ความจริง-ความดี-ความงาม.........พยายาม-ส่งมอบ-ให้ปวงชน <<<<<<<<<<<<<<<<<
Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
23 เมษายน 2553
 
All Blogs
 

เจิ้งป่านเฉียว (郑板桥) : จิตรกรประหลาดแห่งหยางโจว







ในนิยายมังกรหยกมี "เจ็ดประหลาดแห่งกังหนำ"
แต่ในวงการศิลปะจีนมี "แปดประหลาดแห่งหยางโจว" (扬州八怪)
ผมเคยกล่าวเกริ่นถึงแปดประหลาดแห่งหยางโจวไว้แล้วครั้งหนึ่ง
ทั้งแปดเซียนนี่ ล้วนแต่เป็นศิลปินปัญญาชนที่มีความเป็นตัวเองสูง (Individualist)
เรียกแบบศัพท์แสงก็คือ "ปัจเจกชนนิยม"
มีทั้งอดีตขุนนาง กวี จิตรกร นักเขียนอักษรศิลป์ นักแกะตราประทับ
นักบวชนักพรต (พุทธ, เต๋า) และปราชญ์ลัทธิหยู (ขงจื้อ)
หลายๆท่านก็ปะปนหลายบทบาทในตัวตน แต่ยังไงสรุปแล้วก๊อคือ...
"ตัวประหลาด" ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน




แปดประหลาดแห่งหยางโจวประกอบด้วย :

1. เจิ้งเซี่ย (郑燮 1693-1765)
2. อวงซื่อเซิ่น (汪士慎 1686-1759)
3. หลอพิ่น (罗聘 1733-1799)
4. จินหนง (金农 1687-1763)
5. หลี่ซ่าน (李鳝 1686-1760)
6. หวงเซิ่น (黄慎 1687-1766)
7. หลี่ฟางยิง (李方膺 1695-1754)
8. เกาเสียง (高翔 1688-1752)

ขอเอ่ยชื่อไว้พอให้ผ่านหูผ่านตา
มีเวลาแล้วค่อยเจาะหาผลงานกับประวัติมาดูชมกัน




จริงๆแล้วถ้าจะดูศิลปะนั้นผมว่า มี 2 แบบ

แบบแรก.....ดูผลงานเลย ไม่ต้องรู้ชื่อรู้เสียงเรียงใด ประวัติ แรงบันดาลใจไม่ต้องสนใจ
ตัดสินที่งานล้วนๆ ไม่ต้องมีอะไรมาเป็นอคติ (bias)
เช่น ดูตามตลาดนัด ตามห้างสรรพสินค้า นิทรรศการผลงานนักเรียนนักศึกษาหรือศิลปินมือใหม่

แบบที่สอง...ดูทั้งหมด ตั้งแต่ผลงาน ประวัติความเป็นมา
เป็นลูกศิษย์ใคร ใครเป็นครูอาจารย์ จากสำนักไหน
มีแรงดลใจอะไร อย่างไร มีวิวัฒนาการคลี่คลายเป็นอย่างไร
เช่น ดูตามหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ Art dealers นิทรรศการของศิลปินมีชื่อเสียงแล้ว


จำนวนผลงานที่ผ่านมาไม่ทราบจะเกี่ยวกับผลงานชิ้นที่เรากำลังชมอยู่หรือเปล่า
ผลงานชิ้นเดียวสามารถบอกถึงความสามารถของศิลปินได้เลยรึเปล่า
ถ้ามีผลงานดีมากแต่ชิ้นเดียวจะเรียกว่า "ฟลุค" ได้ไหม


ผมก็ว่าของผมไปเรื่อยเปื่อย เพราะได้แต่ดูชมเอา "มัน" อยู่คนเดียว
ไม่เคยไปเป็นกรรมกี้กรรมการตัดสินให้รางวัลใครเขา
จึงดูทุกๆแบบปะปนกันไปเท่าที่มีข้อมูลให้และใจปรารถนา


แต่ในแง่ศิลปศึกษาคงจำเป็นต้องพินิจพิจารณาผลงานจากทุกๆปัจจัยที่มามีอิทธิพลเกี่ยวข้อง
แนวทางนี้ในประเทศตะวันตกจะมีมากกว่าทางตะวันออก
ตำรับตำราหรือบทความ งานวิจัยศิลปะ มีออกมาทุกยุคสมัย
ต่อยอดกันมาไม่หยุดยั้ง หลายครั้งเอาไปสร้างเป็นภาพยนตร์ แต่งเป็นนิยาย ฯลฯ
ทางตะวันออกส่วนมากมีทางข้างจีน ญี่ปุ่น แต่ประเทศอื่นรวมทั้งสยามเราก็มีกระท่อนกระแท่น
การศึกษาวิจัยศิลปะของไทยเราจึงยังมีที่ว่างให้ผู้วิจัยมากโขอยู่





คราวนี้ผมขอเล่าถึงเฉพาะหนึ่งประหลาดนาม...

"เจิ้งป่านเฉียว"


ผลงานของเจิ้งที่ประทับใจผมมาก มีอยู่หลายอย่าง
1. จิตรกรรม ไผ่ กล้วยไม้ดิน หิน
2. อักษรศิลป์ลายมือแบบ "หกส่วนครึ่ง"
3. กวีนิพนธ์ ส่วนมากจะสะท้อนชีวิตคนยากจน บอกอารมณ์เศร้ารันทด




ฉลาด ประหลาด อัจฉริยะ บ้า ผมว่ามันมีเส้นแบ่งกันบางๆเฉียดๆกันอยู่







เริ่มด้วยประวัติสังเขปก่อนละกัน



เจิ้งเซี่ย (郑燮)




รูปลายเส้นภาพเหมือนของ เจิ้งเซี่ย





เกิดปี 1693 (คังซีปีที่ 32)
ตายปี 1765 (เฉียนหลงปีที่ 30)
สิริอายุ 73 ปี
มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ชิง (ตรงช่วงที่ไทยเป็นสมัยอยุธยาตอนปลาย)
มีชื่อรองว่า เค่อโหรว (克柔) มีฉายาว่า ป่านเฉียว (板桥)
บางทีใช้ว่า ป่านเฉียวเต้าเหริน (板桥道人)
เป็นชาวเมือง สิงฮว่า (兴化) มณฑลเจียงซู (江苏)
ได้ร่ำเรียนหนังสือมากจนสอบได้
เป็นซิ่วไฉ (秀才) ในสมัยคังซี
เป็นจวี่เหริน (举人) ในสมัยหย่งเจิ้ง
เป็นจิ้นซื่อ (进士) ในสมัยเฉียนหลง
หลังจากนั้นก็เข้ารับราชการเป็นนายอำเภอหลายอำเภออยู่ 12 ปี

ครั้งหนึ่งในตำแหน่งนายอำเภอเหวยเซี่ยน (濰縣) ในซานตุง
เขาสั่งเจาะช่องกำแพงนับร้อยช่องที่ห้องสำนักงานให้ทะลุไปยังถนน
มีคนถามเขาว่าทำทำไม เขาตอบอย่างเย้ยหยันว่า...
"ข้าต้องการให้กลิ่นเหม็นๆของพวกขุนนางเจ้ายศเจ้าอย่าง
ที่หมกสุมมาแสนนานให้ระบายออกไปเสียบ้าง"

ความที่เป็นคนตรงเห็นแก่ชาวบ้านเขาสั่งเปิดฉางหลวงโดยพละการ
นำอาหารมาแจกจ่ายชาวบ้านที่ประสบภัยอดอยาก จึงถูกตำหนิ
ด้วยความหยิ่งทรนง คิดว่าตนเองทำถูกต้องแล้ว จึงลาออกจากชีวิตขุนนาง
(มีบางกระแสว่าเขาลาออกจากราชการเพราะเจ็บป่วย)

เมื่อลาออกจากราชการก็มาพำนักที่หยางโจว สร้างงานศิลปะ และกวีนิพนธ์
เจิ้งมีความสามารถทางลายมืออักษรศิลป์
ประดิษฐ์วิธีเขียนเอาอักษรจ้วนผสมกับบรรจงแกมหวัด
เรียกว่า อักษรแบบ "หกส่วนครึ่ง" (六分半书) สังเกตให้ดีในลายมือจะเห็น "ก้อนกรวด" อยู่หลายก้อน
เจิ้งยังสามารถแต่งบทกวีได้ สำนวนเฉียบคม ลึกซึ้ง กินใจ แฝงด้วยคารมเสียดสี ประชดประชัน

ก็เป็นบุญของชาวเราที่เขาลาออก เราจึงได้เห็นผลงานทางศิลปะจำนวนมาก
ที่เขาวาด ลายมือที่เขียน และบทกวีที่แต่ง
ล้วนเป็นความงดงามที่ "ประดับไว้ในโลกา"
เป็นอมตะอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก
ตีพิมพ์และแปลอยู่ในห้องสมุดหลายแห่ง





ถ้าให้ผมเลือกว่าชอบใครที่สุดในแปดประหลาด...ผมตอบว่า..ชอบ "เจิ้งป่านเฉียว" ครับ...เพราะว่า




ภาพเขียนกล้วยไม้ดิน (Cymbidium spp.) และไผ่ (Bambusa spp.)

ที่งดงามที่สุด...ในบรรดารูปหมึกจีน...ในโลกนี้

เกิดจากนฤมิตกรรมแห่งพู่กันของเจิ้งป่านเฉียวครับ







เมื่อปี 1983 ที่บ้านเกิดของเขา เมืองสิงฮว่า
มีการสร้าง "อนุสรณสถานเจิ้งป่านเฉียว" (郑板桥纪念馆)
เป็นที่แสดงประวัติและผลงานของเขา





มีเรื่องของเขาแต่งเป็นนิยาย สร้างเป็นหนังแผ่น DVD ผมยังไม่เคยดู
ชื่อ เจิ้นป่านเฉียว บัณฑิตทอง (หวังสี่,หลีจือ,เฉินฮุ่ยหลิน) 6 DVD
บ้างก็เติม อัจฉริยะ(บัณฑิตทอง) บ้างก็เติม จิตรกร(บัณฑิตทอง)
ใครดูแล้วช่วยเล่าให้ฟังมั่ง









เชิญชมผลงานของเจิ้งป่านเฉียวครับ






-1-




-2-




-3-




-4-




-5-



-6-




-7-




-8-




-9-




-10-





-11-




-12-




-13-




-14-




-15-




-16-




-17-




-18-




-19-




-20-




-21-




-22-




-23-




-24-




-25-




-26-




-27-




-28-




-29-




-30-




-31-




-32-




-33-




-34-




-35-




-36-




-37-



-38-



-39-



-40-



-41-



-42-



-43-



-44-



-45-







อิ่มตาเอมใจไปกับไผ่งามๆ กล้วยไม้ดินสวยๆ กับลายมืออันวิจิตรทั้ง 45 ภาพ
ของ เจิ้งป่านเฉียว ไปแล้วนะครับ.....เป็นอย่างไรบ้าง?
ผมว่าหลังจากนี้ใครเห็นรูปเขียนกับลายมือของเจิ้งป่านเฉียว
ต้องจำเส้นพู่กันเขาได้แน่ๆ



อาจจะยังขาดรสชาติของสำนวนกาพย์กลอนของเขา

ถ้ามีคนสนใจช่วยบอกด้วย.....

แล้วผมจะนำเสนอต่อบล๊อกหน้าครับ







.................................................



สำหรับดนตรี เป็นการเดี่ยวเอ้อร์หู (二胡) ประชันกับวงดุริยางค์จีน
บรรเลงเดี่ยวโดยมือซอชื่อโด่งดังนาม ซ่งเฟย (宋飞)
มาในเพลง เอ้อร์ฉวนยิงเยว่ (二泉映月) "เงาจันทร์สะท้อนที่เอ้อร์ฉวน"




ขอบคุณ You Tube ที่ถ่ายทอดความบันเทิงทางหูตามาถึงเรา




สวัสดีครับ






.................................................
.................................................








 

Create Date : 23 เมษายน 2553
39 comments
Last Update : 25 พฤษภาคม 2553 20:56:17 น.
Counter : 7344 Pageviews.

 

สวัสดียามเช้าครับพี่


ใบไผ่ของท่านมีชีวิตครับ

กล้วยไม้ดินก็เขียนได้สวยมาก

ประวัติท่านก็น่าทึ่งมากครับ

ดูรูปแวบแรกผมก็คิดว่าท่านต้องเกิดในยุคแมนจูแน่ๆเลย

อยากอ่านครับพี่
อยากอ่านกวีนิพนธ์ของท่าน

อยากดูผลงานและประวัติของศิลปินท่านอื่นด้วย

บล็อกพี่มีประโยชน์กับคนที่ชอบอ่านจีนศึกษาจริงๆครับ

ขอบคุณพี่มากๆครับมีแบ่งปันความรู้ให้่กับผมและเพื่อนบล้อกทุกคนครับ






 

โดย: กะว่าก๋า 23 เมษายน 2553 8:09:48 น.  

 

5555555+

คุณ Dingtech กำลังฝึกวิชานินจาอยู่เหรอคะ
เมื่อวานมาแล้วหาย
วันนี้มาครั้งแรกแล้วหาย แล้วโผล่มาอีก...ตอนแรกเราว่าจะแค่แอบดู แต่อยากเปนนินจามั่ง เลยต้องกาโดดใช้วิชาตัวเบาเข้ามา 555

เล่นเอารูปสวยยยยจนเราอึ้งมาอัพบล๊อค
อิ อิ...เราก็กำลังกบดานฝึกวิชานินจาอยู่เหมือนกัน กิ๊ กิ๊...

เข้าเรื่องหน่อยค่ะ...
ชอบมากค่ะ ฝีมือวาดรูปของท่าน เจิ้งป่านเฉียว (郑板桥) เส้นพู่กันท่านมีน้ำหนัก หนัก เบา ผ่อน
แม้แต่ลายมือก็สวยมากกกก ขอนุยาดเซฟไว้หน่อยนะคะ เอาเก็บไว้ดู เป็นภาพวาดขาวดำที่หายากมากที่จะดูแล้วออกมาแนวหวานแบบนี้

ขอโทษนะคะที่มาหลังบ้าน
แต่รูปวาดสวยมากจริงๆ
อย่าลืมเอาตอนต่อไปมาลงนะคะ
กาพย์กลอนน่ะค่ะ...ลูกน้องนินจาจะได้มาชมอีก

ขอบคุณค่ะ....^____^


(เพื่อนคนหนึ่งที่ปิดบ้านแล้วฝากข้อความมา...ขออนุญาตเอามาแปะให้หายคิดถึง )

 

โดย: Dingtech 23 เมษายน 2553 8:41:35 น.  

 

สวัสดีเช้าวันศุกร์ค่ะ

"ทำไมต้องเหมือนใคร" คติประจำตัวเราเลยค่ะ

คนที่ไม่เหมือนใครนี่ จะมีมุมมอง ความคิด
และการแสดงออกที่ต่างจากคนทั่วไป
มักจะเป็นสุดยอดของวงการต่างๆเสมอ

ชอบรูปภาพเขียนกล้วยไม้ดินค่ะ เหมือนยังมีชีวิตอยู่เลย
รูปไผ่ก็สวยมาก, -34- แมวมองผีเสื้อจนหน้าเอ๋อเลย
ไม่น่าเชื่อว่าผลงานสมัยอยุธยาตอนปลาย
จะตกทอดมาให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมมากมายหลายรูปแบบนี้

กำลังจะบอกว่าเสียดายที่อ่านกลอนไม่ออก
ลงชื่อแสดงความสนใจ ไว้ ณ ที่นี้ค่ะ

ชมภาพไป ฟังเพลงไปจนจบ จิตใจแช่มชื่นขึ้นมากค่ะ
คุณdingtech นำรูปมาให้ชมจุใจจริงๆ ขอบคุณมากค่ะ

ปล. ช่วงนี้ยังไม่มีหัดแปลเพิ่มเติมเลยค่ะนะคะ
ถ้าได้หัดแปลอะไร สำเร็จแล้วจะมาเชิญท่านไปชี้แนะนะคะ _/|\\_

 

โดย: Noshka 23 เมษายน 2553 8:58:43 น.  

 

 

โดย: Loveaddicted8 23 เมษายน 2553 10:51:50 น.  

 

ภาพเขียนกิ่งไผ่ต้นไผ่ สวยครับ มีเส้นทึบ สีจาง ทำให้เห็นมิติออกมา

ภาพกล้วยไม้ดิน ผมดูไม่ค่อยออก อาจจะเพราะไม่เคยเห็นกล้วยไม้ดินมาก่อนก็ได้

เนื่องจากผมไม่ค่อยรู้เรื่องงานศิลป์ ไม่รู้ท่านอื่นเป็นอย่างผมไหม? ผมอยากจะให้คุณดิ่งช่วยกรุณาแนะนำว่า รูปหมายเลขอะไร ให้ลองพิจารณาตรงไหน แล้วผมจะได้ตั้งใจมองตรงจุดนั้นเป็นพิเศษ

ก้อนกรวด หมายถึงจุดหมึกทึบๆใช่ไหมครับ?

 

โดย: yyswim 23 เมษายน 2553 13:38:58 น.  

 

พี่สิน yyswim :

ผมว่าเรื่องดูงานศิลปะเป็นเรื่องอธิบายกันยากจริงๆ ทำนองนานาจิตตัง ผมว่าดูไปเรื่อยๆแล้วอ่านคำเม้นท์ของเพื่อนหลายๆคน จะพอได้ไอเดีย ...ที่พี่เม้นท์มาก็โอเคแล้วนะครับ

รูปเขียนจีนจะดู "เส้น" "น้ำหนักหมึก" "การจัดวางองค์ประกอบ" "พลัง" "จังหวะ" "ลายมือ" "ตราประทับ" ฯลฯ ผมว่าได้สอดแทรกอยู่แทบทุกบล๊อกที่ผมเขียน

ก้อนกรวด คือจุดหมึกทึบๆ...ถูกแล้วครับ เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของเจิ้งป่านเฉียว

การเห็นของจริงหรือรูปถ่ายของกล้วยไม้ดิน ถ้าเห็นของจริงและจะทราบซึ้งกับรูปเขียนดีขึ้น ยิ่งถ้าเป็นผู้วาดเองแล้วถือว่าเป็น a must ผมขออนุญาตเอาลิงค์คุณ DZym
มาให้ดูครับ :

ภาพกล้วยไม้ดินทนร้อนพันธุ์ลูกผสม
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=psk-dzym&group=8

มีภาพกล้วยไม้ดินทนร้อนพันธุ์พื้นเมือง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=psk-dzym&group=9

ลองดูนะครับพี่

 

โดย: Dingtech 23 เมษายน 2553 18:45:11 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

โดย: นนนี่มาแล้ว 23 เมษายน 2553 19:53:02 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปอวยพรวันเกิดค่ะ

 

โดย: ชอบสีฟ้า 23 เมษายน 2553 22:04:27 น.  

 

ชื่อคนอ่านก็ยากจำก็ยาก
ติดใจรูปภาพหลายรูปเลยค่ะ
สวยจริงๆ
ถ้าเป็นภาพสีล่ะแจ๋วเลย

 

โดย: Yolanrita 24 เมษายน 2553 0:54:51 น.  

 

รูปสวยน่าชื่นชม จนอยากส่งเทียบเชิญไปกระทู้ภาพเขียนพู่กันจีน และที่ชอบพิเศษ เพลงค่ะ เพราะมากๆ

 

โดย: sawkitty 24 เมษายน 2553 6:47:38 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 24 เมษายน 2553 7:51:17 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 25 เมษายน 2553 7:22:51 น.  

 

เพิ่งจะเข้ามา ไม่ทราบเลยว่าคุณดิ่ง ช่วยตอบคอมเมนต์ให้

ขออภัยนะครับ

กล้วยไม้ดิน ของคุณ DZym รูปแรก น่ากิน เนาะ

สีเหมือนน้ำดอกไม้เลย เอ รึว่า เขาเอาชื่อมะม่วง เอามาจากสีของดอกกล้วยไม้ดิน อุ อุ

รูปที่สอง ธรรมชาติก็ให้สีแปลก แดงอยู่ตรงกลางทุกกลีบยาว ที่สีขาวอมเหลือง

ปกติ ดอกกล้วยไม้จะไม่ค่อยหอม แต่จะบานนาน บานทน

เรื่องแมลง หรือผีเสื้อ ไปตอมดอกกล้วยไม้ ไม่ทราบว่าจะมากไหม?

ถ้ามาก ก็แปลว่ามีน้ำหวานมาก


เฉา เหรอ? อุ อุ ผมพูดแล้นนน

เหงาๆ เฉื่อยๆ เรื่องปกติครับ ใครๆก็เป็นกัน

ผม ถ้าต้องทำบางเรื่องที่ไม่ชอบใจ อย่างรดน้ำต้นไม้ ล้างรถ ถูพื้น งี้

เหงาๆ เฉื่อยๆ ชัวร์

แต่หากดูหนังติดเรท อิ อิ ไม่เคยเฉา

อันนี้ ก็พูดแบบ ขี้ เล่น ไม่ได้ชักชวนให้ทำ เดี๋ยวจะติด


เมื่อวาน ตอน 18.45 ดูช่อง 101 มันส์ ถึง พระเดชพระคุณ

ในห้องศุภชลาศัย ผมก็เข้าไปร่วมด้วย ช่วยกันเชียร์ทีมรัก ...โซ้ย ชนะ ไป 3 : 1


อันนี้ เล่าให้ฟังเพราะว่า

หากทำการใด ที่ชอบ ที่รัก มันจะไม่เฉา ไม่เบื่อ


เรื่องเขียนบล็อก...

คุณดิ่ง อาจจะไม่ต้องปักใจ ตายคารัง เฉพาะเรื่องราวจีนในอดีตก็ได้

เรื่องราวจีน ในยุค 2010 เซี่ยงไฮ้ World Expo งี้ น่าเขียนจะตาย

ดี ไม่ดี จะมีคนมามุงดูกัน ถล่มบล็อกไปเลย

คุรดิ่ง อาจจะเอาไปลงในกระทู้พันทิปด้วยก็ได้ เขียนทั้งที ใช้งาน สองเด้ง

ก็ข้อมูลเดียวกันแหละ แต่เพราะเสียแรงค้นมาแสนเหนื่อย งั้น ก็เผยแพร่ ซะสองด้าน


เรื่อง ต้นไม้ ที่ปลูกไว้ที่บ้าน ก็เอามาเขียนได้ นิ

ประสบการณ์ ไง

เคย ล้ม เคย ชู มันเป็นเพราะอะไร เล่าออกมาเลย

แล้วก็ตามเคย นำไปลงในห้องต้นไม้ ห้องจตุจักร สักอีกกระทู้

จะได้มีแฟนอีกสาย แล้วเขาจะได้ตามมาเก็บสแปร์ ศิลป์แห่งจีน ของคุณดิ่งในบล็อก


สถิติบล็อกของคุณดิ่ง ที่คนเข้ามาคอมเมนต์น้อย

อย่างหนึ่งผมว่า เพราะยังไม่มีคนรู้จักคุณดิ่ง

อย่างสอง คือ อ่านแล้ว เมนต์ไม่เป็น หรือไม่ค่อยกล้าเมนต์

พอเห็นบล็อกเงียบๆ คุณดิ่งก็เลย ใจ หาย ใจ เสีย ไม่อยากทำบล็อก กำลังใจ มัน หด


ที่จริง บล็อกของผม ก็มีคนคอมเมนต์น้อยครับ เหมือนที่นี่ แร่ะ

ไม่เหมือนบล็อกของ บิ๊กเจฟ เจ้านั้น คนเขา ติดตรึม


แต่เพราะผมไม่ค่อยแคร์ จำนวนคอมเมนต์

ผม ทำบล็อก เพราะผมอยากจะมอบสิ่งดีๆ ให้ผู้อื่น

ผมอยากจะให้ผู้อื่น อ่าน หรือชม เรื่องที่ผมคัดสรรมาให้

อ่านแล้ว ไม่คอมเมนต์ ก็ไม่ว่าอะไร


สถิติ คนที่เข้ามาบล็อกของผม วันนี้ ณ นาทีนี้ มี Visitor 517 คน

แฮ่ะ แฮ่ะ ก็ควรจะภาคภูมิใจได้ เนาะ

วันนี้ มีหลงเข้ามาตั้ง ครึ่งพัน


ว่า ว่า จะหลังมือ หลังไมค์ ไปให้... เอ ไม่รู้ว่า จะดี หรือเปล่า?

 

โดย: yyswim 25 เมษายน 2553 21:20:42 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่

อ่านเม้นท์พี่สินกับพี่หมี
เห็นด้วยเต็มๆครับ

ตอนผมทำบล้อกช่วงแรก
คนเม้นท์วันละ 3 เม้นท์เองครับพี่ 5555







 

โดย: กะว่าก๋า 26 เมษายน 2553 8:03:14 น.  

 

สวัสดียามบ่ายๆค่ะ แวะมาบล็อกนี้ทีไรไม่อยากไปไหนเลย ชอบเพลงที่นำมาเปิด เพราะมากๆค่ะ

 

โดย: sawkitty 26 เมษายน 2553 14:01:53 น.  

 

ได้ชมภาพวาดจีนงาม ๆ แบบจุใจอีกแล้ว ปกติจะชอบภาพไผ่มาก เคยคิดว่าเขียนอักษรได้ก็น่าจะวาดไผ่ได้ไม่ยาก แต่ลองวาดแต่ไม่เวิร์คจริง ๆ

ท่านเจิ้งที่สะบัดพู่กันวาดไผ่ได้งามมหัศจรรย์ ภาพวิวก็สวยมาก วางจังหวะองค์ประกอบภาพได้สมบูรณ์มาก สังเกตลายมือของท่าน มีแบบบรรจงแกมหวัดซะส่วนใหญ่ แบบนี้เขียนตามได้ไม่ยาก

วันนี้มาชมภาพอย่างเดียว ไว้มาอ่านเนื้อหาวันหลังอีกทีค่ะ อากาศร้อนมาก คุณDingtechระวังจะไม่สบายนะคะ

 

โดย: haiku 26 เมษายน 2553 23:05:06 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 27 เมษายน 2553 8:02:46 น.  

 

ภาพวาดของท่านเจิ้งงามจริง ๆ ค่ะ นอกจากภาพไผ่แล้ว ภาพสัตว์ก็งามขนาด ลายเส้นง่าย ๆ แต่มีชีวิตชีวาดีเหลือเกิน

ชอบภาพไผ่ภาพแรก ภาพที่สี่แล้วก็ภาพที่เก้า โดยเฉพาะภาพที่เก้า วาดกิ่งไผ่ด้วยเส้นที่เล็กมาก ไม่ค่อยจะเคยเห็นเลยค่ะ จังหวะของไผ่ ตัวอักษร และช่องว่างลงตัวพอดิบพอดี สวยมากกก

เห็นภาพวาดแล้วนึกอยากอ่านบทกวีของท่านเจิ้งค่ะ คงงดงามไม่แพ้กัน แปลให้อ่านหน่อยนะคะ

 

โดย: haiku 27 เมษายน 2553 19:06:36 น.  

 

แวะมาสวัสดีตอนค่ำค่ะคุณดิ่ง (ขออนุญาตเรียกตามชาวบล๊อกนะคะ)
บทกวีของท่านเจิ้ง ไม่ต้องเป็นห่วงนะคะ ช่วงนี้อากาศร้อนมากๆไม่อยากให้ท่านปวดหัว
ขอบคุณสำหรับความรู้ด้วยที่ว่า บทกวีของปาต้าซานเหรินยากที่สุด

กลอนคงไม่กล้าแปลแล้ว เพราะรู้ว่าความรู้ยังไม่พอ
แต่นอร์ชก้าแปลเพลงไว้หลายเหมือนกันค่ะ อยู่ในกระดาษอยู่เลย จะทยอยอับนะคะ
ตอนนี้ติดลมอับบล๊อกตัวอักษรจีนพื้นฐาน มีปัญหาจำศัพท์ไม่ค่อยได้ค่ะ
เลยอับบล๊อกเพื่อบังคับตัวเองให้กลับไปจำอักษรจีนพื้นฐานก่อน
ข่าวว่ามีหกร้อยกว่าตัว --' ท่าทางจะเป็นโปรเจคยาวนานหลายเดือนเลยค่ะ
แวะไปบริจาคตัวอย่างประโยคได้นะคะ ถือว่าเป็นวิทยาทานให้นอร์ชก้าตาดำๆ อิ อิ


 

โดย: Noshka 27 เมษายน 2553 21:02:29 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่





 

โดย: กะว่าก๋า 28 เมษายน 2553 7:55:20 น.  

 

ดูข่าวการเมืองไทย
ผมนึกถึงประวัติศาสตร์ปลายราชวงศ์ชิงครับพี่
หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง
ส่อเค้าว่าจะนำไปสู่ความรุนแรงครับพี่


 

โดย: กะว่าก๋า 28 เมษายน 2553 13:35:46 น.  

 

แวะมาสวัสดียามดึก

วันนี้มีแถลงข่าวที่ ม.รังสิต

ด้านนอกมีแถลงลูกปืนกันที่ถนนวิภาวดี

ยังดีที่ออกด้านหลังขึ้นทางด่วนได้..ต้องติดตามข่าวตลอดเวลา

อยากรู้ว่าพ่อหมอทำพิธีไปถึงไหนแร้วว...จะได้นัดปล่อยแสงเฮ้ากวงพร้อมๆ กาน..เอิ๊กกๆ

 

โดย: หมีบางกอก IP: 124.120.201.56 28 เมษายน 2553 20:48:32 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 29 เมษายน 2553 8:06:04 น.  

 



สวัสดีค่ะ

 

โดย: nompiaw.kongnoo 29 เมษายน 2553 11:51:20 น.  

 

สวัสดีตอนค่ำค่ะคุณดิ่ง
ขอบพระคุณมากเลยนะคะที่แวะเข้าไปช่วยแถลงไขที่บ้าน ให้ทราบว่าทำไมภาพเขียนจีนบางรูปมีตราประทับมากมาย ที่จริงตอบที่บล๊อกนี้เลยก็ได้ค่ะ นอร์ชก้ากลับมาอ่านอยู่แล้ว เผื่อคนที่ผ่านมาอ่านความรู้จะได้รับทราบคำตอบไปด้วย

อ้อ เกือบลืมบอกเล่าเผื่อคุณดิ่งเผื่อจะสนใจ ที่ห้องจีนศึกษามีคนตั้งกระทู้ เปิดคลังแสงพู่กันจีนค่ะ ว่างๆเชิญแวะไปเที่ยวนะคะ

พรุ่งนี้จะกลับมาอ่านต่อค่ะ จะทยอยเข้าไปดูวันละบล๊อกนะคะ ต้องใช้เวลาซึมซับความรู้และความงดงามของภาพเหล่านั้นนิดหนึ่ง

 

โดย: Noshka 29 เมษายน 2553 21:15:02 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 30 เมษายน 2553 5:56:53 น.  

 

ถูกหักให้แหกตอบ
.
.
.

เป็นคำคมที่คมมากครับพี่ 5555


 

โดย: กะว่าก๋า 30 เมษายน 2553 14:02:07 น.  

 

มาชมภาพงามๆค่ะ

ขอบคุณที่แวะไปอวยพรวันเกิดนะคะ ^ ^

 

โดย: m3v 30 เมษายน 2553 15:43:10 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 1 พฤษภาคม 2553 8:16:43 น.  

 

จ๊ะเอ๋....
เมย์เด เมย์เด เมเดย์
แว๊บบบบบบบบบบบบบบ

 

โดย: ^________^ IP: 84.19.169.235 1 พฤษภาคม 2553 17:01:00 น.  

 

สวัสดีค่ะพี่
บล็อกนี้แวะมารอบสามแล้ว
ยังไม่ได้เม้นท์เพราะว่าต้องดูนานๆก่อน
กลับไปดูบล็อกท่านปาต้ากับท่านเต้าฉีมาด้วย

สำหรับบล็อกนี้
แป๋วชอบภาพกล้วยไม้ดินมากค่ะ
อยากไปเห็นภาพจริงๆจังเลย
จริงๆพี่ก็เขียนแล้วว่ากล้วยไม้ดิน แต่ตอนดูภาพกลับนึกไม่ออก
นึกอยู่ตั้งนาน แป๋วว่าซิมบิเดียมดูแข็งๆนะคะ แต่กล้วยไม้ในภาพดูอ่อนหวานมาก นึกไปนึกมาเลยจำได้ว่ากล้วยไม้ดินที่ขึ้นตามธรรมชาติที่เคยเห็นที่บ้านคุณอาที่ทองผาภูมิก็โค้งๆสวยๆแบบนี้เหมือนกัน

ภาพปิดท้ายเบอร์ 45 สวยมากค่ะ ถ้ากำลังโมโหใครมา สายน้ำตกในภาพจะหน่วงใจให้ช้าและเย็นลงได้เลย

ไม่ทราบว่าพี่สแกนภาพมาหรือถ่ายจากต้นฉบับนะคะ แต่ที่รู้สึกคือภาพค่อนข้างจะอมเทามาก ทำให้ดูแล้วรู้สึกอึดอัีดนิดหน่อย (เป็นคนเดียวหรือเปล่าไม่รู้)

วันก่อนไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ Freeer & Slacker ในดีซี (ไปเพราะอยากเห็นภาพเขียนจีนเนื่องจากได้อ่านเรื่องต่างๆในบล็อกพี่นี่ล่ะค่ะ ขอบคุณสำหรับแรงบันดาลใจไว้ด้วยนะคะ) ไปถึงพิพิธภัณฑ์ไม่ได้ดูภาพเขียนจีนหรอกค่ะ เพราะมีอยู่นิดเดียว แต่มีฉากภาพเขียนของญี่ปุ่นอยู่ เป็นต้นไผ่และดอกไม้ สวยมากเลยไม่เสียเที่ยวเท่าไหร่ ยืนดูอยู่นานเลย

เท่าที่สังเกตแป๋วว่าสถิติคนมาเขียนคอมเม้นท์ประมาณ 10% ของคนที่แวะเวียนเข้ามาดูนะคะ บล็อกแบบนี้ให้ความรู้เยอะ จริงจัง จะเขียนคอมเม้นท์เล่นๆ ไม่อ่านให้ละเอียดก่อนรู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไหร่ (คือไม่ค่อยสมความตั้งใจของคนทำค่ะ) เท่าที่แป๋วอ่านแต่ละคอมเม้นท์ดู มีแต่ความเห็น"คุณภาพ"ทั้งนั้นนะคะพี่

ขอบคุณพี่อีกครั้งที่ฝากบทความดีๆให้เราได้อ่านกันค่ะ
นับเป็นบล็อกเปิดโลกศิลปะจีนก็ว่าได้ (คือแต่ก่อนแป๋วไม่มีความรู้เกี่ยวกับศิลปะจีนเลยค่ะ)

สุดท้าย อยากเห็นศิลปะและศิลปินไทยในช่วงเดียวกับท่าน เจิ้งป่านเฉียวจังค่ะ แต่ศิลปินไทยมักไม่ลงชื่อใช่ไหมคะ นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออกค่ะ นึกถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทย แล้วให้บอกความแตกต่างว่ายุคไหนเป็นยังไงนี่นึกไม่ออกจริงๆเลย


 

โดย: SevenDaffodils IP: 65.160.41.6 12 พฤษภาคม 2553 0:11:38 น.  

 

คุณแป๋ว :

นานๆแวะมาเยี่ยมทีก็ฝากคำไว้หลายบรรทัด ดีใจครับที่ทราบว่าอ่านหลายรอบ
ที่สุดของจุดหมายของผมก็คือ"แรงบันดาลใจ" นี่แหละ
คุณแป๋วตามไปดูของจริงที่ Freer & Sackler แต่ไม่ได้เห็น
...น่าเสียดาย ที่นั่นมีงานของ ปาต้า เต้าฉี และเจิ้ง แน่นอน
ผมได้ความรู้จากพิพิธภัณฑ์สองแห่งนี้ไม่น้อย (ไม่เคยไป)
Curators เก่งๆมีงานตีพิมพ์มากจริงๆ บางท่านล่วงลับไปแล้ว
ที่อยากเอ่ยถึงคือ ศจ.James Cahill เก่งมากทางภาพเขียนจีน
อีกท่านคือ ศจ.Max Loehr อยู่ Harvard University เสียชีวิตจากโรคพาร์คินสัน เมื่ออายุ 84 ปี
เก่งทางเครื่องสำริดจีนและรูปเขียนโบราณ

กล้วยไม้ดินของเจิ้งเป็นสุดยอดที่สุดจริงๆครับ
แรกเห็นรูปวาดกล้วยไม้จีนก็งง เพราะไม่เคยเห็นกล้วยไม้ใบอ่อนโค้งแบบนี้
พอค้นหาของจริงจึงได้รู้ว่ามีจริง ซิมบิเดี้ยมมีทั้งใบอ่อนและใบแข็ง ทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ

ภาพที่นำเสนอผมถ่ายรูปจากหนังสืออัลบัม ฝีมือห่วยแล้วยังมือสั่น(เป็น hyperthyroidism)
บางรูปไม่ชัดก็ตกแต่งบ้าง สีเลยออกเพี้ยนๆเทาๆเก่าๆ
แต่รูปเก่าของจริงมักจะออกสีโทนนี้แหละครับ

ภาพเขียนไทยช่วงเดียวกับเจิ้งป่านเฉียวคือสมัยอยุธยาตอนปลาย
ผมว่าเป็นยุคที่ศิลปไทยเจริญสุดยอด อ่อนช้อยงดงาม มีรายละเอียดวิจิตรที่สุด
ตัวอย่างคือ ภาพลายรดน้ำฝีมือครูวัดเซิงหวาย ข้างล่างนี้



นอกจากนี้ ภาพผนัง ไม้แกะสลัก ปูนปั้น สมัยนี้นับเป็นเอกของไทยเรา
เสียดายไม่มีบันทึกชื่อ-ประวัติของศิลปินเลย

แล้วคุยกันใหม่ครับศิษย์น้อง

 

โดย: Dingtech 12 พฤษภาคม 2553 19:56:57 น.  

