Group Blog
มกราคม 2555

1
3
4
7
9
10
12
13
14
17
18
20
21
23
25
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
อ่านคน อ่านใจ อ่านจากการแสดงออก.
อ่านคน อ่านใจ อ่านจากการแสดงออก...

ในการบริหาร เราจำเป็นต้องรู้จักนิสัยของคน นิสัยของลูกน้อง ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะบริหารจัดการลูกน้องได้อย่างเหมาะสม จึงจำเป็นต้องอ่านคน ให้ขาดว่า เขามีนิสัยลักษณะเช่นใดนั้น คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่า มันยาก แต่ลองดูทฤษฎีเหล่านี้หน่อยนะครับ มันอาจจะจะช่วยให้คุณสามารถ เข้าใจจิตใจและนิสัยของคนที่เพิ่งรู้จักได้มากกว่าเดิมมากๆ

ซึ่งมีหลักใหญ่ๆอยู่ 4 อย่างคือ

1. มองหารูปแบบของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ

พฤติกรรมซ้ำ ๆ หมายถึง รูปแบบการกระทำที่ใช้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกหรือสถานการณ์เกิดขึ้นเป็นประจำจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของนิสัย เช่น เป็นคนกระตือรือร้น หรือเฉื่อยชา , เป็นคนชอบท่องเที่ยวหรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นต้น

ดังนั้น เราไม่ควรสรุปผู้อื่นจาก
- พฤติกรรมในครั้งแรกที่รู้จักกัน ( First Impression )
- พฤติกรรมในทาง Negative ที่นาน ๆ เกิดครั้งหนึ่ง

2. หาพฤติกรรมที่เป็นนิสัยของเขาจริง ๆ ( เกิดขึ้นตามธรรมชาติ )

ตามหลักพื้นฐาน พฤติกรรมของมนุษย์สามารถ แยกได้ 2 ประเภท คือ

1. พฤติกรรมที่สร้างขึ้น อาจจะเพื่อบทบาทหน้าที่การงานในสังคม หรือ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเอง เป็นต้น

2. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ คือ พฤติกรรมที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกลายเป็น "นิสัย" อาจมีสาเหตุจากการเลี้ยงดู หรือถูกหล่อหลอมจากสภาพสังคม เป็นต้น

คำถาม: เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพฤติกรรมที่คน ๆ นั้นแสดงเป็นของจริงหรือสร้างขึ้น ?

สังเกตจาก "ระดับความเข้มข้นของพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน" ปกติคนเราอาจมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปบ้าง แต่จะไม่ต่างจากลักษณะนิสัยเดิม ๆ มากนัก แต่ถ้าเบี่ยงเบนแบบสุดกู่ แสดงว่าเป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่ถูกสร้างขึ้น
เมื่อแยกได้แล้ว ไม่ต้องสนใจพฤติกรรมที่สร้างขึ้น ให้คอยสังเกต จุดเปลี่ยน เพื่อที่เราจะได้เลือกพฤติกรรมที่จะแสดงออกได้อย่างเหมาะสม

3. ต้องสรุปให้ได้ว่าบุคคลผู้นั้น คบได้ หรือ ไม่น่าคบ

ลักษณะของคนที่น่าคบ มีนิสัยที่จัดอยู่ในประเภท คนเมตตาผู้อื่น คือ ใจกว้าง, ยุติธรรม, ดูจริงใจ , พร้อมที่จะให้อภัยผู้อื่น เป็นต้น

ลักษณะของคนที่ไม่น่าคบ หรือคบได้แต่ต้องระวัง คือ พวกที่ทำอะไรหวังผลประโยชน์เพื่อตัวเองฝ่ายเดียว , มีความอาฆาตต้องการลงโทษผู้อื่น เป็นต้น
ข้อสังเกต : คน ๆ หนึ่งจะเป็นได้เพียงหนึ่งลักษณะเท่านั้น คือ เมตตา หรือ ไม่เมตตา

4. มองหาจุดแตกต่าง

ต้องแยกให้ออกว่า การกระทำหรือบุคลิกลักษณะภายนอกอะไรบ้างที่ขัดแย้งกับภาพรวมทั้งหมดของคน ๆ นั้น เพราะภายใต้ความแตกต่างนั้น ย่อมมีเหตุสำคัญบางประการ และถ้าเราค้นพบที่มาของความแตกต่างนั้นได้ จะทำให้เรารู้จักคน ๆ นั้นได้อย่างลึกซึ้งและถูกต้องตามความจริง

สรุป: การที่เราจะอ่านความคิดผู้อื่นได้ถูกต้องตามสถานการณ์ หรือ ณ เวลานั้น ๆ เราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า อะไรคือพฤติกรรมซ้ำซากแท้จริงที่ถูกหล่อหลอมจน กลายเป็น นิสัย ของเขา เมื่อนั้นเราจึงจะสามารถอ่านความคิดของผู้อื่นได้จากรายละเอียด



Create Date : 22 มกราคม 2555
Last Update : 22 มกราคม 2555 0:15:19 น.
Counter : 280 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ใบไม้เบาหวิว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Friends Blog
[Add ใบไม้เบาหวิว's blog to your weblog]