|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
[สาระน่ารู้] ด็อกเตอร์หญิงคนแรกของโลก
นี่เป็นบทความที่ไอซ์เขียนเอาไว้สำหรับลงคอลัมภ์ "สาระน่ารู้" ในเวปไซด์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ไม่รู้ว่าจะได้ลงเมื่อไหร่ แต่เอามาให้อ่านเล่นกันก่อนนะคะ ^^ .....................
ด็อกเตอร์หญิงคนแรกของโลก
ปัจจุบันนี้ การที่ผู้หญิงมีการศึกษา อ่านออกเขียนได้ กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว และการที่ผู้หญิงร่ำเรียนจนจบปริญญาเอก ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร ด็อกเตอร์หญิงมีอยู่มากมายทุกมุมโลก หลายคนสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคมในด้านต่างๆ ไม่น้อยไปกว่าผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักธุรกิจ หรือแม้แต่ดำรงตำแหน่งสูงๆ ทางการเมือง
หากเมื่อไม่กี่ร้อยปีก่อนนี้เอง การศึกษานั้นถูกจำกัดเพียงสำหรับผู้ชาย จะหาผู้หญิงที่อ่านออกเขียนได้สักคนนั้นยากเต็มทน
ด็อกเตอร์หญิงคนแรกของโลก เกิดในช่วงเวลานั้นเอง
เอเลน่า ลูเครเซีย คอร์นาโร พิสโคเปีย (Elena Lucrezia Cornaro Piscopia) เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1646 ในครอบครัวของตระกูลชั้นสูงของเมืองเวนีส ประเทศอิตาลี
สมัยนั้นประชากรในเมืองเวนีสแบ่งออกเป็นสามระดับชั้นคือ
* Plain People - เป็นประชากรระดับล่างสุด ไม่มีสิทธิออกเสียง และไม่สิทธิรับตำแหน่งสำคัญทางการเมือง * Citizens - ประชากรทั่วไป มีสิทธิออกเสียง แต่ไม่มีสิทธิรับตำแหน่งทางการเมือง * Nobles - ตระกูลชั้นสูง เป็นเหล่าบุคคลที่มีบทบาททางการเมือง
ปกติแล้ว สตรีที่เกิดในตระกูลชั้นสูงขาดอิสระ พวกเธอไม่สามารถไปไหนมาไหนตามลำพังได้ เวลาออกไปข้างนอกต้องคลุมหน้า เพื่อรักษาผิวพรรณ ไม่ได้รับการศึกษาอะไรนอกจากการเรือน ศิลปะ หรือ ดนตรี ทางเลือกในอนาคตก็มีไม่มากนัก เมื่อเติบโตขึ้น ลูกผู้หญิงคนแรกของครอบครัวอาจจะได้แต่งงาน แต่ลูกผู้หญิงคนถัดๆ ไป มีทางเลือกระหว่าง เข้าสำนักนางชี หรือเป็นสาวที่ไม่ได้แต่งงาน คอยเลี้ยงดูลูกๆ ของพี่น้องผู้ชายไปตลอดชีวิต
โชคดีที่ จีโอวานนี่ แบ๊ปทิสต้า คอร์นาโร (Giovanni Baptista Cornaro) บิดาของเอเลน่า ซึ่งดำรงตำแหน่ง Proculator of San Marco เป็นผู้ใฝ่การศึกษา และต้องการสร้างชื่อเสียงของตระกูลคอร์นาโรให้เป็นที่รู้จัก เขาสนับสนุนให้เอเลน่า บุตรีคนโตได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่ ต่างจากครอบครัวในตระกูลสูงอื่นๆ ในเวนีสขณะนั้น
เอเลน่าเริ่มเรียน ละติน กรีก ไวยกรณ์ และดนตรี ตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เมื่อเติบโตขึ้น นอกจากเธอจะชำนาญด้านภาษาละตินและกรีกแล้ว เธอยังมีความรู้ภาษา ฮิปบรู สเปน ฝรั่งเศษ และ อารบิค อีกด้วย ด้วยความสามารถทางภาษาของเธอ ทำให้เธอได้รับยศ Oraculum Septilingue
