ความสุขของกะทิ The Happiness of Kati
ภาพยนตร์เรื่องความสุขของกะทิ ก็คงจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่หลาย ๆ คนที่คาดหวังฉากแอ๊คชั่น หวือหวา พอดูจบแล้วอาจจะไม่ชอบสักเท่าไหร่

ผม ต้องบอกก่อนเลยว่า แม้ ความสุขของกะทิ จะเป็นวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลซีไรต์ เมื่อปี 2549 แต่ ผมก็ยังไม่เคยอ่าน หรือรู้เรื่องราวเนื้อหามาก่อนเลย

เพิ่งจะมาได้สัมผัสกับความประทับใจกับสิ่งที่ งามพรรณ เวชชาชีวะ ถ่ายทอดออกมาหนแรกก็ในโรงภาพยนตร์นี่แหละครับ

เนื้อ เรื่อง ของหนังเรื่องนี้ดำเนินไปอย่างเรียบง่าย แต่ก็แฝงปรัชญาชีวิตตามคติทางพุทธศาสนา เรื่องอิทัปปัจจยตาไว้อย่างไม่ซับซ้อน แต่ก็มีความแยบยลเป็นที่สุด



สุข กับทุกข์ ในชีวิตนั้นเป็นปัจจัยเกื้อกูลหนุนกัน จนเราไม่อาจแยกออกได้อย่างชัดเจน ผู้ที่ครอง "สติ" ระมัดระวังสำรวม ไม่ให้ใจเตลิด ไปกับความสุข หรือ ทุกข์ จนเกินเลย นั่นแหละ คือผู้ที่จะรับมือกับ มรสุมแห่งชีวิตได้อย่างเจ็บตัวน้อยที่สุด

ความไม่แน่นอนของชีวิตมนุษย์ ที่ย่อมจะมาเยือนทุกชีวิตเป็นธรรมดา

มนุษย์เรา จึงควรจะตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อใดทุกข์ ก้ขอให้ให้กำลังใจไว้ว่า อีกไม่นาน ความสุขจะมา

หากเมื่อใดสุข ก็จงอย่าได้ประมาท กับความสุขนั้น เพราะอีกไม่ช้า จะต้องเจอทุกข์แน่ ๆ

เปรียบเสมือน กับ ผ้าที่กะทิได้รับมอบหมายจากยายให้ตาก และเก็บผ้า อยู่เป็นประจำ
กะทิ จะต้อง มี "สติ" ระมัดระวัง ว่าเมื่อใดฝนจะมา แล้วต้องเก็บผ้าให้ทันไม่ให้ผ้าเปียก

หากจะมีเหตุสุดวิสัย ที่ลมพายุจะพัดผ้าไปไหนต่อไหน หรือฝนจะตก จนผ้าเปียกไปบ้าง ก็คงเป็นเรื่องธรรมดา ที่ต้องยอมรับ และเข้าใจ

หลายครั้งหลายหนที่ผู้ใหญ่ในเรื่อง ประมาทในความสามารถในการเข้าใจ "ธรรมดาของโลก" ของกะทิไป

อาจจะเพราะเป็นห่วงกลัวว่ากะทิ จะเป็นทุกข์กับชีวิต ที่ต้องเสียทั้งพ่อ และแม่

ยก ตัวอย่างตอนที่ ลุงตองให้ที่อยู่ พ่อ ที่แยกทาง กับแม่ตั้งแต่กะทิ ยังไม่เกิดหรือจำความไม่ได้ไป แล้ว ก็พะวงไปต่าง ๆ นานา ว่ากะทิ อาจจะอยากเจอพ่อ

ในตอนที่ไปสวนลุม (ในหนัง) พอเห็นกะทิ เดินไปส่งจดหมาย
ผู้ใหญ่ ทุกคนต่างคาดการณ์ ว่า กะทิ จะต้องส่งหาพ่อ เป็นแน่และก็กลัวว่ากะทิ จะทุกข์ใจ ที่อาจจะต้องผิดหวัง

แต่ที่ไหนได้ กะทิไม่ได้ทำอะไร หรือคิดอะไร อย่างที่ผู้ใหญ่เหล่านั้นคาดการณ์ไว้เลย
กะทิ ส่งจดหมาย ไปหา "ทอง" เพื่อนที่บ้านริมคลองตางหาก

ฉะนั้นการ "อ่าน" โลก ของกะทิ เป็นมุมมอง ที่ดูจะมี ความสุข หรือ "ทุกข์" น้อยที่สุดแล้ว

------------

งาน ของ งามพรรณ เวชชาชีวะ ค่อนข้างจะสื่อให้เห็นถึงชีวิต แบบ "ไทย"มาก ตั้งแต่ฉากชนบท ในอยุธยา ลักษณะความเป็นชาวบ้าน และหลักธรรมพุทธศาสนา

แต่ กระนั้น ก็ยังมีกลิ่นอายตะวันตกมาให้เราพบเห็นอยู่ อย่างเช่น ตอนที่ เรือของกะทิหลุด จากตลิ่ง เมือ่มีพายุ แล้วแม่พยายามจะตะกายน้ำให้กะทิ กลับมา

เผอิญ "ทอง" พายเรือผ่านมาพอดี เลยช่วยไว้ได้ทัน นั้นเปรียบประดุจ "อัศวินม้าขาว" เข้ามาช่วย เจ้าหญิง ใน นิยาย romance ของตะวันตก ก็ไม่ปาน แต่เป็น อัศวินเด็กวัดที่พายเรือมาช่วยเจ้าหญิง ในแบบไทย ๆ

งานวรรณกรรม เรื่อง "ความสุขของกะทิ" จึงจัดได้ว่าเป็นผลงานชิ้นหนึ่งที่เป็นตัวแทนของแนวคิด "ตะวันออก พบตะวันตก" ได้เช่นกัน



Create Date : 17 มกราคม 2552
Last Update : 27 มิถุนายน 2552 18:58:01 น.
Counter : 676 Pageviews.

1 comments
  
ดำเนินเรื่องไปเรื่อยๆเรียบๆๆ เเต่ภาพสวยสดใสมากเลยค่ะ
โดย: yopathum วันที่: 21 มกราคม 2552 เวลา:23:06:25 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend