Group Blog
 
All Blogs
 
ความขัดแย้งเรื่องคนไทยมาจากไหน 2

ล้านช้าง-น่าน การเคลื่อนย้ายของพวกไทยน้อยมาสร้างเมืองหลวงพระบางและเมืองน่านนั้น ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วหาใช่เป็นการเคลื่อนย้ายที่เพิ่มเริ่มขึ้นใหม่ หากเป็นการเคลื่อนย้ายมาตามเส้นทางที่มีการติดต่อกันระหว่างบ้านเมืองต่างๆ ในภูมิภาคมาช้านานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นางที่เนื่องด้วยการค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของในทางเศรษฐกิจซึ่งมีหลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าย้อนหลังไปถึงยุคสัมฤทธิ์และเหล็กในช่วงเวลาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7-8 ลงมา ทำให้มีผู้คนเดินทางไปมาติดต่อกันระหว่างชุมชนในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงฟากตะวันตกที่ล้ำมาถึงบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาค- กลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยด้วย แต่การเกิดของชุมชุนหรือการสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นในภูมิภาคดังกล่าวของประเทศไทยยี้ หาได้เป็นการอพยพเคลื่อนที่ย้ายของกลุ่มชนชาติไทยหรือไทยน้อยเข้ามาตั้งขึ้นไม่ หากค่อย ๆผสมผสานกับชนเผ่าและชนชาติอื่นๆ จนมีพัฒนาการเป็นบ้านเมืองขึ้น เหตุจี้จึงไม่มีนิทานหรือนิยายปรัมปราที่บอกถึงความเป็นมาเช่นพงศาวดารเมืองหลวงพระบางและเมืองด่าน แต่บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในบริเวณตั้งแต่ภาคเหนือตอนล่างภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีหลักฐานทางโบราณคดีที่สามรถกำหนดอายุได้มาสนับสนุน โดยเฉพาะศิลาจารึกที่แม้จะไม่เป็นเรื่องราวปะติดปะต่ออย่างตำนานและพงศาวดารก็ตาม แต่ก็ให้หลักฐานและข้อมูลที่จะนำมาเปรียบเทียบสอบค้นหาความเป็นจริงจากตำนานและนิทานปรัมปราได้อย่างมากมาย

สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยนั้นโดยทางภูมิศาสตร์ก็คือบริเวณลุ่มน้ำปิง วัง ยม และน่านตอนล่าง กับลุ่มน้ำป่าสักตอนบน อันเป็นเขตจังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ นับเป็นบริเวณที่ราบลุ่มกว้างใหญ่มีภูขาเล็ก ๆ และบริเวณที่สูงเป็นสันบันน้ำแยกลุ่มน้ำแต่ละแห่งออกจากกัน ร่องรอยของบ้านเมืองบริเวณดังกล่าวที่มีหลักฐานทางโบราณคดีสะท้อนให้เห็นว่ามีมาช้านานแต่โบราณราวพุทธศตวรรษที่ 18 ก็คือเมืองเชลียงและเมืองสุโขทัยในที่ราบลุ่มแม่น้ำยม ทั้งสองแห่งนี้นอกจากจะมีศาสนสถานแบบลพบุรีที่ได้รับอิทธิพลขอมจากเมืองพระนครในพุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ยังมีศิลาจารึกภาษาไทยหลายหลักที่กล่าวถึงความเป็นมาของบ้านเมือง กล่าวถึงชื่อเมืองใหญ่น้อยที่กระจายกันอยู่ตามลุ่มน้ำต่างๆ ในภูมิภาคนี้ รวมทั้งกล่าวถึงพระนามกษัตริย์และราชวงศ์ที่ปกครอง ทั้งหมดนี้นับเป็นข้อมูลที่ทำให้และเห็นภาพของบ้านเมือง ขนาด และตำแหน่งที่ตั้งตลอดจนความสัมพันธ์-กันทางการเมืองและการปกครองอย่างชัดเจน ยิ่งกว่านั้นเนื้อความในศิลาจารึกดังกล่าวยังระบุถึงเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองและการศาสนา รวมทั้งการเกี่ยวข้องกับบรรดาบ้านเมืองภายนอกที่อยุ่ร่วมสมัยเดียวกันด้วย เพราะฉะนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า กลุ่มเมืองสุโขทัยกับเมืองเชลียงหรือที่เรียกกันว่าเมืองศรีสัชนาลัยนั้น ไม่มีลักษณะใดเลยที่จะกล่าวว่าเป็นบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจากการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานของพวกชนชาติไทยจากบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะแต่กลับเป็นกลุ่มของบ้านเมืองที่ไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวและมีลักษณะสืบเนื่องกันมาช้านาน ทั้งมีการติดต่อกับภายนอกคือบ้านใกล้เรือนเคียงและบ้านเมืองที่อยู่ห่างไกลในเกือบทุกภูมิภาคของประเทศไทยในขณะนั้นก็ว่าได้ ถ้าหากพิจารณากันเฉพาะเรื่องลักษณะภาษา ถ้อยคำสำเนียงแล้ว นักปราชญ์ส่วนใหญ่ก็ให้ความเห็นว่ากระเดียดไปทางพวกไทยน้อย และมีความสัมพันธ์ลงไปจงถึงเมืองนครศรีธรรมราช แต่จะทึกทักเอาทันทีว่าเป็นพวกไทยน้อยที่อยู่ทางฟากตะวันออกของแม่น้ำโขง เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานเลยก็ไม่ได้ เพราะมีข้อความในจารึกหลายหลักที่แสดงความขัดแย้งในเรื่องนี้ เช่นจารึกหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหงกล่าวถึงขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดยกกองทัพมาตีเมืองตาก เป็นเหตุให้พ่อขุนศรีอินทราทิพย์เจ้าเมืองสุโขทัยยกกองทัพไปขับไล่ เมืองฉอดนั้นโดยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ในหุบเขาของแม่น้ำเมยที่เป็นาขาของแม่น้ำคงหรือแม่น้ำสาละวิน อยู่คนละฟากสันปันน้ำกับแม่น้ำปิง ยม น่าน ป่าสัก และแม่น้ำโขงดูเป็นเขตอิทธิพลของการเคลื่อนย้ายของพวกไตหรือไทยใหญ่มากกว่าที่จะเป็นพวกไทหรือไทยน้อย แต่ในสมัยต่อมาเมืองฉอดก็นับเนื่องเป็นเมืองในเขตแคว้นสุโขทัย เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ข้าพเจ้าคิดว่าขุนสามชนน่าจะเป็นพวกไทยใหญ่มากกว่าจะเป็นพวกไทยน้อย

สุโขทัย-อีสาน-ลาว ที่นี้หันไปทางบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงบ้าง ข้อความในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 หรือจารึกวัดศรีชุมดูเหมือนจะให้น้ำหนักของความสัมพันธ์ทางสังคมและการเมืองของแคว้นสุโขทัยไปทั่วบริเวณภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน ข้อความตอนต้น ๆ ของจารึกกล่าวถึงความสัมพันธ์สมัยพ่อขุนศรีนาวนำถมกษัตริย์ผู้ครองกรุงสุดขทัยก่อนสมัยราชวงศ์พระร่วง กับเมืองเชียงแสนและเมืองพะเยาในเขตแคว้นโยนกในขณะที่ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหงกล่าวว่ามีพวกไทจากเมืองอูและเมืองของ (โขง) มาออกรวมทั้งการกล่าวถึงน้ำในตระพังโพยสีของเมืองสุโขทัยนั้นกินอร่อยกินดีเหมือนน้ำในแม่น้ำโขงในฤดูแล้ง ข้อมูลจากจารึกทั้ง 2 หลักนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทั้งกับพวกโยนกและพวกไทยน้อยในเขตลำน้ำอูและลำน้ำโขงทางซีกตะวันออกอย่างเด่นชัด ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้อาจมองได้ทั้งในแง่ทางการเมืองและเศรษฐกิจ ในทางการเมือง ก็คือผ่ายแคว้นสุโขทัยมีอำนาจแผ่ไปถึงหรือมิฉะนั้นพวกไทยน้อยทางฟากตะวันออกของแม่น้ำโขงก็ขอสวามิภักดิ์เข้ามาเป็นประชาชนพลเมือง ในทางเศรษฐกิจ ก็คือแสดงให้เห็นว่ามีเส้นทางในการค้าขายติดต่อถึงกัน ซึ่งสอดคล้องกับข้อความที่กล่าวในจารึกหลักที่ 2 ว่าความสัมพันธ์ของแคว้นสุโขทัยขยายขึ้นไปถึงเมืองเชียงแสนและเมืองพะเยา เพระาจากเมืองพะเยานั้นสามารถเดินทางไปตามลำน้ำอิงแล้วออกแม่น้ำโขงที่เมืองเชียงของได้ จากเมืองเชียงของก็ข้ามฝั่งโขงไปที่ห้วยทรายแล้วเดินทางต่อไปยังลำน้ำอูได้ ตามที่กล่าวมานั้นคือการติดต่อจากแคว้นสุโขทัยไปยังบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำโขงโดยเส้นทางผ่านแคว้นโยนก (เชียงแสน-พะเยา) เข้าสู่บ้านเมืองฟากตะวันออกของแม่น้ำโขง เช่นเมืองอู และเมืองหลวงพระบาง (หรือเมืองชวาตามที่เรียกในศิลาจารึก) แต่เส้นทางการติดต่อกับลุ่มแม่น้ำโขงที่หาได้จำกัดอยู่เฉพาะเส้นทางที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น หากยังมีอีกเส้นทางหนึ่งที่ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นเส้นทางสำคัญที่สุดที่จะทำให้เข้าใจถึงพัฒนาการของเมืองสุโขทัยได้เป็นอย่างมาก นั่นก็คือเส้นทางจากแคว้นสุโขทัยไปยังเมืองเวียงจันท์และเมืองเวียงคำตามที่มีกล่าวในจารึกพ่อขุนรามคำแหง เส้นทางนี้ผ่านบ้านเมืองใหญ่น้อยที่มีกล่าวในศิลาจารึกหลายเมืองเช่นเมืองราด เมืองสะค้า เมืองลุมบาจาย เป็นต้น ซึ่งล้วนแสดงให้เห็นว่าเป็นเส้นทางที่มีบ้านเมืองเป็นระยะ ๆ ไปลักษณะดังกล่าวจึงไม่ใช่เส้นทางที่เกิดขึ้นใหม่ หลักฐานที่แสดงให้เห็นความเก่าแก่ของเส้นทางนี้อันดับแรกก็คือเมืองเวียงจันท์และเมืองเวียงคำนั่นเอง ทั้งสองเมืองนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยล้านช้างอย่างแน่นอนเพราะการขยายอำนาจของเมืองล้านช้างหรือหลวงพระบางลงมาครอบงำเมืองเวียงจันท์และเมืองเวียงคำนั้นเป็นสมัยของพญาฟ้างุ้มที่เป็นกษัตริย์ร่วมสมัยกับสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทย นอกจากนั้นบรรดาตำนานและพงศวดารล้านช้างเองก็ชี้ให้เห็น่ามีเมืองดังกล่าวมาก่อนแล้ว ดังความที่เล่าว่าก่อนที่จะเกิดมีเมืองหลวงพระบางนั้น บริเวณเมืองหลวงพระบางมีเมืองเชียงดงกับเมืองเชียงทองอยู่ก่อนแล้ว ทั้งเป็นเมืองที่พ่อค้าจากเมืองเวียงจันท์เดินทางไปมาค้าขายอยู่เป็นประจำ “เวียงจันท์-เวียงคำ” กับ “เชียงดง-เชียงทอง” เมื่อเป็นเช่นนี้ก็มีปัญหาเกิดขึ้นมาว่าเมืองเวียงจันท์ เมืองเวียงคำ เมืองเชียงดง เมืองเชียงทองนี้เป็นของผู้ใด? เป็นบ้านเมืองของชนชาติไต-ไทหรือเปล่า? ถ้าเป็นเมืองของพวกไทหรือไทยน้อยแล้วก็ต้องแสดงว่าเป็นกลุ่มที่เข้ามาสร้างบ้านแปลงเมืองก่อนการเกิดเมืองหลวงพระบางและแคว้นล้านช้างอย่างไม่ต้องสงสัย ถ้าจะพิจารณาจากชื่อเมืองแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นคำใดภาษาไทยอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะคำว่า “เวียง” กับ “เชียง” เป็นคำที่ใช้เรียกบริเวณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบเหมือนๆ กันทั้งคู่ ซึ่งส่วนมากก็มีความหมายไปในทำนองเดียวกับคำว่า “เมือง”และอาจใช้เรียกแทนกันได้ ส่วนคำว่า “คำ” ซึ่งหมายถึงทองก็เป็นคำไทย มีใช้แพร่หลายอยู่ในบรรดาชนชาติไทย โดยเฉพาะเป็นชื่อคนหรือชื่อสถานที่และสิ่งของเช่นคอคำก็หมายถึงวังหรือคุ้มของเจ้านายเป็นต้น โดยเฉพาะ “เชียงทอง” เป็นชื่อเมืองที่ค่อนข้างแพร่หลายและพบในหลาย ๆ แห่งเช่นริมแม่น้ำปิงใกล้ ๆ กับเมืองด๊ากก็มีเมืองชื่อเชียงทองเหมือนกัน และเป็นเมืองที่มีชื่ออยู่ในบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเรียกเมืองเชียงทองด้วย คำถามที่ต้องตั้งต่อไปก็คือเมื่อเมืองเวียงจันท์ เมืองเวียงคำ เมืองเชียงดง เมืองเชียงทอง มีมาก่อนการเคลื่อนย้ายมาสร้างบ้านแปลงเมืองของพวกหลวงพระบางหรือล้านช้างแล้ว เมืองเหล่านี้จะมีอายุเก่าแก่ย้อนขึ้นไปก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 สักเท่าใด? เพราะชื่อเมืองที่ปรากฏในตำนานและศิลาจารึกนั้นย่อมประมาณความเก่าแก่ได้ไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 18-19 เท่านั้น คำตอบในที่นี้คือหลักฐานทางโบราณคดี หลักฐานทางโบราณคดีก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ที่เป็นรูปธรรมในเขตเมืองเชียงทองที่ต่อมากลายเป็นเมืองหลวงพระบางนั้นยังไม่พบในขณะนี้ แต่ที่เมืองเวียงจันท์กับเมืองเวียงคำนั้นมีแน่ เมืองเวียงคำนั้น แต่ก่อนเคยคิดว่าคือเมืองซายฟองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามกับเมืองเวียงคุกในเขตอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็นเมืองที่พบร่องรอยของ “อโรคยาศาลา”และศิลาจารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งเมืองพระนคร แล้วยังพบประติมากรรมหินใหญ่กว่าคนที่มักเชื่อกันว่าเป็นรูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้วย ปัจจุบันประติมากรรมชิ้นนี้เก็บไว้ในบริเวณพระธาตุหลวงแห่งนครเวียงจันท์ แต่ปัจจุบันมีนักวิชาการลาวคัดค้านว่าเมืองชายฟองนั้นเป็นคนละเมืองกับเมืองเวียคำ เพราะเมืองเวียงคำอยู่เหนือเมืองเวียงจันท์ขึ้นไปใกล้ ๆกับลำน้ำงึม เมื่อมีหลักฐานมาอย่างนี้ก็ต้องรับฟังผู้รู้ในท้องถิ่นบ้าง ซึ่งก็ไม่เป็นไร เพราะถึงแม้ว่าเมืองชายฟองจะไม่ใช่เมืองเวียงคำแต่ก็เป็นเมืองที่ห่างจากเมืองเวียงจันท์ไปทางตะวันออกเพียง 20 กิโลเมตรเท่านั้น หลักฐานทางโบราณคดีที่พบก็ยังคงแสดงอาณาบริเวณที่เก่าแก่และสัมพันธ์กับเมืองเวียงจันท์อยู่ แต่การกล่าวว่าเมืองเวียงคำอยู่ใกล้กับลำน้ำงึมเหนือเมืองเวียงจันท์ขึ้นไปก็ยิ่งเท่ากับเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจใหม่ ๆให้กับข้าพเจ้าอีก เพราะนั่นเป็นสิ่งแสดงฐานะความสำคัญของเมืองเวียงจันท์แก่ข้าพเจ้า อันเมืองเวียงจันท์นั้นตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณที่ลำน้ำงึมไหลมาสบแม่น้ำโขงในทำนองเดียวกันกับเมืองหลวงพระบางที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่ลำน้ำอูไหลมาสบกับเม่น้ำโขง ลำน้ำงึม เป็นลำน้ำใหญ่กว่าลำน้ำอื่น ๆ ในบริเวณนี้ มีต้นน้ำมาจากเทือกเขาที่เป็นสันปันน้ำแบ่งเขตแดนประเทศลาวออกจากเวียดนาม ลำน้ำที่ไหลผ่านลงมายังทุ่งไหหินและเมืองเชียงขวางจากนั้นไหลลงทางใต้มาบรรจบกับลำน้ำลิกที่เมืองสุมแล้วรวมกันเป็นลำน้ำงึมที่กว้างใหญ่ไหลไปออกแม่น้ำฌขงทางเหนือของเมืองเวียงจันท์ ลำน้ำลิกนั้นก่อนที่จะมารวมกับลำน้ำงึมก็จัดเป็นลำน้ำใหญ่ที่มีความยาวพอสมควร โดยมีต้นน้ำอยู่บนที่สูงทางตะวันตกของเมืองเชียงขวางและทุ่งไหหินแล้วไหลลงทางงใต้ขนานกับลำน้ำโขงมาบรรจบกับลำน้ำงึมที่เมืองสุม ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าบริเวณทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเวียงจันท์ขึ้นไปนั้นมีที่ราบลุ่มมากพอที่จะเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชนบ้านเมืองได้ ยิ่งกว่านั้นยังเป็นบริเวณที่ติดต่อสัมพันธ์ไปยังเขตเมืองหลวงพระบางอันเป็นที่รวมแม่น้ำหลาย ๆ สายเช่นเดียวกัน บริเวณดังกล่าวนี้ล้วนอยู่ในเส้นรุ้ง 18-19 องศาเหนืออันเป็นบริเวณที่มีกลุ่มชนชาติไทกระจายอยู่ทั้งสิ้น จากเมืองเวียงจันท์ตามลำน้ำงึมขึ้นไปประมาณ 80 กิโลเมตร เคยมีผู้พบแหล่งโบราณคดีแบบทวารวดี พบพระพุทธรูปหินและศิลาจารึกภาษามอญมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 ปัจจุบันนี้พระพุทธรูปหินและศิลาจารึกนั้นทางราชการลาวได้นำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์วิหารพระแก้วในนครเวียงจันท์แล้ว นอกจากนั้นเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมาเคยมีการสำรวจทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับการสร้างเขื่อนพลังน้ำผาโมงมีนักโบราณคดีไทยออกสำรวจแหล่งโบราณคดีขึ้นไปยังบริเวณต้นน้ำโมงที่อยู่ทางเหนือแม่น้ำโขงไปทางตะวันตกของเมืองเวียงจันท์ แล้วได้ข้ามฟากแม่น้ำโขงที่ไปที่ปากน้ำแห่งหนึ่งในเขตลาวก็พบแหล่งศาสนสถานที่มีพระพุทธรูปศิลานาคปรกแบบทวารวดีต่อมัยลพบุรีด้วย ซึ่งก็คงมีอายุไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ 16 ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่อยู่นอกเมืองเวียงจันท์ทางฟากตะวันออกของแม่น้ำโขง ที่แสดงให้เห็นว่ามีอารยธรรมทางพุทธศาสนาแบบทวารวดีแพร่เข้าไปถึง แต่หลักฐานที่จะยืนยันว่าเมืองเวียงจันท์คือนครที่เก่าแก่นั้นพบเป็นจำนวนมากทางฝั่งอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายตรงข้ามเมืองเวียงจันท์ อันนับเป็นบริเวณลุ่มน้ำโมงมีลำน้ำโมงไหลจากเทือกเขาภูพานที่อยู่ทางใต้มาออกแม่น้ำโขงที่อำเภอท่าบ่อ พบพระพุทธรูปหินแบบทวารวดีตอนปลายแห่งแต่ทว่าโบราณวัตถุเหล่านี้ถูกโจรกรรมไปจากแหล่งศาสนสถานจนหมด จากนั้นถ้าหากเดินทางขึ้นไปตามลำน้ำโมงก็จะผ่านเข้าไปในเขตเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อันเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้วสืบเนื่องต่อมาจนกระทั่งถึงสมัยทวารวดีและสมัยลพบุรี เส้นทางตามลำน้ำโมงขึ้นไปนี้เป็นเส้นทางโบราณที่จะตัดผ่านเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ไปยังอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก แล้วเดินทางตามลำน้ำแควน้อยไปออกแม่น้ำน่านที่เมืองพิษณุโลก หรือไม่ก็ตัดผ่านเขตอำเภอชาติตระการไปยังต้นลำน้ำตรอนแล้วออกแม่น้ำน่านที่เมืองตรอน จากนั้นเดินทางต่อไปยังเมืองทุ่งยั้งในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ได้ เส้นทางที่กล่าวมานี้คือเส้นทางการคมนาคมระหว่างแคว้นสุโขทัยกับเมืองเวียงจันท์ เหนือเมืองเวียงจันท์ขึ้นไปตามลำน้ำโขงเล็กน้อยมีเกาะแห่งหนึ่งเรียกว่าดอนชิงชู้อยู่ค่อนมาทางฝั่งไทย เมื่อยามแล้งน้ำในแม่น้ำโขงงวดลงจะมีชายหาดของดอนชิงชู้ยื่นล้ำเข้ามาทางฝั่งไทยจนเดินถึงกันได้ บนดอนแห่งนี้มีซากโบราณสถานที่ก่อด้วยอิฐและศิลาแลงอยู่หลายแห่ง อาจารย์มานิต วัลลิโภดม อดีตผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีไทยประจำกรมศิลปากรเคยเล่าให้ฟังว่าเมื่อคราวไปสำรวจภาคอีสานเมื่อ พ.ศ. 2505 ได้ส่องกล้องดูวัดเก่า ๆ ในบริเวณนี้ เห็นพระพุทธรูปหินทรายแบบทวารวดีหลายองค์ บางองค์มีขนาดใหญ่ เมื่อสอบถามผู้ที่เคยข้ามไปที่คอนชิงชู้ก็ได้ความว่ามีซากวัดเก่าที่ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่แต่ถูกเปลี่ยนให้เป็นวัดแบบลาวไป มีพระพุทธรูปหินมากมาย ต่อมาได้พบเศียรพระพุทธรูปหินทรายขนาดใหญ่ที่ร้านค้าของเก่าในเวิ้งนาครเขษม เมื่อสอบถามก็ได้รับคำตอบว่ามีผู้นำข้ามฟากมาจากดอนชิงชู้ซึ่งข้าพเจ้าเคยเห็นรูปถ่ายมีลักษณะเป็นแบบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีตอนปลาย และยังมีอีกหลายองค์เพราะชาวบ้านแถบอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ได้บันทึกภายไว้ เหตุที่ต้องเล่ามาทั้งหมดก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าเมืองเวียงจันท์ตั้งอยู่ในบริเวณที่เก่าแก่ แต่ที่สำคัญก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าในแง่มุมของพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์จนเกิดเป็นบ้านเมืองที่เก่าแก่และใหญ่โตนั้น เราไม่อาจแยกเมืองเวียงจันท์ที่อยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำโขง ออกจากบริเวณอำเภอศรีเชียงใหม่และอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายที่อยู่ปากตะวันตกของแม่น้ำโขงในเขตประเทศไทยได้ แต่ต้องนับเป็นอาณาบริเวณทางวัฒนธรรมเดียวกันบริเวณที่เรียกว่า “แอ่งสกลนคร” เพราะเป็นบริเวณที่ติดต่อกันในแนวตั้งคือเหนือ-ใต้มีแม่น้ำโขงผ่านกลาง ทางฝั่งไทยมีลำน้ำโมงไหลจากทางใต้ไปบรรจบกับแม่น้ำโขง ส่วนฝั่งลาวมีลำน้ำงึมและลำน้ำเล็ก ๆ อีกหลายสาขาไหลจากทางเหนือมาลงแม่น้ำโขงเช่นเดียวกัน นับเป็นอาณาบริเวณกว้างใหญ่ที่เยงพอกับการเกิดของกลุ่มชุมชนบ้านเมืองที่จะมีพัฒนาการขึ้นไปเป็นรัฐได้ ยิ่งกว่านั้น บริเวณที่นครเวียงจันท์ตั้งอยู่ยังเป็นตำแหน่งที่มีเส้นทางคมนาคมตามลำแม่น้ำโขงลงไปทางใต้สู่นครพนมและมุกดาหารได้ จึงนับว่าเมืองเวียงจันท์เป็นชุมทางการคมนาคมทางน้ำที่อยู่ตอนเหนือสุดของบริเวณที่เรือใหญ่ ๆ สามารถแล่นจากเมืองปากเซในเขตลาวขึ้นไปถึงได้ เพราะเหนือเมืองเวียงจันท์ขึ้นไปโดยเฉพาะเหนือดอนชิงชู้ขึ้นไปนั้น แม่น้ำโขงแคบและหักงอขึ้นไปทางเหนือ เป็นบริเวณที่มีเกาะแก่งกระจายอยู่เกือบเต็มท้องน้ำ จึงไม่อาจเดินเรือได้จนถึงแก่งคุดคู้ ในเขตอำเภอเชียงคานจังหวัดเลย จากหลักฐานทางโบราณคดีที่กล่าวมานั้น ข้าพเจ้าคิดว่าเมืองเวีงจันท์ตั้งอยุ่ในบริเวณที่เป็นบ้านเป็นเมืองทั้งสองฟากแม่น้ำโขงมาแล้ว ไม่น้อยกว่าพุทธสตวรรษที่ 14-15 เมื่อมีการสร้างเมืองนี้ขึ้นนั้นคงเป็นช่วงเวบาที่มีการติดต่อเกี่ยวข้องกับชุมชนที่เป็นบ้านเมืองอื่น ๆ ทั้งใกล้และไกล ด้วยเหตุนี้เมืองเวียงจันท์จึงตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของการคมนาคมอย่างแท้จริง นั่นก็คอืจากเมืองเวียงจันท์อาจเดินทางข้ามเทือกเขาไปยังลุ่มน้ำน่านและลุ่มน้ำยมในเขตแคว้นสุโขทัยได้ อีกทางหนึ่งจากเมืองเวียงจันท์ก็ขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือสู่เมืองเชียงดง เมืองเชียงทอง หรือเมืองหลวงพระบางได้ แต่ถ้าขึ้นไปตามลำน้ำงึมทางเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือก็ผ่านไปยังเมืองเชียงขวาง ทุ่งไหหิน แล้วข้ามเทือกเขาไปยังบ้านเมืองของพวกเวียดนามและจามปาที่อยู่เขตชายทะเลได้ไม่ยาก ครั้นเดินทางตามลำน้ำโขงลงมาก็ติดต่อกับบ้านเมืองในเขตจังหวัดอุดรธานีและสกลนครได้สะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ

เวียงจันท์ศูนย์กลางของชาวสยามยุคแรก ๆ

เมื่อมาถึงตอนนี้ข้าพเจ้าก็หันมาตั้งคำถามว่าเมืองเวียงจันท์มีมาแต่เมื่อไร หลักฐานจากภายนอกมีจดหมายเหตุจีนโบราณกล่าวถึงชื่อเมืองแห่งหนึ่งว่า “เวนตัน” หรือ เหวินถาน” ที่ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ดูเหมือนจะอยุ่ในภูมิภาคนี้ของแม่น้ำโขงว่าเส้นทางติดต่อขึ้นไปถึงเขตแดนจีน ถ้าดูการเพี้ยนของคำ “เวนตัน” หรือ “เหวินถาน” แล้วไม่ห่างไกลกับเวียงจันท์เลย นอกจากนั้นยังมีศิลาจารึกของพวกจามพบที่วิหารโปนาการ์ที่เมืองญาตรังกล่าวถึงการอุทิสข้าทาสถวายเทวรูปพระนางภควดีเมื่อ พ.ศ. 1593 จำนวน 55 คน ในจำนวนนี้มีทาสชาวจาม เขมร จีน พุกาม และชาวสยามด้วย การกล่าวถึงชาวสยามหรือเสียมในศิลาจารึกของจามนี้นับเนื่องในปลายพุทธศตวรรษที่ 16 มีรายชื่อร่วมกันกับกลุ่มชนที่เป็นชนชาติใหญ่คือพวกเขมร จีน ยกเว้นพวกพุกาม ซึ่งในที่นี้ข้าพเจ้ายังไม่แน่ใจว่าหมายถึงพวกพุกามในประเทศพม่า เพราะกลุ่มชนที่อยู่ตอนเหนือของเวียดนามก็ถูกเรียกว่า “แกวปะกัน” ฉะนั้นชื่อพุกามนั้นแท้ที่จริงคือปะกันก็ได้ ยิ่งกว่านั้นเมืองเชียงขวางอันเป็นเมืองที่มีทุ่งไหหินอยู่นั้นในตำนานขุนเจืองก็เรียกว่าเมืองปะกันเช่นเดียวกัน จึงน่าสังเกตได้ว่าบรรดาชนชาติต่าง ๆ ที่กล่าวในจารึกนั้น ค่อนข้างจะมีถิ่นฐานอยู่ในภูมิภาคที่ห่างไกลกัน คือในเขตลุ่มแม่น้ำโขงและชายฝั่งทะเลขึ้นไปจนถึงจีนตอนใต้

“กองทัพสยาม” จากเวียงจันท์ มาถึงตรงนี้แล้วก็มีคำถามตามมาอีกว่าชาวสยามหรือเสียมที่ถูกเกณฑ์ไปเป็นข้าทาสของศาสนสถานจามนั้นมาจากำไหน? มากจากแคว้นสุโขทัยหรือ? เป็นไปไม่ได้ เพราะตอนนั้นสุโขทัยยังไม่มี มาจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาหรือ ก็เป็นไปไม่ได้เพราะต้องผ่านดินแดนอีสานไป อีกทั้งการกล่าวถึงพวกสยามและเมืองสยามในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้นมีหลักฐานให้เห็นจริง ๆ จากจดหมายเหตุจีนราวพุทธศตวรรษที่ 18 ลงมาเกือบทั้งสิ้น แต่ จิตร ภูมิศักดิ์ เคยให้ความเห็นว่าคำว่า “เสียมกก” หรือ “สยามกก” ที่พบบนภาพจำหลักที่ระเบียงประวัติศาสตร์ของปราสาทนครวัดสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1659-1690) นั้น หมายถึงพวกชาวสยามในลุ่มแม่น้ำกกแห่งเมืองหิรัญนครเงินยางหรือเชียงแสนในบริเวณที่ราบลุ่มเชียงราย ข้อสันนิษฐานนี้มีข้อมูลและเหตุผลน่าเชื่อถือ แต่ทว่าตำแหน่งของบ้านเมืองในลุ่มน้ำกกดูจะห่างไกลเกินไป อีกทั้งบรรดาบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำกกของที่ราบลุ่มเชียงรายนั้นเท่าที่แลเห็นจากหลักฐานทางโบราณคดีอันเกี่ยวข้องกับอารยธรรมทางพุทธศาสนาและฮินดูที่ร่วมสมัยกับศาสนสถานของพวกจากที่เมืองญาตรังในเวียดนาม กับปราสาทนครวัดของกัมพูชาก็หามีไม่ เพราะบรรดาศาสนาสถานท่พบในบริเวณที่ราบลุ่มเชียงรายส่วนมากมีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ลงมาเกือบทั้งสิ้น ก็เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทำไมเราจึงมองข้ามเมืองเวียงจันท์และเมืองเวียงคำในลุ่มแม่น้ำโขง และบริเวณบ้านเมืองในแอ่งสกลนครของอีสานไปเล่า? เรื่องนี้ถ้าหากจะเชื่อมโยงกับกลุ่มคนไต-ไทหรือพวกสยามลุ่มน้ำกกด้วยการขยายอำนาจของขุนเจืองมาสัมพันธ์กับเมืองเวียงจันท์ เมืองเชียงขวาง (เมืองปะกัน) และบริเวณแอ่งสกลนครแล้วก็จะดูเข้ากันได้ดีทีเดียว แต่จุดสำคัญอยู่ที่เมืองเวียงจันท์ เพราะมีหลักฐานพร้อมทุกด้านไม่ว่าจะเป็นหลักฐานด้านโบราณคดีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาซึ่งมีอายุเก่าแก่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14-15 ลงมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 17-18 ที่ได้รับอิทธิพลจากจามและเมืองพระนคร ยิ่งกว่านั้นยังมีการสืบเนื่องลงมาจนถึงสมัยล้านช้างในพุทธศตวรรษที่ 20-22 อีกด้วย นอกจากนั้นยังมีหลักฐานด้านเอกสารเช่นจดหมายเหตุจีนตำนานและพงศาวดาร โดยเฉพาะหลักฐานจากเอกสารที่กล่าวถึงพ่อค้าจากเมืองเวีงจนท์ขึ้นไปค้าขายบังเมืองเชียงดง เมืองเชียงทอง เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นตำแหน่งที่ตั้งของเมืองเวียงจันท์ยังเป็นศูนย์กลางในการคมนาคมและการค้าขายทางไกล (Long distance trade) อีกด้วย การมองข้ามความสำคัญของเมืองเวียงจันท์ไปนั้นคงเป็นเรื่องที่มาจากความลำเอียงในหลาย ๆ เรือ เรื่องแรกก็คือ บรรดานักปราชญ์และนักวิชาการสำคัญ ๆ แต่ก่อนนั้น ไม่ให้ความสนในต่อร่องรอยในตำนานและพงศาวดารเท่าที่ควร เพราะมักมองเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เชื่อถืออะไรไม่ได้ อีกเรื่องหนึ่งก็คือจิตสำนึกในชาตินิยม ทั้งนี้เพราะเมืองเวียงจันท์เป็นเมืองสำคัญของพวกลาว และไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ถ้าหากยอมรับอะไรต่อมิอะไรแล้วอาจนำไปสู่ปัญหาทางการเมืองได้ อคติดังกล่าวนับเป็นการมองปัจจุบันเข้าไปหาอดีตโดยแท้ แต่ก็นับว่ายังดชคดีที่พวกจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร กลับเพ่งมอบไปที่ญวนและเขมรว่าเป็นใหญ่ในภูมิภาคนี้มาก่อน มิฉะนั้นแล้วคงมีปัญหาเรื่องการเรียกร้องดินแดงอีสานให้เป็นของลาวดังกรณีที่เขมรอ้างสิทธิเหนือเขาพระวิหาก็เป็นได้ ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าหากเราให้ความสนใจต่อสิ่งที่เป็นหลักฐานข้อมูลอย่างเท่าเทียมกันแล้วมีการวิเคราะห์และประเมินอย่างดีแล้วการละเลยในเรื่องความสำคัญของตำนานและพงศาวดารคงไม่เกิดขึ้นแน่และยิ่งจะไม่มีวันเกิดขึ้นถ้าหากไม่ติดนิสัยเป็นขี้ข้าทางปัญญาของพวกจักรววรรดินิยมตะวันตก

แคว้นศรีโคตรบูรณ์ อันการมองว่าเมืองเวียงจันท์เป็นศูนย์กลางของความเจริญทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมในปัจจุบันนั้นเป็นการมองสถานภาพของเมืองเวียงจันท์ในยุคที่เกิดแคว้นล้านช้างขึ้นแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งตั้งแต่การเกิดเมืองหลวงพระบางขึ้นมาจนถึงการเปลี่ยนตำแหน่งเมืองสำคัญมาอยู่เมืองเวียงจันท์ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราช แต่ทว่าตามความเป็นจริงแล้วเวียงจันท์เป็นเมืองที่เจริญมาก่อนพวกหลวงพระบางจะเคลื่อนย้ายลงมา กำเนิดของเมืองเวียงจันท์เป็นพัฒนาการของชุมชนบ้านเมืองที่เกิดขึ้นร่วมกันกับบ้านเมืองในแอ่งสกลนครเขตจังหวัดหนองคาย อุดรธานี นครพนม และสกุลนครโดยตรง หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเรื่องของการคลีคลายของบ้านเมืองทั้งสองฟากแม่น้ำโขงบริเวณแอ่งสกลนครก่อนที่พวกล้านช้างจะเคลื่อนลงมานั่นเอง ถ้าจะให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนี้ดีขึ้น ก็ต้องศึกษาและวิเคราะห์ตำนานอุรังคธาตุ แน่นอน ตำนานอุรังคธาตุเรื่องนี้เรียบเรียงขึ้นโดยนักปราชญ์โบราณของล้านช้าง แต่ก็ให้ข้อมุลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องความเป็นมาของบ้านเมืองในภูมิภาคนี้ก่อนพวกลาวเคลื่อนลงมาได้ดีมาก จุดที่น่าสนใจของตำนานเรื่องนี้อยู่ที่การอธิบายถึงความเป็นมาของพระธาตุพนมซึ่งเขียนขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเรื่องบูรณาการทางวัฒนธรรมและการเมืองของผู้คนลุ่มแม่น้ำโขงในแอ่งสกลนคร ถ้าตัดเรื่องของพระบรมธาตุที่เชื่อว่าถูกนำเข้ามาแต่สมัยดึกดำบรรพ์ออกเสียก่อนแล้ว ก็จะพบว่าตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงบ้านเมืองต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก ในเรื่องของภายในนั้นได้มีบ้านเมืองที่เกิดขึ้นแล้วหรือมีอยู่แล้วทั้งสองฟากแม่น้ำโขงในแอ่งสกลนคร เช่นเมืองหนองหานหลวง เมืองหนองหานน้อย เมืองมรุกขนคร และในที่สุดก็เมืองเวียงจันท์ ส่วนเรื่องเกี่ยวกับภายนอกนั้นก็สัมพันธ์กับเมืองร้องเอ็ดในเขตแอ่งโคราช เมืองอินทปัตหรือเมืองพระนครในกัมพูชาเมืองจุฬนีพรหมทัตหรือเมืองของพวกจามในเวียดนาม เป็นต้น ความหลากหลายในเรื่องความสัมพันธ์กับชนกลุ่มต่าง ๆ และบ้านเมืองต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกนี้เห็นได้ดีจากสิลปกรรมที่พระสถูปบรรจุพระบรมธาตุที่องค์พระธาตุพนม โดยเฉพาะภาพสลลักบนผนังอิฐรอบ ๆ ฐานพระสถูปซึ่งมีลวดลายเป็นรูปคนขี่สัตว์เป็นพาหนะและอื่น ๆ ที่แสดงอากรเคลื่อนไหวลักษณะศิลปกรรมดังกล่าวนี้มีการผสมผสานทั้งศิลปะแบบทวารวดี แบบขอม และอิทธิพลจากญวนกับจาม ยุ่งกว่านั้นความเป็นท้องถิ่นบังปรากฏให้เห็นจากรูปร่างหน้าตา การไว้มุ่นผม รวมทั้งการเปลือยกายท่อนบนซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นว่าใกล้กับความเป็นจริงมากกว่าบุคคลเนรมิตในสิลปแบบทวารวดีและแบบขอม ตามความเห็นของนักวิชาการส่วนมากเชื่อว่าภาพสลักเหล่านี้รวมทั้งองคืพระสถูปก่อนที่จะมีการต่อเติมและบรรจุพระบรมธาตุเข้าไปในสมัยล้านช้างนั้น มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15 ข้าพเจ้าขอสรุปว่าสำหรับตำนานอุรังคธาตุนี้ ถ้าหากเดินทางไปดูบรรดาสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสนสถานกับบ้านเมืองต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในตำนานแล้ว ก็จะพบว่าแหล่งต่าง ๆ ล้วนมีหลักฐานทางโบรารคดีสนับสนุนว่ามีความเก่าแก่มาก่อนสมัยล้านช้างเกือบทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่นเมืองหนองหานหลวงและเมืองหนองหานน้อย ก็คือเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ เมือหนองหานหลวงเป็นเมืองขนาดใหญ่อยู่ริมหนองหานที่จังหวัดสกลนคร ปัจจุบันคือบริเวณที่เป็นศูนย์กลางหรือตัวจังหวัดสกลนคร ส่วนเมืองหนองหานน้อยเป็นเมืองโบราณที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี บรรดาเมืองต่าง ๆ ที่ตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึง มีการจัดระเบียบให้เห็นเป็นกลุ่ม ๆ ในลักษณะที่เป็นแว่นแคว้นเช่น เมืองร้อยเอ็ด เมืองจุฬนีพรหมทัต เมืองอินทรปัต เป็นต้น แล้วมาถึงกลุ่มเมืองที่สัมพันธ์กับการสร้างพระธาตุพนมหรือพระอุรังคธาตุเจดีย์ที่ในตำนานเรียกรวม ๆ ว่า “ศรีโคตรบูร” แคว้นศรีโคตรบูรมีการเปลี่ยนแปลงหลายยุคหลายสมัยแต่เดิมเมืองสำคัญอยู่แถว ๆ นครพนมและสกลนครเช่น เมืองมรุกขนครและหนองหานหลวง ภายหลังจึงย้ายไปอยู่ที่เวียงจันท์โดยอธิบายว่าแต่เดิมบริเวณที่เมืองเวียงจันท์เป็นหนองน้ำใหญ่มีชื่อว่าหนองคันแทเสื้อน้ำ ได้มีบุรุษในตระกูลพ่อค้าชื่อบุรีจันอ้วยล่วยมาสร้างเมืองขึ้น แล้วได้ราชธิดากษัตริย์แคว้นศรีโคตรบูรเป็นชายา แต่นั้นมาเวียงจันท์ก็กลายเป็นศูนย์กลางของแคว้นศรีโคตรบูรไป เพราะฉะนั้นก่อนที่พวกล้านช้างจะเข้ามาเป็นใหญ่ที่เมืองเวียงจันท์นั้น กลุ่มเวียงจันท์และบ้านเมืองต่าง ๆ ในแอ่งสกลนครที่เป็นภาคอีสานตอนบนของประเทศไทยมีการรวมตัวเป็นแว่นแคว้นอยู่มาแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีชื่อจากการรับรู้ของชาวล้านช้างว่า แคว้นศรีโคตรบูร ซึ่งในเอกสารเก่า ๆ รวมทั้งคำบอกเล่าของคนเก่าแก่มักมองแคว้นนี้เป็นรัฐในอุดมคติที่บรรดานักปกครองและผู้นำมักจะนำมาเอ่ยถึงเพื่อสร้างความหวังและการสังสรรค์เพื่อให้เกิดบูรณาการทางวัฒนธรรมและการเมืองแก่กลุ่มชนที่มีความหลายหลายทางเผ่าพันธ์และชนชาติในบ้านเมือง ความคิดดังกล่าวมานั้นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีในเรื่องตำนานอุรังคธาตุหรือตำนานพระธาตุพนมที่เรียบเรียงขึ้นมาอธิบายการสร้างพระธาตุพนมขึ้นในสมัยล้านช้างเพื่อให้เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของคนหลายกลุ่มเหล่าและหลายเผ่าพันธุ์ประการหนึ่ง ส่วนอีกประการหนึ่งก็เพื่ออ้างความชอบธรรมบางอย่างของการเป็นผปู้นำของเจ้านายและพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเพื่อต่อต้านการกดขี่ที่ไม่เป็นธรรม แต่เรื่องของแคว้นศรีโคตรบูรก็มิได้ปรากฎอยู่เฉพาะหลักฐานของทางล้านช้างเท่านั้น หากยังมีอยู่ในหนังสือพงศาวดารเหนือของภาคกลางของประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะตอนที่กล่าวถึงความเป็นมาก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยา แล้วมีเรื่องพระยาดคตรบองซึ่งเป็นสามัญชนผู้มีพละกำลังแล้วกลายเป็นผู้มีบุญและกษัตริย์ปกครองบ้านเมือง เมื่อสิ้นบุญสิ้นวาสนาแล้วต้องหลบหนีไปอยู่ที่ล้านช้าง จะเห็นว่าชื่อศรีโคตรบูรก็ดีหรือล้านช้างก็ดีล้วนเป็นคำที่สัมพันธ์กับกษัตริย์องค์นี้ทั้งสิ้น เมื่อมาถึงจุดนี้ข้าพเจ้าคิดว่าเวียงจันท์ในสมัยศรีโคตรบูรนั่นแหละคือแว่นแคว้นของชาวเสียมหรือสยามที่พัฒนาขึ้นในระยะแรก ๆ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15 ในสองฟากแม่น้ำโขงของแอ่งสกลนคร ต่อมาได้มีการขยายตัวอย่างใหญ่โตในพุทธศตวรรษที่ 16-17 จึงปรากฏชื่อชาวเสียมหรือสยามในดินแดนจามและกัมพูชา ยิ่งกว่านั้นยังมีการเคลื่อนย้ายของชาวสยามเข้าไปก่อบ้านสร้างเมืองบนเส้นทางการคมนาคมตามลุ่มน้ำต่างๆ ทั้งในภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทยด้วย การเคลื่อนย้ายของชาวสยามดังกล่าวนี้ หาใช่เป็นการอพยพหนีภัยจากการขับไล่ของชนชาติอื่นที่มีอำนาจกว่าไม่หากเป็นการเคลื่อนย้ายไปกับการค้าขายระยะไกล (long distance trade) และการรบพุ่งที่มีทั้งการแย่งชิงบ้านเมืองและการถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยของชนชาติอื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพราะดินแดนในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง เช่น ลาว พม่า เขมร ต่างก็มีที่ทำกินว่างเปล่ามากมายอันเนื่องจากแต่ละประเทศมีประชาชากรน้อย ย่อมเปิดโอกาสให้ใครก็ได้ที่พอจะมีกำลังให้เข้ามาตั้งบ้านเมืองขึ้น แม้แต่บริเวณที่เป็นเมืองใหญ่โตและมั่นคงอยู่แล้วก็ยังต้องการไพร่บ้านพลเมืองเพิ่มขึ้น ดังนั้นการรบทัพจับศึกแต่ละคราวจึงหมายถึงการกวาดต้อนผู้คนจากที่หนึ่งไปเป็นไพร่บ้านพลเมืองด้วย ข้อความที่มีอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยทั้งหลักที่ 1 และหลักที่ 2 นั้นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นลักษณะความเคลื่อนไหวของชาวสยามได้อย่างดี โดยเฉพาะจารึกหลักที่ 1 ที่ว่าพระมหากษัตริย์ของแคว้นสุโขทัยทรงไม่เก็บภาษีจังกอบจากพวกพ่อค้า ซึ่งเท่ากับเปิดโอภาสให้มีการเดินทางไปมาหาสู่กันอย่างสะดวก และอาจเข้าไปตั้งหลักแหล่งอยู่อย่างถาวรได้ ในขณะเดียวกันจารึกก็กล่าวถึงการไปตีบ้านตีเมืองได้ผู้คนชายหญิงมาก็ไม่ฆ่าไม่ตี แต่เอาไปเป็นไพร่บ้านพลเมือง ซึ่งในเรื่องนี้อย่าว่าแต่แคว้นสุโขทัยเลยเพราะในจารึกของพวกจามที่เมืองญาตรังดังเคยกล่าวมาแล้วก็เช่นกัน กล่าวคือกวาดต้อนเอาคนสยาม คนจีน คนเขมรและปะกันไปอุทิศให้เป็นข้าทาสแก่ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเมืงอ การเป็นข้าทาสหรือข้าพระดังกล่าวนั้นหาได้อยู่ในสภาพที่ถูกกดขี่ข่มเหงไม่ หากให้มีการตั้งถิ่นฐานบ้านช่องเป็นชุมชนหมู่บ้านอยู่รอบ ๆ ศาสนสถานที่เป็นศูนย์กลาง ซึ่งนับเป็นการสร้างบ้านแปลงเมืองอย่างหนึ่งทีเดียว

ชาวสยามไม่ใช่ไต-ไท

อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าไม่คิดว่าคนสยามหรือชาวสยามเป็นพวกเดียวกันหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชนชาตไตและไทหรือน้อยอะไรทำนองนั้น เพียงแต่ยอมรับความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ่งในระยะแรกเริ่มเท่านั้น กลุ่มที่นับเป็นชนชาติไต-ไท คือพวกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในระดับเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือขึ้นไปจนกระทั่งถึงเส้นรุ้งที่ 26 องศาเหนือ เป็นกลุ่มชนชาติที่มีความเจริญในระดับบ้านเมืองและรัฐเล็ก ๆ แล้วกระจายกันอยู่มากมายหลายบ้านเมืองตามหุบเขาต่าง ๆ แต่กลุ่มชนที่เรียกว่าเสียมหรือสยามนั้นอยู่ตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือลงมา เป็นกลุ่มชนที่เกิดจากากรผสมผสานของชนชาติไต-ไท กับบรรดาชนเผ่าอื่น ๆ หรือ ชนชาติอื่นที่มีทั้งที่เป็นชนพื้นเมืองเดิมอยู่แล้ว กับพวกที่เคลื่อนย้ายเข้ามาใหม่ เหตุที่มีการผสมผานกันก็เนื่องมาจากบริเวณที่เกิดเป็นบ้านเมืองเหล่านั้นมักเป็นหุบเขาหรือที่ราบลุ่มกว้างใหญ่เป็นแหล่งที่คนหลายเผ่าพันธ์เข้ามาตั้กหลักแหล่งอยู่ในบริเวณเดียวกันได้ เมื่ออยู่ในบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกันก็ย่อมมีการสังสรรค์กันทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมจนเกิดเป็นพวกเดียวกัน แต่เป็น “ไทยสยาม” กลไกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความเป็นพวกเดียวกันได้ก็คือภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน ภาษาไทยของชนชาติไทยมีศักยภาพมากกว่าภาษาอื่น ๆ ก็เพราะเป็นภาษาของชนชาติที่มีอาณาบริเวณกว้างขวางดังที่กล่าวมาแล้ว ถ้าจะมองจากแง่มุมทางภาษาก็อาจกล่าวได้ว่า ภาษานั่นเองที่ทำให้คนสยามหรือชาวสยามถูกเรียกว่าเป็นคนไทยไป เพราะการสืบเนื่องของภาษาพูดนั้นยั่งยืนกว่าการผสมผสานกันทางสายเลือกและเผ่าพันธุ์ เพราะฉะนั้นถ้าจะเรียกว่าคนที่อยู่ในประเทศไทยคือพวกของไทยแล้ว ข้าพเจ้าก็ขอเรียกว่าเป็นพวก “ไทยสยาม” ดูจะเหมาะกว่าพวกไตหรือพวกไทที่หมายถึงพวกไทยใหญ่และไทยน้อย แต่ทว่าภาษาก็หาใช่ตัวแปรที่สำคัญอย่างเดียวในการกำหนดการเป็นคนสยามหรือไทยสยาม เพราะยังมีตัวแปรอีก 2 อย่างที่ควรพิจารณาด้วยคือศาสนาและดินแดน

ศาสนา คงไม่มีใครขัดแย้งถ้าจะกล่าวว่าศาสนาของพวกสยามคือ”พุทธศาสนา” ถ้ามองอย่างผิวเผินก็บอกได้ว่าพุทธศาสนาของพวกสยามเป็นแบบเถรวาทที่รับอิทธิพลจากลังการสมัยพุทธศตวรรษที่ 17-18 อาจจะผ่านมาทางพุกามหรือไม่ก็ทางนครศรีธรรมราชหรือเมาะตะมะเมืองมอญก็ได้ แต่ถ้ามองให้ลึกซึ้งแล้วพุทธศาสนาที่ชาวสยามนับถือนั้นมีมาช้านานก่อนพุทธศตวรรษที่ 17-18 เป็นไหน ๆ ดังเช่นชาวสยามในแอ่งสกลนครนั้นนับถือพุทธศาสนาที่เป็นพุทธศาสนาแบบทวารวดีที่ผ่านขึ้นไปจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาในภาคกลางของประเทศไทยเมื่อไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ 14-15 เมื่อมาถึงตรงนี้ก็คงจะมีคำถามขึ้นว่า เพราะเหตุใดพุทธศาสนาจึงแพร่หลายกลายเป็นศาสนาที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวสยามไป? คำตอบในเรื่องนี้ ถ้าตอบอย่างผิวเผินก็คงเป็นเรื่องที่ซ้ำซากว่าก็เพราะบรรดาบ้านเมืองที่อยู่ทางเขตชายทะเลที่มีการติดต่อกับพวกอินเดียและชาวตะวันตกรับเข้ามา แล้วเผยแพร่มาให้หรือไม่ก็เป็นเพราะพวกชาวอินเดียผู้เจริญกว่าในทางอารยธรรมนำเข้ามาสั่งสอนบรรดาชาวพื้นเมืองที่ยังมีระดับวัฒนธรรมต่ำกว่า ซึ่งก็จะเป็นการดูถูกผู้คนในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่มากไปหน่อย อีกทั้งเป็นการมองข้ามความเจริญของผู้คนในดินแดนนี้ที่มีพัฒนาการจากชนเผ่ามาเป็นชนชาติ แล้วเป็นบ้านเมืองกระทั่งเป็นรัฐที่มีการติดต่อถึงกันและมีความสัมพัน์กันมาช้านานก่อนแล้ว หากจะให้คำตอบที่ลึกซึ้งได้ก็ต้องหันไปดูอารยธรรมในยุคสัมฤทธิ์-เหล็กของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ดังที่ข้าพเจ้าเกริ่นไว้ตั้งแต่ตอนต้น ๆ นั่นก็คืออารยธรรมในยุคสัมฤทธิ์-เหล็กได้ปรากฏตัวมาช้านานแล้ว อย่างน้อยก็ประมาณ 3,000 ปีลงมา ดังเห็นได้จากหลักฐานที่ยูนนาน เวียดนาม และบ้านเชียงในแอ่งสกลนครของประเทศไทย ครั้นประมารพุทธศตวรรษที่ 2-3 หรือราว 2,400-2,300 ปีที่ผ่านมาก็แพร่กระจายไปเกือบทั่วภูมิภาคทำให้มีการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของกันในระยะไกลของกลุ่มชนที่เป็นชนชาติกับชนเผ่าอย่างกว้างขวางทั้งทางบกและทางทะเล เป็นเหตุให้เกิดบรรดาบ้านเมืองและรัฐที่มีการผสมผสานของผู้คนหลายเผ่าพันธุ์หลายชนชาติอยู่แล้ว ก่อนที่จะมีการติดต่อกับทางอินเดียและชาวกรีกโรมันทางตะวันตกในสมัยพุทธศตวรรษที่ 6-7 หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวทางการค้าระยะไกลและการเกิดบ้านเมืองขึ้นแล้วก่อนมีการเกี่ยวข้องกับทางอินเดียและชาวตะวันตกโพ้นทะเลก็คือบรรดาแหล่งโบราณคดีสมัยสัมฤทธิ์-เหลกที่สัมพันธ์กับกลองสัมฤทธิ์และบรรดาเครื่องประดับกับเครื่องมือที่ทำด้วยสัมฤทธิ์-เหล็กที่มีทั้งที่เป็นสินค้าและของที่ทำขึ้นในท้องถิ่น ดังนั้นถ้าหากมองในมิติที่ว่ามีความเจริญเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจอยู่ในภูมิภาคนี้อยู่ก่อนแล้ว การที่จะไปมองว่าผู้คนชนชาตินี้ชนชาติโน้นถูกขับไล่อพยพมาหาดินแดนใหม่ก็คงจะหมดความสำคัยไป ยิ่งเมื่อนำไปพิจารณาบริเวณแอ่งสกลนครอันเป็นอาณาบริเวณของแค้วนศรีโคตรบูรที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าเป็นของชนชาติไทยสบามนั้น ก็ยิ่งเห็นชัดว่าบริเวณนี้มีความเก่าแก่ไปกว่า 3,000 ปีอันร่วมสมัยเดียวกันกับยูนนานและเวียดนามทีเดียว เมื่อมาถึงตรงนี้ก็จะแลเห็นความหมายและความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่นอกจากเป็นกุญแจไขไปสู่ความสัมพันธ์กับบ้านเมืองทางเขตเวียดนามและยูนนานแล้ว ยังเชื่อมต่อลงมายังแอ่งโคราชและลุ่มเจ้าพระยาในภาคกลางอีกด้วย ดังนั้นถ้าเราหวนกลับไปดูความสัมพันธ์ของเวียงจันท์กับสุโขทัยที่ปรากฎในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 แล้ว เราก็จะแลเห็นการเคลื่อนไหวของชาวไทยสยามในพุทธศตวรรษที่ 18-19 อย่างแจ่มแจ้งว่ามีพลังอย่างมากไปตามเส้นทางการค้าระยะไกลจากเวียงจันทร์ผ่านสุโขทัยไปจนถึงเมาะตะมะเป็นการเชื่อมประสานกันจากบ้านเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจสังคมที่อยู่ที่อ่าวเมาะตะมะผ่านมาลุ่มแม่น้ำดขงก่อนที่จะตัดข้ามเทือกเขาไปยังบ้านเมืองชายทะเลในเขตเวียดนาม จามปา และกัมพูชา

ดินแดน พัฒนาการของบ้านเมืองตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-19 ลงมานั้น เริ่มแลเห็นการให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นดินแดนหรือประเทศค่อนข้างชัดเจน ก่อนหน้านี้ความสำนึกในเรื่องประเทศคงมีจำกัดอยู่ในบรรดาบ้านเมืองที่มีพัฒนาการขึ้นเป็นรัฐใหญ่หรือาณาจักรเท่านั้น ดังเช่นในจารึกสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนครมีคำว่า “กัมพูชาเทศะ” หรือ “กัมพุชประเทศ” เป็นต้นแต่บรรดารัฐเล็กเมืองน้อยนั้นไม่ปรากฏใช้ เพียงแต่ให้ความสำคัญอยู่ที่จุดศูนย์กลางทางการเมือง ณ เมืองสำคัญเท่านั้น ครั้นถึงสมัยรามพุทธศตวรรษที่ 18-19 ลงมาก็เริ่มมีพัฒนาการของบรรดาบ้านเมืองใหญ่น้อยขึ้นเป็นรัฐใหญ่ ๆ มีการศึกษาเรื่องศาสนาและการเมืองการปกครองที่ได้รับอิทธิพลอารยธรรมอินเดียมากขึ้น จึงมีการกำหนดอาณาบริเวณที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางวัฒนธรรมและการเมืองกันเช่นในกลุ่มของชนชาติเมงหรือมอญก็มี “รามัญประเทศ” กลุ่มที่อยุ่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำปิงในสมัยเมืองหริภุญไชยเป็นศูนย์กลางก็เรียกดินแดนในการปกครอง่า “สมันตรประเทศ” ต่อมาในเขตกลุ่มเมืองสุโขทัยก็ถูกเรียกว่า “สยามประเทศ” ดังมีกล่าวถึงในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ของล้านนา ความสำนึกในเรื่อง “ประเทศ” นี้นับได้ว่าเป็นพัฒนาการทางสังคมที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการรวมกลุ่มชนต่างเผ่าพันธุ์และต่างชนชาติให้เป็นพวกเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการเกิด “สยามประเทศ” ขึ้นก็เป็นเรื่องที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มของชนชาติไต-ไท เท่านั้นหากหมายถึงคนกลุ่มอื่น ๆ ที่เข้ามาประสมปนเปอยู่ร่วมกันนานพอที่จะมีการใช้ภาษากลางร่วมกัน มีประเพณีพิธีกรรม ศาสนา และระบบความเชื่อเหมือนกัน ดังที่มีภาษาไทยใช้เป็นระบบสัญลักษณ์ในการสื่อสารระหว่างกัน และมีพระพุทธศาสนาเป็นสถาบันในระบบความเชื่อร่วมกัน

สยาม-ลาว เมื่อมาถึงจุดนี้ ข้าพเจ้าคิดว่าเราเริ่มเห็นความแตกต่างขึ้นมาระหว่างคำว่า “ชาวสยาม” กับ “สยามประเทศ” ชาวสยาม คงหมายถึงกลุ่มชนชาติที่มีความเคลื่อนไหวสูง สยามประเทศ มีลักษณะปักหลักเน้นเรื่องพื้นที กลุ่มชนชาวสยามหรือเสียมในแว่นแคว้นศรีโครบูรหรือเวียงจันท์ที่ปรากฏในจารึกจามและกัมพูชามีการเปลี่ยแปลงอันเนื่องมากจากลุ่มชนชาติไทที่อยุ่ทางหลวงพระบางเคลื่อนลงมามีอำนาจแทน ทำให้เกิดบ้านเมืองที่เรียกว่า “ศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว” ขึ้น ซึ่งต่อมาภายหลังคนจากภายนอกเรียกว่า เป็นพวก “ ลาว” และเรียกบ้านเมืองว่า “ล้านช้าง” ก็นับเป็นการแบ่งแยกพวกสยามหรือเสียมออกจากพวกลาว ส่วนพวกสยามนั้นกลับพบมากในบริเวณภาคเหนือตอนล่างภาคกลางทางซีกตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วลงไปถึงเมืองเพชรบุรีและเมืองนครศรีธรรมราชในภาคใต้ ชาวไทยสยาม ร้อยพ่อพันแม่ ในที่สุดนี้ข้าพเจ้าใคร่เสนอการเคบื่อนไหวของกลุ่มชนชาวสยามที่ทำให้เกิดกลุ่มของบ้านเมืองหรือรัฐและดินแดงที่เรียกว่าสยามประเทศดังนี้ เมืองสุโขทัยในระยะแรกๆ น่าจะเป็นบ้านเมืองของกลุ่มชาวสยามที่เคลื่อนตัวมาจากบ้านเมืองในแอ่งสกลนครตั้งแต่สมัยแคว้นศรีโคตรบูร ตามเส้นทางจากสุโขทัยไปเมืองเวียงจันท์เวียงคำ บนเส้นทางนี้มีเมืองสำคัญที่อยู่ระหว่างต่อแดนของลุ่มแม่น้ำน่านกับลุ่มแม่น้ำโขงคือเมืองนครไทยในเขตอำเภอนครไทจังหวัดพิษณุดลก เมืองนี้ข้าพเจ้าเชื่อว่าคือเมืองราด ที่มีปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัย เป็นเมืองสำคัญของพ่อขุนผาเมืองผู้ยกราชสมบัติเมืองสุโขทัยให้กับพ่อขุนบางกลางหาวผู้เป็นพระสหายแล้วอภิเษกให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ฉะนั้นเมืองราดหรือนครไทยจึงเป็นเมืองสำคัญที่กษัตริย์ปกครอง แต่เท่านั้นยังไม่พอ เพราะนอกจากนี้แล้วก็ยังมีตำนานและพงศาวดารที่เกี่ยวกับความเป็นมาของเมืองเพชรบุรีและอยุธยาว่า เมืองนครไทยนั้นเคยมีพระมหากษัตริย์ปกครองอยู่ก่อนต่อมาได้มีการเคลื่อนย้ายมาสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นที่เมืองเพชรบี แล้วต่อจากเมืองเพชรบุรีก็มีการสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาอีกทีหนึ่ง ตำนานละพงศาวดารที่กล่าวนี้จะเชื่อได้ว่าให้รายละเอียดที่เป็นจริงหรือไม่นั้นยังไม่ใช่เรื่องที่จะอธิบายในที่นี้ แต่ความสำคัยอยู่ที่ว่าได้แสดงให้เห็นถึงเส้นทางที่สัมพันกันของกลุ่มชนและบ้านเมืองจากภาคอีสานตอนบน ผ่านลงมายังภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางทางซีกตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วลงใต้ไปยังเมืองเพชรบุรีซึ่งมีความสัมพันธ์ติดต่อลงไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช เรื่องราวเหล่านี้ดูสอดคล้องกันดีกับศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของสุโขทัยมายังแพรกศรีราชา สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรีและนครศรีธรรมราชตามลำดับ เมื่อมาถึงตรงนี้ก็เห็นจะไม่จำเป็นต้องกล่าวต่อไปว่า การเกิดของพระนครศรีอยุธยานั้นเริ่มจากการรวมสยามหรือเสียมกับละโว้ แล้วในที่สุดละโว้ก็หมดไป ทั้งราชอาณาจักรจึงกลายเป็นสยามทั้งประเทศ โดยที่ผู้คนที่เรียกว่ชาวสยามนั้นอาจจะเป็นลูกผสมที่มาจากร้อยพ่อพันแม่ แต่ทว่าสื่อสารกันด้วยภาษาไทยนับถือพุทธศาสนา และอยู่บนผืนแผ่นดินที่เป็นประเทศไทยเดียวกัน

ชาวไทยสยามไม่ใช่คนไตหรือคนไท แต่คนไตหรือคนไท อาจจะเป็นชาวพม่า ชาวมอญชาวเวียด หรือชาวสยามได้


ที่มา / ไทยน้อย ไทยใหญ่ ไทยสยาม โดย ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม, สุจิตต์ วงษ์เทศ





Create Date : 31 มกราคม 2550
Last Update : 31 มกราคม 2550 20:42:11 น. 0 comments
Counter : 1034 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

win_mma
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add win_mma's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.