ตอนที่เอเลน่าอายุสิบเจ็ด เธอได้รับการกล่าวขานว่าเป็นนักดนตรีฝีมือเยี่ยม เธอสามารถเล่นเครื่องดนตรีอันเป็นที่รู้จักกันในสมัยนั้นได้หมด ตั้งแต่ harpsichord (คีย์บอร์ดชนิดหนึ่ง) clavichord (คีย์บอร์ดชนิดหนึ่ง) พิณและไวโอลิน เธอแต่งเพลงเองเอาไว้หลายเพลง
นอกจากความรู้ทางด้านภาษาและดนตรีแล้ว เอเลน่ายังได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์ โหราศาสตร์ ศาสนศาสตร์และปรัญชาอีกด้วย
ในปี 1672 บิดาของเอเลน่าส่งเธอไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยพาดัว (University of Padua) ตัวเอเลน่าเองนั้น ไม่ได้ใส่ใจเรื่องปริญญา เธอเพียงแต่ต้องการศึกษาต่อเท่านั้น แต่บิดาของเธออยากให้โลกได้รับรู้ถึงความสามารถของบุตรีของเขา และคะยั้นคะยอให้เอเลน่าสมัครเข้าสอบ Doctorate of Theology (ปริญญาเอกทางด้านศาสนศาสตร์)
แต่การสมัครของเธอในครั้งนั้นได้รับการต่อต้านจากโบสถ์แห่งโรมันแคธอริก (The Roman Catholic Church) เพราะปริญญาเอกทางด้านศาสนศาสตร์นั้น เป็นปริญญาสำหรับผู้ที่จะรับตำแหน่ง บาทหลวงแห่งเวนีส (Bishop of Venice) และการที่ผู้หญิงจะดำรงตำแหน่งนี้นั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย
หลังจากผ่านการถกเถียงโต้แย้งมากมาย เอเลน่าจึงเปลี่ยนไปสมัครเข้าสอบ Doctorate of Philosophy (ปริญญาเอกด้านปรัชญา) แทน และครั้งนี้โบสถ์แห่งโรมันแคธอริกยอมรับ โดยมีหัวข้อวิทยานิพนธ์คือ Aristotle's Posterior Analytics and Physics และกำหนดวันสอบของเธอในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1678
ตามกำหนดการณ์แรก การสอบของเอเลน่าจะถูกจัดขึ้นที่หอประชุมของมหาวิทยาลัยพาดัว แต่เนื่องจากมีผู้คนมากมายต้องการมาชมการตอบปัญหาระหว่างการสอบของเธอ สถานที่สอบจึงถูกเปลี่ยนเป็น Cathedral of the Bless Virgin ในเมืองพาดัว
ตลอดเวลาการสอบ ทั้งผู้สอบและเหล่าผู้เข้าชมล้วนตื่นตะลึงกับการตอบคำถามอันเฉียบแหลมของผู้เข้าสอบสาว เอเลน่าแสดงให้เห็นว่า เธอมีความรู้กว้างขวางมากเกินพอที่จะได้รับปริญญาเอกสาขาปรัชญา ในวันเดียวกันนั้นเอง เอเลน่า ลูเครเซีย คอร์นาโร พิสโคเปีย ก็ได้รับการประกาศว่าเป็น Magistra et Doctrix Philosophiae หรือปริญญาเอกสาขาปรัชญาจากมหาวิทยาลัยพาดัว ขณะนั้นเธออายุ 32 ปีเท่านั้น นับเป็นด็อกเตอร์หญิงคนแรกของโลก นอกจากนั้นเธอยังได้รับ Doctors Ring (แหวน) Teachers Ermine Cape (ผ้าคลุม) Poets Laurel Crown (มงกุฏ) อีกด้วย
หลังจากนั้นเอเลน่าก็ทำงานเป็นอาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยพาดัว เธอเป็นสมาชิกของกลุ่มวิชาการหลายสาขา และสนุกสนานกับการพูดคุยถกเถียงด้านวิชาการกับนักวิชาการทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นด้าน ศาสนศาสตร์ ปรัชญา ศิลปศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์
นอกจากงานด้านวิชาการแล้ว เอเลน่ายังทุ่มเทเวลาให้กับการกุศล ช่วยเหลือคนยากจนในเมืองเวนีสและพาดัว
เอเลน่า ลูเครเซีย คอร์นาโร พิสโคเปีย Magistra et Doctrix Philosophiae หญิงคนแรกของโลก เสียชีวิตด้วยโรควัณโรคตั้งแต่ยังเยาว์ในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1684 ขณะนั้น เธอมีอายุเพียง 38 ปีเท่านั้นเอง ร่างของเธอได้รับเกียรติให้ฝังในโบสถ์ เซนต์ จัสติน่า (Santa Giustina) แห่งเมืองพาดัว
มหาวิทยาลัยพาดัว ไม่ได้มอบปริญญาเอกให้กับนักศึกษาหญิงคนไหนอีกเลยเป็นเวลาอีกหลายสิบปี และเป็นที่น่าเศร้าว่า ตัวเอเลน่าเองก็ถูกผู้คนลืมเลือนไปตามกาลเวลา
ชื่อของหญิงสาวที่ยอดเยี่ยมคนนี้ ได้ถูกค้นพบใหม่อีกครั้งในปี ค.ศ. 1985 เมื่อหลุมฝังศพผุพังของเธอถูกพบโดยบังเอิญในโบสถ์เก่าแก่ ประวัติอันน่าสนใจของเธอ จึงได้รับการถ่ายทอดเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้นหลังจากนั้น
ถ้าคุณได้มีโอกาสไปมหาวิทยาลัยพาดัว คุณจะได้เห็นรูปปั้นของ เอเลน่า ลูเครเซีย คอร์นาโร พิสโคเปีย ตั้งอยู่อย่างสง่างามที่นั่น หน้าต่างในวิทยาลัยวาซซาร์ (Vassar College) ซึ่งเป็นกระจกสีนั้นเป็นภาพระหว่างที่เธอกำลังสอบปริญญาเอก นอกจากนี้ ภาพวาดของเธอยังประดับอยู่ในห้องอิตาเลียนของมหาวิทยาลัยพิทท์ส์เบิร์กอีกด้วย
แม้ว่า เอเลน่า ลูเครเซีย คอร์นาโร พิสโคเปีย จะจากไปนานแล้ว แต่เธอก็ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลกจากวันนี้และต่อไปอีกนานเท่านาน
 Elena Lucrezia Cornaro Piscopia June 5, 1646 - July 26, 1684
References:
//www.agnesscott.edu/lriddle/women/piscopia.htm //www.kappagammapi.org/_story.html //womenshistory.about.com/library/bio/blbio_elena_piscopia.htm //www.trincoll.edu/depts/phil/philo/phils/piscopia.html
Create Date : 16 มีนาคม 2548 |
Last Update : 16 มีนาคม 2548 22:22:01 น. |
|
5 comments
|
Counter : 1310 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: วัฏสีร์ ธรรมจารี (spiralhead ) วันที่: 17 มีนาคม 2548 เวลา:16:34:26 น. |
|
|
|
โดย: p_jung IP: 221.128.97.122 วันที่: 28 กรกฎาคม 2548 เวลา:22:21:12 น. |
|
|
|
โดย: นิรนาม IP: 61.90.68.251 วันที่: 23 มกราคม 2552 เวลา:21:13:38 น. |
|
|
|
โดย: คนบ้านิยาย IP: 61.90.68.251 วันที่: 23 มกราคม 2552 เวลา:21:17:37 น. |
|
|
|
|
|
|
|
แล้วคนที่เป็น ปริญญาเอก คนแรกของโลก นี่ เป็นใครอะครับ แล้วใครเป็นคนมอบปริญญาให้กับเค้า