จู โด่: วาทกรรมความกตัญญูในสังคมชายเป็นใหญ่
หากจะพูดถึงแนวคิดแบบ "ปิตาธิปไตย" ที่วิธีคิดการตีความ จะมองอะไร ก็เข้าข้างผู้ชาย ผมเชื่อว่า เรา ๆ ท่าน ๆ หลาย คน ก็คงได้ยินได้ฟังมาบ้าง ถึงวิธีการตีความเช่นนั้น ในแบบไทย ๆ อย่างขุนแผน วันทอง หรือขุนช้าง หรือการที่สามีทุบตีภรรยา เรา ๆ ก็คงได้ยินได้ฟังมาบ้าง

แนวคิดแบบ ปิตาธิปไตยในสังคมจีน ก็เป็นวาทกรรม อีกหนึ่งชุดภายใต้อิทธิพลคำสั่งสอนแบบขงจื๊อ ที่ผมมองว่าน่าสนใจ ด้วยเพราะ ในปัจจุบัน คนไทยเชื่อสายจีน ได้เข้ามามีบทบาท ทางเศรษฐกิจ ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ มากมาย ทั้งที่หลายคนเริ่มต้นทำมาหากินในเมืองไทย มีเพียง แค่ "เสื่อผืนหมอนใบ" แต่กลับกลายเป้นมหาเศรษฐี ได้อย่างน่าอัศจรรย์

วิธีคิด ความคิดความเชื่อ ของคนจีน จะต้องมีอะไรบางอย่างที่สามารถ หล่อหลอม ให้ใครสักคนสู้ชีวิตได้อย่างทรหดได้ขนาดนั้น

------------

ถึงแม้ว่าผมจะไม่ค่อยเข้าใจ วิธีประพฤติปฏิบัติตามค่านิยม ความเชื่อ ว่าด้วยเรื่อง "ความกตัญญู" ในครอบครัว ตามคำสอนของขงจื๊อ ที่แฝงฝังมาในการดำเนินชีวิตของคนจีน เท่าใดนัก

แต่เท่าที่ฟัง ๆ มาจากเพื่อนคนไทยเชื้อสายจีนบ้าง ก็พอจะ จับใจความได้เลา ๆ ว่า ถ้าเป็นผู้หญิง แล้วต้องแต่งงาน เข้า สกุล ของฝ่ายชาย ผู้หญิงจะต้องปรนนิบัติสามี และครอบครัวของสามีในเทศกาล ต่าง ๆ ตามแนวคิด "ปิตาธิปไตย" หรือ ชายเป็นใหญ่ (patriarchy)

ยิ่งเป็นสกุลที่เข้มงวด ความเข้มงวดก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น

แม้ว่า ในยุคสมัยปัจจุบัน ที่ ความเท่าเทียมชายหญิง แบบตะวันตก หรือวิถีชีวิตสมัยใหม่จะแผ่ซ่านไปทั่วเมืองใหญ่ ๆ แต่ลักษณะเฉพาะของค่านิยม ว่าดวย วาทกรรม "ความกตัญญู" ตามแนวคิดขงจื๊อแบบนี้ ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่

----------------------------------

ภาพยนตร์เรื่อง "จู โด่" ของ จาง อี้ โหม่ว อาจเป็นตัวอย่างสังคมแบบปิตาธิปไตยที่สุดโต่งไปหน่อย


หนังเล่าเรื่องชีวิตของครอบครัวย้อมผ้าครอบครัวหนึ่ง ในชนบทจีนที่พูดภาษากวางตุ้ง เมื่อช่วงต้น ศตวรรษที่ 20 คิด ๆ ดู ก็ราว ๆ ร้อยปีที่แล้วเห็นจะได้

เรื่องราวมันมีอยู่ว่า "หยาง จิน ชาน" ช่างย้อมผ้า ซื้อภรรยา และมักจะ ซ้อมภรรยา ในมุ้งทุกคืน จนภรรยา คนแรกตายไป "หยาง จิน ชาน" ก้ไปซื้อภรรยา คนที่สองมาอีก แล้วก็ทุบตีเธอจนตายไปอีก

จู โด่ เป็นภรรยาคนที่สาม
และเรื่องราวก็เขาอีหรอบเดิม คือเธอถูกทุบตี ทรมาน แทบทุกคืน

"หยาง เทียนจิน" เป็นหลานอา ของ "หยาง จินชาน" เขาสังเกต วิถีปฏิบัติ ที่อาของเขา ทำกับอาสะใภ้ สาวสวย คือ จู โด่ อยู่ตลอด จนเกิดความรู้สึกสงสาร

ทำไปทำมา "หยาง เทียน จิน" ก็ แอบ ลักลอบได้เสีย กับ "จู โด่" จน ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน



แล้ว ไอ้ จิน ชาน เจ้ากรรม ก็ดันคิดว่า ลูกที่เกิดนั่นเป็นลูกตัวเองเสียนี่

จนกระทั่ง "จิน ชาน" เป็นอัมพาต "จู โด่" กับ "เทียน จิน" เลยบอกความจริงให้ "จิน ชาน" รู้

หลังจากนั้น ก็ดูเหมือน ว่า "จิน ชาน" จะอยู่อย่างทรมาน เพราะ เป็นอัมพาตท่อนล่าง เคลื่อนไหว ไม่ได้ และต้องเห็นภาพ/ได้ยินเสียง ตำตา ตำใจอยู่ทุกวัน

