สามก๊ก The Resurrection of the Dragon
ข้ายอมทรยศคนได้ทั้งแผ่นดิน แต่จะไม่ยอมให้ใครในแผ่นดินทรยศข้า"

น่าจะเป็นประโยคอมตะขอโจโฉ ที่อธิบายวิถีแห่งอำนาจของสังคมมนุษย์ในโลกได้ทุกที่ทุกยุคทุกสมัย


หลาย ๆ หนที่มนุษย์เรา นำอุดมการณ์ คุณธรรมมาใช้เป็นข้ออ้างสร้างความชอบธรรมในการแย่งชิงอำนาจ แต่สุดท้ายแล้ว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป้นการสร้างภาพจอมปลอม หากแต่เนื้อในของแรงขับเคลื่อนคือความทะเยอทะยานและความเห็นแก่ตัวล้วน ๆ



นับตั้งแต่การทรยศหักหลังในความสัมพันธ์ฉันพี่น้องร่วมสาบาน ไปจนถึง ความมักใหญ่ใฝ่สูงต่ออาณาจักรที่จูล่งต้องประสบพบเจอ

หรือจะเป็นการหลอกให้คนอื่นไปตาย เพียงเพื่อต้องการรักษาอำนาจที่ตนสามารถบงการควบคุมได้ อย่างแยบยลโดยที่ไม่อาจมีใครตราหน้าว่าเป็นคนชั่วได้ อย่างการกระทำของขงเบ้ง

ที่สุดท้ายแล้ว ก็ ใช้ จูล่งเป็นแค่ "หมาก" ตัวหนึ่งในสมรภูมิแห่งชีวิตเท่านั้น


คนที่รู้สึกถึงสัจธรรมข้อนี้ และสามารถแสดงออกถึงจุดยืนได้อย่างเปิดเผยไม่อายใครก็เห็นจะเป็น โจโฉ ที่ถ่ายทอดความคมคาย ทางในกลยุทธการศึกและการบริหารคนให้กับผู้ชม ในฉากที่อบรมหลานสาว อย่างโจ อิงให้เห็นถึงสัจธรรมแห่งสงคราม

ว่าคนมีฝีมือหรือคุณธรรมอาจจะไม่พอ แต่จะต้องรู้จัก หลักแหลมพอที่จะเอาตัวให้รอดด้วย






Create Date : 29 เมษายน 2551
Last Update : 24 กันยายน 2551 13:32:45 น.
Counter : 647 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend