|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
ตีแผ่ เนื้อหาการซ้อมยูโดที่โคโดกัง 1ปีสู่สายดำ
เจ้าของ งานเขียน ดนตรี ศิลปะ หรืออื่นๆที่ต้องใช้จินตนาการหรือความตั้งใจในการแต่งแต้มออกมา จะรู้สึกดีๆถ้ามีคนสนใจในผลงานนั้นๆ ผมก็เช่นกันรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประสบการณ์ยูโดของผม อาจเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครบางคน (โดยเฉพาะท่านที่สนใจอยากเริ่มฝึกซ้อมเมื่อตอนแก่ตัว) หรือสิ่งที่ผมได้เจอะเจอมาอาจจะเป็นแนวทางในการฝึกซ้อมของคนที่สนใจในกีฬาชนิดนี้
ย้อนกลับไปซักเล็กน้อย ผมเริ่มรู้จักกับยูโดตอนอายุปาเข้าไปก็30กว่า จังหวะชีวิตช่วงนั้นเรียกว่าเป็นความบังเอิญและโชคดีที่รู้จักกับยูโดและเริ่มต้นฝึกซ้อมจาก 0 กับสถาบันยูโดดั้งเดิมที่โคโดกังประเทศญี่ปุ่น
เนื่องจากเริ่มรู้จักกับยูโดตอนอายุเยอะแล้ว สิ่งที่จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำกับคนที่เริ่มต้นยูโดตั้งแต่เด็กก็คือชั่วโมงในการฝึกซ้อม, พื้นฐานของยูโดแบบเป็นขั้นเป็นตอน, และเทคนิคของท่าทุ่ม
ผมใช้เวลาเกือบจะทุกวันในการไปโคโดกังเพื่อทดแทนความเหลื่อมล้ำในจุดของชั่วโมงซ้อม ส่วนเรื่องพื้นฐานกับเทคนิคท่า ผมไม่ห่วงเพราะผมมั่นใจในสถาบันโคโดกังว่าสามารถสอนผมได้เป็นระบบระเบียบตามแบบฉบับของต้นตำรับ
ทุกๆวันที่ผมไป ผมไม่ได้ไปเปล่าๆ ซ้อมแล้วกลับ แต่ผมสังเกตุวิธีการสอนของอาจารย์ ลำดับท่าในการสอน ที่มีวางรากฐานเป็นขั้นเป็นตอน และผมก็จดบันทึกรวบรวมไว้ (เรียกว่าแอบเป็นสปายแฝงตัวเข้าไปอยู่ที่โคโดกังถึงสามปี)
ทีนี้ก็ถึงเวลาตีแผ่หลักสูตรของโคโดกังที่ใช้หลักสูตรในการเรียนการสอนโดยใช้ระยะเวลา1ปีเพื่อไปสู่สายดำดั้งหนึ่ง
ตารางฝึกซ้อมของโคโดกัง แบ่งเป็นหลักสูตรประมาณ5เดือน (จริงๆแล้วใน5เดือนนี้พอเอาไปวนไปมาก็จะเป็นหลักสูตร1ปีที่ผมศึกษามา) สำหรับการเรียนที่โคโดกังพอจบหลักสูตรนี้+แต้มครบจากที่ชนะในการแข่งขันแล้ว ก็มีคุณสมบัติที่ไปสอบท่าทุ่มมาตรฐาน นาเกะโนะกาตะ ทำความเข้าใจกติกากันซักเล็กน้อยของโคโดกัง เกี่ยวกับชั่วโมงในการเรียน ในหนึ่งเดือนนักเรียนโคโดกังต้องไปอย่างน้อย13ครั้ง ถ้าน้อยกว่า13ครั้งเดือนนั้นไม่นับ ไปเริ่มต้นกันเดือนหน้าอีกที (แต่ผมไปทุกวัน555)
เดือนแรก ครั้งที่1 เรียนรู้เป้าหมายของยูโด กฏระเบียบภายในเบาะ เรย์โฮ อุเกมิ คุมิเทะ การขยับตัว ไทซาบากิ+คุสุชิ ครั้งที่2 เรย์โฮ อุเกมิ คุมิเทะ การขยับตัว ไทซาบากิ+คุสุชิ ฮิสะกุรุม่า ครั้งที่3 อุเกมิ คุมิเทะ การขยับตัว ไทซาบากิ+คุสุชิ ฮิสะกุรุม่า ครั้งที่4 อุเกมิ ฮิสะกุรุม่า โอโกชิ ครั้งที่5 อุเกมิ ฮิสะกุรุม่า โอโกชิ ครั้งที่6 อุเกมิ ฮิสะกุรุม่า โอโกชิ ลองเริ่มทุ่มดู ครั้งที่7 อุเกมิ โอโกชิ เดอาชิบารัย ครั้งที่8 อุเกมิ โอโกชิ เดอาชิบารัย ครั้งที่9 อุเกมิ เดอาชิบารัย ทรึริโกมิโกชิ ครั้งที่10 อุเกมิ เดอาชิบารัย ทรึริโกมิโกชิ ครั้งที่11 อุเกมิ ทรึริโกมิโกชิ เคซะกาตาเมะ ครั้งที่12 อุเกมิ ทรึริโกมิโกชิ เคซะกาตาเมะ ครั้งที่13 อุเกมิ เคซะกาตาเมะ อิปปงเซโอนาเกะ ครั้งที่14 อุเกมิ เคซะกาตาเมะ อิปปงเซโอนาเกะ ครั้งที่15 อุเกมิ ฮิสะกุรุม่า เซโอนาเกะ ครั้งที่16 อุเกมิ เซโอนาเกะ ฮิสะกุรุม่า ครั้งที่17 อุเกมิ ฮิสะกุรุม่า โอโกชิ ยักโซกุเรนชู ครั้งที่18 อุเกมิ โอโกชิ เดอาชิบารัย ครั้งที่19 อุเกมิ โอโกชิ เดอาชิบารัย ครั้งที่20 อุเกมิ เดอาชิบารัย ทรึริโกมิโกชิ ครั้งที่21 อุเกมิ ทรึริโกมิโกชิ คุสุเรเคซะกาตาเมะ ครั้งที่22 อุเกมิ ทรึริโกมิโกชิ คุสุเรเคซะกาตาเมะ ครั้งที่23 อุเกมิ เคซะกาตาเมะ เซโอนาเกะ ครั้งที่24 อุเกมิ เซโอนาเกะ ฮิสะกุรุม่า ครั้งที่25 อุเกมิ เซโอนาเกะ ฮิสะกุรุม่า ครั้งที่26 ทบทวนท่า ฮิสะกุรุม่า โอโกชิ เดอาชิบารัย ทรึริโกมิโกชิ อิปปงเซโอนาเกะ เซโอนาเกะ เคซะกาตาเมะ คุสุเรเคซะกาตาเมะ โดยรวมแล้วเดือนแรกเนื้อหามันก็จะวนไปวนมา สิ่งสำคัญคือเรื่องอุเกมิ ส่วนท่าที่เรียนไปมี6ท่ายืนกับ2ท่านอน สิ่งที่เน้นในเดือนแรกนี้คือท่าทั้งหมดพยายามฝึกทั้งจับขวาและจับซ้าย (เพราะเบื้องต้นคนเรียนรู้ยังไม่รู้จักตัวเองว่าจะถนัดซ้ายหรือขวาเลยเรียนมันทั้งสองด้านก่อน) ขยายความนิดนึง เรย์โฮ : การทำความเคารพ ในส่วนของยูโดมีท่าเคารพสองแบบคือเคารพในท่ายืน กับเคารพในท่านั่งคุกเข่า อุเกมิ : การตบเบาะ สังเกตุได้ในเดือนแรกนอกเหนือจากการวอร์มรวมที่ต้องทำอุเกมิแล้ว ในส่วนของการซ้อมยังบรรจุอุเกมิทุกวันของการซ้อม คุมิเทะ : การชิงจับ ไทซาบากิ : การใช้วิธีขยับตัวเพื่อช่วยเสริมแรง คุสุชิ : การดึงให้ฝั่งตรงข้ามเสียหลัก ยักโซกุเรนชู : การซ้อมแบบเตี๊ยมกันก่อน ว่าจะทุ่มท่าไหนหรือให้คู่ซ้อมขยับตัวแบบไหน เดือนที่สอง พยายามเน้นเพิ่มเติมในการฝึกเร็นโซกุเฮงกะ หรือที่เรียกว่าการปรับเปลี่ยนไปใช้ท่าต่อเนื่อง