 

ศิษย์พี่

ขอบคุณมากๆสำหรับคำตอบค่ะ
ตอนไปพิพิธภัณฑ์ เขาส่งภาพท่านปาต้าไปแสดงที่อื่นค่ะ
เสียดายสุดๆ แต่ไม่เป็นไร นั่งซับเวย์ไปชั่วโมงเดียว เอาไว้จะหาโอกาสไปใหม่ค่ะ

มีหนังสือของท่านปาต้าเล่มหนึ่ง ตอนแป๋วเห็นชื่อศิลปินเป็นภาษาอังกฤษ นึกตั้งนานว่าใคร แต่จำได้เพราะรูปดอกไลแลคที่พี่ลงไว้ในบล็อก (รูปนั้นคงจะมีชื่อเสียงมากนะคะ เป็นรูปที่พี่เขียนไว้ว่าเป็นรูปดอกไม้ค่ะ) เดี๋ยวหนหน้าจะไปสอยมาเป็นเจ้าของ หนที่แล้วยืนคิดตั้งนานเพราะกลัวอ่านไม่รู้เรื่องค่ะ

รูปลายรดน้ำที่พี่ลงสวยสุดยอดไปเลยค่ะ

 

โดย: SevenDaffodils IP: 65.160.41.6 12 พฤษภาคม 2553 20:44:01 น.  

 

คุณแป๋ว :

หนังสือเล่มนั้นต้องเป็น "In Pursuit of Heavenly Harmony" ผมถ่ายรูปในเเล่มมาลงบล๊อกหลายรูป
แต่รูปดอกไลแลคนี้ เด่นเพราะเป็นรูปสีที่ค่อนข้างน้อยมากๆ
ไม่ใช่งานที่มีชื่อเสียงของเขาหรอก
ระดับศิษย์น้อง(ที่มีวิญญาณศิลปินเยอะแยะ)อ่านไม่ยากหรอกครับ ซื้อเก็บๆไว้ดูเถอะจร้า

 

โดย: Dingtech 13 พฤษภาคม 2553 17:06:40 น.  

 

สายัณหสมัยสวัสดิ์ค่ะท่านเล่าฮูขา


หม่วยน้อย มาค่อยๆ และเล็มงานเก่าๆ ค่ะ
ภาพตู้พระธรรมลายรดน้ำของศิลปินบ้านเซิงหวาย
หายากมากค่ะ

ตอนนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ลายตู้ ทั้งสี่ด้านที่ไม่เหมือนกันเลยสักด้าน งดงามหาในเทียบ
ฝีมือชั้นบรมครู

ค้นจากเน็ท ได้แต่วัดระฆัง มีบานประตู ตู้พระธรรม
แล้วก็เกิดย่อไม่เป็นอีก...

มีวัดอื่นๆ แต่ยังไม่อยากได้ตอนนี้ นอกจากตู้พระธรรมค่ะ

วันนี้วันหยุด และไม่มีงาน พอได้มีเวลาหาอาหารใส่สมองค่ะ

วิเปิดบล๊อกดวงตราของพี่ไว้แล้วนะคะ
เผื่อจะเมตตานำอะไรไปแปะให้อีก วิรอมา 104 วันเชียวหนา
จึงได้ดวงตราดวงแรกของพี่...555 หม่วยน้อยรอได้ค่ะ

ทานข้าวไปด้วย จิ้มดีดไปด้วย เวลามันเป็นเพชรเม็ดหุ้มทองค่ะเล่าฮูขา...


โสรวารสิริวิบูลย์ รัศมิสูรย์ส่องจำรูญจรัสเรืองนะคะ

 

โดย: sirivinit 29 พฤษภาคม 2553 20:37:18 น.  

 

ตอบตรงนี้ก็แล้วกันนะคะ


หม่วยน้อย กลับไปดูบ้านตัวเองเลยเห็นค่ะ...555
ขอบพระเดชพระคุณค่ะ

กำลังหาทางนำไปไว้บล็อกพิเศษค่ะ
เล่าฮู ใจดีชมัด...

 

โดย: sirivinit 29 พฤษภาคม 2553 21:02:17 น.  

 

ดนตรีในบล็อกนี้ ไพเราะกว่าที่อื่นค่ะ
ตื่นมาฟัง ให้หลับไปใหม่ค่ะ
อาการหนักแล้วค่ะท่านเล่าฮู..

 

โดย: sirivinit 2 มิถุนายน 2553 16:53:31 น.  

 

กลับมาเสพสุนทรียรสซ้ำค่ะ

ชมภาพงาม โดยเฉพาะภาพสุดท้าย
อ่านคำงามความไพเราะ และสะใจมากค่ะ

"ข้าต้องการให้กลิ่นเหม็นๆของพวกขุนนางเจ้ายศเจ้าอย่างที่หมกสุมมาแสนนานให้ระบายออกไปเสียบ้าง"

ดนตรีเสนาะแสน...เงาจันทร์สะท้อนที่เอ้อร์ฉวน

ที่นี่แหละ ปรีดิ์มานรื่นรมณีย์โดยแท้...ค่ะ

 

โดย: sirivinit 3 มิถุนายน 2553 1:01:57 น.  

 

งดงาม ทรงคุณค่า ติดตามงานต่อไปครับ

 

โดย: จักรกฤษณ์ IP: 49.228.241.2 25 พฤศจิกายน 2565 14:03:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]









◉ ภุมราท้าโลกกว้าง . . เกินฝัน

หวังวาดสู่สวรรค์ . . . . . เวิกโพ้น

แท้คืนสู่สามัญ . . . . . . มละตื่น

ยังฉงนงวยโงกโง้น . . . .โง่ตื้นลืมตาย ฯ





Dingtech :

ผมเป็นคนธรรมดา ธรรมดา มาจากบ้านนอก
รักศิลปะทุกชนิด ทุกรูปแบบ ทุกสัญชาติ

รักชาติไทย รักประเทศไทย
รักคนไทยทุกคน จงรักภักดี และ
เคารพสักการะพระมหากษัตริย์ไทย

ยินดีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทุกคนครับ





since 16 December 2009

New Comments
Friends' blogs
[Add Dingtech's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.