ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
10 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 

พบดาวเคราะห์ ที่อาจมีชีวิตต่างดาว (54 ดวง)

พบ 54 ดาวเคราะห์ ที่อาจมีชีวิตต่างดาว


ภาพแสดงวัตถุที่อยู่ในข่ายเป็นดาวเคราะห์ที่กล้องเคปเลอร์ค้นพบ โดยแสดงเป็นจุดสีเพื่อระบุขนาดของว่าที่ดาวเคราะห์นั้นๆ สำหรับดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกแสดงด้วยจุดสีฟ้า ดาวเคราะห์ที่มีขนาดเป็นดาวเคราะห์ซูเปอร์เอิร์ธ (Super-Earth) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโลก 1.25-2.0 เท่า แทนดวยจุดสีเขียว ดาวเคราะห์ที่มีขนาดประมาณดาวเนปจูนหรทอใหญ่กว่าโลก 2-6 เท่า แทนด้วยจุดสีส้ม และดาวเคราะห์ยักษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก (นาซา)


กล้องโทรทัศน์อวกาศของนาซาพบจับภาพโลกใหม่ในเอกภพที่อาจมีสิ่งมีชีวิตต่างดาว เป็นดาวเคราะห์กว่า 50 ดวงในโซนที่สิ่งมีชีวิตน่าจะอาศัยอยู่ได้

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ (Kepler) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เพิ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศได้เพียงปีเดียว แต่เอพีรายงานว่ากล้องอวกาศตัวนี้ค้นพบวัตถุที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์แล้วถึง 1,235 ดวงนอกระบบสุริยะ

ที่น่าทึ่งคือในจำนวนนั้นมี 54 ดวงที่ดูเหมือนจะอยู่ในบริเวณที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ซึ่ง วิลเลียม บอรุคกี (William Borucki) นักวิทยาศาสตร์หัวหน้าโครงการเคปเลอร์อธิบายว่า บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่ไม่ร้อนเกินไปหรือหนาวเย็นเกินไป

จนถึงทุกวันนี้ มีดาวเคราะห์เพียง 2 ดวงที่คาดว่าน่าจะอยู่ในบริเวณที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้หรือที่เรียกว่า “โซนโกลดิลอคส์” (Goldilocks zone) แต่ดาวเคราะห์ทั้งสองยังอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกคัดค้านและไม่ยอมรับสูง

บอรุคกีให้ความเห็นว่า ดาวเคราะห์ที่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ถึง 54 ดวงนั้น เป็นจำนวนมากมหาศาลและเป็นจำนวนที่เหลือเชื่อ และบอกด้วยว่าเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งที่ได้เห็นจำนวนที่เป็นไปได้เยอะขนาดนี้ เพราะจนถึงทุกวันนี้เรายังไม่พบดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย

อย่างไรก็ดี วัตถุอวกาศกว่า 1,200 วัตถุที่พบโดยกล้องเคปเลอร์นี้ ยังไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นดาวเคราะห์เลย แต่บอรุคกีประมาณว่า 80% ของจำนวนดังกล่าวจะได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นดาวเคราะห์จริง และอย่างน้อยนักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งก็เชื่อว่ากล้องเคปเลอร์มีความถูกต้อง 90%

หลังจากพิสูจน์ว่า ดาวเคราะห์ที่พบนั้นเป็นดาวเคราะห์แล้ว ก้าวสำคัญต่อไปคือการยืนยันว่าดาวเคราะห์เหล่านั้นมีปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต อย่างขนาดที่เหมาะสม องค์ประกอบที่เหมาะสม อุณหภูมิที่เหมาะสม และระยะห่างที่เหมาะสมกับดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลาง

หากแต่การพิสูจน์ไปถึงเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในขั้นที่สูงขึ้น อย่างสภาพชั้นบรรยากาศ กับการมีน้ำและคาร์บอนด้วยนั้น ต้องอาศัยกล้องโทรทรรศน์ที่มีคุณสมบัติที่จะค้นหาสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้ แต่กล้องลักษณะดังกล่าวนี้ยังไม่ได้สร้างขึ้นมา

