ความจริง-ความดี-ความงาม.........พยายาม-ส่งมอบ-ให้ปวงชน <<<<<<<<<<<<<<<<<
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
9 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 

จ่าง แซ่ตั้ง..."อภิปรัชญาศิลปของท่านเต้าฉี" : จิตรกรนักบวช










ด้วยความระลึกถึงท่านซินแส จ่าง แซ่ตั้ง


"จิตรกร กวี พ่อค้าขายเก๊กฮวย ผู้ทรนง"







ย้อนหลังไปเมื่อตอนผมเข้ามหาวิทยาลัยใหม่
ผมตื่นเต้นมากกับอิสรภาพของการเรียนรู้


จากชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ระเบียบวินัยเคร่งครัดเปรี๊ยะ
แม้ยามพักเที่ยง นักเรียนชาย-หญิงต้องแยกกันอยู่
แตะต้องตัวกันนิดเดียว อาจารย์จะบ่นว่า "น่าเกลียด"
เอาเถอะ...นั่นมันเมื่อนานเนกาเลมาแล้ว


ผมบอกกับตัวเองว่า พอกันที เรียนเอาติดบอร์ด
โลกข้างนอกยังมีอะไรให้เรียนรู้อีกมหาศาล
ถึงเวลาต้องเรียนมหาวิทยาลัยชีวิตแล้ว




และจวบจนบัดนี้



ผมว่า...ผมคิดไม่ผิด








ขอเล่าข้ามๆมา
จากความสนใจในศิลปะเป็นทุนเดิม
เคยได้ยินถึงอาจารย์ศิลป์ พีระศรี
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
น. ณ ปากน้ำ ฯลฯ ฯลฯ





จนวันหนึ่ง มีข่าวว่า จ่าง แซ่ตั้ง จัดนิทรรศการ

แสดง ภาพเขียน หนังสือ บทกวี



ที่บ้านไม้หลังย่อมของเขาที่ฝั่งธนบุรี
เดินเข้าซอยไปลึกพอดู มีสะพานไม้พาดๆข้ามน้ำครำ


และที่นั่น มีกองหนังสือ(จีน)ส่วนมาก วางสุมๆกองเบ้อเร่อเทิ่ม
รูปที่วาดด้วยฝีแปรงขนาดใหญ่ ป้ายๆเปรอะเต็มไปด้วยสีดำ-ขาว
วางบนพื้นบ้าง แขวนที่เสาบ้าง ฝาผนังบ้าง



ชอบมั้ย? รู้เรื่องมั้ย? เข้าใจมั้ย?



ตอบว่า "ไม่" ครับ






แต่หลังจากนั้นมาผมก็ติดตามงานของจ่าง แซ่ตั้ง มาตลอด
แทบจะอ่านหนังสือทุกเล่มที่เขาเขียน




และเล่มหนึ่งที่เขาเขียนคือ


"อภิปรัชญาศิลปของท่านเต้าฉี"

เป็นเล่มหนึ่งที่ผมอ่านด้วยความตื่นเต้น
ตื่นตาตื่นใจในข้อเขียนของคนสมัยปลายราชวงศ์หมิง-ต้นราชวงศ์ชิง
ยังทันสมัย คมเฉียบ ชัดแจ้ง






ครับผม........ผมจะพาท่านมารู้จักกับท่านเต้าฉี (道 济)


ซึ่งผมเคยกล่าวถึงบ้างแล้วเล็กน้อยในบล๊อก ปาต้าซานเหริน

ผู้เป็นสหายร่วมชะตากรรม ร่วมนฤมิตกรรม

ที่ผลงานของท่านยังเป็นอมตะ พิพิธภัณฑ์ทั้งหลายต่างเสาะแสวงหา

ผลงานของท่านไปสะสม แสดง เพราะทรงคุณค่าและมีเอกลักษณ์ยิ่ง






รูปที่ 1 ภาพคนปลูกต้นสน (ภาพเหมือนตนเอง) โดยเต้าฉี






เต้าฉี (道 济) มีนามปากกาว่า สือเทา (石 涛),
ต้าตี๋จื่อ (大 涤 子), ชิงเซียงเหล่าเหริน (清 湘 老 人),
ขู่กวาเหอส้าง (苦 瓜 和 尚), หยวนฉี (元 济, 原 济)



เป็นเชื้อสายเจ้าชั้นสูงแห่งราชวงศ์หมิง อายุอ่อนกว่าปาต้าซานเหรินราว 15 ปี
เกิดที่ฉวนโจว มณฑลกว่างซี ราวช่วงปี 1638-1641
ตายที่หยางโจว มณฑลเจียงซู ก่อนปี 1720

ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ท่องเที่ยวพเนจรไปตามที่ต่างๆ
พำนักในหลายๆแห่ง เช่น
หลูซาน ในมณฑลเจียงซี พักอยู่ไปๆมาๆรวม 20 ปี
ซวนเฉิง ในมณฑลอานฮุย ราว 10 ปี
หนานจิง(นานกิง) ราว 7 ปี
หยางโจว ราว 3 ปี
เป่ย์จิง(ปักกิ่ง) ราวเกือบ 3 ปี
และท้ายสุดพำนักที่หยางโจว(อีกครั้ง) 25 ปี

เหตุการณ์ที่สำคัญยิ่งในชีวิตคือ
ตอนที่เป็นสหายร่วมเดินทางกับท่าน เหมยชิง (1623-1697)
จาก ซวนเฉิงไปสู่ภูเขาหวงซาน ในมณฑลอานฮุย ในปี 1670
เต้าฉียังหนุ่มแน่นวัย 30 กว่าปี

ผลงานของท่านเต้าฉี แม้จักรพรรดิ์(แมนจู) เฉียนหลง ก็ยังชื่นชอบนับถือ


เป็นงานที่เข้าถึงจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ สูงส่ง
มีความริเริ่มเหนือธรรมดา สังเกตเห็นสิ่งใหม่ๆเสมอ
มีพลังที่สร้างสรรค์ขุนเขา ธารน้ำ




ท่านเคยกล่าวว่า (สำนวน จ่าง แปล)



"ฟ้ามีอำนาจ สามารถเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ

ขุนเขาให้เกิดชีวิตชีวา

พื้นดินคือดุลย์แห่งสายเลือดชีวิตของขุนเขา

ฉันมี "หนึ่งขีด" สามารถบรรจุรูปร่างแห่ง "ทิพย์" ของขุนเขาธรรมชาติ"





ท่านเต้าฉีได้เขียนบทความเกี่ยวกับปรัชญาศิลปะคือ



ฮว่า อวี่ ลู่ (畫 語 錄) ที่กล่าวถึง "หนึ่งขีด" (一 畫)




ในบทความนี้จะตอกย้ำถึงความริเริ่มสร้างสรรค์
ความเป็นตัวตนของตนเอง
ความเป็นอิสระ ปราศจากการ "ครอบงำ" ของครูบาอาจารย์
บันทึกว่า เขียนขึ้นในปี 1703




"หนวด คิ้วของคนโบราณ

จะมีเกิดอยู่บนใบหน้าของคนปัจจุบันได้อย่างไร

ท้องไส้ของคนโบราณจะมายัดอยู่ในท้องของตัวของตนได้อย่างไร?

ฉะนั้นตนต้องขยายความรู้สึก

ความรู้

รูปปัญญา

ของตนเพื่อหน้าตาของตน

แม้มีบังเอิญไปเหมือนลัทธิอื่นๆบ้าง

ก็อื่นๆนั่นแหละอาศัยตน

หาใช่ตนเพื่อลัทธิอื่นๆ?

นี่แหละธรรมชาติโลกสอนแก่ตน

ฉะนั้นใครเล่าจะมาเป็น 'ตน' ได้"






จ่าง แซ่ตั้ง เขียนถึงประวัติท่านว่า(สะกดตามต้นฉบับเดิม)



"เต้าฉี" หรืออีก "เซียจุงเจีย"
ที่เกิด"ก่วงไซง่อโจว" เป็นลูกหลานของ "กษัตริย์จิงพวง"

มีนิสัย รักสันโดษ อยู่อย่างง่ายง่ายสบายสบาย
มีชีวิตอยู่อย่างไม่ยอมก้มหัวให้ผู้กับผู้ไม่รู้
มองเหนือทุกสิ่ง มีภูมิสูง เก่งทั้งวรรณคดี ศิลปอักษรจีน
ศิลปกรรมภาพเขียน กวี

ชาวโลก ได้ผลงานของท่าน รักษายิ่งกว่าเพ็ชรนิลจินดา
หวงแหนไม่ยินยอมให้ผู้อื่นพบเห็นอย่างง่ายนัก

ชีวิตของท่านตอนเยาว์วัยจนเป็นหนุ่มทนง ไม่ยอมใครอย่างง่ายๆ
ผู้รู้จึงรักและเคารพ
ผู้ไม่รู้ทั้งเกลียดทั้งชังยิ่งนัก

แม้นมีผู้คนนินทาท่านอย่างไร ท่านก็ไม่รับฟัง ไม่รับรู้

ราชวงศ์ "หมิง" ล่ม ท่านก็เข้าบวชเป็นเณร มีนามว่า "หยวนฉี"
และมีฉายาอื่นๆอีก เช่น "สือโฉว" ขู่กวอเหอส้าง
อีก "เซียจุงเจี่ย" หรือ "เถรบอด"

มีผู้ถามว่า "อาจารย์นัยน์ตาทั้งสองนั้นแจ่มแจ๋วสดใสยิ่งนัก
ทำไมจึงเรียกตนว่า "บอด" ?

ท่านตอบว่า "นัยน์ตาของฉันมันประหลาดเมื่อพบ "อามิส" ก็บอด
ไม่เรียกว่า "บอด" แล้วเรียกว่าอะไร ?

ท่านชอบเที่ยวตามธรรมชาติขุนเขา ทั่วประเทศจีน
ชอบดื่มเหล้ากับเพื่อนฝูงในยามราตรี แล้วก็แต่งกลอนกวี

"ระลึกถึงก่อนพบกันที่ "หวงเปีย"

เคยร่วมวงสังสรรค์กัน แต่ปัจจุบันหัวขาวโพลนเป็นตาเฒ่า

อยู่โดดเดี่ยวไม่มีผู้อื่น อีกเย็นหนาวดั่งเหล็กจูงมือมา

ร่วมหัวเราะในดงเบ็ญจมาศแล้วชมศิลปกรรม

คงคาว่าง แสงไฟสว่างดังกลางวัน กลิ่นเหล้าทลวงทั้งเวียงวัง

เจ้าภาพนั้นคือผู้รู้ที่มีประสบการณ์มามาก

ยามเมาก็เห็นความผุดผ่องบริสุทธิ์

แขกนั้นสัมพันธ์ร่วมสังสรรค์ ทนงองอาจมีชีวิตชีวา

ด้วยพู่กันหัวทู่ ยิ้มกับท่านสุภาพบุรุษ ขึ้นร่ายรำร้องเสียงดัง

"ร้องถึงนภากว้างใหญ่ กลมๆแจ่มจันทร์นั้นเล็กเหลือ"

อีก แต่งกลอนบทกวีบนภาพศิลปกรรมของท่าน


ศิลปหาใช่ศาสตร์เล็กๆ
คนนั้นรู้แต่ว่าเหมือนหรือไม่เหมือนรูปร่างเท่านั้น
เมื่อสร้างสรรค์โลกก็เกิดสู่ผิดทาง แสงสว่างก็ดับ
เหตุสิ้นหลักสุด
หลักสิ้นเหตุเกิด
หลัก ไม่มีเผยแพร่
คนโบราณเผยแพร่เพราะจำเป็น
ฉันเขียนกระดาษนี้ จิตได้มุ่งสู่ "คงคาฤดูใบไม้ผลิ"
ดอกคลื่นเบิกบานตามฉัน
คลื่นคงคาเกิดตามฉัน
พร้อมกับผลงานนั่งบนหอนี้ใกล้คงคา
ร้องเรียกสุภาพบุรุษแห่งความงาม
เมื่อยิ้มน้ำเมฆที่ลงต่ำสร้างสรรค์สภาวะแห่ง "ทิพย์"
ช่างเป็นผลงานงดงาม ภูมิสูง ฯลฯ
"เซียจุงเจีย" ภูมิสูง บริสุทธิ์.....


(จ่าง แปลเมื่อปี พ.ศ. 2511)




ในจำนวน 18 บท ประกอบด้วย

บทที่ 1 หมวด "หนึ่งขีด"
บทที่ 2 หมวด "หลักแจ้ง"
บทที่ 3 หมวด "บันดาลเปลี่ยนแปลง"
บทที่ 4 หมวด "รับ" สูงส่ง
บทที่ 5 หมวด "พู่กันและหมึก"
บทที่ 6 หมวด "ข้อมือ"
บทที่ 7 หมวด "ชีวิตใหม่"
บทที่ 8 หมวด "ธรรมชาติ"
บทที่ 9 หมวด "ผิวพรรณ"
บทที่ 10 หมวด "พื้นพิภพ"
บทที่ 11 หมวด "ทางเดิน"
บทที่ 12 หมวด "ดงไม้"
บทที่ 13 หมวด "คลื่นทะเล"
บทที่ 14 หมวด "ฤดูกาล"
บทที่ 15 หมวด "เหนืออามิส"
บทที่ 16 หมวด "เหนือสามัญ"
บทที่ 17 หมวด "อักษรเจียน"
บทที่ 18 หมวด "หน้าที่"
บทที่สุดท้าย






