Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
1 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 

”ยูโดกับระบบนึกคิด และการวางตัว” ภาพสะท้อน20เดือนผ่านเข้ามาในหัว

วันนี้ได้มีโอกาสไปซ้อมยูโดที่มหาลัยทำให้เห็นภาพสะท้อนของตัวเองในอดีตเมื่อ20เดือนที่แล้ว ต้องยอมรับเลยว่าโคโดกังเป็นสถาบันที่สุดยอดในเรื่องระบบการสอนสามารถเปลี่ยนผมกลายเป็นอีกคนนึงภายในระยะเวลาแค่1ปี

ตัวผมเมื่อ18เดือนก่อนคือมั่นใจในพละกำลังและแรง(ควาย)ของตนเองมากๆ แพ้ไม่เป็นล้มไม่ได้รุ่นพี่สอนมาก็เข้าหูอยู่หรอกครับ แต่ให้ทำจริงก็ทำได้ไม่ถูกต้องเท่าที่ควรแต่ก็ยังคิดว่าถ้าลองกันจริงๆผมซึ่งแรงมากกว่าก็คงชนะได้ไม่ยากและมันก็เหมือนมีสิ่งตอกย้ำให้เชื่ออย่างนั้น เพราะตอนนั้นในชมรมมีรุ่นพี่ปี3อยู่7คนปี2 1คน และชั้นปีเดียวกันอีก2คน รวมผมด้วยก็เป็น11คน ในการรันโดริทุกๆครั้งผมก็ชนะมาได้ตลอดด้วยการอาศัยแรงล้วนๆจะมีก็แต่รุ่นพี่ปี3 2คน กับรุ่นพี่ปี2อีก1คน ที่ไม่มีโอกาสได้ลองแม้แต่ครั้งเดียวเพราะว่ารุ่นพี่ปี3คนนึงกับรุ่นพี่ปี2นั้นเค้าทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนผมนั้นเอง และตอนรันโดริเค้าต้องทำหน้าที่กรรมการและควบคุมไม่ให้เกิดอันตรายส่วนรุ่นพี่ปี3อีกคนนึงนั้นเป็นประธานชมรม ส่วนใหญ่จะติดธุระทั้งเรื่องงานและเรื่องเรียนไม่ได้มาเห็นหน้าคร่าตากันซักเท่าไหร่สรุปก็คือผมเจอแต่พวกเพิ่งเริ่มเล่นไม่นาน(ถึงจะซ้อมมานานแล้วก็ตามที)บางคนจะตัวใหญ่น้ำหนักเยอะกว่าผมแต่ก็ไม่สามารถเรียกแรงออกมาสู้กับผมได้พูดง่ายๆก็คือกับพวกที่เริ่มเล่นด้วยกันแล้วผมไม่ต้องอาศัยอะไรเลยนอกจากแรงล้วนๆงัดกันเข้าตัวแข็งเหยียดแขนยังไงก็ตามทีสุดท้ายผมก็อึดและทนกว่าอาศัยลูกมั่วจัดการลงไปได้ทุกครั้ง

ในความลืมตัวและทะเยอทะยานที่จะไปให้ถึงสายดำของผมนั้นทำให้ผมค้นพบ “โคโดกัง” ขอยอมรับและบอกตามตรงว่าวันแรกที่เดินทางไปที่โคโดกังนั้น ไม่ได้กะจะไปเรียนแต่กะจะไปแข่งเก็บแต้มให้ครบเพื่อที่จะได้สายดำดังที่ตั้งใจไว้แต่อาจารย์ที่ผมเจอวันแรกนั้นเค้ามืออาชีพ เพียงแค่ครั้งแรกที่ไปซ้อมเข้าคู่กับอาจารย์ท่านนั้น(5ดั้ง)ประมาณ20วินาทีถัดมาเค้าก็ตั้งสินใจไม่ให้ผมลงแข่งและให้ไปเริ่มเรียนแทนด้วยเหตุผลที่ว่าการตบเบาะของผมยังไม่ดีพอการจับระหว่างเข้าคู่ซ้อมนั้นก็เห็นได้ชัดว่าเพิ่งเริ่มเล่น 2เดือนต่อจากนั้นผมก็ได้มีโอกาสเริ่มเรียนเป็นขั้นตอนที่โคโดกังตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว(อ่านได้จากตอนเก่าๆ “1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ”)

ในระหว่างนั้นนอกจากท่าและเทคนิคต่างๆที่ผมได้เรียนรู้ผมก็ได้ซึมซับสิ่งที่เรียกว่า ”ยูโดกับระบบนึกคิด และการวางตัว”เข้ามาเรื่อยๆถึงแม้ท่าและเทคนิคที่อาจารย์แต่ละท่านสอนมาอาจจะลืมไปบ้างทำได้ไม่ถูกต้องนักแต่สิ่งที่เรียกว่ายูโดกับระบบนึกคิดและการวางตัวได้ฝังอยู่ในจิตใจผมไปเรียบร้อยแล้วครับอาทิเช่น

- ยูโดคือการอาศัยแรงและน้ำหนักของคู่ต่อสู้ในการทุ่มคู่ต่อสู้ถ้าใช้แรงงัดแรงอาจจะคล้ายยูโดแต่ไม่ใช่ คำว่า”มวยปล้ำ”น่าจะสื่อความหมายได้ดีกว่าคำว่า”ยูโด”

- ความหมายของคำว่า “รันโดริ”รันโดริมิใช่การเชือดเฉือนอย่างเอาเป็นเอาตายเพื่อชัยชนะหากแต่เป็นการพัฒนาฝีมือไปพร้อมๆกันระหว่างคู่ซ้อมไม่ว่าจะทุ่มได้หรือว่าถูกทุ่มล้วนแต่เป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น คำถามคือทำไมถึงทุ่มไม่ได้ทำไมถึงทุ่มได้ ทำไมถึงถูกทุ่มและค้นหาจังหวะตรงนั้นให้เจอเมื่อเจอแล้วก็ปรับปรุงต่อไปจุดสำคัญอีกอย่างคืออย่าเกร็ง(มือ) อย่างอ(ตัว)และใช้ท่าพื้นฐานเท่านั้น ซ้อมก็คือซ้อมถูกทุ่มก็ตบเบาะไม่มีปัญหา

- รันโดริ 3 ขั้น กับการเรียนรู้3แบบ (ตรงนี้เคยเขียนไปแล้วในบทความเก่าๆที่ไหนซักแห่งไม่ขอเขียนซ้ำ)

- ทุ่มได้ไม่พอต้องทรงตัวอยู่และช่วยเซฟคนที่ถูกทุ่มด้วยตรงนี้เป็นการห้ามไปในตัวเกี่ยวกับท่าสุเตมิวาซะ เพราะว่าหากใช้ท่าพื้นฐานทุ่มออกมาได้สมบูรณ์แบบแล้วการจะเอาไปปรับใช้เป็นสุเตมิวาซะต่างๆนั้นไม่ยาก แต่กลับกันหากคนทุ่มด้วยสุเตมิวาซะได้ก็ไม่สามารถตอบได้ว่าจะทุ่มด้วยท่าพื้นฐานได้รึเปล่าอีกอย่างนึงพวกที่แปลกๆที่ทุ่มได้นั้นมีได้หมายความว่าจังหวะครบถ้วนสมบูรณ์แบบแต่ร้อยละ80เกิดจากคู่ซ้อมไม่รู้จักท่าต่างหากถ้าไปเจอกับพวกที่ระดับเดียวกันแล้วท่าทุ่มพวกนั้นอาจจะไม่สามารถใช้ได้สุดท้ายแล้วท่าพื้นฐานต่างๆนั้นแหละที่จะตัดสินกันได้และยังช่วยให้ปลอดภัยในการรันโดริอีกด้วย

- คุสุชิ สกุริ คาเคใช้ได้เสมอกับทุกท่าทุ่มและจะต้องไล่ตามลำดับจากทำลายบาลานซ์แล้วค่อยเข้าท่าตามด้วยการทุ่ม ทั้งหมดนี้ต้องเป็นการประสานกันระหว่างจังหวะทั้งหมด มือขาลำตัวรวมไปถึงใบหน้าด้วยจุดนี้แหละที่ยากและต้องทำการฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นพันๆครั้ง(ไม่ได้พูดเล่นนะครับจะเชี่ยวชาญก็ต้องฝึกฝนเกินพันจริงๆ)

.

.

.

.

บัดนี้ผ่านมาแล้ว20เดือน

.

.

.

.

วันนี้ผมได้ไปซ้อมที่มหาลัย(จริงๆก็ซ้อมมาหลายอาทิตย์แล้วแหละครับ) แต่วันนี้เป็นการซ้อมตัวต่อตัวกับเด็กใหม่สายขาวที่เพิ่งเล่นไม่นานระหว่างที่รันโดริผมก็นึกถึงตัวผมเมื่อ20เดือนก่อนขึ้นมาได้คือ

- กระหายในชัยชนะชัยชนะในที่นี้คงหมายถึงการทุ่มคู่ซ้อมอีกฝั่งได้ จนลืมคิดถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับตัวเราเองและคู่ซ้อมเช่นการก้มหัวที่ต่ำเกินไป การทุ่มกลับฝั่งแล้วไม่เหลือมือให้อีกฝั่งตบเบาะหรือการทุ่มที่อาจจะทำให้มือโด่เด่ยืนออกไป

- ออกแรงเกร็งแขนดันไว้ตลอดตอนนั้นผมก็เป็นคือผมคิดแค่ว่าจะไปยากอะไรแค่ออกแรงเกร็งไว้ตลอดการรันโดริ3-5นาทีจนหมดเวลาผมก็ยังมีแรงเหลือไว้เล่นเซ็ทต่อไปหารู้ไม่ว่าสิ่งนี้คือการทำให้ตัวเราและคู่ซ้อมไม่สามารถพัฒนาขึ้นไปได้เพราะจังหวะที่จะเข้าท่าทั้งเราและเค้าถูกแรงกดไว้จนตัวแข็ง

- การทำงานของมือและขา ไม่มีการประสานกันที่ดีมือทำงานขาก็ลืม พอขาทำงานก็ลืมมือ อาจจะเข้ามาแบบมั่วๆที่คิดว่าเป็นการทำต่อเนื่องแต่การเข้ามาแต่ขาโดยปราศจากการทำงานของมือนั้นสำหรับการทุ่มเด็กใหม่ที่เพิ่งเริ่มเล่นด้วยกันนั้นอาจจะฟลุ๊คทุ่มได้โดยอาศัยลูกมั่วแต่วันนี้สิ่งที่ผมได้กลับมาคือขาระบมไปทั้ง2ข้าง(เหมือนตกบันได)จากการปะทะกันจำนวนนับครั้งไม่ถ้วนตอนที่อาศัยลูกมั่วที่คิดว่าเป็นท่าต่อเนื่อง

- ใช้แรงล้วนๆ ไม่ใช้เทคนิคจากยูโด อีกทั้งการฝึกฝนเข้าท่าที่ยังไม่แน่นพอทำให้จังหวะจะใช้จริงๆมันสะเปสะปะไปหมด

ทั้งหมดนี้ไม่ต่างอะไรกับผมเมื่อ20เดือนก่อนเลยครับและบัดนี้ผมได้คำตอบว่าทำไมในอดีต20เดือนก่อนนั้น รุ่นพี่สายดำทั้ง3คน ถึงไม่มองหรือแม้แต่ที่จะคิดรันโดริกับผมแม้แต่ครั้งเดียวนั้นคงเป็นเพราะคำว่า ”ยูโดกับระบบนึกคิดและการวางตัว”ของผมนั้นยังห่างไกลเมื่อเทียบกับสิ่งที่นักยูโดควรจะมีส่วนเรื่องเทคนิคหรือว่าจังหวะนั้นยิ่งไม่ต้องลงลึกเลยครับ เพราะว่ากับคนอาศัยแต่แรงเพียวๆกับลูกมั่วล้วนๆไม่ว่าใครจะทุ่มใครได้ มันก็ไม่ต่างกับการที่ใครซักคนโยนเหรียญลงน้ำรังแต่จะทำให้เสียของเปล่าๆ




 

Create Date : 01 พฤศจิกายน 2555
3 comments
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2555 20:18:38 น.
Counter : 1680 Pageviews.

 

แวะมาเยี่ยมก่อนนอนนนนน

 

โดย: normalization 2 พฤศจิกายน 2555 23:38:07 น.  

 

ผมอยาก รู้ว่า คุณเริ่มก้าวข้ามผ่าน ความมั่ว

เรื่อง

เกร็งแขน หรือเกร็งทุกส่วน

หรือ รู้สึกว่า มันเข้าท่าทุ่มไม่ได้อย่างที่ซ้อม โดยที่เจอเขาเกร็งมาเช่นกันยังไงคับ

จนมาถึงจุดที่ว่า จัด แรงของตนเองจนได้ประโยชน์สูงสุด

ตัวผมเองนั้นสายเขียวและเห็นว่า คนหัดใหม่รวมถึงตัวผมเองก็ยังเป็นอยุ่ ที่ เกร็ง ใช้แรงเล่นมากๆ

 

โดย: ยูโด IP: 180.183.85.249 2 กรกฎาคม 2559 17:32:16 น.  

 

555ยังก้าวไม่ผ่านความมั่วตรงนั้นครับ

- ในทุกๆครั้งของการรันโดริ ถ้านึกขึ้นมาว่าแขนเกร็งแล้วนะก็จะผ่อนออก แต่บางครั้งลืมนึกก็เกร็งและใส่แรงเข้าไปเรื่อยๆจนเหนื่อย เมื่อยแขนก็ค่อยคิดได้

- เจอคู่ซ้อมที่ใส่แรงเข้ามา บางครั้งจะทำให้ลืมตัวได้ง่ายออกแรงสู้ออกไป สุดท้ายเกร็งทั้งคู่ ท่าไม่ออก แต่(ทั้งคู่) โดนทุ่มได้ง่ายจากพวกท่าขาปัดเกี่ยว เพราะแรงเกร็งมันทำให้ถูกดึงเสียจังหวะในตัวของมันเอง

- โชคดีที่ สภาพปัจจุบันของผม ไม่ได้มีแรงหรือมั่นใจเหมือนแต่ก่อนที่เอาแรงเข้าสู้แล้วจะชนะ ประกอบกับได้ท่าใหม่มาใช้ แล้วไอ้ท่านี้ถ้าตัวเองออกแรงเกร็งที่แขนจะใช้ไม่ออก "ท่าโอคุริอาชิบารัย" จังหวะที่ใช้ต้องเข้าประชิดจังของคู่ซ้อมให้ได้ถ้าแขนยังเกร็งมันจะขวางให้ตัวเราเองเข้าไม่ถึงคู่ซ้อม ตรงนี้แหละที่ช่วยลดทอนการเกร็งที่แขนออกไปได้บางส่วน (อีกจุดนึงคือแรงสู้ชาวบ้านคนอื่นไม่ไหว)

 

โดย: ablaze357 27 กันยายน 2559 21:06:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.