ความจริง-ความดี-ความงาม.........พยายาม-ส่งมอบ-ให้ปวงชน <<<<<<<<<<<<<<<<<
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
31 ธันวาคม 2555
 
All Blogs
 
หมึกวิเศษของ อิโต จาขุชู (伊藤 若冲) : สุดยอดฝีมือสมัยเอโดะ












ครั้งแรกที่ผมเห็นการใช้หมึกในรูปขาว-ดำ รูปหนึ่ง...สร้างความอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง

ใครหนอ . . . ช่างหยิบพู่กันจุ่มหมึกแล้วปาดป้ายออกมาแล้วได้ภาพอันแสนวิเศษเหลือเกิน Smiley

ครับ . . จะว่าผมเว่อร์ก็ยอมรับ..ตอนนั้นผมคิดอย่างนั้นจริงๆ

หลังจากนั้นก็สืบค้นต่อว่า "ใคร" คนนั้นคือผู้ใด

ตามครูดิ่งมาครับ Smiley





ภาพเหมือนท่าน อิโต จาขุชู 
ลอกเลียนจากภาพวาดของ เบเซ็น
โดย คะโต เอเซ็น เมื่อ ปี คศ.1927
ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเกียวโต



อิโต จาขุชู
(伊藤 若冲 คศ.1716 - 1800)

ท่านมีช่วงชีวิตที่สร้างสรรค์ผลงานในช่วงสมัยเอโดะ  

ตรงกับประเทศไทยตอนปลายอยุธยาถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

และเมืองญี่ปุ่นตอนนั้นปิดประเทศ...ไม่คบค้ากับฝรั่งอั้งม้อต่างชาติใดๆทั้งสิ้น


ท่านจาขุชูเกิดมาในตระกูลพ่อค้าเมืองเกียวโต  ครอบครัวเปิดร้านขายของชำ

เป็นบุตรชายคนหัวปี   บิดาเสียชีวิตตอนที่ท่านอายุได้ 23 ปี  จึงดำเนินกิจการธุรกิจต่อ

ทำอยู่ได้ 16 ปี จึงได้มอบกิจการให้น้องชายรับช่วงต่อ



ภาพเหมือน ท่านอิโต จาขุชู 
วาดโดย คูโบตะ เบเซ็น (1852-1906) เมื่อปี คศ.1885
ปัจจุบันอยู่ที่วัดโชโคขุ-จิ, เกียวโต



ความสนใจในการวาดภาพเกิดจากการได้ชมภาพเขียนจีนในวัดต่างๆ

ท่านได้เรียนการเขียนรูปจากจิตรกรใหญ่แห่งโอซาก้า คือ โอโอะขะ ชุนโบขุ

ซึ่งมีชื่อเสียงมากในการวาดภาพนก-ดอกไม้

ต่อมาท่านจาขุชูตั้งสำนักสตูดิโอที่ริมฝั่งแม่น้ำคาโมะ  ชื่อสำนักคือ "ชินเอ็น-คาน 心 遠 館"

ครูดิ่งแปลว่าเป็น . . "สำนักจิตไกลกระเจิง" . . คือใจลอยฟุ้งไปแสนไกล

เล่ากันว่าท่านเอามาจาก..วลี..ในวรรคหนึ่งของบทกวีของ เถาเวียนหมิง

ที่ผมเพิ่งแปลลงบล๊อกแกงค์ คือวรรคที่ว่า

" 心远地自偏 。(จิตไกลพุ้น พะวังหวัง สร้างบ้านไกล) "

ท่านจาขุชูมีผลงานออกไปทางแนวพุทธศาสนานิกาย "เซน"

ความใกล้ชิดกับสหายในทางธรรมที่เป็นภิกษุนิกายรินไซคือท่านไดเท็น เค็นโจ

ซึ่งต่อมาท่านเค็นโจได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโชโคขุ-จิ  คงจะทำให้ท่านจาขุชูสามารถชมรูปเขียน

ที่สะสมไว้ในห้องเก็บสมบัติซึ่งมีทั้งรูปเขียนทั้งจากจีนและของญี่ปุ่นเอง

และจากจุดนี้ก็ทำให้ท่านจาขุชูได้พบปะผู้คนในแวดวงจิตรกรของเกียวโตตอนนั้น

ชื่อของท่าน "จาขุชู" อาจเป็นชื่อที่ท่านไดเท็นตั้งให้  โดยเอามาจากคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง

มีความหมายว่า "ดุจดังความว่าง"

ด้วยฝีมือที่มี "ความเฉพาะตัว" และความรู้ทางศาสนา  ทำให้พวกปัญญาชนชื่นชอบงานของท่าน

มีความต้องการผลงานจากท่านมาก ทั้งที่เป็นภาพม้วน ภาพบนบานเลื่อน(โชจิ)

และภาพที่วาด..บนฉากบังลม(เบียวบู)

ดังนั้นท่า่นจึงมีฐานะทางเศรษฐกิจมั่งคั่ง . . . มิใช่ศิลปิน "ไส้แห้ง" อย่างที่พูดกัน


อย่างไรก็ดีท่านจาขุชูยังเต็มเปี่ยมในศรัทธาทางพุทธศาสนาอย่างยิ่ง

ในบั้นปลายชีวิต..บางคนเล่าว่าท่านไปบวชในวัดเซขิโฮ-จิ ชานกรุงเกียวโต

ท่านชักชวนสานุศิษย์ไปเขียนรูปกันที่นั่นตราบจนมรณภาพเมื่ออายุ 85 ปี




ศิลาจารึกว่า "หลุมฝังศพท่านจาขุชู"
วัดโชโคขุ-จิ, เกียวโต



ศิลารูปพู่กันที่วัดเซขิโอ-จิ
สร้างในปี คศ.1833
เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านจาขุชู




ลายเซ็น และตราประทับ
ของท่านจาขุชู




ในด้านการวาดรูป  ท่านจาขุชูชื่นชอบมากในการวาดภาพ "ไก่"

ไม่ว่าเป็นไก่ที่วาดด้วยหมึกล้วน หรือลงสี  ท่านจับอิริยาบทของไก่ได้อย่างสุดยอด

ทุกลีลาท่าทางและสีสัน..มีชีวิตชีวาเป็นธรรมชาติยิ่งนัก


แต่จะว่าไปแล้ว...รูปเขียนทุกแนวของท่าน งดงาม มีเอกลักษณ์ ทั้งสิ้น

พิพิธภัณฑ์ต่างๆทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่นต่างเสาะแสวงหางานของท่านมาไว้ในคอลเล็คชั่น


.....................................


เชิญไปชมรูปเขียนโดยท่านจาขุชู  เอามาฝากเพียบ..กว่า 40 รูปครับ  Smiley




1

เถาฟักทอง
(วาดบนฉากบังลม)



2

นกกระเรียน
(วาดบนฉากบังลม)



3

ต้นสน และ ไผ่
(วาดบนฉากบังลม)



4

ต้นเหมย
(วาดบนฉากบังลม)



5

ไผ่
(วาดบนบานเลื่อน)



6

นกกระเรียน
(วาดบนบานเลื่อน)



7

นกอินทรี
(วาดบนฉากบังลม)



8

ดอกสุ่ยเซียน และก้อนหิน
(วาดบนฉากบังลม)



9

ดอก..(ไม่ทราบชื่อ)
(วาดบนฉากบังลม)



10

บัว
(วาดบนฉากบังลม)



11

พระโพธิธรรมเหยียบใบอ้อข้ามแม่น้ำแยงซี
(ภาพม้วนแขวน)



12

ต้นสน เหมย และกระเรียน
(ภาพม้วนแขวน)



13

มังกร
(ภาพม้วนแขวน)



14

น้ำเต้า
(ภาพม้วนแขวน)



15

เซียน เท็กไค
(ภาพม้วนแขวน)



16

เซียน กามะ
(ภาพม้วนแขวน)



17

ไก่โต้ง
 (วาดบนฉากบังลม)



18

ไก่คู่ ผู้-เมีย
(วาดบนฉากบังลม)



19

ใบกล้วย
(ภาพม้วนแขวน)



20

นกกระเต็นบนก้านกก
(ภาพม้วนแขวน)



21

แม่ไก่
(วาดบนบานเลื่อน)



22

ไก่โต้ง
(วาดบนบานเลื่อน)



23

ไก่ผู้-เมีย
(วาดบนบานเลื่อน)



24

ไก่คู่ ผู้-เมีย
(วาดบนบานเลื่อน)



25

ซากกระโหลก-ซี่โครง
(ภาพม้วนแขวน)



26

ไก่ ผู้-เมีย
(ภาพม้วนแขวน)



27

หัวเผือก
(วาดบนฉากบังลม)



28

หัวผักกาด
(วาดบนฉากบังลม)



29

รากบัว ฝักบัว
(วาดบนฉากบังลม)



30

หัวแรดดิช
(วาดบนฉากบังลม)



31

ฝักถั่ว
(วาดบนฉากบังลม)



32

ฟักทอง
(วาดบนฉากบังลม)



33

ดอกหงอนไก่ หรือเห็ดหลิงจือ?
(วาดบนฉากบังลม)



34

แห้ว?
(วาดบนฉากบังลม)



35

เห็ด
(วาดบนฉากบังลม)



36

มะเขือม่วง
(วาดบนฉากบังลม)



37

ปลาคาร์พ
(ภาพม้วนแขวน)



38

เต่าหางยาว
(ภาพม้วนแขวน)



39

ภาพเหมือนท่าน โฮอัน โจเอ
(ภาพม้วนแขวน)



ภาพขยายของรูปที่ 39



40

ป่าไผ่
(วาดบนบานเลื่อน)



41

ไก่ ผู้-เมีย
(วาดบนบานเลื่อน)



................................................



จะสังเกตได้ว่า  เส้นของท่านจาขุชู . . . เฉียบ  แม่นยำ  เรียบ  และทรงพลัง . . . เป็นที่สุด
จิตมีสมาธิมั่นคง  ควบคุมกำกับพู่กันและหมึกได้ดังใจปรารถนา  ทั้งสุขภาพต้องแข็งแรงด้วย
นี่คือผลของการ "ปฏิบัติ ซาเซน" ที่ท่านได้ศึกษาและฝึกฝนจากวัดเซน

การใช้น้ำหนักของหมึก . . . บ่งบอกถึงความชำนาญในการใช้สัดส่วนของ "น้ำ และ หมึก"
ที่บอกกันมาว่า...หมึกนั้น มี 5 สี...ท่านจาขุชู "บรรลุ" หมดสิ้นแล้ว

สิ่ง(ซับเจ็ค)ที่ท่านได้วาด . . . แม้จะเป็นอะไรที่เห็นได้บ่อยๆรอบๆตัว  
เช่น ไก่  พืชผัก  ไผ่  สน  ดอกไม้  สัตว์ต่างๆ  ท่านได้ศึกษามาจาก "ของจริงตามธรรมชาติ"  
ท่าทางรูปทรงจากหลายรูป...ดูละม้าย หรือบางรูป "เหมือน" กับตำราภาพพิมพ์ไม้จากจีน
บอกให้เราได้ทราบว่า . . . ท่านเจนจบทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ
และที่ "สำคัญที่สุด" คือ . . . ท่านได้สร้าง เอกลักษณ์เฉพาะตัวจากการใช้ "เส้น และ หมึก"
ยากที่ใครจะลอกเลียนได้  ยากที่จะหาใครตีเสมอได้

เหตุนี้...ครูดิ่งจึงจัดอันดับท่านไว้แถวหน้าของบรรดาจิตรกรเอก
เทียบชั้นท่านเจิ้งป่านเฉียว  ท่านปาต้าซานเหริน  ท่านสือเทา(เต้าฉี) ขนาดนั้นแหละครับ Smiley Smiley Smiley


................................................



สำหรับคลิปครั้งนี้ ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ด้วยเพลงที่สดชื่น เบิกบาน นุ่มนวล
เสียงใดเล่าจะเท่า....เสียงดนตรี+เสียงธรรมชาติ.....เชิญขอรับ  Smiley



ดนตรีสำเนียงญี่ปุ่นผ่อนคลายเบาๆ



ขอบคุณ You Tube ที่นำเพลงไพเราะมาสู่เราเสมอมา


 . . . . . .



ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมกัน

สวัสดีปีใหม่

Smiley Smiley Smiley

และส่งความสุขปีใหม่ครับ




ขอให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆชาวบล๊อกแกงค์ทุกๆท่าน
มีความสุขเกษมสำราญเบิกบานใจมีชัยโชค
สุขภาพแข็งแรงไร้โรคภัยมาแผ้วพาน
เงินทองธนสารพูนเพิ่มเสริมทวี
อยู่ดีกินดีทำดีสุขดี
ตลอด ปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๖ นี้
ประสบแต่สิ่งดีงามยิ่งขึ้นทุกวันเทอญ




...........................................





Create Date : 31 ธันวาคม 2555
Last Update : 1 มกราคม 2556 22:16:23 น. 34 comments
Counter : 8050 Pageviews.

 



๐...เสียงพร่ำของค่ำนี้...๐

ผ่านวันคืนเคลื่อนคล้อยสามร้อยหกสิบห้า
ต่างปั้นหน้าฉลองว่าผ่องใส
แสร้งว่าสุขตามสื่อลือกันไป
รู้แก่ใจสังคมยังงมงาย

หันมามองส่วนรวมยังต้วมเตี้ยม
ความโหดเหี้ยมอุจาดไม่ขาดสาย
แย่งกันโกยกันกรอกต่างออกลาย
สิ้นยางอายจริงหนอเที่ยวขอเติม

มิได้หวังคืนข้ามปี...แล้วดีขึ้น
แอบสะอื้นก่อนร้องฉลองเฉลิม
พ้นคืนเคลื่อนเดือนดลให้คนเดิม
อย่าเหิมเกริมเก่งกล้าพากันจน

แม้..ข้ามวันข้ามเดือนจนเลื่อนปี
ใครทำดี.ไม่ดี..ย่อมส่งผล
สิ่งชั่วร้าย..แพ้ภัยในสกล
สุขเวียนวน..ถ้วนทั่ว..ชั่วนิรันดร์
........๑๐๙๑๓......


โดย: go far far วันที่: 31 ธันวาคม 2555 เวลา:7:37:21 น.  

 
สวัสดีในวันส่งท้ายปีเก่าครับคุณดิ่ง

ขอบคุณสำหรับภาพจากหมึกวิเศษของ อิโต จาขุชู
ชมแล้วได้รับรู้ถึงพลังในการปาดป้ายน้ำหมึก ได้โน้นนำไปสู่จินตนาการของการสื่อจากภายในแห่งยุคสมัย และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ชมอย่างผมอยากจับพู่กันบ่อยๆครับ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 31 ธันวาคม 2555 เวลา:10:57:21 น.  

 



อ่านบล็อกด้วยความอิ่มเอมใจมากค่ะ ได้ชมงานศิลปะเยี่ยม ๆ ส่งท้ายปีแล้วมีความสุขมาก ๆ ขอบคุณครูดิ่งที่เขียนบล็อกคุณภาพให้อ่านมาตลอด แวะมาทีไรก็ได้อะไรติดสมองกลับไปทุกที และขอบคุณมากสำหรับมิตรภาพดี ๆ ที่มีให้กันเสมอนะคะ


ปีใหม่นี้ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ช่วยดลบันดาลให้ครูดิ่งและครอบครัวมีความสุขมาก ๆ สุขภาพแข็งแรง มีสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิตและโชคดีตลอดทั้งปี สุขสันต์วันปีใหม่ค่ะ


โหวตหมวดศิลปะให้เป็นครั้งสุดท้ายของปีค่า


โดย: haiku วันที่: 31 ธันวาคม 2555 เวลา:12:35:20 น.  

 
ปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่กำลังจะมาถึงนี้

ขอให้คุณดิ่ง สุขกาย สุขใจ ปราศจากโรคภัยทั้งปวง
ปรารถนาสิ่งใดขอให้ได้ดังตั้งใจครับ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 31 ธันวาคม 2555 เวลา:17:59:49 น.  

 




สวัสดีปีใหม่ค่ะท่านประสกดิ่ง


โดย: นาถ (sirivinit ) วันที่: 31 ธันวาคม 2555 เวลา:19:11:10 น.  

 
นาถเพิ่งอั๊พบล็อกใหม่
กรุณาไปเยี่ยมอีกครั้งได้ไหมคะท่านประสกดิ่ง



โดย: นาถ (sirivinit ) วันที่: 31 ธันวาคม 2555 เวลา:19:32:12 น.  

 
ขอบพระคุณมากนะคะท่านดิ่ง


พระที่กรุณานำไปฝากนั้น
พุทธลักษณะงาม สีงาม
ขนาดก็กำลังงาม

นาถมีพระ ภปร ก็ว่าพุทธลักษณะงามมากแล้วนะคะ
ไม่อยากก็อปลงบล็อกใหม่เอง เลยต้องกวนใจค่ะ

อยู่เป็นเพื่อนกันไปนานๆ นะคะ
(นาถปลอบใจตนเองค่ะ )


โดย: นาถ (sirivinit ) วันที่: 31 ธันวาคม 2555 เวลา:19:56:20 น.  

 
ภาพเขียนสวยมาก สวยจริงๆ ขอขอบคุณครับคุณดิ่ง

และขอสวัสดีปีใหม่ด้วยครับ

ขอให้คุณดิ่งแข็งแรง มีความสุขกายสุขใจตลอดทั้งปีนะครับ


โดย: yyswim วันที่: 31 ธันวาคม 2555 เวลา:19:56:22 น.  

 
สุขสันต์วันสิ้นปีค่ะ
ขอคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้ครูและครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง มีความสุขมากๆตลอดปีใหม่ที่จะถึงนี้นะคะ

แต่ละภาพสวยงาม และทรงพลัง ชอบรูปปลาคาร์พค่ะครู ชอบตรงรายละเอียดที่เกล็ดปลา เห็นเป็นชั้นๆเลยทีเดียว


โดย: หวงหลิง IP: 58.8.12.93 วันที่: 31 ธันวาคม 2555 เวลา:21:21:34 น.  

 
มาสวัสดีส่งท้ายปี เพื่อต้อนรับปีใหม่ค่ะอาจารย์


มีความสุข คุณพระคุ้มครอง สุขภาพแข็งแรงนะคะ

ระลึกถึงเสมอ แต่ไม่ได้แวะเวียนมาบ่อยๆ ค่ะ


โดย: อิมาอิซัง วันที่: 31 ธันวาคม 2555 เวลา:22:16:56 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ครับ ภาพเขียนสวยงามมากครับ


โดย: บูรพากรณ์ วันที่: 1 มกราคม 2556 เวลา:6:54:41 น.  

 
ส วั ส ดี ปี ใ ห ม่ 2 5 5 6 ค รั บ










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 มกราคม 2556 เวลา:7:11:16 น.  

 
สวัสดีปีใหม่2556ค่ะครู ช่วงนี้อากาศเย็นลง รักษาสุขภาพนะคะ เพื่อนอยู่อิสาน หนาวยะเยือกเลยทีเดียว

น้องไก่บ้านนี่สมชื่อเลยค่ะ ทำตัวได้บ้องแบ๊วมากและเรียกร้องความสนใจจากคน ผิดธรรมชาติเหยี่ยว แต่ไม่ยอมบอกว่าบ้านน้องอยู่ที่ไหน เลยเลี้ยงกันไปเรื่อยๆ ตอนนี้กลายเป็นขวัญใจที่บ้านไปเสียแล้ว


โดย: หวงหลิง IP: 58.11.4.58 วันที่: 1 มกราคม 2556 เวลา:10:28:01 น.  

 
หาปุ่มโหวตไม่เจอครับพี่ดิ่ง
ผมอยากจะโหวตให้บล็อกของพี่
ถูกใจมกาเหลือเหกินครับ

นอกจากดูภาพสวยๆ
ยังได้รับความรู้จากคำบรรยายของพี่ด้วย

สุดยอดมากๆครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 มกราคม 2556 เวลา:20:23:10 น.  

 
กลับมาทักทาย สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณลุงดิ่ง ^^


โดย: namfaseefoon วันที่: 1 มกราคม 2556 เวลา:21:34:18 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ครับครูดิ่ง

ภาพในบล็อกนี้สุดยอดไปเลยครับ ผู้วาดนี่สุดยอดเลยจริงๆ
หมึกและพู่กัน นี่ล้ำลึกจริงๆครับ
อยากวาดได้บ้างครับ

อนิจจา ผมด้อยความสามารถในการใช้พู่กันมาก เพราะไม่สามารถ undo ได้เหมือนในคอมพิวเต้อร์อ่ะครับ

ขอบพระคุณครูดิ่งที่นำมาให้ชมนะครับ


โดย: Polarbee วันที่: 1 มกราคม 2556 เวลา:22:41:58 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ค่ะพี่ดิ่ง..

ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกช่วยดลบันดาลให้พี่ดิ่งและครอบครัวประสบแต่ความสุข ไร้ทุกข์โรคภัย คิดทำสิ่งใดสมความปรารถนาทุกประการค่ะ


ช่วงปีใหม่นี่แทบไม่ได้เข้าเน็ตเลยค่ะพี่ มีโน่นนี่ให้ทำตลอด ที่นี่เป็นวันหยุดยาวข้ามอาทิตย์กันเลยค่ะยกเว้นป้าโซที่ได้หยุดปกติแค่อาทิตย์กับจันทร์ วันแรกของปีต้องไปทำงาน

เข้ามารับพรปีใหม่แล้วก็เสพความงามจากภาพปลายพู่กัน งามจริงๆค่ะ .. ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาฝากค่ะ..



โดย: ป้าโซ วันที่: 2 มกราคม 2556 เวลา:0:04:12 น.  

 

Photobucket


สวัสดีปีใหม่ 2556 นะคะคุณดิ่ง

ขอให้คุณดิ่งจงประสพแด่ความสุข ความเจิรญรุ่งเรือง

มีสุขภาพที่แข็งแรง และคิดสิ่งใดก็ขอให้สมความปรารถนาในทุกสิ่งทีหวังนะคะ



โดย: Suessapple วันที่: 2 มกราคม 2556 เวลา:1:07:23 น.  

 



สวัสดีปีใหม่ 2556

ครูดิ่ง





ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยอำนวยพร ให้ มีความสุข สดชื่น ร่างกาย
แข็งแรง พบแต่สิ่งดี ๆ ตลอดปีครับ




โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 2 มกราคม 2556 เวลา:10:39:54 น.  

 

สวัสดีปีใหม่2556ค่ะ

ขอให้สุขกาย สุขใจ แข็งแรง เข้มแข็ง มั่งคั่ง มั่นคง

รุ่งเรืองรุ่งโรจน์สดใส




โดย: พรไม้หอม วันที่: 2 มกราคม 2556 เวลา:14:51:55 น.  

 
***Happy New Year 2013*** สวัสดีปีใหม่ 2556 ค่ะคุณดิ่ง
ขอพรคุณพระให้ปีนี้เป็นปีที่ดี ดี ดี และดีมากๆ
มีแต่ความสุข สดชื่น สุขภาพดี สมหวังในทุกด้านนะคะ




โดย: Sweety-around-the-world วันที่: 2 มกราคม 2556 เวลา:17:30:28 น.  

 
โอว...มหัศจรรย์เส้นสายลายหมึกดำระดับเทพจิงๆ นะขอรับ
เป็นศิลปินทั้ง realist+surreal+abstract ในเวลาเดียวกัน



โดย: Bkkbear วันที่: 2 มกราคม 2556 เวลา:20:15:26 น.  

 



HAPPY NEW YEAR 2013 ค่ะคุณดิ่ง

งดงามเหมือนมีชีวิตทุกภาพค่ะ



โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 2 มกราคม 2556 เวลา:20:46:08 น.  

 
สวัสดีปีใหม่จ้า.....


โดย: konseo วันที่: 3 มกราคม 2556 เวลา:13:44:42 น.  

 
สวัสดีค่ะครูดิ่ง

แวะมานั่งชมภาพวาดจีนงดงามอีกรอบค่ะ ลายเส้นของท่านอิโตงดงามมหัศจรรย์มาก ฝีมือเข้าขั้นเซียนเหยียบเมฆโดยแท้ เพียงแค่สะบัดพู่กันไม่กี่ที ภาพก็ออกมางามขนาด ขอบคุณครูดิ่งที่แนะนำให้รู้จักศิลปินท่านนี้นะคะ

โหวต best of blog ให้ค่ะ


โดย: haiku วันที่: 3 มกราคม 2556 เวลา:23:20:31 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 มกราคม 2556 เวลา:6:32:20 น.  

 
สวยมากๆ สวัสดีปีใหม่ค่ะครูดิ่ง


โดย: sawkitty วันที่: 4 มกราคม 2556 เวลา:19:11:05 น.  

 
ปลายปีที่แล้ว
ผมอ่านดอนกีโฆ้เต้
ไม่ได้อ่านนิยายมานานมากครับ
เล่มหนามาก 555

กว่าจะอ่านจบใช้เวลาเกือบ 10 วันแน่ะครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 มกราคม 2556 เวลา:21:03:19 น.  

 
ขอบพระคุณสำหรับคำอวยพรค่ะคุณลุงดิ่ง ^^


โดย: namfaseefoon วันที่: 4 มกราคม 2556 เวลา:22:40:31 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 มกราคม 2556 เวลา:6:40:35 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 มกราคม 2556 เวลา:5:57:05 น.  

 


สวัสดีคร๊าบครูดิ่ง
พอดีเพิ่งได้ของเล่นใหม่
เลยอัพบล็อกช้า


โดย: Polarbee วันที่: 6 มกราคม 2556 เวลา:16:29:10 น.  

 
ผมแยกส่วนเลยครับพี่ดิ่ง
ที่ซื้ออ่าน อ่านแล้วเก็บ
ส่วนบริจาคก็บริจาคไปครับ อิอิอิ

หนังสือตอนนี้ล้นบ้านครับ 555
ชั้นหนังสือแอ่นเลยครับ แหะๆๆๆ

ถ้าทำบ้านใหม่คงต้องออกแบบห้องสมุดดีดีครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 มกราคม 2556 เวลา:20:22:55 น.  

 
สวยมากๆ ค่ะครูดิ่ง ชื่นชมๆ


โดย: sawkitty วันที่: 13 มกราคม 2556 เวลา:21:20:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]









◉ ภุมราท้าโลกกว้าง . . เกินฝัน

หวังวาดสู่สวรรค์ . . . . . เวิกโพ้น

แท้คืนสู่สามัญ . . . . . . มละตื่น

ยังฉงนงวยโงกโง้น . . . .โง่ตื้นลืมตาย ฯ





Dingtech :

ผมเป็นคนธรรมดา ธรรมดา มาจากบ้านนอก
รักศิลปะทุกชนิด ทุกรูปแบบ ทุกสัญชาติ

รักชาติไทย รักประเทศไทย
รักคนไทยทุกคน จงรักภักดี และ
เคารพสักการะพระมหากษัตริย์ไทย

ยินดีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทุกคนครับ





since 16 December 2009

New Comments
Friends' blogs
[Add Dingtech's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.