ความจริง-ความดี-ความงาม.........พยายาม-ส่งมอบ-ให้ปวงชน <<<<<<<<<<<<<<<<<
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
25 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
เด็กชาวนา..ช่างไม้..ยอดศิลปิน : ท่องชนบท กับ ฉีไป๋สือ (齊 白 石)











ไปเที่ยวชมพระราชคอลเล็คชั่นของจักรพรรดิ์กันมาหลายเพลาแล้ว



น่าจะได้ออกบ้านนอกชมนกชมไม้แถวชนบทบ้าง



วันก่อนเพิ่งแวะไปเยี่ยมบ้านตาพรานมา



ได้อ่านตอนเด็กวิดปลา ผมละซึมเลยเพราะ คิดถึงบ้าน





แล้วรูปสีน้ำที่ประกอบเรื่องน่ะ มันสวนบ้านผมชัดๆเลย

กล้วย มะพร้าว สาเก ว่านเศรษฐี สระน้ำเลี้ยงปลา...ฯลฯ

ใช่ทั้งหมดเลย





อย่ากระนั้นเลย






ไปเที่ยวชนบทดีกว่า





.................





.....






..





ที่ชนบทเมืองเซียงถาน ในมลฑลหูหนาน

เด็กน้อยคนหนึ่งกำลังตอกสิ่วเจาะไม้ง่วนอยู่คนเดียว






เด็กคนนี้คือ ฉุนจือ (純 芝) แซ่ ฉี (齊)




นอกจากงานอาชีพคือช่างไม้แล้ว อาจือยังสนใจในวิชาบุ๋น

คือเรื่องหนังสือหนังหา ตั้งแต่วาดรูป แต่งบทกวี

แกะตราประทับ ฝึกปรือลายมืออักษรศิลป์

คู่มือหัดวาดก็คือ "ตำราสวนเมล็ดผักกาด" (芥 子 園 畫 傳) นั่นเอง

ครอบครัวของเขาเป็นชาวนายากจน ทุกคนต้องทำงาน

อาจือต้องเลี้ยงควาย เก็บฟืน ทำงานบ้าน ช่วยแม่ปั่นด้าย

งานช่างไม้ ต่อตู้ แกะสลักลวดลาย เขาชำนาญจนมีชื่อเสียง




สาระพันความลำบากยากแค้น ขาดแคลนเงินทอง เจ็บไข้

ผิดหวังสารพัด พบมาหมดในวัยเด็ก



พอ 7 ขวบ เข้าโรงเรียนหมู่บ้าน ไม่ถึงปีต้องออกจากโรงเรียน

และชีวิตที่ลำบากนี่แหละ สร้างแรงบันดาลใจให้อาจือ



อายุ 27 ปี เริ่มวางมืองานช่างไม้ หันมาเอาดีทางศิลปะที่ชอบ

ทั้งงานวาด งานแกะตรา และงานกวีนิพนธ์






ในวัยหนุ่มเหน้าก็ขึ้นเหนือล่องใต้หาประสบการณ์หลายครั้งครา






จวบอายุย่างเข้าวัยรุ่นหนุ่มกระทง 57 ขวบ (5555+)

อาจือจึงย้ายนิวาสถานสู่มหานครปักกิ่ง

สร้างงานศิลปะเป็นอาชีพต่อไป





ศิลปินที่เขาโปรดปราน เจริญรอยศึกษา ได้แก่

สวีเว่ย (徐 渭) (จิตรกรสมัยหมิง ก้าวหน้าล้ำยุคมาก

สะบัดหมึกยังกะ Jackson Pallock ไปเลียนแบบมา ยังไงยังงั้นเลย)

จูทา (朱 耷 ก็ ปาต้าซานเหริน น่ะแหละ)

หยวนจี้ (厡 濟 ก็ สือเทา สหายท่านปาต้า)

หลี่ซ่าน (李 鱓 หนึ่งในแปดประหลาดแห่งหยางโจว)

และ หวูชางโซว่ (呉 昌 碩 จิตรกรสมัยปลายราชวงศ์ชิง-สาธารณรัฐ)





พออายุเริ่มสู่วัยกลางคน (5555+) ครบ 60 ปี

จึงปฏิวัติ ปฏิรูป ปฏิวูบ ปฏิการ เปลี่ยนแนวทางสไตล์

หันมาสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวรากหญ้า

ชาวไร่ชาวนาประชาชีที่ตีนติดดินมากขึ้น

โดยเอกลักษณ์ของฝีพู่กันปาดเร็วแบบ "เสี่ยอี้" (寫 意)





ชมชอบที่จะวาดรูป ดอกไม้-นก ติณชาติ-แมลง

สาหร่าย-กุ้ง ปู ปลา กบ สน-กระรอก แมว-หนู

ไก่-ลูกเจี๊ยบ เป็ด-ห่าน สน-เหยี่ยว สน-กะเรียน

หลิว-ควาย น้ำเต้า-แมลง หน่อไม้-ฟักแฟง ท้อ-เชอร์รี่

ดอกเหมย-เบญจมาศ แม็กโนเลีย-กล้วยไม้

ดอกบัว-โบตั๋น รูปคน-พระ ปราชญ์กวี-ชาวบ้าน

ไม้กวาด-คราด เสื่อ-ตะกร้า

และซานสุ่ย

ฯ ล ฯ





ล้วนเป็นการมองความงามในสิ่งที่แสนจะธรรมดาสามัญ




สามารถ "เป็นนาย" พู่กันและหมึก

ควบคุม สั่งการ ได้อย่างลื่นไหล

เฉียบคม เด็ดขาด ทั้งทิศทางและน้ำหนัก

ปราศจากความลังเล งุ่มง่าม เงอะงะ

ที่ใส่สีสันก็สดใสบรรเจิด



เรียบ ง่าย



เยี่ยงรสนิยมพื้นบ้านพื้นถิ่นจริงๆ






จึงนับว่าเป็นแนวหน้าแห่งศิลปินประชาชน


ที่สามารถจับคว้าเอาวิญญาณแห่งชาวรากหญ้า "ของจริง"

ขึ้นไปตีเสมอศิลปกรรมของชาวกฎุมพี เศรษฐีนายทุนและราชสำนักจีน


ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ



รัฐบาลจีนสังคมนิยมคอมมูนิสต์จึงยกย่อง

เทียบได้กับศิลปินแห่งชาติ ฉะนั้น





เขาเป็นที่รู้จักในนาม



ฉีไป๋สือ (齊 白 石) ผู้ยิ่งใหญ่



ยิ่งใหญ่ และ ยืนยาว








เกิด 1863 (ตรงกับไทยประมาณช่วงปลายรัชกาลที่ 4)

ตาย 1957 (ปีเดียวกับที่จอมพลผ้าขะม้าแดงทำการปฏิวัติ)

สิริอายุกว่า 94 ปี





ฉีไป๋สือ เดิมชื่อ ฉีหวง(齊 璜)

ยังใช้นามแฝงอีกหลายชื่อ เช่น

ฉีเว่ยชิง (齐 渭 清) อาจือ (阿 芝)

นอกจากผลงานวาดรูป แกะตราประทับ

ก็ยังมีงานเขียนกวีนิพนธ์ บทความเกี่ยวกับศิลปะ

และอัตชีวประวัติ






สำหรับงานแกะตราประทับ ในช่วงแรกเขานิยม "เจ้อพ่าย" (浙 派)

คือสำนักแถบหังโจว มลฑลเจ้อเจียง

(นัยว่าเป็นคู่แข่งกับ "หวูพ่าย" 呉 派 คือ สำนักแถบมลฑลเจียงซู

ดังเคยเล่ามาแล้วบ้างในบล๊อก หยุดฉินฟังหร่วน)



ตอนหลังๆ เขากลับมานิยมแบบตราโลหะสมัยราชวงศ์ฮั่น



ฝีมือของ "พู่กันเหล็ก" (สิ่วแกะตรา) นั้น เฉียบคม เด็ดขาด

ไม่ต่างจากพู่กันธรรมดา






ถ้าสังเกตให้ดี



จะเห็นอิทธิพลของดีไซน์แบบ "ช่างไม้"

ในงานแกะตราประทับของเขา

ท่านที่จมูกดีจะได้กลิ่นขี้เลื่อย ขี้กบ ลอยมาเลยหละครับ






เขาได้รับเกียรติจากวงการศิลปะจีนคือ

เป็น "ประธานแห่งสมาคมศิลปินจีน" เมื่อปี 1953






สหายจิตรกรร่วมสมัยของเขาคนหนึ่งคือ

หวงปินหง (黄 賓 虹) 1865-1955

ก็เป็นศิลปินของประชาชน โด่งดังไม่แพ้กัน

อายุยืนยาวพอๆกัน

ชำนาญในด้านเขียนภาพ "ซานสุ่ย"

คงมีโอกาสนำมาเล่าสู่กันฟัง แบ่งปันกันชม

ในภายภาคหน้านะครับ






ตอนนี้ขอเชิญชมผลงานของ ฉีไป๋สือ ได้แล้วครับ

รับรอง เรียบ ง่าย ดูสบายสบาย


ไมเกรนไม่ขึ้นสมองแน่นอน...5555






รูปที่ 1 ขอเสนอภาพแบบ 'กุงปิ'

หรือ 'ภาพเหมือนจริง' ของเขา ที่หาดูไม่ค่อยได้แล้ว

ฉีน่าจะวาดไว้นานแล้วก่อนจะมาเขียนบันทึกบนภาพ

ซึ่งเขียนบันทึกไว้ตอนอายุได้ 95 ปี(นับแบบจีน +1ของสากล)

อืมม์...ปีสุดท้ายของชีวิตเลยนี่!

ผมสะสมไว้เป็น reproduction ครับ

เป็น ติณชาติ-แมลง ม้วนแขวนขนาดยาวมาก

เฉพาะตัวรูปยาว 4 เชียะ (เกือบวา) ถ่ายรูปลำบากจัง

ยืนยันว่า "วาดให้งามแบบละเอียดละออก็ได้ แต่(ตอนหลัง)ไม่นิยม"



ชื่อภาพ "ฉีไป๋สือเซียนเซิง กุงปิเฉ่าฉง"
(ภาพเหมือนจริง ติณชาติ-แมลง ของฉีไป๋สือ)



ภาพเต็ม



รายละเอียด แมลงปอ



รายละเอียดตั๊กแตน



รายละเอียด แมลง (ไม่รู้ชื่อ)



รายละเอียด แมงกะชอน



รายละเอียด ผีเสื้อ



รายละเอียด ผีเสื้อคู่






รูปที่ 2 ภาพดอกเบญจมาศคู่

เป็น reproduction เช่นกัน เก็บไว้นานจนกระดาษตกกระ









รูปที่ 3 เป็นอัลบัม รวมภาพ

เป็นงาน reproduction เช่นกัน

ฉีวาดเมื่ออายุได้ 91 ปี ครับ

เป็นภาพพิมพ์ไม้ ทำได้คุณภาพสวยงามมาก

ทั้ง 3 ชิ้น เป็นผลิตผลของ "หรุงเป่าไจ" (荣 寶 斋) สตูดิโอศิลปะ

ที่มีชื่อเสียงมายาวนานแห่งมหานครปักกิ่ง




ปกของอัลบัม รวมภาพ



ภาพแรกของอัลบัม ดอกเหมยแดง



ภาพที่สอง กุ้ง



ภาพที่สาม ดอกจื่อเถิง (紫 藤) หรือ Wistaria



ภาพที่สี่ ลูกเจี๊ยบแย่งไส้เดือน



ภามที่ห้า ดอกหลีฮวา (สาลี่)



ภาพที่หก นกกระจอกเกาะกิ่งไม้



ภาพที่เจ็ด ดอกท้อ



ภาพที่แปด เห็ด



ภาพที่เก้า ดอกมู่ตาน (โบตั๋น)



ภาพที่สิบ หน่อไม้



ภาพที่สิบเอ็ด ผลน้ำเต้า



ภาพที่สิบสอง ปลาดุก



ภาพที่สิบสาม ถ้วยสุรากับดอกเบญจมาศ



ภาพที่สิบสี่ ปู



ภาพที่สิบห้า ลูกผีผา (ปี่แป๊)



ภาพที่สิบหก แมลงปอเกาะฝักบัว



ภาพที่สิบเจ็ด องุ่น



ภาพที่สิบแปด กบ



ภาพที่สิบเก้า ใบตอง



ภาพที่ยี่สิบ กระรอกกับเชอร์รี่



ภาพที่ยี่สิบเอ็ด ดอกบานเช้า



ภาพที่ยี่สิบสอง ปลา







เท่าที่ผมเก็บภาพสะสมไว้ เอามาให้ดูก็มากพอสมควรแล้ว


แต่ยังอยากให้ดูเพิ่มเติมอีก ให้จุใจเบื่อไปเลย


นะนะ นะครับ





รูปที่ 4 ภาพดอกซานฉา (คาเมเลีย) กับใบตอง





รูปที่ 5 ภาพวิวทะเลสาบ เรือใบ





รูปที่ 6 ภาพวิวเรือใบ ทิวสน เกาะ





รูปที่ 7 ไผ่ และดอกเหมย





รูปที่ 8 ทิวทัศน์หมู่บ้านในดงไผ่





รูปที่ 9 ผลท้อ กับไหสุรา





รูปที่ 10 เหง้าบัว กาน้ำชา กับขนมเปี๊ยะ





รูปที่ 11 จอบ กับหัวปลี





รูปที่ 12 ทับทิม





รูปที่ 13 แม่ไก่ ลูกเจี๊ยบ และเบญจมาศ





รูปที่ 14 เหยี่ยวเกาะต้นสน





รูปที่ 15 ควายใต้ต้นหลิว





รูปที่ 16 คราดไม้ไผ่





รูปที่ 17 คันเบ็ด ตะกร้าปลา และตั่ง





รูปที่ 18 ชายแคะหู





รูปที่ 19 ชายเมาหลับกับไหเหล้า






กระท่อมหนาวเหน็บ----------------ห้องอ่านหนังสือทะลุหมื่นม้วน(เล่ม)---------------------คนอายุยืน


ใจกู่ฉิน------------------------------นักศึกษาเฒ่า-------------------------คนจรสู่เวย์ซาน(อยู่ซานตุง)


คนเซียงถาน ฉางซา ประเทศจีน-------------ไป๋สือได้ลาภ----------------------------------ผู้คงแก่เรียน


หอซานสุ่ย-------------------------------ละอายใจ---------------------------ท่องเที่ยวไปในวัยเยาว์


ห้องโถง "อีกาเสียใจ"

รูปที่ 20 ตัวอย่างตราประทับของฉีไป๋สือ







ครับ.....ผมกับฉีไป๋สือก็ได้พาเพื่อนๆมาเที่ยวชนบทของจีน

ไม่ได้ต่างจากเมืองไทย ลาว พม่า ญวน เขมร เท่าใด

ชีวิตชาวไร่ชาวนา ที่ว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

ก็ยังคง ซื่อ เรียบ ง่าย งดงาม

เหมือนกันกับทุกแห่งในโลก




ต่างกันแต่เพียงว่า



ระบบของบ้านเรา ชาวไร่ชาวนายังรวมกลุ่มไม่เข้มแข็ง

ถูกนายทุนคนกลาง ร่วมมือกับข้าราชการเง่างี่ขี้ฉ้อ



เอารัดเอาเปรียบ



อยู่ ร่ำ ไป




แล้วเมื่อไรจะ " เรียนรู้ " สักที



?????










............................................







สำหรับดนตรี
งวดนี้..... หวยที่ออก โอ๊ะ! ไม่ใช่

เที่ยวนี้..เอาเป็นเพลงพื้นบ้านละกัน พื้นบ้านแท้ๆ 100 %

ทีแรกว่าจะเอาเพลงพื้นเมืองมลฑลหูหนาน บ้านเกิด ฉีไป๋สือ
หาได้ ฟังดู ไม่สะใจโก๋ ยังมีลีลาชนชั้นบูร์จัวส์อยู่......ม่ายอาว

หาใหม่..............พักใหญ่....................................เจอแหล่ว

เป็นเพลงร้องขับลำนำเคล้าเสียงพิณสามสาย (ซานเสียน 三 弦)
นักดนตรีเป็นชายตาบอด ร้องเพลงอยู่แถวกำแพงยักษ์ในปักกิ่ง
ชื่อเพลง "ครุ่นคำนึงหน้าประตู--น้ำชาถ้วยใหญ่"
(门 前 情 思—大 碗 茶)

เป็นเพลงร่วมสมัย คนแต่งทำนองชื่อ เหยาหมิง (姚 明)
คนแต่งเนื้อร้องชื่อ เหยียนเวียน (阎 肃)
เนื้อความประมาณว่า....

" ข้างนอกประตูนี้แหละที่พ่อวิ่งเล่นยามเยาว์วัย
มีอาหารนิดหน่อยกิน 3 มื้อ กับน้ำชาถ้วยหนึ่ง
เวลาผ่านไป ผ่านไป น้ำตาตกใน ระทม

เมื่อฉันกลับมาจากโพ้นทะเล
ข้างนอกประตูนี้ก็ยังดูเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน
แต่ก็สวยดี ยามมองดู

ฉันสั่งน้ำชามาถ้วยหนึ่ง

ทำไมล่ะ?

ก็กลิ่นมันหอมรวยรื่น
หอมกลิ่นนี้อบอวลถึงสุดขอบฟ้า"



ฟังแล้วแสนสะท้อนใจคนไกลบ้านเมื่อกลับมาเยือน

ร้องบรรเลงได้แซ็บสะใจ นี่แหละชาวรากหญ้าผู้ยิ่งใหญ่
ขวัญใจพรรคกระยาจก 5555+





ขอบคุณ You Tube ที่นำสิ่งที่ไม่คิดว่าจะได้ดู มาดูได้



.........................................................



หวัดดีครับ






....................................



Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 26 สิงหาคม 2553 12:49:11 น. 62 comments
Counter : 13064 Pageviews.

 
ตามลายแทงมาจากบล็อกคุณ haiku ขออนุญาต add blog นะคะ ว่าง ๆ จะค่อย ๆ มาชมงานศิลป์ค่ะ


โดย: chinging วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:32:51 น.  

 
ภาพสวยมากค่ะ ขอบคุณที่ไปเยี่ยมที่บลอกนะคะ ไงก็ขอ add จะได้มาชมงานสวย ๆ อีก


โดย: sunnyorchids วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:40:12 น.  

 
สวัสดีครับพี่ แวะมาดูแล้วก็ขนลุกเลยครับ
ภาพวาดสีน้ำที่เก่าแก่ขนาดนี้ยังเก็บไว้ได้ดีและก็สวยด้วยครับ ท่าน ฉีไป๋สือ ชื่อนี้ผมพึ่งเคยได้ยินแต่พออ่านประวัติ
ของท่านแล้วยิ่งทำให้ขนลุกซู่ ทึ่งมากครับในความสามารถ
บล๊อกนี้สมกับชื่อสโลแกน ของพี่จริงๆเลยครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ...เปิดโลกทัศน์จริงๆเลย


โดย: takaiji วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:57:00 น.  

 
ตามไปเที่ยวชนบทด้วยคนค่ะ


โดย: nompiaw.kongnoo วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:46:20 น.  

 
สวัสดียามเช้าของเมืองไทยค่ะคุณ Dingtech
ท่านฉีไป่สือนี่ท่านมีชีวิตวัยเด็กยาวนานจังเลยนะคะ
ตั้ง 57 ปีถึงได้แตกเนื้อเป็นหนุ่มรุ่นกระทง 555
....
นับว่าท่านเป็นชาวรากหญ้าอย่างแท้จริงเลยทีเดียว
เพราะผลงานแต่ละชิ้นนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากของรอบๆตัวนั้นเอง
...
เราชอบที่หลายรูปเป็นรูปง่ายๆค่ะ เช่นรูปเห็ด ไม่มีอะไรเลยอ่ะ มีแต่เห็ด แต่ก็วาดออกมาสวย
...
เห็นคอลเลคชั่นของคุณ Dingtech แล้ว
น่าจะทำพิพิธภัณฑ์ย่อยๆได้เลยนะคะเนี่ย


โดย: Suessapple วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:6:09:23 น.  

 
วันนี้กำลังเบื่อๆค่ะ
เลยแวะมาอ่านบล็อก

ดูรูปลืมความเบื่อเมื่อตะกี้ไปเลย
ชอบรูปแรก ยิ่งดูรูปอื่นๆ ก็ยิ่งชอบค่ะ
บล็อกคุณ Dingtech มาทีไรได้บริหารนิ้ว
ค่าทีว่าต้องเลื่อนไปเลื่อนมาดูรูป แล้วกลับมาอ่านตัวหนังสือใหม่ อ่านเร็วๆแล้วจำชื่อภาษาจีนไม่ค่อยได้ค่ะ

ท่านฉีไปสือเพิ่งเริ่มเป็นศิลปินอาชีพตอนอายุ 57
อย่างเรานี่เพิ่งยี่สิบเศษ(เศษเกินยี่สิบ ฮา) คิดจะเปลี่ยนอาชีพคงยังไม่สาย

ชอบรูปคราดมาก อยากรู้ว่าบทกวี(หรือเปล่า)รอบๆรูปพูดถึงอะไรน่ะค่ะ

ปล. หิมะยังตกบ้านศิษย์น้อง (นิดๆเท่านั้น แค่เป็นน้ำจิ้ม)
แต่ฟ้าคงเลิกร้องบ้านอาจารย์พี่ไปแล้ว เพราะได้ข่าวว่าที่กรุงเทพร้อนมากกก (แม่เล่าให้ฟังค่ะ)

ปล.สอง เห็นด้วยกะคุณ Suesaaple จริงๆ
ว่าของสะสมของอาจารย์พี่มีมากประหนึ่งพิพิธภัณฑ์


โดย: SevenDaffodils IP: 68.48.3.234 วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:8:38:24 น.  

 
คุณเปิ้ล คุณแป๋ว :

ตัวอย่างของฉีไป๋สือ สอนเราให้รู้ว่า

"ยิ่งแก่ยิ่งมัน" ....ถูกใจคนหลายคนละเซ่ 5555

ครับผม..ผมว่าจะทำบล๊อกนี้ให้ โล่ง เรียบ
โดยไม่พยายามอธิบาย ตีความ หรือใช้ศัพท์เท็คนิค

เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชม...คิดเอง


แต่เมื่อคุณแป๋วถามมา เรื่องรูปคราด
ทำให้ผมคิดได้ว่า ถ้าไม่รู้ภาษาจีน
จะคิดได้เองเพียงบางส่วน ขาดบางส่วน
นี่เป็นปัญหาเรื่องการสื่อสารเนาะ
เป็นว่า ใครถามมา ตอบได้ก็ตอบละกัน...นะนะ นะครับ

ในรูปคราดไม้ไผ่ ฉีบันทึกไว้เป็นภาษาพูด(ร้อยแก้ว) ว่า :
คราดนี้ลักษณะเหมือนกรงเล็บมังกร
เวลาใช้คราดกวาดบนหญ้าสดที่ยังเขียวดังมรกต
หญ้าจะไม่ถูกระคายทำลายเลย
กลับจะเป็นดังหวีที่สางผมให้หญ้าสด
หากใช้กวาดใบไม้แห้งในป่าต้นเฟิง(maple) และต้นสน
จะใช้กวาดได้ดี
ยามเด็กๆไปกวาดใบไม้ที่ศาลาชายป่า
จะขี่คราดเล่นต่างม้าเป็นที่สนุกสนาน

ส่วนอีกด้านขวามือ ฉีบอกว่า มีเวลาน้อย จึงวาดของใช้ในบ้านง่ายๆให้แก่มิสเตอร์...ลงวัน เวลา สถานที่วาด....จบ


ที่กรุงเทพวันนี้แดดจ้าร้อนแรงจนดูระยิบตา
ทำให้ไม่อยากออกบ้านไปไหนเลย


ที่ว่าของผมจะทำพิพิธภัณฑ์ได้แล้ว ยังห่างไกลครับ
เก็บๆสุมๆไว้ราวกะโกดังเละตุ้มเป๊ะ สองสัปดาห์ก่อนปลวกขึ้น หนังสือถูกรับประทานไปหลายสิบเล่ม หัวใจจะวาย....จำต้องละศีลปาณาฯหาเชลล์ท็อกซ์มา 2 โหล รื้อฉีดพ่นกันพัลวัล เหม็นจะตายตามปลวกไปให้ได้....กรรม!


โดย: Dingtech วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:13:16:41 น.  

 
ขอบคุณมากครับคุณ Dingtech ที่นำสิ่งที่ดีๆ มาแบ่งปันให้ได้ชมกัน หวังว่าจะมีสิ่งดีๆมาให้ชมอีก


โดย: เกษม IP: 203.144.144.164 วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:42:13 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปทักทายนะคะ
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: ooy (ooybangyom ) วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:23:47:48 น.  

 
สวัสดีค่ะ ขอบคุณที่แวะไปเบิร์ดเดย์นู๋นุชนะคะ
มีความสุขมากๆเช่นกันค่ะ

เห็นบล็อกนี้แล้วคิดถึงอาก๋งเลยอ่ะ


โดย: hamstermania วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:0:15:22 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ขอบคุณนะคะ
ส่งพรกลับมายังจขบ.ค่ะ


โดย: noklekkaa (papagearna ) วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:34:55 น.  

 
สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับคำอวยพรในวันเกิดที่ผ่านมา
ขอให้สมปรารถนาในทุกสิ่งเช่นกัน



คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: นางฟ้าในโลกไซเบอร์ วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:20:15 น.  

 
หวัดดี . วันมาฆบูชา ทำบุญมาหรือยัง..คะ จขบ.นี้ ช่างจินตนาการนะคะ คล้ายๆกันเลยคะ เด็กบ้านนอกมาก่อนเหมือนกัน รู้จักนะแงกะซอน ..อยาก ที่จะอ่านเรื่องราว แบบนี้ เพราะ ไม่ค่อยมีความรู้ เรื่องจีน ..แต่ก็ชอบอ่าน 3 ก๊ก ..เราอยากมีมุมมองที่หลากหลายยินดีที่ได้รู้จัก ขอ add นะคะ แล้วจะแวะมาใหม่ มีความสุข ในวันหยุดหลายวัน่ ค่ ะ


โดย: tifun วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:13:03:16 น.  

 

ขอบคุณที่เข้าไปอวยพรวันเกิดให้นะคะ

ขอให้มีความสุขเช่นเดียวกันค่ะ


โดย: ลูกสมอเรือ วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:18:31:44 น.  

 
ขอบคุณที่นำพระพุทธชินราชไปฝากในวันมาฆะบูชา นะครับ
ขอให้มีความสุข สนุกอยู่กับเรื่องราวดีๆและงานที่รัก นะครับ


โดย: ลุงเปา จ้า (หนุมานเฒ่า ) วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:19:40:35 น.  

 
มีแต่ภาพสวย ๆ นะคะ...ชอบมากโดยเฉพาะรูปวิวกับหมู่บ้านค่ะ


โดย: behappybecool วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:21:00:10 น.  

 
วันนี้ได้หยุดแถมอีกหนึ่งวันใช่ไหมคะคุณ Dingtech

ขอบคุณสำหรับการ์ดแสนสวย สะอาด สงบ และสว่าง ที่นำไปมอบให้เราค่ะ

และขอให้คุณ Dingtech มีความสุขมากๆ
และหลับฝันดีด้วยค่ะ


โดย: Suessapple วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:2:32:15 น.  

 
มาทันทีเลย แล้วแอบสงสัยว่าคุณ Dingtech เพิ่งตื่นหรือยังไม่ได้นอนคะเนี่ย
บ้านเราเพิ่งสี่ทุ่มห้าสิบค่ะ เลยกำลังสนุกสนานกับการคุยกับเพื่อนๆ
.....
ดอกสีเหลืองก็สวยนะคะ แต่ว่าไม่มีกลิ่นหอมค่ะ
ดอกไม้สวยแต่รูป จูบไม่หอม
เอ๊ะ...ฟังแปลกๆ ฮ่าๆๆๆๆ
ไม่เคยจูบดอกไม้อ่ะค่ะ เคยแต่ดม
....
เอาเป็นว่าเราดูดอกไม้สวยๆไว้ก่อนเนาะ
หอมไม่หอมค่อยว่ากัน
...
อากาศอุ่นขึ้นแล้วค่ะ แต่ลมแรงมากๆๆๆเลย
ทั้งลมทั้งฝน
สู้ๆๆๆๆๆค่ะ


โดย: Suessapple วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:4:57:26 น.  

 
ขอบคุณค่ะ
ถ้าคุณ Dingtech ไม่อธิบาย
คงนึกไม่ถึงจริงๆค่ะ ว่าเปรียบเทียบคราดกับกรงเล็บ
ดูแค่ตัวอักษรที่เรียงราย แค่รู้สึกว่า"ไม่เนี้ยบ"แบบเดียวกับที่เคยเห็นตามภาพวาดจีนอื่นๆ แต่เพราะเหตุนี้ล่ะค่ะเลยทำให้อยากรู้ว่าคำบรรยายภาพเขียนถึงเรื่องอะไร


....

วันนี้ไปวัดมาค่ะ
วัดไทยวันนี้ไทยครึ่งฝรั่งครึ่งเห็นจะได้
เพราะมีรายการทัศนศึกษาของโรงเรียนมัธยม
เสียดายไม่ได้อยู่เวียนเทียนคราวนี้

ขอบคุณสำหรับคำพรวันมาฆบูชาค่ะ


โดย: SevenDaffodils วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:5:55:46 น.  

 
สุดยอดจริงๆค่ะ ภาพสวยมาก ชอบภาพแมลงปอที่สุดเลย



โดย: Small town girl วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:7:11:01 น.  

 
สวัสดีครับผม
ขอแป๊ะชื่อไว้ก่อนครับ อ่านขึ้นต้นก็อยากอ่านต่อซะแล้ว
แต่ผมมีหนังสือเรียนเป็นตั้งต้องอ่านให้จบในวันนี้ครับ
วันนี้มาทักทายในวันหยุดครับผม
ไปทำบุญที่ใหนครับ เดี๋ยวสายๆ ผมจะไปให้อาหารปลาครับที่วัดใกล้ๆบ้าน


โดย: กลิ่นดอย วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:7:46:49 น.  

 
สวัสดีครับ ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมบลอคของสุชีพนะครับ

แล้วยังไงอย่าลืมพา โหระพา สาระแหน่ และกะเพรา มาให้รู้จักนะครับ


โดย: KLIPSCHER วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:10:10:37 น.  

 
รู้สึกว่าผมจะมีงานเล่มนี้ ของศิลปินคนนี้


โดย: . IP: 222.123.147.32 วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:11:40:53 น.  

 
ภาพสวยทุกภาพเลยครับ ถ้าผมต้องใช้ข้อมมูลภาพวาดพู่กันจีน คงต้องเข้ามาขอคำชี้แนะแล้วล่ะครับ


โดย: i.am.Victor วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:12:32:54 น.  

 
โอ๊ย....
แอบอุทานออกมาแบบนี้จริงๆ ครับ
ภาพแมลงปอดูเหมือนจริงมากๆ เลย
ภาพผีเสื้อก็เป็นการใช้พู่กันแบบได้อารมณ์
พอมายุคหลังๆ ลดทอนรายละเอียดจนเหลือแค่โครงร่าง
ดูพลิกสไตล์ไปมากๆ เลยครับ

แอบชอบภาพตราประทับเป็นพิเศษครับ
ไม่รู้สิ ผมว่ามันดูโมเดิร์น ^O^


ปอลอ
แอบดีใจว่าผมยังเป็นวัยรุ่นหนุ่มกระทงได้อีกนาน 5555+


โดย: พลทหารไรอัน วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:20:24:09 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมนะคะ
ไม่ค่อยรู้เรื่องความหมายของภาพซักเท่าไหร่ค่ะ
แต่ก็เคยผ่านตาในหนังสือนิยายเซน
เพราะชอบอ่านอยู่ แต่ก็จะพยายามศึกษาจากที่นี่
โดยการแวะมาอัพเดทบ่อย ๆ คงไม่ว่ากันนะคะ
ยินดีที่รู้จักค่ะ


โดย: ขึ้น15ค่ำ IP: 125.25.148.137 วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:21:09:36 น.  

 
วัยรุ่นกะวัยกลางคนของคุณDingtechห่างกันแค่ห้าปีเองเหรอจ๊ะ

ท่านฉีไป๋สือมีศิลปินตัวจริงเสียงจริงเลยนะคะ คุณสมบัติเพียบบบบ ถนัดหลายด้านมาก ท่านอายุยืนจริง ๆ โหงวเฮ้งท่านดีจัง รูปแรกนั่น อายุคงจะใกล้ร้อยแล้ว แต่ยังดูแข็งแรงและท่าทางเป็นผู้ทรงภูมิจริง ๆ

คุณDingtechสะสมงานศิลปะจีนไว้เยอะจริง ๆ ขอบคุณที่เผื่อแผ่ให้ชมนะคะ ได้ดูภาพจนอิ่มเลย เห็นแล้วตะลึงตึงตึง วาดได้งามขนาด ลายเส้นเฉียบคม ให้อารมณ์ที่หลากหลาย ลายมือที่เขียนอักษรก็สวยมาก

ตราประทับของท่านฉีไป๋สือไม่เหมือนใครจริง ๆ ลายดูทันสมัยมากเลยอ่ะ คำแปลที่กำกับไว้แต่ละตอนนั่น เป็นคำแปลของตราประทับเหรอคะ


โดย: haiku วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:22:40:32 น.  

 
บล็อกนี้มีประโยชน์มากค่คุณคุณDingtech

ประวัติของ ฉีไป๋สือ เพิ่งได้ศึกษาจากที่นี่ค่ะ

ขอบคุณมากๆสำหรับเรื่องราวที่นำมาให้ศึกษากัน ได้ความรู้มากค่ะ


โดย: ยูกะ (YUCCA ) วันที่: 2 มีนาคม 2553 เวลา:1:16:03 น.  

 
สวัสดีครับพี่


ใช้คอมที่ร้านเล่น
อาการก็หง่างเหง่ง
พิมพ์ๆไป คอมดับอีกแล้ว 555
เครื่องผมวันนี้ได้รับคืนมาแล้วครับ
จะได้นั่งลงแล้วทำงานเสียที


มานั่งอ่านบล็อกพี่อย่างเพลินใจ
ใช้เวลาเยอะมากครับในการอ่าน 5555

แต่อ่านแล้วชอบ ได้ความรู้
สุขใจ....

ผมชอบงานภาพพู่กันจีนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
เพียงแต่เมื่อไม่รู้ภาษาจีน ก็ทำได้เพียงดูรูป ดูเส้นสายป่ายปาดของพู่กันที่พลิ้วมากๆ

ชอบคำถามของพี่แป๋ว
ชอบภาพคราดเหมือนกันครับ

พอพี่ตอบความหมายเอาไว้
ยิ่งได้รับความกระจ่างมากขึ้น

ด้ามคราดนี่...ไม่ใช่ใครจะเขียนก็ได้นะครับ
ดูจากเส้น สีของหมึกแล้ว
ลมหายใจของท่านฉีไป๋สือเดินได้เรียบมากครับ

ที่สำคัญชอบตราประทับมากๆเลยครับ
เห็นแล้วอยากออกแบบตราประทับ กะว่าก๋า บ้างแล้วครับ 555





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 มีนาคม 2553 เวลา:7:42:15 น.  

 
สวัสดีค่ะปลาแวะมาขอบคุณสำหรับคำอวยพรวันเกิดค่ะ


โดย: NIRISSA วันที่: 2 มีนาคม 2553 เวลา:13:12:57 น.  

 
ผมแวะไปเยี่ยมที่ multiply ของหลานๆพี่แล่วนะฮับ น่ารักจัง ชอบแมงลักขอหมั้นได้ป่าวฮับ


โดย: KLIPSCHER วันที่: 2 มีนาคม 2553 เวลา:20:32:08 น.  

 
ขอบคุณที่แวะเข้าไปอวยพรวันเกิดให้น้องเหว่งนะคะ ถาพสวยๆทั้งนั้นเลย


โดย: Super Toudou วันที่: 2 มีนาคม 2553 เวลา:21:08:59 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่

โห...ให้ผมดังแบบป๋าเบิร์ดเลยเหรอครับ 5555
ผมขอไม่ดังดีกว่าครับ
ถ้าดังขนาดนั้น
ผมคงไม่มีเวลาเล่นบล็อกแน่ๆเลยครับ 5555









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 มีนาคม 2553 เวลา:7:24:06 น.  

 
คุณไรอัน :

โอ๊ย....โตะจายโหมะเลอ!
ที่แท้โดนแมลงปอกัด
ผมก็เลือกซื้อรูปนี้เพราะเจ้าตัวนี้แหละ....
การพลิกสไตล์ของจิตรกรแบบนี้
ก็ไม่ต่างจากปิกัซโซ่ที่คลี่คลายมาเป็นเจ้าสำนักคิวบิสม์
"หาตัวเอง"เจอเมื่อไหร่ ผู้คนก็จะนับถือเอง
สำนวนของสือเทาบอกว่า ถ้า"ยืมลำไส้คนอื่น" ก็จะไปไม่ถึงไหน
เช่นเดียวกันครับ ตราประทับของฉี มีเอกลักษณ์มากกก


คุณไฮกุ :

ท่านฉีจิตรกรเอกแม้จะมีคนยกย่องสรรเสริญมากมาย
แต่เป็นคนถ่อมตัวมาก
คนเก่งเนี่ย ยิ่งถ่อมตัวก็ยิ่ง "เด่น" นะครับ
เหมือนที่ว่ากัน...สูงสุดคืนสู่สามัญ
ไอ้ที่อหังการ์มากๆก็เพราะมันยังสุกๆดิบๆอยู่
ที่เล่าไว้ในบล๊อก"ข่มอัตตา"นั่น..พยายามเตือนตนเองดอก
ใครมาอ่านเจอถือว่าเป็น by product ...5555
ที่ใต้ตราประทับ เป็นคำแปล...ถูกต้องแล้วคร้าบบบบ!


คุณยูกะ :

ขอบคุณที่แวะมาเม้นท์ครับ
ก็เพียงอยากแบ่งปันที่(ผมว่า)หาดูหาอ่านไม่ค่อยได้นะครับ
คนเก่งก็คงเยอะอยู่หรอก
แต่คนกล้าโม้กล้ามั่วกล้าเดา...อิอิ


คุณก๋า :

ชอบคราดไม้ไผ่เหมือนคุณแป๋ว
เข้าใจวิถีพู่กันได้ลึกแท้.......แสดงว่าผ่านการทดลองมาไม่น้อย
ผมชอบที่ฉีบอกว่า...คราดหญ้าเหมือนหวีผมให้หญ้า
โดนใจจริงๆ
เรื่องตราประทับ ถ้าผมเป็นคุณ
ผมจะทำตราเขียนว่า "ตีพิมพ์หมื่นตา" (万目出版)



โดย: Dingtech วันที่: 3 มีนาคม 2553 เวลา:10:58:49 น.  

 


wow เรื่องยาวเลย ไว้ค่อยมาอ่านนะคะ


โดย: ลั่นทมขาว วันที่: 3 มีนาคม 2553 เวลา:11:32:54 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ
ภาพวาดสวยจังเลยค่ะ



โดย: BongKet วันที่: 3 มีนาคม 2553 เวลา:14:55:57 น.  

 
สวัสดีคะคุณ Dingtech

ภาพเรียบง่าย แต่ดูมีเรื่องราวนะคะ

ปล.ขอบคุณมากคะ สำหรับความสะอาด สงบ สว่าง


โดย: Violeta Lady วันที่: 3 มีนาคม 2553 เวลา:20:16:21 น.  

 
น่าทึ่งอีกแล้ว

กับความสามารถของศิลปิน

และเจ้าของคอลเลคชั่นอันบรรเจิด

นึกถึงศิลปไทยโบราณ หาแนวเหมือนจริงแบบนี้ยากมาก

คงมีชาวบ้านไทยอยากเป็นศิลปินอยู่อีกมากมายนะ

ขอบคุณที่เอามาให้ชมกัน


โดย: หมีบางกอก (Bkkbear ) วันที่: 3 มีนาคม 2553 เวลา:21:43:38 น.  

 
คุณ dingtech เคยทราบไหมคะว่า ภาษาจีนเขียนแบบยาวลงมา เพราะอะไร

เราเคยอ่านหนังสือ เขาว่าเพราะสมัยก่อนเขียนลงกระบอกไม้ไผ่กัน เลยติดมาจนปัจจุบัน แปลกดีค่ะ

ภาพพู่กันจีน มีเสน่ห์มากเลยเนอะ


โดย: Love At First Click วันที่: 4 มีนาคม 2553 เวลา:8:09:53 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่

ผมสนใจคำถามคุณ เลิฟ แอท เฟิร์ส คลิกครับพี่
มารออ่านคำตอบด้วยอีกคนครับ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 มีนาคม 2553 เวลา:8:32:44 น.  

 
มาขอบคุณสำหรับคำพรค่ะ
ถึงคุณ Dingtech จะออกตัวว่าโบราณ
แต่อ่านแล้วปลื้มใจมาก
ขอบคุณมากๆค่ะ

ปล. ลืมเขียนไปว่าลายมือหวัดๆของท่านฉีบนรูปคราด
สวยมีเสน่ห์นะคะ เขียนคอมเม้นท์ไว้ว่าไม่เนี้ยบ จริงๆตั้งใจจะหมายความว่า ไม่เป็นตัวอักษรจีนบรรจงคัดอย่างที่เห็นบ่อยๆ

แป๋วว่าเข้ากับรูปคราดค่ะ คือดูธรรมดาแบบไม่ธรรมดาเลย

ส่วนรูปบนสุด ผืเสื้อ ทุ่งหญ้า แมงปอ ยิ่งดูยิ่งสวยนะคะ ชอบมากค่ะ


โดย: SevenDaffodils IP: 68.48.3.234 วันที่: 4 มีนาคม 2553 เวลา:11:00:34 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคำอวยพรวันเกิดนะคะ


โดย: ถวิลห (jitprapassorn ) วันที่: 4 มีนาคม 2553 เวลา:22:10:18 น.  

 
สวัสดียามดึกๆค่ะ ^ _^ ขอบคุณนะคะที่แวะอวยพร

ขอร่วมโหวต เป็นกำลังใจ ให้ตาตั้ม และ Lion Kids เชียงราย หน่อยนะครับ


คลิก ร่วมโหวตที่นี่ ครับผม ...


นอนหลับฝันดีนะครับ

ขอบคุณมากๆคร๊าบ


โดย: SonSmile วันที่: 4 มีนาคม 2553 เวลา:23:01:55 น.  

 
คุณหมีบางกอก :

คนไทยมีศิลปะแบบของเราอยู่แล้ว โดยเฉพาะแบบไทยประเพณี เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจที่งดงามสุดสุด
ลองกลับไปหาดู "ตู้พระธรรมวัดเซิงหวาย" "ธรรมาสน์ไม้แกะสลักวัดจรรยาวาส"

เหตุที่ไทยเราสมัยก่อนไม่นิยมวาดรูปเหมือนจริงอาจเพราะ(เดา..อีกแล้ว)ครูไม่สอน และไม่มีศิษย์คิด"นอกครู"
ทำไมครูไม่สอน...น่าจะจากความเชื่ออะไรซักอย่าง เช่น เรื่องทางคุณไสย ...
ผมไม่เชื่อว่าเราวาดไม่ได้!
พวกเรามาเริ่มวาดออกแนวฝรั่งสมัยครูอินโข่ง สัดส่วนรูปคน สัตว์ จึงค่อยเหมือนจริงมากขึ้น และทิวทัศน์มีเพอร์สเพ็คทีฟ

คุณหมีเม้นท์มาอีกเรื่องที่บล๊อก จินผิงเหมย
ว่าอยากอ่านที่ถูกเซ็นเซอร์ไปราว 700 อักษร ก็เป็นตอนบรรยายบทรักของพระเอกซีเหมินชิ่งกับหวางลิ่วเอ๋อร์.....
ผมว่าเรื่องโป้อีโรติกสมัยก่อนยังงัยมันก็ไม่ลามกตรงทื่อแบบสมัยนี้หรอกครับ จะออกแนวบทอัศจรรย์ของเรา หรืออย่างมากก็ใช้คำเลี่ยงเป็นอุปมาอุปมัยครับ
อย่าไปอยากอ่านเลยครับ ผมอ่านมาแล้ว (อ้าว! ???)




คุณ Love At First Click :

ภาษาจีนที่เขียนยาวลงมาผมก็ยังฉงนอยู่ มีผู้สันนิษฐาน(เพราะกว่า "เดา")คล้ายๆที่คุณว่า เขียนบนติ้วไม้ไผ่ครับ...ไม่ใช่กระบอกไม้ไผ่ เอากระบอกไม้ไผ่มาผ่าเป็นติ้ว แล้วเอาเชือกผูกร้อยกันเป็นแผ่นม้วนเก็บได้ นักปราชญ์สมัยก่อนจึงต้องแบกตำรากันเป็นเล่มเกวียน ถ้าน้อยหน่อยก็จะมีเด็กช่วยแบกคอน จนมีการคิดผ้าไหม กระดาษ ขึ้นทดแทนจึงเลิกใช้

ผมไม่ค่อยเชื่อทฤษฎีนี้เพราะก่อนยุคใช้ติ้วไม้ไผ่ก็พบว่าอักษรจีนบน กระดองเต่า ภาชนะโลหะสำริด กลองหิน ก็จารึกสลักไว้เป็น"แนวตั้ง"เหมือนกัน หรือว่าใช้ติ้วไม้ไผ่(+หมึก) มีมาก่อน แต่มันสลายผุพังได้ง่ายกว่า จึงเหลือแต่ติ้วไม้ไผ่ที่พิสูจน์แล้วว่าเก่าน้อยกว่า

น่าสนใจนะครับ คอยตามนักจีนวิทยาตัวจริงมาบอกละกัน
ตัวเก๊เดาได้แค่นี้แหละ 5555+


คุณน้องก๋า :

จัดให้ข้างบนแล้วนะคร้าบ
แล้วก็ที่สยามพารากอนเวลาผมไปชอบกินร้าน Pomodoro
อาหารอิตาเลียนอร่อยดี แล้วก็แวะดูหนังสือที่ Asia Books


คุณแป๋ว :

ครับ...เรื่องลายมือนี่ก็เป็นเรื่องยาว
ตัวบรรจง (ข้ายซู)
ตัวบรรจงแกมหวัด (สิงซู)
ตัวหวัด (เฉ่าซู)
ที่มาและที่ไป(วิวัฒนาการ)ของ 3 แบบอักษรนี้
ทางญี่ปุ่นได้นำไปพัฒนาได้กว้างไกลกว่าทางจีนมาก
ใช้เป็นคติหลักในแนวคิดของ ศิลปะ แตกไปถึงสถาปัตยกรรม และDesignsต่างๆ ฯลฯ สนุกมากเจงๆ
วันหน้าจะเอามาเขียนสักบล๊อกครับ


โดย: Dingtech วันที่: 5 มีนาคม 2553 เวลา:7:09:07 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่


อาหารฝรั่งผมไม่ค่อยสันทัดเลยครับ
ครั้งที่แล้วไปลองทานเนื้อโกเบ
เห็นราคาแล้วสะดุ้งครับ 555

แต่คราวนี้อยากไปเดินคิโนะครับพี่
ครั้งที่แล้วได้หนังสือภาพวาดพู่กันจีนมา
ราคาถูกมากครับ ดีกว่าผมไปแบกมาจากประเทศจีนอีกครับ 5555







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 มีนาคม 2553 เวลา:7:37:53 น.  

 
สวัสดียามเกือบเที่ยงของที่นี่ค่ะคุณ Dingtech

ม้าสีขาวที่บล๊อคเราเค้าสวยสง่าจริงๆด้วยค่ะ
ยิ่งเวลาเดินเราชอบจัง แต่ไม่ทันเห็นตอนคนขึ้นไปขี่
ถ้าอาชาเกิร์ล ขี่ม้าเก่ง เราว่าจะงามสง่าทั้งคนทั้งม้าเลยนะคะ
....
แต่ม้าฝรั่งนี่ตัวใหญ่จังเลยค่ะ
แล้วน่ารักมากๆด้วย เวลาเราเข้าไปใกล้ๆ
เหมือนเค้าจะเชื่องนะคะ แบบว่าเข้ามางุงิ งุงิ กับเรา
อิ อิ คือบรรยายไม่ถูก แบบว่าคล้ายๆเข้ามาอ้อน
ไรแบบเนี๊ย 555
....
แอบเอามือไปลูบหน้าเค้าเล่นนิดหน่อยเค้าก็นิ่งเฉยให้เราจับได้
....
มีความสุขมากๆนะคะคุณ Dingtech


โดย: Suessapple วันที่: 5 มีนาคม 2553 เวลา:17:22:05 น.  

 
ยิ่งดูรูปวาดของท่านฉีแล้วยิ่งชอบค่ะ คนเก่ง ๆ เป็นอย่างที่คุณDingtechว่าจริง ๆ ความถ่อมตัวนี่ถือว่าเป็นคุณธรรมอย่างนึงของคนเก่งก็ว่าได้ นึกถึงคำเปรียบเปรยที่ว่า รวงข้าวยิ่งแก่ยิ่งสุกงอมสมบูรณ์มากเท่าใด ก็ยิ่งน้อมรวงลงต่ำนั่นแล

คำแปลตราประทับเพราะดี นี่ถ้าไม่มีตัวเขียนธรรมดากำกับไว้ก็อ่านไม่ออกสักกะตัว ดูแล้วเหมือนลายเรขาคณิตมากกว่า

มาหนนี้ว่าจะฟังเพลงจากในคลิปซะหน่อย ดันโหลดไม่ขึ้นซะนี่ ไว้มาฟังรอบหลังละกันค่ะ


โดย: haiku วันที่: 5 มีนาคม 2553 เวลา:21:37:59 น.  