เชิญชมรูปเขียนของท่านเต้าฉี หรือ สือเทา ครับ

เอามาให้ดู 50กว่าภาพ ดูกันให้เต็มอิ่มเลยครับ









รูปที่ 2 ไผ่ หิน




รูปที่ 3 เที่ยวไปที่หัวหยางซาน




รูปที่ 4 อัลบัม แปดวิวของซีหนาน -1




รูปที่ 5 อัลบัม แปดวิวของซีหนาน -2




รูปที่ 6 พระโพธิสัตว์กวนอิม




รูปที่ 7 ทิวทัศน์ฤดูศารท




รูปที่ 8 ไผ่ หิน บ๊วย




รูปที่ 9 ศึกษาภาพภูเขาจากหน้าต่าง




รูปที่ 10 ชมดอกบ๊วย




รูปที่ 11 เสียงฤดูศารท(เป็นชื่อบทกวีฟู่ 秋声赋)





รูปที่ 12 ชมศิลป์ที่สวนปัจจิม-1




รูปที่ 13 ชมศิลป์ที่สวนปัจจิม-2




รูปที่ 14 ชมศิลป์ที่สวนปัจจิม-3




รูปที่ 15 ชมศิลป์ที่สวนปัจจิม-รายละเอียด




รูปที่ 16 อัลบัม ภาพและอักษร -1




รูปที่ 17 อัลบัม ภาพและอักษร -2




รูปที่ 18 อัลบัม ภาพและอักษร -3




รูปที่ 19 อัลบัม ภาพและอักษร -4




รูปที่ 20 อัลบัม ภาพและอักษร -5




รูปที่ 21 อัลบัม ภาพและอักษร -6




รูปที่ 22 จุงขุย (ผู้ปราบภูตผีปีศาจ)




รูปที่ 23 ดอกท้อ




รูปที่ 24 กล้วย เบญจมาศ ไผ่ หิน




รูปที่ 25 ฝนปรอยที่เนินสน




รูปที่ 26 เมฆลอยสู่เจียงหนาน




รูปที่ 27 ขับลำนำยามเมา




รูปที่ 28 ไผ่ บ๊วย




รูปที่ 29 เห็ดหลิงจือ




รูปที่ 30 ต้นสน




รูปที่ 31 อัลบัม ดอกไม้พืชผัก-1 บ๊วย




รูปที่ 32 อัลบัม ดอกไม้พืชผัก-2 สุ่ยเซียน




รูปที่ 33 อัลบัม ดอกไม้พืชผัก-3 กล้วย




รูปที่ 34 อัลบัม ดอกไม้พืชผัก-4 ดอกสาลี่




รูปที่ 35 อัลบัม ดอกไม้พืชผัก-5 ดอกไฮเดรนเจีย




รูปที่ 36 อัลบัม ดอกไม้พืชผัก-6 ดอกแม็กโนเลีย




รูปที่ 37 อัลบัม ผักผลไม้-1 ถั่วลันเตา




รูปที่ 38 อัลบัม ผักผลไม้-2 มะเขือเทศ




รูปที่ 39 อัลบัม ผักผลไม้-3 ทับทิม




รูปที่ 40 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-1 ชาวประมง




รูปที่ 41 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-2 เด็กเลี้ยงควาย




รูปที่ 42 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-3 เบญจมาศ ไผ่ หิน




รูปที่ 43 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-4 กล้วยไม้ดิน




รูปที่ 44 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-5 ทิวทัศน์




รูปที่ 45 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-7 ทิวทัศน์




รูปที่ 46 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-8 ฝูงห่าน หลิว




รูปที่ 47 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-9 ทิวทัศน์




รูปที่ 48 อัลบัม ทิวทัศน์ดอกไม้ผัก-10 ทิวทัศน์




รูปที่ 49 สระบัว ต้นกก หลิว




รูปที่ 50 ทิวทัศน์ประกอบบทกวี- 1




รูปที่ 51 ทิวทัศน์ประกอบบทกวี- 2




รูปที่ 52 ดอกบัว (Mr. and Mrs. R.W. Finlayson collection, Toronto)






คำสอนของท่านเต้าฉีคงจะประทับใจ จ่าง แซ่ตั้ง มาก
โดยเฉพาะบทที่ว่าให้ "เหนืออามิส"
จ่างไม่เคยขายรูปเขียนเลยแม้แต่รูปเดียว
รูปของเขา ชีวิตและจิตวิญญาณของเขา อยู่ "เหนืออามิส"


ไม่สามารถตีคุณค่าเป็นราคาได้


ช่างน่านับถือจริงๆ


ขอใช้คำของจ่างเองว่า


จ่าง แซ่ตั้ง นั้น ภูมิสูง บริสุทธิ์






.........................................................



สำหรับดนตรีคราวนี้ ขอชวนมาฟัง "ขลุ่ย" ครับ
เป็นขลุ่ยที่เป่าขวาง เรียกว่า "ติ๊จื่อ" ชื่อเพลง มหาทะเลทราย ( 大 漠)
เดี่ยวขลุ่ยโดย หม่าตี๋ (馬 迪) เพลงออกสำเนียงทางแขกๆแถวทางสายไหม
ไพเราะมากครับ


ขอบคุณ You Tube สำหรับดนตรีอันแสนเสนาะสำเนียงเสมอมา



สวัสดีครับ









...........................................




 

Create Date : 09 มีนาคม 2553
71 comments
Last Update : 25 พฤษภาคม 2553 20:56:36 น.
Counter : 14635 Pageviews.

 

 

โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว 9 มีนาคม 2553 18:06:50 น.  

 

อิ่มความรู้
แล้วเพลินภาพวาดจริงๆ ค่ะ

 

โดย: เพลงฝนต้นลมหนาว 9 มีนาคม 2553 18:07:49 น.  

 

มาลงทะเบียนไว้ก่อนค่ะคุณ Dingtech
เดี่ยวว่างๆจะมาอ่านนะคะ

 

โดย: Suessapple 9 มีนาคม 2553 19:39:27 น.  

 

ผมสนใจคำว่า "ขีดเดียว" หรือ "หนึ่งขีด" ของท่านเต้าฉีครับ
เมื่ออ่านทั้งบทกวีก็พบว่า
คำว่า "ขีดเดียว" ของท่านเต้าฉีนั้น
เหมือนคำว่า "เป็นหนึ่งเดียว" ในพุทธสายนิกายเซนเหลือเกิน
ทั้งนัยยะและความหมาย.....

ภาพใบไผ่ของท่านก็สวยงามมากนะครับ
ดูมีชีวิตชีวา
รวมไปถึงภาพทิวทัศน์ที่งดงามตระการตา


งานของจ่าง แซ่ตั้ง
ผมได้ชมน้อยมากครับพี่
แต่ได้อ่านบทกวีที่ท่านได้เขียนด้วยคำซ้ำ
ซึ่งผมคิดว่าเป็นเอกลักษณ์ที๋โดดเด่นของท่านไปแล้ว


 

โดย: กะว่าก๋า 9 มีนาคม 2553 23:22:47 น.  

 



ได้ดูรูปจุใจจริงๆค่ะคุณ Dingtech
ก่อนอื่นเราไม่ใช่ผู้รู้แจ้งในการดูศิลปะใดใดทั้งสิ้น
แต่เราชอบภาพวาดของท่าน "เต้าฉี" มากๆค่ะ

ดูจากรูปแล้ว มีความอ่อนโยน อ่อนไหว และพริ้วในการลงลายเส้น มีส่วนโค้งส่วนเว้า
ซึ่งช่างน่าขัดกันมากกับบุคลิกของท่าน
ที่เป็นคนไม่แยแสโลก รักสันโดษ ไม่ก้มหัวให้ผู้ไม่รู้
ไม่แคร์คำติฉินนินทาใดใด

เราว่าเนื้อในท่านแล้วเป็นบุคคลที่น่าคบ น่านับถือมากๆเลย
เพียงแต่คนไม่รู้ เพราะดูท่านจากบุคลิกภายนอก
ท่านก็ไม่เคยแคร์ และไม่ก้มหัวให้ อิ อิ

คุณ Dingtech มีงานสะสมที่น่าสนใจมากมายเลยนะคะ
ขอบคุณที่เอามาแบ่งปันกันชมค่ะ

 

โดย: Suessapple 10 มีนาคม 2553 3:29:29 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 10 มีนาคม 2553 7:01:01 น.  

 

ที่เชียงใหม่ก็เซ็งมากเหมือนกันครับพี่
จะเหลืองหรือแดงก็กระทบกับธุรกิจของผมเต็มๆ
ถ้ามันเป็นเรื่องของชาติบ้านเมืองจริงๆก็ดีสิครับ

เกรงว่ามันจะตอบสนองความใคร่ได้อยากมีของคนบางกลุ่มบางเท่านั้นเอง


 

โดย: กะว่าก๋า 10 มีนาคม 2553 13:47:00 น.  

 

คุณ Dingtech คะ...

ชอบจังเลยค่ะที่บอกว่าเป็นคนดูสบายกว่ากันเยอะเลย (^__^)
เราจึงแวะมาชวนว่างๆไปดูดอกไม้สวยๆนะคะ
เปลี่ยนบรรยากาศที่บ้านเป็นสวนดอกไม้ค่ะ
จะได้นั่งดูให้เพลินไปเลยยยย
อิอิ..เป้นคนดูนี่สบายจิงจิงด้วย

 

โดย: Suessapple 10 มีนาคม 2553 22:48:45 น.  

 

Photobucket Photobucket

 

โดย: Suessapple 11 มีนาคม 2553 0:17:40 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่







 

โดย: กะว่าก๋า 11 มีนาคม 2553 8:23:14 น.  

 


ขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ คุณDingtech


ภาพเขียนลายภู่กันจีน ดูแล้วเหมือนมีชีวิตเลยค่ะ
ยิ่งดูยิ่งน่าหลงไหล

 

โดย: aenew 11 มีนาคม 2553 15:30:13 น.  

 

สวัสดีค่ะ


ช่วงนี้ป้ากุ๊กไม่ค่อยได้เข้าบล็อกเลย
งานประจำ…แจ๋ว ดึงเวลาป้าไปหมดค่ะ
อย่างเก่งก็แค่แว๊บเข้ามาอ่าน….แล้วก็แว๊บหายไป
แต่แม้จะไม่ได้ฝากคำไว้ก็ยังระลึกถึงค่ะ


ภาพวาดสวยมาก…มาก ….มาก ….มากกกกกกกกกกกกกกทุกภาพค่ะ


 

โดย: ร่มไม้เย็น 11 มีนาคม 2553 22:21:36 น.  

 

พี่เคยอ่านงานของ คุณจ่างเหมือนกันค่ะ แต่ไม่บ่อย ปกติอ่านแต่นิยาย บล๊อคนี้เยี่ยมเลย ได้รู้อะไรที่ไม่รู้อีกหลายๆ อน่างเลย

ภาพเขียนสวยจังค่ะ..

ขอบใจที่แวะไปกินขนมที่บล๊อคจ้า

 

โดย: grippini 12 มีนาคม 2553 21:13:24 น.  

 

ภาพแรกคนปลูกต้นสน ที่บอกว่า ภาพเหมือนตนเอง อ๊ะ ท่านเต้าฉี หล่อ

บล็อกวันนี้ เป็นรูปวาดชุดใหญ่ ศิลปจีน แต่ผมไม่ค่อยจะเข้าใจศิลป ดูเพียงองค์ประกอบของการจัดภาพเท่านั้น บางรูป รูปทรงสูงและแคบ แปลกตามาก

อย่างหนึ่งที่ขอบอก คือ ขอนับถือจขบ. ว่าตั้งใจทำบล็อกมาก

งานของจ่าง แซ่ตั้ง คุ้นๆ ตรงสำนวนคำสั้น คำซ้ำ แต่ผมอ่านน้อยครับ เพราะไม่ค่อยรู้เรื่องศิลป

 

โดย: yyswim 12 มีนาคม 2553 22:58:17 น.  

 

23.20 น. ช่องสาม คืนวันที่ 12 มีนาคม

เห็น คุณแอ๊ด - คาราบาว เขียนพู่กันจีนในทีวีครับ

 

โดย: yyswim 12 มีนาคม 2553 23:23:47 น.  

 

ท่านตอบว่า "นัยน์ตาของฉันมันประหลาดเมื่อพบ "อามิส" ก็บอด
ไม่เรียกว่า "บอด" แล้วเรียกว่าอะไร ?

ชอบตรงนี้มากเลย
แต่ลึกซึ้งมากและยังไม่ค่อยเข้าถึงค่ะ

รู้แต่เจ้าของบ้านบรรจงสร้างสรรค์นำเสนอแบบตั้งใจ
เหมือนที่พี่สินข้างบนกล่าว

ขอบคุณนะคะที่ไปอวยพรวันเกิด
วันนี้ก็เป็นอีกวัน ที่ผ่านมาและผ่านไปอีกปี
แต่มีสิ่งดีดีให้ได้จดจำ


แอมอร

 

โดย: peeamp 13 มีนาคม 2553 14:04:18 น.  

 

สวัสดียามบ่ายวันเสาร์ค่ะ
ภาพจิตรกรรมวัดภูมินทร์นี่งามจริงๆ ค่ะ แต่มันก็เริ่มเก่าๆ จางๆ แล้วนะคะ ต้องรีบไปชมค่ะ ...

 

โดย: Devonshire 13 มีนาคม 2553 16:00:20 น.  

 

แวะมาทีไรก็ไม่เคยผิดหวัง แถมมีรูปวาดงาม ๆ ให้ดูจนอิ่มเลย ดูแล้วเพลินดีจริง ๆ ค่ะ เรียนที่เตรียมอุดมแสดงว่าเรียนเก่งได้ใจเลยนะเนี่ย

รู้จักคุณ Dingtech แล้วได้เปิดหูเปิดตาเรื่องศิลปะจีนมากมาย หนนี้ได้รู้จักศิลปินท่านใหม่อีกแล้ว ขอบคุณมากสำหรับภาพวาดงดงามและความรู้ดี ๆ แบบนี้นะคะ

 

โดย: haiku 13 มีนาคม 2553 20:02:30 น.  

 

ขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ กะรัตกำลังยุ่งกับต้นฉบับ ยังไม่ได้ดั่งใจค่ะ ก็เลยห่างหายการตระเวนบ้านเพื่อนชาวบล็อก อยู่แต่ที่เด็กดีเป็นส่วนใหญ่กับบอร์ดสนพ.

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ ยังไม่ได้ชมความงดงามของศิลปะอะไรเลย งานหนังสือจะไปหาซื้อหนังสือค่ะ มีหนังสืออะไรแนะนำบ้างค่ะ ก็มีรายชื่อพอสมควรอยู่ค่ะ แต่ก็ยังอยากได้แนวๆ จีน คำกลอน บทประพันธ์อมตะนี่แหละค่ะ พอจะมีสนพ.แนะนำไหมค่ะ เวลาท่าจะไม่มาก อยากตรงดิ่งไปเลือกซื้อเลยค่ะ

 

โดย: อิมาอิซัง 13 มีนาคม 2553 20:58:19 น.  

 

แวะมาเยี่ยมครับ
วันหลังมาอ่าน
ยาาววว

 

โดย: ชัช (กู่ฉิน ) 14 มีนาคม 2553 19:26:00 น.  

 

สวัสดียามดึกค่ะคุณ Dingtech
พระ Daibutsu ที่ Kamakura ค่ะ
เป็นพระพุทธรูปบรอนซ์องค์ใหญ่เป็นอันดับสอง
ของประเทศญี่ปุ่นเลยค่ะ อิ อิ

.....

หลับฝันดีนะคะ

 

โดย: Suessapple 15 มีนาคม 2553 3:26:01 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 15 มีนาคม 2553 8:19:48 น.  

 

คนจีนยังไม่เคนเปลี่ยนครับ

ฮ่าๆๆ

 

โดย: ชัช (กู่ฉิน ) 15 มีนาคม 2553 10:07:48 น.  

 

ผมชอบศึกษาประวัติศาสตร์จีน
อย่างหนึ่งที่ชอบคือ เขากล้าพูดความจริง
เราไม่รู้หรอกครับว่าหลายพันปีก่อน
ความจริงเป็นอย่างไร
แต่ทั้งทรราชย์ และมหาราช
ก็ล้วนถูกนักประวัติศาสตร์ชำระความและเปิดเปลือยตัวตนอย่างตรงไปตรงมา

ที่สุดแล้ว
เราในฐานะอนุชนรุ่นหลัง
ก็ยังได้รู้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว
จากการกระทำของผู้อยู่ในชนชั้นปกครอง


ปล. เมื่อสักครู่ดูข่าวนายกออกมาแถลง
ผมคิดว่าเราไมไ่ด้อะไรจากถ้อยคำเหล่้านั้นเลยนะครับ
นอกจากเลี่ยงที่จะพูดถึงความจริง
และเยื้ออำนาจที่ตัวเองไม่ควรได้ครอบครอง
ไว้ให้ได้นานที่สุดเท่านั้นเอง


 

โดย: กะว่าก๋า 15 มีนาคม 2553 10:46:24 น.  

 

หะหายกระต่ายเต้น...........ชมจันทร์
มันบ่เจียมตัวมัน...............ต่ำต้อย
นกยูงหากกระสัน.............ถึงเมฆ
มันบ่เจียมตัวน้อย.............ต่ำต้อยเดียรัจฉาน


หะหายกระต่ายเต้น...........ชมแข
สูงส่งสุดตาแล.................สู่ฟ้า
ฤดูฤดีแด........................สัตว์สู่ กันนา
อย่าว่าเราเจ้าข้า...............อยู่พื้นเดียวกัน

 

โดย: ลูกประสก IP: 125.25.127.156 15 มีนาคม 2553 12:05:25 น.  

 

ขอบคุณที่ไปอวยพรนะครับ

มีความสุขหลายๆครับ

 

โดย: ชายผู้หล่อเหลา...กว่าแย้นิดนึง. (เป็ดสวรรค์ ) 15 มีนาคม 2553 16:03:54 น.  

 

ชอบมั้ย? รู้เรื่องมั้ย? เข้าใจมั้ย?

ตอบได้แค่ ชอบครับ

ใช้เวลาอ่านเกี่ยวกับ "ความเป็นตัวตนปราศจากการครอบงำ" อยู่สามรอบ

กว่าจะพอเข้าใจบ้าง

นอกนั้นขอบอกว่าเข้าใจยากแท้

 

โดย: พลทหารไรอัน 15 มีนาคม 2553 23:59:49 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 16 มีนาคม 2553 8:09:41 น.  

 

ขอบคุณสำหรับ HBD. นะครับ เข้ามาเห็นเนื้อหาในบล๊อคนี้นาสนใจทีเดียว ไว้จะย้อนกลับมาอ่านนะครับ

 

โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา 16 มีนาคม 2553 9:43:10 น.  

 

แวะมาขอบคุณสำหรับคำอวยพรคร้า

เดี๋ยวว่างๆ จะแวะมาอ่านนะคะ เผื่อจะได้ซึมซับศิลปะกับเค้าบ้าง อิอิ

 

โดย: ทะโมนน้อย IP: 125.27.147.100 16 มีนาคม 2553 9:56:56 น.  

 

มาเยี่ยม.... ที่จริงน่าจะไปเยี่ยมถึงบ้าน เพราะผมอยู่ แฟลตดินแดง

 

โดย: yyswim 16 มีนาคม 2553 15:30:47 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณ Dingtech

เอาการบ้านมาส่งค่ะ อิ อิ

ก็พระ Daibutsu ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นน่ะค่ะคือพระ
Ushiku Great Baddha อยู่ที่ Ibaraki Prefecture ค่ะ
ปอลอ..ผิดถูกตรงไหน โทษอากู๋นะคะ..ไปขโมยมาจากอากู๋ค่ะ

ส่วนร่มของญี่ปุ่น สำหรับคนอื่นมันดีตรงไหนเราก็ไม่รู้นะคะ
แต่สำหรับเราว่ามันน่ารักดีตรงลวดลายน่ะค่ะ
ถ้าเป็นอย่างพับไม่ได้ก็จะมีด้ามสวย
แต่อย่างที่พับได้ เราชอบเพราะมันพับได้แล้วเหลือเล็กนิดเดียว
น้ำหนักเบามากๆเลยค่ะ ใส่ไว้ในกระเป๋าถือพกพาไปไหนสะดวกมาก อิ อิ

แต่ว่ามาคุยเรื่องร่มกับชายหนุ่มนี่ เค้าจะเข้าใจเปล่าไม่รู้

คุยเรื่องร้านหนังสือแล้วกัน
แต่ว่าเราอาจจะสนใจหนังสือกันคนละสไตล์นะคะ อิ อิ
เราชอบเข้าร้านหนังสือ ทุกประเทศที่ไป
ที่ญี่ปุ่นจะไปดูหนังสือตำราอาหาร แฟชั่นสวยๆ งานประดิษฐ์ของผู้หญิง หนังสือท่องเที่ยว แมกกาซีน การถ่ายรูป อ่านไม่ออกก็ชอบดูรูปสวยๆค่ะ

แต่คุณ Dingtech เราสงสัยว่าจะไปอยู่ตรงมุมไหนของร้านหนังสือคะ

อ้อ...อาจจะเป็นมุมเดียวกับเราคือศิลปะ ภาพวาด

5555 คุณ Dingtech ถามมาสลึงเดียว
เราตอบเสีย 5 บาท (^____^)

มีความสุขมากๆนะคะ

 

โดย: Suessapple 16 มีนาคม 2553 17:19:46 น.  

 

วิ่งมาใหม่อีกรอบ
มาบอกว่า

" อีกอย่างที่ชอบที่สุดคือสวนญี่ปุ่น "
เราอ่านตอนแรก
อ่านเป็น " อีกอย่างที่ชอบที่สุดคือสาวญี่ปุ่น "

5555

กำลังจะเอารูปสาวญี่ปุ่นมาแปะให้เลย
ดี๊ที่อ่านซ้ำ....ม่ายง้้นขายหน้าแย่เลย แปะรูปผิด
...
ไปจริงๆแล้วค่ะ

 

โดย: Suessapple 16 มีนาคม 2553 17:25:27 น.  

 

ขอให้มีความสุขเช่นกันคับ

 

โดย: EMPIRE OF THE SUN 16 มีนาคม 2553 18:15:20 น.  

 

อยากดูสาวญี่ปุ้นจิงๆอ่ะ

งั้นรอแป๊บบบบ เด๋วมา ฮ่าๆๆๆๆ

 

โดย: Suessapple 16 มีนาคม 2553 20:12:37 น.  

 

Photobucket



มาแว้ววค่ะ
รอนานมั๊ยคะอิอิ
พอดีเห็นว่าจะต้องการเผื่อแผ่คนอื่นศึกษามานุษยวิทยา
เราเลยเชิญน้องๆเค้ามาหลายคนเลยค่ะ
ศึกษาได้ผลสรุปว่ายังไงก็...เอามาเผยแพร่บ้างนะคะ (^___^)

 

โดย: Suessapple 16 มีนาคม 2553 20:22:12 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


ขอบคุณสำหรับคำอวยพรและการเยี่ยมเยือนนะจ๊ะ

 

โดย: หอมกร 16 มีนาคม 2553 20:29:08 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่





 

โดย: กะว่าก๋า 17 มีนาคม 2553 8:19:01 น.  

 

ขอบคุณมากนะคะ ที่แวะไป happy birthday ให้
ยินดีที่ได้รู้จักกัน Have a Nice Time นะคะ :)

 

โดย: รักเสมอแม้ไม่ได้เจอก็คิดถึง 17 มีนาคม 2553 10:27:15 น.  

 

สวัสดีครับพี่ เข้ามาอ่านมาดูภาพในบล็อกนี้แล้วเหือนเข้ามาอ่านหนังสือเล่มใหญ่ๆพร้อมภาพประกอบสวยงามทั้งเล่มเลยครับสนุกเพลิดเพลินแฝงแนวคิด
สำหรับโมเดลผมปั้นแต่ละตัวใช้เวลาต่างกันครับขึ้นอยู่กับขนาดและความละเอียดความยากง่ายของงาน ส่วนทหารจิ๋วนี่ปั้นไม่กี่ชั่วโมงครับปั้นวันหยุดวันว่างอะครับ แต่งานอื่นๆกเป็นสัปดาห์เป็นเดือน เป็นปีก็ยังมีอิอิ งานส่วนตัวที่ปั้นไว้เองส่วนมากจะเป็นปีหละครับ งานปั้นให้ลูกค้าก็จะพยายามปั้นให้ดีและก็เร็วให้ได้มากที่สุดครับผม

 

โดย: takaiji 17 มีนาคม 2553 12:07:59 น.  

 

หุหุหุ


หมิงหมิงโดนจองไปแล้วประมาณ 10 คนครับ
มีทั้งจองให้ตัวเองและจองให้ลูกสาว 55555


ดีครับ ... ผมในฐานะพ่อตา
จะใช้ธรรมเนียมอินเดียล่ะครับ

ใครอยากแต่งกับหมิงหมิง
ก็เสนอเงินสินสอดมาได้เลย 5555

 

โดย: กะว่าก๋า 17 มีนาคม 2553 16:02:24 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

โดย: nompiaw.kongnoo 17 มีนาคม 2553 17:08:04 น.  

 

สวัสดีครับ คุณ Dingtech
ด้วยว่าความด้อยซึ่งปัญญาของข้าน้อย อะแฮ่ม ผมแล้ว
แอบยอมรับอย่างกระมิดกระเมี้ยนว่าอ่านอะไรๆก็ไม่ค่อยแตกฉาน สมาธิก็สั้น แย่จัง
เรื่องตัวเลขที่ไม่เกี่ยวกับเงินของเราก็ก๊งๆ แต่ก็ลองอ่านดูทั้งหมดนะครับ
แล้วก็พบว่าปัญหาเดิมที่เคยทำให้ได้เกรด 2 วิชาภาษาไทยมาเมื่อสมัยมัธยมก็กลับมาให้เห็นหน้าอีก
จำได้แม่นเลยครับว่าตอนที่เรียนเรื่องสามก๊กไม่เคยจำชื่อใครได้ถูกเลยสักกะคน
จำได้ก็ได้แต่ชื่อ แต่ไม่รู้ว่าชื่อนั้นคือใคร มีบทบาทอะไรยังไงบ้าง
อาจจะต้องฝึกฝนให้มากกว่านี้ครับ

 

โดย: Unravel 18 มีนาคม 2553 1:50:48 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 18 มีนาคม 2553 7:37:18 น.  

 

สมัยมัธยมผมยังติ๋มๆอยู่ครับพี่
รักใครก็ได้แต่แอบมองต้นคอเธอ 55555

สมัยมหาวิทยาลัยก็แรงตามวัย
ทะเลาะกับครูหมดแผนกเลยครับ 5555


 

โดย: กะว่าก๋า 18 มีนาคม 2553 11:13:47 น.  