ครั้งที่1 ฮิสะกุรุม่า โอโกชิ ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ ครั้งที่2 โอโกชิ ทรึริโกมิโกชิ ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ ครั้งที่3 ทรึริโกมิโกชิ ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ ไทโอโตชิ ครั้งที่4 ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ อิปปงเซโอนาเกะ ไทโอโตชิ ครั้งที่5 อิปปงเซโอนาเกะ ไทโอโตชิ โคโซโตการิ ครั้งที่6 ไทโอโตชิ เคซะกาตาเมะ โคโซโตการิ ครั้งที่7 โคโซโตการิ คุสุเรเคซะกาตาเมะ ฮาไรโกชิ ครั้งที่8 โคโซโตการิ เดอาชิบารัย ฮาไรโกชิ ครั้งที่9 เดอาชิบารัย ฮาไรโกชิ คามิชิโฮกาตาเมะ ครั้งที่10 ฮาไรโกชิ ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ คามิชิโฮกาตาเมะ ครั้งที่11 ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ คามิชิโฮกาตาเมะ โออุจิการิ ครั้งที่12 เซโอนาเกะ ไทโอโตชิ โออุจิการิ ครั้งที่13 ไทโอโตชิ โออุจิการิ คุสุเรคามิชิโฮ ครั้งที่14 โออุจิการิ ฮาไรโกชิ คุสุเรคามิชิโฮ ครั้งที่15 ฮาไรโกชิ โคโซโตการิ คุสุเรคามิชิโฮ ครั้งที่16 ฮิสะกุรุม่า โอโกชิ เดอาชิบารัย ครั้งที่17 ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ ทรึริโกมิโกชิ เดอาชิบารัย ครั้งที่18 ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ ทรึริโกมิโกชิ เคซะกาตาเมะ ครั้งที่19 ไทโอโตชิ อิปปงเซโอนาเกะ คุสุเรเคซะกาตาเมะ ครั้งที่20 ไทโอโตชิ เซโอนาเกะ โออุจิการิ ครั้งที่21 ฮาไรโกชิ โคโซโตการิ โออุจิการิ ครั้งที่22 ฮาไรโกชิ โคโซโตการิ คามิชิโฮกาตาเมะ ครั้งที่23 เดอาชิบารัย ไทโอโตชิ คามิชิโฮกาตาเมะ ครั้งที่24 ทรึริโกมิโกชิ โออุจิการิ คุสุเรคามิชิโฮ ครั้งที่25 เซโอนาเกะ โคโซโตการิ คุสุเรคามิชิโฮ ครั้งที่26 ทบทวนท่า ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ ไทโอโตชิ โคโซโตการิ ฮาไรโกชิ โออุจิการิ คามิชิโฮ คุสุเรคามิชิโฮ เดือนที่สองมีท่าเพิ่มมาอีก5ท่ายืน2ท่านอน เดือนที่สาม สิ่งที่เน้นยังเหมือนเดือนที่สองคือพยายามเน้นเพิ่มเติมในการฝึกเร็นโซกุเฮงกะ หรือที่เรียกว่าการปรับเปลี่ยนไปใช้ท่าต่อเนื่อง ครั้งที่1 โอโกชิ เดอาชิบารัย โอคุริอาชิบารัย ครั้งที่2 โอโกชิ เดอาชิบารัย โอคุริอาชิบารัย ครั้งที่3 ทรึริโกมิโกชิ โอคุริอาชิบารัย โอโซโตการิ ครั้งที่4 ทรึริโกมิโกชิ โอคุริอาชิบารัย โอโซโตการิ ครั้งที่5 อิปปงเซโอนาเกะ โอโซโตการิ ฮาเนโกชิ ครั้งที่6 อิปปงเซโอนาเกะ โอโซโตการิ ฮาเนโกชิ ครั้งที่7 ฮาเนโกชิ ฮิสะกุรุม่า โยโกชิโฮ ครั้งที่8 ฮาเนโกชิ ฮิสะกุรุม่า โยโกชิโฮ ครั้งที่9 ทรึริโกมิโกชิ โยโกชิโฮ โคอุจิการิ ครั้งที่10 ทรึริโกมิโกชิ โอคุริอาชิบารัย โคอุจิการิ ครั้งที่11 โอคุริอาชิบารัย โคอุจิการิ โยโกชิโฮ ครั้งที่12 โคอุจิการิ ฮาเนโกชิ โยโกชิโฮ ครั้งที่13 ฮาเนโกชิ โยโกชิโฮ เดอาชิบารัย ครั้งที่14 ฮาเนโกชิ เดอาชิบารัย เซโอนาเกะ ครั้งที่15 เซโอนาเกะ โอคุริอาชิบารัย โอโซโตการิ ครั้งที่16 โอคุริอาชิบารัย โอโซโตการิ โอคุริอาชิบารัย ครั้งที่17 โอคุริอาชิบารัย โอคุริอาชิบารัย โอโซโตการิ ครั้งที่18 ฮาเนโกชิ โคอุจิการิ เคซะกาตาเมะ ครั้งที่19 ฮาเนโกชิ โคอุจิการิ คุสุเรเคซะกาตาเมะ ครั้งที่20 โอโกชิ โอคุริอาชิบารัย อิปปงเซโอนาเกะ ครั้งที่21 ทรึริโกมิโกชิ โอคุริอาชิบารัย เซโอนาเกะ ครั้งที่22 ทรึริโกมิโกชิ โอโซโตการิ โยโกชิโฮ ครั้งที่23 โอโซโตการิ ฮาเนโกชิ โยโกชิโฮ ครั้งที่24 โคอุจิการิ ฮาเนโกชิ โยโกชิโฮ ครั้งที่25 โคอุจิการิ ฮาเนโกชิ โยโกชิโฮ ครั้งที่26 ทบทวนท่าโอคุริอาชิบารัย โอโซโตการิ ฮาเนโกชิ โคอุจิการิ โยโกชิโฮ เดือนที่สามจะมีท่าเพิ่มมา4ท่ายืน1ท่านอน ผ่านสามเดือนมาได้แล้ว อาจารย์จะจัดสอบใครชั่วโมงซ้อมครบ3เดือน อาจารย์จะให้ไปสอบ ถ้าผ่านก็ได้โกคิว (5คิว) 3เดือนคืออย่างน้อยต้องซ้อม39ครั้ง ของผมไปทุกวันครบตั้งแต่เดือนครึ่งละ แต่ต้องรอให้ครบสามเดือนก่อน(เดี๋ยวเร็วไป) เริ่มต้นเดือนที่สี่เราจะมีสกิลเพิ่มเติมขึ้นมา นั้นคือจะเริ่มรันโดริได้แล้ว เดือนที่สี่จะเริ่มเน้นในการรันโดริ เอาท่าที่เรียนรู้มาลองปรับแต่งใช้จริงในจังหวะต่างๆตอนรันโดริ ท่าที่เรียนมาทั้งหมดก่อนหน้านี้จะต้องสามารถแบ่งแยกประเภทของท่าทุ่มได้ถูกต้อง ท่าทุ่มด้วยมือ ท่าทุ่มด้วยสะโพก ท่าทุ่มด้วยขา และเริ่มต้นศึกษาค้นหาท่าถนัดของตัวเองและนำไปพัฒนาท่าเร็นโซกุวาซะ (การใช้ท่าต่อเนื่องโดยให้ศูนย์กลางอยู่ที่ท่าที่ตัวเองถนัด) ครั้งที่1 ฮิสะกุรุม่า โอโกชิ โอโซโตการิ เคซะกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่2 ฮิสะกุรุม่า โอโกชิ โอโซโตการิ คุสุเรเคซะกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่3 ทรึริโกมิโกชิ โคอุจิการิ โยโกชิโฮ ฮาไรทรึริโกมิอาชิ รันโดริ ครั้งที่4 ทรึริโกมิโกชิ โคอุจิการิ ฮาไรทรึริโกมิอาชิ โยโกชิโฮ รันโดริ ครั้งที่5 เดอาชิบารัย ฮาไรโกชิ โออุจิการิ คาตะกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่6 เดอาชิบารัย ฮาไรโกชิ โออุจิการิ คาตะกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่7 โอคุริอาชิบารัย โอโซโตการิ เคซะกาตาเมะ อุจิมาตะ รันโดริ ครั้งที่8 โอคุริอาชิบารัย โอโซโตการิ อุจิมาตะ คุสุเรเคซะกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่9 ฮาไรทรึริโกมิโกชิ อิปปงเซโอนาเกะ โคอุจิการิ จูจิจิเมะ รันโดริ ครั้งที่10 ฮาไรทรึริโกมิโกชิ เซโอนาเกะ โคอุจิการิ จูจิจิเมะ รันโดริ ครั้งที่11 ฮิสะกุรุม่า ไทโอโตชิ เคซะกาตาเมะ โทโมนาเกะ รันโดริ ครั้งที่12 ฮิสะกุรุม่า ไทโอโตชิ โทโมนาเกะ คุสุเรเคซะกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่13 เดอาชิบารัย ฮาเนโกชิ โออุจิการิ อุเดะการามิ รันโดริ ครั้งที่14 เดอาชิบารัย ฮาเนโกชิ โออุจิการิ อุเดะการามิ รันโดริ ครั้งที่15 โอคุริอาชิบารัย ทรึริโกมิโกชิ โอโซโตการิ อุชิโร่โคชิ รันโดริ ครั้งที่16 โอคุริอาชิบารัย ทรึริโกมิโกชิ โอโซโตการิ อุชิโร่โคชิ รันโดริ ครั้งที่17 ฮาไรทรึริโกมิโกชิ อิปปงเซโอนาเกะ โออุจิการิ โยโกชิโฮ รันโดริ ครั้งที่18 ฮาไรทรึริโกมิโกชิ เซโอนาเกะ โออุจิการิ โยโกชิโฮ รันโดริ ครั้งที่19 ไทโอโตชิ โทโมนาเกะ อุจิมาตะ คาตะกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่20 ไทโอโตชิ โทโมนาเกะ อุจิมาตะ คาตะกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่21 ฮิสะกุรุม่า โอโกชิ โอโซโตการิ คุสุเรเคซะกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่22 เดอาชิบารัย ทรึริโกมิโกชิ โคอุจิการิ โยโกชิโฮ รันโดริ ครั้งที่23 โอคุริอาชิบารัย เซโอนาเกะ โออุจิการิ คาตะกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่24 ฮาไรทรึริโกมิโกชิ ไทโอโตชิโทโมนาเกะ จูจิจิเมะ รันโดริ ครั้งที่25 ฮาไรโกชิ ฮาเนโกชิ อุจิมาตะ อุเดะการามิ รันโดริ ครั้งที่26 ทบทวนท่า ฮาไรทรึริโกมิโกชิ อุจิมาตะ โทโมนาเกะ อุชิโร่โคชิ จูจิจิเมะ อุเดะการามิ คาตะกาตาเมะ เดือนที่4มีเพิ่มมาอีก4ท่ายืน3ท่านอนและเน้นรันโดริเพื่อเอาสิ่งที่เรียนมาทดลองใช้จริง เดือนที่ห้า เพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับเซเรียวกุเซนโย จิตะเกียวเอ + กฏกติกาในการแข่งขันทั่วๆไป พอเดือนห้าแล้วอาจารย์จะขอให้นักเรียนไปช่วยในงานแข่งขันรายเดือนของโคโดกัง จุดประสงค์เพื่อให้เข้าใจกฏกติกาในการแข่งขันและฝึกฝนการดูท่าทุ่มที่ออกมาจากการแข่งขัน ส่วนเรื่องแต้มอันนี้อาจารย์จัดการเอง(เดี๋ยวพลาดแล้วเป็นเรื่อง) ครั้งที่1 ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ โคโซโตการิ คามิชิโฮ อุกิโกชิ รันโดริ ครั้งที่2 ซาซาเอะทรึริโกมิโกชิ โคโซโตการิ อุกิโกชิ คุสุเรคามิชิโฮ รันโดริ ครั้งที่3 เดอาชิบารัย ฮาไรโกชิ โออุจิการิ ทัตเตชิโฮ รันโดริ ครั้งที่4 เดอาชิบารัย ฮาไรโกชิ โออุจิการิ ทัตเตชิโฮ รันโดริ ครั้งที่5 ทรึริโกมิโกชิ โอโซโตการิ โยโกชิโฮ ฮาไรทรึริโกมิอาชิ รันโดริ ครั้งที่6 ทรึริโกมิโกชิ โอโซโตการิ ฮาไรทรึริโกมิอาชิ โยโกชิโฮ รันโดริ ครั้งที่7 โอคุริอาชิบารัย อิปปงเซโอนาเกะ คามิชิโฮ อุจิมาตะ รันโดริ ครั้งที่8 โอคุริอาชิบารัย เซโอนาเกะ อุจิมาตะ คุสุเรคามิชิโฮ รันโดริ ครั้งที่9 ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ ฮาเนโกชิ ไทโอโตชิ โอคุริเอริจิเมะ รันโดริ ครั้งที่10 ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ ฮาเนโกชิ ไทโอโตชิ โยโกชิโฮ รันโดริ ครั้งที่11 เดอาชิบารัย อุกิโกชิ โคโซโตการิ อุเดะฮิชิกิจูจิกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่12 เดอาชิบารัย อุกิโกชิ โคโซโตการิ อุเดะฮิชิกิจูจิกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่13 โอคุริอาชิบารัย ฮาไรโกชิ คามิชิโฮ โทโมนาเกะ รันโดริ ครั้งที่14 โอคุริอาชิบารัย ฮาไรโกชิ โทโมนาเกะ คุสุเรคามิชิโฮ รันโดริ ครั้งที่15 ฮาไรทรึริโกมิอาชิ ฮาเนโกชิ โยโกชิโฮ อุทรึริโกชิ รันโดริ ครั้งที่16 ฮาไรทรึริโกมิอาชิ ฮาเนโกชิ อุทรึริโกชิ โยโกชิโฮ รันโดริ ครั้งที่17 ทรึริโกมิโกชิ อุจิมาตะ โออุจิการิ ทัตเตชิโฮ รันโดริ ครั้งที่18 ทรึริโกมิโกชิ อุจิมาตะ โออุจิการิ ทัตเตชิโฮ รันโดริ ครั้งที่19 อิปปงเซโอนาเกะ ซาซาเอะทรึริโกมิโกชิ โอโซโตการิ โอคุริเอริจิเมะ รันโดริ ครั้งที่20 เซโอนาเกะ ซาซาเอะทรึริโกมิโกชิ โอโซโตการิ โอคุริเอริจิเมะ รันโดริ ครั้งที่21 ไทโอโตชิ เดอาชิบารัย อุกิโกชิ จูจิจิเมะ รันโดริ ครั้งที่22 โอคุริอาชิบารัย ฮาไรโกชิ โคโซโตการิ คามิชิโฮ รันโดริ ครั้งที่23 ฮาไรทรึริโกมิอาชิ ฮาเนโกชิโทโมนาเกะ โยโกชิโฮ รันโดริ ครั้งที่24 อุจิมาตะ โอโซโตการิ โทโมนาเกะ ทัตเตชิโฮ รันโดริ ครั้งที่25 อุจิมาตะ โอโซโตการิ อุทรึริโกชิ คุสุเรเคซะกาตาเมะ รันโดริ ครั้งที่26 ทบทวนท่า อุกิโกชิ ฮาไรทรึริโกมิอาชิ อุจิมาตะ โทโมนาเกะ อุทรึริโกชิ โอคุริเอริจิเมะ อุเดะฮิชิกิจูจิกาตาเมะ ทัตเตชิโฮ เดือนที่ห้าได้ท่าเพิ่มมาอีก5ท่ายืน3ท่านอน รวมแล้วถ้าตั้งใจจะได้เรียนรู้ศึกษาทั้งหมดคือ ฮิสะกุรุม่า โอโกชิ เดอาชิบารัย ทรึริโกมิโกชิ อิปปงเซโอนาเกะ เซโอนาเกะ ซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ ไทโอโตชิ โคโซโตการิ ฮาไรโกชิ โออุจิการิ โอคุริอาชิบารัย โอโซโตการิ ฮาเนโกชิ โคอุจิการิ ฮาไรทรึริโกมิโกชิ อุจิมาตะ โทโมนาเกะ อุชิโร่โคชิ อุกิโกชิ อุทรึริโกชิ รวมทั้งหมดเป็น24ท่ายืน ส่วนท่านอนมี เคซะกาตาเมะ คุสุเรเคซะกาตาเมะ คามิชิโฮ คุสุเรคามิชิโฮ โยโกชิโฮ จูจิจิเมะ อุเดะการามิ คาตะกาตาเมะ โอคุริเอริจิเมะ อุเดะฮิชิกิจูจิกาตาเมะ ทัตเตชิโฮ รวมทั้งหมดเป็น11ท่ายืน
ต่อจากเดือนที่ห้าแล้วจะวนกลับไปเดือนที่สี่กับเดือนที่ห้าสลับกันไปจนครบปี บางครั้งอาจารย์ที่สอนจะเพิ่มเติมเทคนิคของตนเองเข้ามาในท่าที่เรียนกันวันนั้นก็มี
ผมจำไม่ได้ว่าการสอบจาก5คิวไป4คิว..3..2..1คิวนั้นต้องใช้ชั่วโมงในการซ้อมที่แน่นอนคือเท่าไหร่ (ถ้าใครติดตามบล๊อคผมมาตั้งแต่ต้นน่าจะพอเรียบเรียงได้ว่ากี่ชั่วโมงถึงไปสอบเลื่อนคิวได้) ประเด็นตรงนี้ไม่สำคัญ แต่สิ่งที่ผมเห็นว่าสำคัญและเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจ ตั้งใจในการฝึกซ้อมยูโดคือ เรื่องของพื้นฐาน และท่าทุ่ม ที่โคโดกังจะจัดเป็นขั้นตอนเริ่มจากท่าง่ายๆไปจนถึงท่าที่เริ่มต้องใช้ความชำนาญในการฝึกซ้อม ที่สำคัญท่าที่ซ้อมทั้งหมดเป็นแค่ท่าทุ่มพื้นฐานเท่านั้น ดังนั้นใครที่ผ่านการเรียนรู้ยูโดที่ญี่ปุ่นอย่างน้อยก็ต้องเข้าใจในพื้นฐานท่าทุ่ม 24 ท่า ก่อนที่จะไปเจาะลึกในท่าเฉพาะตัวหรือท่าทิ้งตัว
ยินดีและดีใจครับ ถ้าหากท่านใดสนใจเอาแนวการฝึกของโคโดกังไปปรับใช้ในการซ้อม ไม่ได้บอกว่าแนวทางในการซ้อมตรงนี้คือที่สุดหรือสิ่งที่ถูกต้อง แต่ขอเผื่อไว้เป็นตัวเลือกสำหรับท่านที่สนใจก็พอครับ
Create Date : 23 เมษายน 2558 |
|
0 comments |
Last Update : 23 เมษายน 2558 23:17:30 น. |
Counter : 1683 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
|