 
เปิดบล็อกคุณดิ่งเรื่องนี้เป็นครั้งที่3 ครับ
2 ครั้งแรก เปิดค้างเอาไว้ แล้วธุระเข้า ไม่ได้คอมเมนต์
ครั้งที่3 ผมอ่านและดูรูปเพลิดเพลินเลย

ดีหมดเลยครับ

พูดจากใจ ของคนที่ไม่ค่อยมีศิลปินในสายเลือดครับ

อุ อุ คอมพ์ก็ไม่เก่งนะครับ พวกเจฟน่ะ เขาเก่ง ผมเองก็ต้องถามเจฟอยู่บ้าง


โดย: yyswim วันที่: 5 มีนาคม 2553 เวลา:22:48:23 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 มีนาคม 2553 เวลา:7:43:22 น.  

 
งดงาม


โดย: วนิส วันที่: 6 มีนาคม 2553 เวลา:10:28:09 น.  

 
น่าทึ่งจริงๆเลยค่ะ


โดย: 1stUpon วันที่: 6 มีนาคม 2553 เวลา:20:32:58 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะสำหรับพรวันเกิด ขอให้พรนั้นย้อนกลับไปหาคุณด้วยนะคะ




โดย: Madam_Hatyai วันที่: 7 มีนาคม 2553 เวลา:7:18:24 น.  

 
ภาพสวยๆทั้งนั้นเลยนะครับ

ขอบคุณสำหรับคำอวยพรนะครับ ขอให้มีความสุขเช่นกันครับ


โดย: JohnV วันที่: 7 มีนาคม 2553 เวลา:15:11:44 น.  

 
สวัสดีครับพี่ ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมเยียนกันเสมอนะครับ
ที่โมเดลออกมาได้น่ารักต้องยกความดีความชอบให้พี่deawa
ครับพี่เค้าออกแบบดีครับ อิอิ


โดย: takaiji วันที่: 8 มีนาคม 2553 เวลา:12:16:19 น.  

 
ขอบคุณมากนะคะ สำหรับคำอวยพรวันเกิด ขอให้พรนั้นกลับไปหาคนให้ด้วยนะคะ


โดย: ขนมฝรั่งกุฏิจีน วันที่: 8 มีนาคม 2553 เวลา:13:10:41 น.  

 
เมื่อวานเป็นอีกวันที่ผมพูดมากที่สุดในชีวิตครับ 5555
แค่นั่งสัมภาษณ์ก็เป็นชั่วโมงแล้วล่ะครับ

แต่ก็สนุกดีครับพี่

สนุกแล้วก็จบ
เช้านี้ผมก็กลับมาเป็นเจ้าของร้านเครื่องหนังเหมือนเดิมครับ 5555










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 มีนาคม 2553 เวลา:15:42:37 น.  

 
ตามมาชมภาพสวยๆจ้ะ ..สังเกตุ เห็นเข้าใจว่าเป็นภาษาจีน (ตัวคันจิ)คุณไว้เยอะ คุณคงเก่งทางพวกภาษา
เคยเข้าเรียนภาษาญี่ปุ่น ต้องเรียนอักษรคันจิด้วยคนสมัยก่อนเค้าเขียนด้วยพู่กันมันน่าทึ่งมากๆ...
ขอบคุณนะค่ะ ที่เข้าไปเยียมอ่านข่าวสาร...สำหรับคืนนี้หลับฝันดีจ้ะ กู๊ดไนท์


โดย: Opey วันที่: 8 มีนาคม 2553 เวลา:21:49:07 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 มีนาคม 2553 เวลา:8:28:45 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปอวยพรวันเกิดนะคะ ^^
บ้านนี้มีอะไรน่าสนใจเยอะจังเลย ขออนุญาตเข้ามาเยี่ยมบ่อยบ่อยนะคะ


โดย: Moo Yis วันที่: 9 มีนาคม 2553 เวลา:11:18:49 น.  

 
ขอบคุณ, thank you, ขอบใจ, แมว
[widget.sanook.com - *More Feel*]


ขอบคุณที่แวะไปอวยพรวันเกิดนะคะ

ขอบคุณจริงๆค่ะ


โดย: Nongpurch วันที่: 9 มีนาคม 2553 เวลา:14:17:24 น.  

 
ขออนุญาตนะคะ เข้ามากรี้ดท่านฉีโดยเฉพาะเลยค่ะ

ถูกชะตากับรูปวาดของท่านมาก
เห็นทีไรเป็นได้ยิ้ม ได้ไปเห็นรูปที่ไหนสวยๆถูกใจ
ก็รูปของท่านฉีทุกทีไป

คงไม่ผิดถ้าจะฝันว่า อยากเป็นเจ้าของผลงานท่านสักชิ้น เหอะๆๆ

วัยหกสิบนี่คงเป็นวัยกลางคนของท่านจริงๆ
ถ้าจำไม่ผิดตอนท่านอายุเจ็ดสิบแปด เพิ่งมีลูกคนที่สิบสอง หุ หุ

ขอบคุณค่ะ


โดย: Noshka วันที่: 23 เมษายน 2553 เวลา:9:10:29 น.  

 
สวัสดีค่ะ
ร่วมฉลอง BGใหม่ ท่านเลือกสีได้สวยและเรียบร้อยดีจังค่ะ

คราวที่แล้วแวะมา มัวแต่กรี้ดอย่างเดียว วันนี้แวะมาตั้งใจดูและอ่านอย่างละเอียด จากที่เคยรู้จักท่านฉีฯเพียงผิวเผิน วันนี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงประวัติ แรงบันดาลใจและผลงานของท่านมากขึ้น
ให้ชมภาพจุใจจริงๆ มีหลายภาพที่ยังไม่เคยเห็น

ชอบบรรยากาศธรรมชาติในรูปจัง โตมากับธรรมชาติเหมือนกัน
ในบ้านสวนริมน้ำ (แต่อยู่ในกลางเมือง อิ อิ)
ยกคำที่เคยเขียนไว้มาแปะ ทุกครั้งที่ดูภาพเขียนของท่าน จะรู้สึกเช่นนี้จริงๆค่ะ คิดยังไงก็เขียนออกมาแบบนั้น
"ยลผลงานท่านฉีฯ พริบตาคืนสู่ธรรมชาติ ดอกไม้แมลงเริงร่า"

ใช้ภาพเขียนของท่านฉีฯรูปดอกบานเช้ากับตั๊กแตนภาพ เป็น Screen Saver มาสองสามเดือนแล้วยังไม่คิดจะเปลี่ยนค่ะ ดูแล้วจิตใจแช่มชื่นดี

ขอบคุณมากค่ะ


โดย: Noshka วันที่: 5 พฤษภาคม 2553 เวลา:9:18:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]









◉ ภุมราท้าโลกกว้าง . . เกินฝัน

หวังวาดสู่สวรรค์ . . . . . เวิกโพ้น

แท้คืนสู่สามัญ . . . . . . มละตื่น

ยังฉงนงวยโงกโง้น . . . .โง่ตื้นลืมตาย ฯ





Dingtech :

ผมเป็นคนธรรมดา ธรรมดา มาจากบ้านนอก
รักศิลปะทุกชนิด ทุกรูปแบบ ทุกสัญชาติ

รักชาติไทย รักประเทศไทย
รักคนไทยทุกคน จงรักภักดี และ
เคารพสักการะพระมหากษัตริย์ไทย

ยินดีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทุกคนครับ





since 16 December 2009

New Comments
Friends' blogs
[Add Dingtech's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.