Group Blog
มกราคม 2555

1
3
4
7
9
10
12
13
14
17
18
20
21
23
25
27
28
29
30
31
 
 
15 มกราคม 2555
All Blog
จิตวิทยาของความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน

จิตวิทยาของความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน
บุคคลทุกคนมักต้องมีกลุ่มมีพวก ตัวอย่างกลุ่มหรือพวกของกลุ่มบุคคล เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง ทีมงาน สมาคม ชมรม ผู้ทำงานในหน่วยงานเดียวกัน หรือแม้กระทั่งการทำงานในองค์การธุรกิจก็จัดว่าเป็นกลุ่มหรือพวกประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยคนจำนวนมากมาอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันในบทบาทหน้าที่ต่างๆ กันไป ซึ่งแต่ละคนมักมีเพื่อนฝูงร่วมงานทั้งที่อยู่ในระดับที่เหนือกว่า เท่ากัน และเพื่อนร่วมงานที่ต่ำกว่า ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด บุคคลเหล่านี้ต้องทำงานเกี่ยวข้อง และติดต่อสัมพันธ์กัน ถ้าหากบรรยากาศของความสัมพันธ์เป็นไปด้วยดีมักส่งผลให้บุคคลนั้นเป็นสุข เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ความสุขส่วนใหญ่ของชีวิตจึงมักขึ้นอยู่กับมนุษยสัมพันธ์ ทั้งในแง่การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นเพื่อให้มีความสุขในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น และทำงานร่วมกับผู้อื่น บุคคลจึงควรเรียนรู้และปรับปรุงตนเองในเรื่องจิตวิทยาของความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน อันได้แก่มนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงานนั่นเอง

ในที่นี้จะกล่าวถึงความหมายและความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์ ลักษณะของกลุ่มทำงานที่มีสัมพันธ์อันดี และการพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน

ความหมายและความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ

คำว่า "มนุษยสัมพันธ์" (human relations) นี้ มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน จะยกมากล่าวเพียง 3 ตัวอย่าง ดังนี้

เอ็ดวิน บี ฟลิปโป (Flippo 1966:15 อ้างถึงในจรูญ ทองถาวร 2536:2) ให้ความหมายไว้ว่า มนุษยสัมพันธ์คือ การรวมคนให้ทำงานร่วมกันในลักษณะที่มุ่งให้เกิดความร่วมมือ ประสานงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อให้บังเกิดผลตามเป้าหมาย

คีธ เดวิส (Davis 1957:9) กล่าวว่า มนุษยสัมพันธ์ เป็นการจูงใจบุคคลในกลุ่มให้ร่วมมือกันเพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ บังเกิดผลเป็นที่น่าพอใจทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม

ประยูร ทองสุวรรณ อธิบายว่า มนุษยสัมพันธ์เป็นเรื่องราวที่ว่า ด้วยพฤติกรรมของคนที่มาเกี่ยวข้องกับ การทำงานร่วมกับองค์การหรือหน่วยงาน เพื่อให้การทำงานร่วมกันดำเนินไปด้วยความราบรื่น บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

จากความหมายของมนุษยสัมพันธ์ที่ยกมาเป็นตัวอย่างทั้ง 3 ความหมายดังกล่าว อาจสรุปได้ว่ามนุษยสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์การใดองค์การหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง เพื่อดำเนินการให้องค์การนั้นหรือสังคมนั้นบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะมี 2 ลักษณะด้วยกันคือ มนุษยสัมพันธ์อันดีและมนุษยสัมพันธ์ไม่ดี ถ้ามีมนุษยสัมพันธ์อันดี บุคคลในองค์การหรือสังคมดังกล่าวก็จะมีความรู้สึกพึงพอใจต่อกันและกันมีความเข้าใจอันดีต่อกัน ร่วมมือกันประสานงาน ช่วยเหลือ แบ่งปันและให้อภัยต่อกัน แต่ถ้ามนุษยสัมพันธ์ไม่ดี บุคคลในองค์การนั้นหรือสังคมนั้นก็มักจะไม่ชอบพอกัน ขัดแย้งกัน ไม่ร่วมมือกัน ไม่ช่วยเหลือ ต่างคนต่างอยู่หรือกลั่นแกล้งกัน ส่งผลให้งานส่วนรวมขององค์การหรือกลุ่มสังคมนั้นๆ เสียหาย บุคคลในกลุ่มขาดความสุข ซึ่งในท้าที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้นๆ ไม่มากก็น้อย

ที่กล่าวมานี้ นอกจากเป็นการอธิบายความหมายของมนุษยสัมพันธ์ ยังสะท้อนให้เห็นได้ว่า นักวิชาการส่วนใหญ่ มักมองความสำคัญ ของมนุษยสัมพันธ์ ในแง่ของการนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานร่วมกันในหน่วยงาน ซึ่งถ้าทำงานร่วมกัน ในบรรยากาศของความสัมพันธภาพอันดีต่อกันนอกจากจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพของงานแล้วยังส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิต ของบุคคลที่มาทำงานร่วมกันด้วยการมองเห็นความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ต่อการทำงานในหน่วยงานนี้ สอดคล้องกับแนวคิดของ แมรี่ ปาร์กเกอร์ โฟลเล็ตต์ ซึ่งเป็นนักบริหารที่ทำงานทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการแนะแนวอาชีพ โดยโฟลเล็ตต์มีความเห็นว่า ในการดำเนินงานนั้น ผู้เป็นนายทุนไม่ควรคิดแต่เรื่องเงิน หากแต่ควรใช้จิตวิทยา ในการบริหารงานและในการสร้างความสัมพันธ์พัยดีในหน่วยงาน ถ้าผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกผูพันต่อกันและต่อองค์การ คือมีมนุษยสัมพันธ์อันดี จะช่วยลดความขัดแย้งในหน่วยงานลงได้ ซึ่งถ้าความขัดแย้งลดลงก็น่าจะเป็นแนวทางให้ประสิทธิภาพของงานเพิ่มขึ้น แนวคิดดังกล่าวนี้ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาค้นคว้าของ สถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกี สถาบันดังกล่าวได้วิเคราะห์ประวัติของบุคคลถึงหมื่นคน และผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยด้านบุคลิกภาพ ลักษณะส่วนตัว และการปฏิบัติต่อผู้อื่นช่วยให้กลุ่มตัวอย่างประสบความสำเร็จถึงร้อยละ 85 แต่ปัจจัยด้านความสามารถ ด้านมนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญมาก ทั้งต่องานและชีวิตส่วนตัวของบุคคล ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า มนุษยสัมพันธ์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในชีวิตและการงาน เรื่องของมนุษยสัมพันธ์ จึงเป็นเรื่องที่ควรเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตและการทำงานร่วมกันในสังคม

องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์

การสร้างมนุษยสัพันธ์ให้เกิดขึ้นในกลุ่มคนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใด จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเป็นปัจจัย สนับสนุน หรือเป็นอุปสรรคของความสัมพันธ์ของกลุ่มแล้วดำเนินการสร้างเสริมพัฒนา และปรับปรุงปัจจัยต่างๆ เหล่านั้น ให้เป็นปัจจัย ที่เอื้อต่อมนุษยสัมพันธ์ที่ดีให้ได้ สำหรับองค์ประกอบของมนุษย์สัมพันธ์นี้ พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ มีความเห็นว่ามี 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ การรู้จักตน การเข้าใจผู้อื่น และการมีสภาพแวดล้อมที่ดี โดยได้เสนอเป็น แผนภูมิแสดงองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเมื่อนำมา ประยุกต์ใชั เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานในองค์การ อาจกล่าวได้ว่า องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์ ในองค์การ ประกอบด้วยการรู้จักตน การเข้าใจเพื่อนร่วมงานและการสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้ดี ซึ่งอาจจะเขียนเป็น แผนภูมิแสดงองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงานได้ดังนี้

มนุษยสัมพันธ์
--------------------------------------------------------------------------------

รู้จักตน เข้าใจผู้อื่น สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี

วิเคราะห์ตน วิเคราะห์ความแตกต่างของผู้อื่น วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม

ปรับปรุงตน ยอมรับความแตกต่าง ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม

พัฒนาคนให้เข้ากับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม


มนุษยสัมพันธ์
--------------------------------------------------------------------------------
ตนสุข ผู้อื่นสุข สิ่งแวดล้อมดี

แผนภูมิแสดงองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์

จากแผนภูมิซึ่งแสดงความสัมพันธ์ในหน่วยงาน จะเห็นได้ว่ามนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงานมีองค์ประกอบเป็น 3 ประการ คือ การรู้จักตน การเข้าใจเพื่อนร่วมงาน และสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดี ในเรื่องของการรู้จักตนนั้น บุคคลควรต้องวิเคราะห์ตน เพื่อให้รู้จักตัวเองอย่างแท้จริง ทั้งลักษณะที่ดีและไม่ดี แล้วปรับปรุงตน ในส่วนที่เป็นลักษณะที่ไม่ดี ซึ่งอาจสร้างปัญหาและอุปสรรค ในการทำงาน และการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น นอกจากจะเป็นแนวทางให้วิเคราะห์เพื่อนร่วมงานและเข้าใจเพื่อนร่วมงานให้มากขึ้นแล้ว ยังช่วยยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และพัฒนาตนให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดี ส่วนความเข้าใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ในที่ทำงานดี จะเป็นตัวกระตุ้น ให้บุคคลวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมในที่ทำงานแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น รวมทั้งเป็นแนวทางพัฒนาตน ให้เข้ากับที่ทำงาน ให้ได้ด้วย ซึ่งทั้งหมดดังกล่าวนั้น จะส่งผลต่อมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ เมื่อมนุษยสัมพันธ์ในองค์การดี ก็จะทำให้บุคคล เป็นสุข เพื่อนร่วมงานสุข และสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานดี ซึ่งหมายถึงประสิทธิภาพที่ดีขององค์การ จึงเห็นได้ว่า การศึกษาในเรื่อง องค์ประกอบ ของมนุษยสัมพันธ์ดังกล่าว จะข่วยให้บุคคลเกิดความเข้าใจและเกิดแรงกระตุ้น ในการประพฤติ ปฏิบัติให้เกิด องค์ประกอบ ดังกล่าว อันนำมาซึ่งความสัมพันธ์อันดีในองค์การ






Create Date : 15 มกราคม 2555
Last Update : 15 มกราคม 2555 21:40:06 น.
Counter : 347 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ใบไม้เบาหวิว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Friends Blog
[Add ใบไม้เบาหวิว's blog to your weblog]