 

เหยี่ยวสีขาวหรอครับ
คิดว่า Gyrfalcon น่าจะเป็นชนิดที่ใกล้เคียงที่สุดแล้วล่ะครับผม
ปกติสัตว์สีขาวก็มักจะอยู่แถบเขตขั้วโลก และ Gyrfalcon ก็เป็นเหยี่ยวชนิดเดียวแถบนั้นที่มีสีขาวทั้งตัว
มีอีกชนิดที่ขาวเกือบๆทั้งตัวเหมือนกัน แต่ไม่สง่างามเท่า ก็เหยี่ยวขาว Black-shouldered Kite ที่เจอได้ในเมืองไทยนี่แหละครับ

 

โดย: Unravel 18 มีนาคม 2553 13:25:09 น.  

 

thanks so much for birth day wish comment na ka.. and take care..

 

โดย: mariabamboo 18 มีนาคม 2553 15:32:57 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่ค่อยเข้าใจ แต่เป็นคนชอบอ่านค่ะ

 

โดย: nompiaw.kongnoo 18 มีนาคม 2553 16:08:11 น.  

 

ขอบคุณนะคะที่แวะไปอวยพรวันเกิด

ขอให้คุณมีความสุขมากๆเช่นกันค่ะ

 

โดย: จอมยุทธไร้หัวใจ 18 มีนาคม 2553 16:40:32 น.  

 

สวัสดีอีกครั้งครับ
มีภาพ Gyrfalcon ชุดขนสีขาว white phrase ฝีมือช่างภาพขวัญใจส่วนตัวชาว Iceland มาฝากกันครับ
เป็นเหยี่ยวปีกแหลม(Falcon)ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และอยากที่สุดในโลกตัวหนึ่งเหมือนกันครับ
ที่ญี่ปุ่นก็มีพลัดหลงมาบ้างปีละตัวสองตัว แต่ต้องไปดูทางตอนเหนือสุดนู้นน ไม่รู้จะมีโอกาสได้เห็นบ้างหรือเปล่า

 

โดย: Unravel 18 มีนาคม 2553 19:07:22 น.  

 

^
^
อ้าว ตกหล่นไป
อยากเห็นที่สุดในโลก ต่างหากครับ

 

โดย: Unravel 18 มีนาคม 2553 19:09:00 น.  

 




ผมล่ะ นับถือคนที่ถ่ายคลิปวีดิโอนี้


 

โดย: yyswim 18 มีนาคม 2553 20:33:59 น.  

 

จิตรกรจีนดูเขาจะลึกซึ้งเรื่องปรัชญาอย่างมาก...

จิตรกรไทยจะเป็นฉันใดหนอ...

เขาวาดแต่ธรรมชาติทิวทัศน์แค่นั้นเหรอครับ ไม่ทราบมีแนวอื่นบ้างหรือเปล่า สไตล์ traditional จะเป็นแบบนี้หมดหรือครับ?

ชอบที่จ่างแปลเป็นไทย แปลได้ไงอะ...ถึงจะอ่านไม่ค่อยรู้เรื่องก็เหอะ 555

ต้นฉบับก็เขียนได้เซอร์สุดๆ คุณ Ding ถ้าว่างช่วยแปลไทยเป็นไทยก็ดีนะ เหอๆๆ

 

โดย: หมีบางกอก (Bkkbear ) 18 มีนาคม 2553 22:09:46 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 19 มีนาคม 2553 7:49:26 น.  

 

แวะมาขอบคุณที่ไปอวยพรวันเกิดให้ที่บ้านนะคะ

ขอให้เจ้าของบ้านนี้มีความสุขสดชื่นในทุกวันเช่นกันค่ะ

 

โดย: Paulo 19 มีนาคม 2553 10:52:22 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

โดย: clubp_mark 19 มีนาคม 2553 11:04:36 น.  

 

แวะมาทักทายจ้า

 

โดย: nompiaw.kongnoo 19 มีนาคม 2553 14:44:53 น.  

 



ขอบคุณที่ไปอวยพรให้นะคะ
ขอให้มีความสุขมากๆ เช่นกันค่ะ

 

โดย: biotech_girl 19 มีนาคม 2553 15:09:28 น.  

 

ภาพวาดสวยๆ ดูแล้วเพลินตามากครับ

ขอบคุณที่เข้าไปอวยพรวันเกิดนะครับ

 

โดย: จุ๊บยางเป็ดน้อย 19 มีนาคม 2553 15:50:50 น.  

 

สวัสดีคร้าบ
ดูจากรูปวาดที่นำไปแปะให้ดูแล้ว คิดว่าเหยี่ยวตัวที่สองน่าจะเป็นเหยี่ยวตระกูล Hawk-eagle นะครับ เท่าที่นึกออกตัวที่มีชุดขนสีขาวๆแบบนี้ ใกล้เคียงที่สุดก็คงจะเป็น เหยี่ยวต่างสี Changeable Hawk-eagle ครับ ตัวนี้มีทั้งชุดขนสีดำ สีด่าง ไปจนถึงสีขาวครีม แต่ก็ไม่ขาวล้วนหมดจดเหมือนในภาพครับ เพราะส่วนปีกและหางยังคงเป็นสีน้ำตาลๆอยู่

 

โดย: Unravel 19 มีนาคม 2553 16:26:37 น.  

 

เพิ่งดูคลิปจบไปครับ ประทับใจตรงที่คลิปนำเสนอนกสองชนิดที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของฤดูหนาวได้น่าสนใจมากๆเลย
วิวัฒนาการเป็นอะไรที่น่าทึ่งจริงๆ แถมยังเป็นการปรับตัว 2 ลักษณะที่ต่างกันอีกด้วย ฝั่ง Ptarmigan นั้นผลัดขนเป็นสีขาวแค่ช่วงหน้าหนาว และเป็นสีน้ำตาลช่วงหน้าร้อน แต่ gyr เกิดมาขาวก็ขาวไปอย่างนั้นจนตาย หรือบางตัวเกิดมาน้ำตาลก็น้ำตาลไปอย่างนั้นจนตาย

 

โดย: Unravel 19 มีนาคม 2553 16:33:46 น.  

 

^^ ขอบคุณมากมายค่า..ที่แวะไปอวยพรวันเกิด

ขอให้พรใดใด..คืนสู่จขบ.นี้เช่นกันค่ะ

ขอบคุณค่า ^____^

 

โดย: กำไลสีส้ม 20 มีนาคม 2553 9:07:42 น.  

 

สวัสดีครับแวะมาทักทายก่อนเที่ยงครับผม

 

โดย: takaiji 20 มีนาคม 2553 11:05:40 น.  

 

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำเรื่องการจัดสวนนะครับพี่ก่อนอื่นผมต้องไปเอากระถางพลาสติกและก็ผ้าที่ตากออกก่อนหละครับบ ถึงว่าดูมันขัดๆตายังไงก็นึกไม่ถึง ขอบคุณนะครับ

 

โดย: takaiji 20 มีนาคม 2553 16:13:42 น.  