อย่างไรก็ดี เพียงแค่ดาวเคราะห์อยู่ในบริเวณโซนที่สิ่งมีชีวิตอาศัยได้ก็ไม่ได้หมายความว่าดาวเคราะห์ดวงนั้นจะต้องมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวอังคารเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับกรณีนี้ และแม้พบว่าดาวเคราะห์บางดวงในจำนวนนี้มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แต่สิ่งมีชีวิตนั้นอาจไม่ใช่สิ่งมีชีวิตทรงปัญญา แต่อาจเป็นแบคทีเรีย หรือเชื้อรา หรือรูปแบบชีวิตที่เราไม่อาจจินตนาการถึง

วัตถุทั้งหมดที่กล้องเคปเลอร์พบนั้น อยู่ในกาแลกซีทางช้างเผือกของเรานี่เอง แต่วัตถุเหล่านั้นอยู่ไกลเกินกว่าที่จะเป็นทางเลือกให้เราเดินทางไปเยือน ในบางกรณีอาจต้องใช้เวลาหลายล้านปีเพื่อเดินทางไปถึงด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่นักดาราศาสตร์ระบุว่า สิ่งที่เคปเลอร์พบในส่วนที่ไกลโพ้นของกาแลกซีเรานั้นจะใช้ประยุกต์ในการสำรวจดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ๆ เราได้

“คนรุ่นเหลนของเราจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป พวกเขาต้องการจะไปที่นั่นหรือเปล่า? หรือพวกเขาอยากจะส่งหุ่นยนต์ไปแทน?” บอรุคกีกล่าว ซึ่งก่อนการค้นพบของเคปเลอร์ จำนวนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ได้รับการยืนยันแล้วมีจำนวนทั้งหมด 519 ดวง นั่นหมายความว่าเคปเลอร์เพิ่มจำนวนขึ้นไปอีกเป็น 3 เท่าตัว และในจำนวนที่พบนั้นเป็นจากการสำรวจเพียง 1 ใน 400 ของพื้นที่ท้องฟ้ายามค่ำคืน

บอรุคกีคาดว่าจริงๆ น่าจะมีจำนวนดาวเคราะห์ที่แท้จริงมากกว่าที่พบนี้อีกหลายร้อยเท่า ซึ่งนั่นเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากสำหรับนักดาราศาสตร์ เพราะยิ่งมีดาวเคราะห์มากเท่าไรยิ่งมีโอกาสมากขึ้นที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ที่ไหนสักแห่งในเอกภพนี้

ด้านเดบรา ฟิสเชอร์ (Debra Fischer) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการค้นพบครั้งนี้ของทีมกล้องเคปเลอร์ แต่ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญภายนอกให้แก่นาซา กล่าวว่าข้อมูลใหม่ช่วย “ตอกย้ำ” ความหวังว่าดาวเคราะห์ที่พบนั้นอาจจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ซึ่งความรู้สึกของเธอต่างไปก่อนหน้าที่ข้อมูลของกล้องเคปเลอร์จะเผยออกมา และเผยสิ่งที่เราไม่รู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

กล้องเคปเลอร์ยังพบข้อมูลอีกว่า มีดาวเคราะห์ขนาดเล็กมากกว่าดาวเคราะห์ขนาดยักษ์ ซึ่งสนับสนุนแนวคิดของนักดาราศาสตร์ว่า ดาวเคราะห์จะต้องเป็นของแข็ง เป็นดาวเคราะห์หินอย่างโลกหรือดาวอังคาร เพื่อให้ชีวิตอาศัยอยู่ได้ ส่วนดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่มากๆ นั้นดูไม่น่าจะเป็นดาวเคราะห์หิน และมักเป็นดาวเคราะห์ก๊าซขนาดใหญ่มากเหมือนดาวพฤหัสบดี

คาดว่าวัตถุที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์ 68 ดวงที่กล้องเคปเลอร์พบนั้นจะมีขนาดใกล้เคียงกับโลก และยังวัตถุขนาดเล็กกว่าโลกอีก โดยมีดาวเคราะห์ 288 ที่เล็กกว่าโลกมากกว่าครึ่งหนึ่ง และยังอยู่ในเขตที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ด้วย

ในจำนวนดาวเคราะห์ 54 ดวงที่มีศักยภาพพอที่จะมีสิ่งมีชีวิตได้นั้นมีเพียง 5 ดวงที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก ส่วนที่เหลือใก้ลเคียงกับดาวเคราะห์ก๊าซอย่างดาวพฤหัสบดีและดาวเนปจูน

การจะอยู่ในบริเวณที่สิ่งมีชีวิตอาศัยได้นั้น ดาวเคราะห์นั้นจำเป็นต้องอยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมจากดาวฤกษ์ของตัวเอง เพื่อให้อย่างน้อยยังคงมีน้ำอยู่บนพื้นผิวดาว ทางนาซาประมาณคร่าวๆ ว่าอุณหภูมิในบริเวณโซนที่อาศัยได้ควรอยู่ระหว่าง 17 – 93 องศาเซลเซียส ส่วนระยะห่างที่เหมาะสมนั้นแปรผันไปตามดาวฤกษ์ของระบบ ตัวอย่างเช่น ดาวขนาดเล็กและมีแรงดึงดูดอ่อน ดาวเคราะห์บริวารต้องอยู่ใกล้ๆ เพื่อจะได้อยู่ในโซนที่สิ่งมีชีวิตอาศัยได้

เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้ดาวเคราะห์มีแนวโน้มที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยได้ เกร็ก ลาฟลิน (Greg Laughlin) นักดาราศาสตร์จากทางมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานตาครูซ (University of California Santa Cruz) จึงได้คิดสูตรที่ตีมูลค่าดาวเคราะห์อันไกลโพนเหล่านี้ด้วยสกุลดอลลาร์ เช่น ดาวเคราะห์ดวงแรกที่คล้ายคลึงกับโลกอย่างมากจะมีมูลค่าเป็น 1 ล้านดอลลาร์ เป็นต้น

จนกระทั่งถึงปัจจุบันมูลค่าสูงสุดตามสูตรของลาฟลินที่กำหนดให้แก่ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอยู่ที่ 158 ดอลลาร์ แต่มีดาวเคราะห์ 1 ดวงที่กล้องเคปเลอร์ตรวจพบล่าสุดที่เขาตีราคาให้สูงถึง 5 ดอลลาร์

สำหรับกล้องเคปเลอร์นั้น ถูกส่งขึ้นไปเมื่อปี 2009 และโคจรอยู่ระหว่างโลกและดาวอังคาร และในการค้นหาดาวเคราะห์นั้นต้องให้เวลาอย่างมากในการค้นหา และจำแนกดาวเคราะห์ออกมา โดยการติดตามดาวเคราะห์เหล่านั้นซ้ำๆ เมื่อโคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์ของตัวเอง

นักวิทยาศาสตร์ประจำกล้องเคปเลอร์เองก็เข้มงวดมากในการยืนยันวัตถุที่อยู่ในข่ายน่าจะเป็นดาวเคราะห์ ในจำนวนวัตถุที่ในข่ายน่าจะเป็นดาวเคราะห์ซึ่งประกาศออกมาเมื่อปีที่แล้ว 400 ดวงนั้น มีวัตถุที่กล้องเคปเลอร์ค้นพบอยู่เพียง 9 ดวง

ในจำนวนวัตถุใหม่ที่อยู่ในข่ายน่าจะเป็นดาวเคราะห์ 800 ดวง ซึ่งรวมทั้งที่อยู่ในเขตที่สิ่งมีชีวิตอาศัยได้และนอกเขตสิ่งมีชีวิตอาศัยได้ มีเพียง 6 ดวงที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นดาวเคราะห์ แต่ทั้งหมดร้อนเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ และดาวเคราะห์ที่ได้รับการยืนยันทั้งหมดยังแปลกประหลาด เพราะโคจรใกล้ดาวฤกษ์ของตัวเองมากไปและยังโคจรเป็นวงกลม ในจำนวนนั้นมี 5 ดวงที่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ของตัวเองมากกว่าระยะห่างระหว่างดาวพุธกับดาวอาทิตย์เสียอีก และยังโคจรด้วยวงโคจรที่เป็นวงกลมอย่างไม่บิดเบี้ยวและเสถียร



ภาพแสดงกราฟวัตถุที่เคปเลอร์ค้นพบ โดยแกนแนวตั้งแสดงขนาดที่เทียบกับโลก ส่วนแกนแนวนอนแสดงคาบในการโคจรยาวนานเป็นวัน (นาซา)




ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000016842




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2554
0 comments
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2554 16:07:53 น.
Counter : 1384 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.