลกได้

ส่วนการสร้างวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของอุกกาบาตขึ้นมาใหม่นั้น พวกเขาได้ใช้คุณสมบัติของการพุ่งเข้าสู่บรรยากาศโลกที่แตกต่างกัน 6 อย่าง ซึ่งสัมพันธ์กับตำแหน่งที่อุกกาบาตสว่างจ้าจนฉายให้เห็นเงาได้ในหลายๆ วิดีโอ จากนั้นพวกเขาก็ใส่ภาพที่ได้ลงในซอฟต์แวร์ดาราศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นโดยหอดูดาวกองทัพสหรัฐ (US Naval Observatory)

ผลการศึกษาชี้ว่าอุกกาบาตลูกนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหินอวกาศที่รู้จักกันดี นั่นคือ กลุ่มดาวเคราะห์น้อยอพอลโล (Apollo asteroids) ที่มีวงตัดกับวงโคจรของโลก

ทั้งนี้ มีดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกที่ถูกค้นพบแล้ว 9,700 ดวง และคาดว่าประมาณ 5,200 ดวงเป็นดาวเคราะห์น้อยในกลุ่มอพอลโล ซึ่งดาวเคราะห์น้อยนั้นถูกแบ่งได้เป็นหลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มอพอลโล กลุ่มเอเทน (Aten) หรือกลุ่มอามัวร์ (Amor) โดยการจำแนกนั้นขึ้นอยู่กับวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย

ทางด้าน ดร.สตีเฟน ลาวรี (Dr. Stephen Lowry) จากมหาวิทยาลัยเคนท์ (University of Kent) สหราชอาณาจักร กล่าวชื่นชมทั้งสองว่า เผยแพร่ผลงานได้รวดเร็ว ซึ่งดูเหมือนว่าอุกกาบาตลูกนี้จะเป็นสมาชิกในกลุ่มอุกกาบาตอพอลโลอย่างแน่นอน โดยลักษณะที่มีวงโคจรเป็นวงรีและลาดเอียงต่ำ ชี้ว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากแถบดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี และหากมีข้อมูลมากกว่านี้ก็จะบอกได้ว่าอุกกาบาตนี้มาจากส่วนไหนของแถบดาวเคราะห์น้อย

ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000024565




 

Create Date : 01 มีนาคม 2556
0 comments
Last Update : 1 มีนาคม 2556 0:19:11 น.
Counter : 1507 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.