 

ขอบคุนที่แวะมาอวยพรจ้า

 

โดย: TDZHIMARU 21 มีนาคม 2553 9:40:40 น.  

 

^^

ขอบคุณฮะ

 

โดย: JomJon_kk 21 มีนาคม 2553 10:53:37 น.  

 

สวัสดีค่ะพี่ คราวนี้มาช้ากว่าทุกคราว....
วันนี้หยุดงาน ตื่นมาเลยตั้งใจค่อยๆอ่านบล็อกนี้อีกที
เพราะว่าเข้าใจยาก เลยต้องหาเวลามาอ่านรอบสอง (แต่ก็ยังยากอยู่ดี)

แป๋วเคยเห็นหนังสือของจ่าง แซ่ตั้งตอนเด็กๆนะคะ จำไม่ได้ว่าอ่านหรือเปล่า คิดว่าคงได้อ่านแต่ไม่เข้าใจเลยจำอะไรไม่ได้

รูปของท่านเต้าฉีถ้าได้เห็นภาพขนาดจริง คงตื่นตาตื่นใจมาก แต่ถึงภาพในบล็อกจะเล็ก แต่ก็ดีใจที่ได้ดูค่ะ พอดูบล็อกนี้เสร็จชักอยากเข้าไปดูภาพเขียนในดีซีว่าจะเห็นภาพของใครบ้างเลย

ชอบภาพดอกท้อและภาพดอกซุ่ยเสียน (คริ คริ) ภาพดอกซุยเสียนใบสวยมากนะคะ ปาดพู่กันครั้งเดียวได้ใบที่เห็นแว่บแรกก็รู้เลยว่าใช่เจ้าต้นนี้แหละ

ภาพวิวทิวทัศน์ที่พี่ลงให้ดู มั่นใจว่าถ้าได้เห็นภาพจริงๆต้องร้องโอ้โห ดูในบล็อกลายเส้นยังละเอียดยิบขนาดนี้


อ่านเรื่องเหยี่ยวด้วย
ขอบอกว่าวีดีโอที่ต้นยกเอามาให้ดู ไม่กล้าดูจนจบ
รู้ว่าเป็นธรรมชาติ แต่อดสงสารนกไม่ได้อยู่ดีค่ะ


แป๋วอ่านที่หัวบล็อกพี่
นึกอยู่นานว่าคุ้นจัง
ตอนนี้รู้แล้วค่ะ

 

โดย: SevenDaffodils (SevenDaffodils ) 26 มีนาคม 2553 23:28:14 น.  

 

"นัยน์ตาของฉันมันประหลาดเมื่อพบ "อามิส" ก็ไม่บอด
ไม่เรียกว่า "ไม่บอด" แล้วเรียกว่าอะไร ?

 

โดย: artnewsoul 4 เมษายน 2553 13:22:10 น.  

 

วันนี้แวะมาลงชื่อ แสดงความจำนงว่าอยากอ่านต่อ
แต่วันนี้ไม่ได้อ่าน เพราะแวะไปช่วยพี่ชายที่ห้องสมุดมาค่ะ
หมดเวลาของวันนี้พอดี พรุ่งนี้จะกลับมาใหม่นะคะ

 

โดย: Noshka 6 พฤษภาคม 2553 10:39:12 น.  

 

อ่านจบแล้ว แต่เพิ่งมีเวลามาฝากข้อความค่ะ

ไล่อ่านเรื่องภาพเขียนจีนจบหมดแล้วค่ะ และจะติดตามต่อไป ได้แรงบันดาลใจในการเรียนภาษาจีนขึ้นมาอีกหนึ่งประการ เมื่อก่อนดูภาพเขียนจีนแล้วชอบมาก แต่ถ้าถามว่ารู้เรื่องไหม เข้าใจไหม ตอบว่า ไม่ค่ะ อิ อิ ข้อมูลที่พอจะหาได้เองคือ ชื่อภาพ ศิลปิน เทคนิค ราคา และคำอธิบายไม่ยาวมากเท่านั้น

ตอนนี้เข้าใจเพิ่มขึ้นนิดหน่อย แต่ยังมีอีกมากมายที่ต้องค้นหา จะให้รู้จริงอย่างคุณดิ่งต้องตั้งใจเรียน และอ่านเพิ่มเติมเองอีกใช่ไหมคะ? ภาษาจีนยังเป็นอุปสรรคค่ะ แต่ก็จะไม่ท้อนะ

ขอบอกว่าอ่านบล๊อกคุณดิ่งไปทำให้รู้สึกตื่นตาตื่นใจ บางทีก็ยิ้มไปด้วย ได้ข้อมูลและได้ฟังเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมากมาย ที่ถูกใจ สนุกมากค่ะ ขอนำเฉพาะลิงก์ไปเผยแผ่นะคะ อยากให้คนที่ชอบและสนใจศึกษาศิลปะจีนแบบลึกซึ้งได้มาเยี่ยมชมกันมากๆ แต่พวกเขาจะได้มาเจอคุณดิ่งหรือไม่ ก็สุดแล้วแต่วาระของแต่ละคนค่ะ

ท่านเต้าฉี มีชีวิตที่น่าในใจมากค่ะ ภาพวาดก็สวย ด้วยความที่ท่านเป็นนักบวช แม้แต่ฉายายังเตือนสติตนและประชาชน เช่น "เถรบอด"

จะต้องกลับมาอ่านเรื่อยๆ เพราะเก็บข้อมูลในสมองไม่หมดค่ะ
ขอบคุณท่านมากๆ ที่ตั้งใจแบ่งปันความรู้ให้มวลชน

 

โดย: Noshka 9 พฤษภาคม 2553 2:55:55 น.  

 

โอ๊ะ ลืมบอกไปว่า ชื่อเพลง มหาทะเลทราย ( 大 漠) ไพเราะมากค่ะ เป็นครั้งแรกที่ได้ยิน "ติ๊จื่อ" บรรเลงเพลงที่ออกแนวอาราเบียนเช่นนี้

 

โดย: Noshka 9 พฤษภาคม 2553 3:02:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]









◉ ภุมราท้าโลกกว้าง . . เกินฝัน

หวังวาดสู่สวรรค์ . . . . . เวิกโพ้น

แท้คืนสู่สามัญ . . . . . . มละตื่น

ยังฉงนงวยโงกโง้น . . . .โง่ตื้นลืมตาย ฯ





Dingtech :

ผมเป็นคนธรรมดา ธรรมดา มาจากบ้านนอก
รักศิลปะทุกชนิด ทุกรูปแบบ ทุกสัญชาติ

รักชาติไทย รักประเทศไทย
รักคนไทยทุกคน จงรักภักดี และ
เคารพสักการะพระมหากษัตริย์ไทย

ยินดีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทุกคนครับ





since 16 December 2009

New Comments
Friends' blogs
[Add Dingtech's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.