ยิ่งอยากตายยิ่งไม่ตายสักที เพราะ เหมือน กับ "จู โด่" จะแค้น เขามากที่ เธอ ถูกเขาทุบตี
"จู โด่" ก็ยิ่ง ป้อนข้าว ดูแล เขาอย่างดี "จิน ชาน" จะได้มีชีวิต เห็นเธอ กับ เทียนจินมีความสุขนาน ๆ

มาถึงตรงนี้ เหมือนกับว่า คนที่มีชู้ สองคน กำลังจะมีความสุข และเรื่องจะจบอย่างแฮปปี้เอนดิ้ง

แต่ สุดท้าย อะไร ๆ ก็เหมือนกลับมาย้อนทำร้าย คนที่ทำผิด "กฏสวรรค์" เสียอย่างนั้น

เนื้อเรื่องในหนัง เหมือนจะเน้น ถึงทำนองคลองธรรม ว่าด้วย ชาย คือ สามี ต้องเป็นใหญ่เสมอ แม้ว่า เขาจะทุบตีภรรยา แค่ไหน แต่นั่น ไม่ใช่ข้ออ้างความชอบธรรม ให้ภรรยาที่ถูกทุบตีสามารถมีชู้ได้ ไมว่าชู้จะเป็นหลานของสามีหรือไม่ก็ตาม โดยเฉพาะอ่ย่างยิ่ง ในสังคมชนบทจีนเมื่อราว ๆ ร้อยปีก่อน

"จู โด่" กับ "เทียน จิน" ไม่สามารถ แสดงความรัก กันได้อย่างเปิดเผย ต่อหน้าชาวบ้าน เพราะ ทุกคนนรู้ดี ว่า ทั้งสองคนอยู่ในสถานะ "อาสะใภ้" กับ "หลานผัว"

ลูก ของทั้งสองคน ก็ไม่สามารถ เรียก "เทียน จิน" ว่า "เตี่ย" ได้ เพราะ ชาวบ้านแถวนั้น "รับรู้" ว่า เด็กคนนั้น เป็นลูกใคร

ทั้ง ที่ "จิน ชาน" ก็ตบตี ภรรยาตัวเองตายมาสองคนแล้ว แต่ ชาวบ้านก็ยังไม่เห็นจะประณาม เท่ากับการที่ ภรรยา คนที่สามมามีชู้ เป็นหลานของของสามี

ยิ่งวาทกรรมความกตัญญูทำงาน
ทั้งคู่ ก็ยิ่งต้องใช้ชีวิตอย่างทรมาน

สุดท้าย สามีที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ตามวิถีชาวบ้าน ทำอะไรก็ไม่ผิด
คนที่พยายามขัดขืน ดิ้นรน ต่อสู้ ทำไป ก็มีแต่จะพ่ายแพ้

วันที่เคลื่อนขบวนศพ ของ "จิน ชาน" ทั้งหลานชาย คือ "เทียน จิน" และ ภรรยา คือ "จู โด่" ก็ต้องแสดงความกตัญญู ตามธรรมเนียม คือ ต้องไปวิ่งขวางโลงแล้วร้องไห้ฟูมฟายไม่ให้ผู้ตายไปปรโลก ให้ได้สี่สิบครั้ง ห้ามขาด แม้แต่ครั้งหนึ่ง

ทั้งที่ "จู โด่" เกลียด "จิน ชาน" มาก แต่ต้องมาแสร้งทำเป็นอาลัยอาวรณ์ให้กับคนที่ตัวเองเกลียด เพราะเกรงคำครหานินทา ของชาวบ้าน


แบบนี้หรือเปล่า ที่ผมเคยได้ยินจากหนังจีนว่า
คนที่พยายามฝ่าฝืนกฏสวรรค์ ฝืนยังไง ก็ฝืนไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องยอมจำนนต่อฟ้าและดินอยู่ดี



Create Date : 05 สิงหาคม 2552
Last Update : 14 สิงหาคม 2552 11:04:41 น.
Counter : 1593 Pageviews.

2 comments
  
หนังเรื่องนี้ ดูแล้วปวดใจแทนผู้หญิงจีนสมัยโบราณที่ต้องอยู่ภายใต้การกดขี่ทางเพศ

ก็เธอไม่มีทางออก ชีวิตจึง หมดทางเลือก กับ เรื่องคบชู้ เป็น ทางออกเล็กๆ แต่ ส่งผลกรรมอันใหญ่หลวงมาให้เธอ

จางอี้โหมว กับกงลี่ ต่างแสดงศักยภาพ เต็มที่ในหนังเรื่องนี้

ก่อนนั้นดูในโรง ออกมายัง เจ็บหัว ปวดใจไม่หาย

เป็น หนัง แบบ trgedy ที่เศร้า รันทด กับชตากรรมของคนที่ต้องชดใช้กรรมร่วมกัน

ก็ชีวิต ไม่มีทางออกไง
โดย: กัมปู้จู้ วันที่: 7 สิงหาคม 2552 เวลา:5:49:38 น.
  
ไม่มีที่แก้คำผิด พิมพ์ผิดค่ะต้อง
tragedy
โดย: กัมปู้จู้ วันที่: 7 สิงหาคม 2552 เวลา:5:52:12 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend