โหมโรง: ก่อนที่จะไปวิจารณ์คนอื่น
ชีวประวัติ ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ หรือ ศร ศิลปบรรเลง ถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เมื่อ ปี 2547

ตอนนั้น แรกเริ่มที่หนังเขาฉาย ดูเหมือนว่า คนจะไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไหร่ เพราะ มองกันว่า เป็น หนังเกี่ยวกับดนตรีไทย เรา ๆ ท่าน ๆ พาลเหมา ไปอีกว่าอาจจะ "น่าเบื่อ"

แต่หลังจากที่ โหมโรง กำลังใกล้จะลาโรง ไปอย่างรวดเร็ว
จู่ ๆ กระแส ก็พลิกผันอย่างคาดไม่ถึง เมื่อ หลายต่อหลายคนในวงการสื่อมวลชนพยายามเชียร์ จนกระทั่งท้ายที่สุดก็กลับกลายเป็นหนังที่ทำรายได้ ได้อย่างถล่มทลาย

-------------------



หนังเรื่องนี้ผ่านมาหลายปีแล้ว และก็มีคนคนหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจมาวิเคราะห์วิจารณ์กันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ช่วงสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม หรือ ประวัติชีวิต บวกด้วยอัจฉริยภาพ ของ "ครูศร" เอง

แม้กระนั้นก็ดี
ประเด็นหนึ่งที่พบเห็นในหนัง แต่ยังไม่มีคนกล่าวถึงมากนัก ก็คือ "วัฒนธรรมการวิจารณ์งานศิลปะ" ที่แฝงอยู่ในสังคมไทย

ผมเคยพยายาม ทำความเข้าใจการวิจารณ์ ว่าเวลาเราจะชอบ หรือไม่ชอบงานอะไร ตอนไหน ตอนใด ที่คนอย่างเรา ๆ มีสิทธิ์วิจารณ์ได้บ้าง แล้วพอเราวิจารณ์แล้ว ความเป็น "สังคมไทย" จะยอมรับ อะไรอย่างไร ขนาดใดได้บ้าง

ในที่นี้ผมจะขอแยก การวิจารณ์ ออกเป็นสองลักษณะคือ

1. การวิจารณ์ที่ผุ้วิจารณ์ สามารถวิจารณ์ศิลปิน แต่ ไม่จำเป็นต้องทำได้ดีกว่าศิลปิน

2. การวิจารณ์ที่ผุ้วิจารณ์ สามารถวิจารณ์ได้และต้องทำให้ได้เหนือกว่าศิลปินคนที่ตัวเองวิจารณ์ด้วย

เช่น
บางที ผม ไปกินอาหารที่ภัตตาคาร แต่อาหารมันไม่ถูกปาก ผม ก็อยากจะวิจารณ์ ว่า "ไม่อร่อยเลย"

ทั้งที่ผม ก็ทำอาหารไม่เป็น

ตรงนั้น ผมว่า มันน่าจะเป็นการวิจารณ์ที่ยอมรับไ้ด้
เพราะผมเข้าใจว่า พ่อครัวแม่ครัวที "ใจกว้าง" น่าจะอยากรับฟัง นะครับ

(ยกเว้นจะเจอคนใจแคบ หรือไม่ก็พูดผิดเวลา)

ซึ่งการวิจารณ์แบบนี้ ผมก็อาจจะพูดขึ้นมาในฐานะผู้บริโภค ที่ต้องการจะ ติ เพื่อก่อ เพราะความนิยมชมชอบในอาหารร้านนั้นเป้นทุนเดิม

ซึ่งในกรณีนี้
ผมไม่ได้ไปอวดเก่ง ทำกับข้าวแข่ง ทั้ง ๆ ที่ทำไม่เป็นแล้วก็ไปตะโกนด่า ว่าคุณทำไม่อร่อยเลย

ในทำนองเดียวกัน
วัฒนธรรมตะวันตก การวิจารณ์แบบอาชีพ นักวิจารณ์ที่เกิดมาเพื่อวิจารณ์อย่างเดียว นี่แพร่หลายมาก

ก็เลยกลายเป็นว่า หากศิลปินคนไหน ถูกวิจารณ์มาก ๆ นั่นแปลว่า ศิลปินคนนั้นควรจะภูมิใจ เพราะอย่างน้อย งานของเขา ก็มีคนสนใจ ไม่ใช่ว่าผลิตงานออกมาแล้ว ลอยหายไปกับสายลมไม่มีคนพูดถึง

-------------------------

แต่ในทางตรงกันข้าม หากผมไม่ได้นิยมชมชอบรักใคร่เอ็นดูเจ้าของร้านอะไรมากมายนัก ก็จะพูดกันกับคนกันเองหรือไม่ก็คงบ่นว่า "ไม่เห็นอร่อยเลยหว่ะ" อยุ่กับตัวเองไป

ผม คงไม่กล้า ลุกขึ้นมาชี้หน้าด่า แม่ค้าร้านนั้นหรอกนะครับ เพราะผมกลัวจะโดนแม่ค้าด่ากลับแล้วแพ้ ทักษะสงครามนำลายสู้ไม่ได้ประการหนึ่ง

อีกประการหนึ่งมันเป็นการผิดกาลเทศะด้วยประการทั้งปวง ไม่ใช่เพราะผมทำกับข้าวไม่เป็นเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังเป็นเพราะ ถ้าพูดผิดเวลา มันอาจเป็นการทำให้แม่ค้าคนนั้นเสียหน้า ต่อหน้าลูกค้าคนอื่น ๆ บาปโดยไม่จำเป็นเข้าไปอีก

-------

ส่วนการวิจารณ์ที่ผู้วิจารณ์จำเป็นจะต้อง "ทำให้ได้" และ วิจารณ์โดยการ "ทำให้ดู" นั้น
ในบทความ ของ ศ.ดร. เจตนา นาควัชระ เรื่อง "วัฒนธรรมระนาดทุ้ม" กับภาพยนตร์เรื่องโหมโรง ตอนหนึ่ง เคยพูดถึง "การประชันระนาด" ว่าก็เป็นวัฒนธรรมการวิจารณ์อย่างหนึ่ง

"การประชัน" เป็นบรรทัดฐานคนวิจารณ์จะไม่กล่าวออกมาตรง ๆ แต่จะใช้การแสดงเทคนิคที่ตัวเองมีดีออกมา

กล่าวคือ คนเล่นจะพยายามใช้เทคนิคยาก มาเล่น เพื่อ ท้าทายฝ่ายตรงข้ามว่า

"เล่นแบบนี้ได้อะป่าว"

ถ้าฝ่ายตรงข้ามเล่นได้ ก็ต้องมีการหาลูกยาก ๆ กว่านั้นมาลองเชิงอีก แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็เป็นอันว่า ฝ่ายตรงข้าม ได้ "ถูกวิจารณ์" ไปเรียบร้อย แล้วว่า เขาเล่นเทคนิคนั้น ๆ ไม่ได้

ผมเข้าใจว่า ในการประชันกลอน ก็คล้าย ๆ กัน
ครูกลอนท่านหนึ่ง เคยบอกไว้ว่า เวลาเขียนกลอนประชันกัน ถ้าเราใช้เทคนิคที่เหนือกว่า ใช้ภาษาที่งดงามกว่า ฝ่ายตรงข้าม หากว่ามี สามัญสำนึก เขาก็จะหยุดฟังเรา

เพราะการที่เราทำเช่นนั้นแสดงว่า เรากำลังวิจารณ์เขาอยู่

และถ้าเขาอยากวิจารณ์เรากลับบ้าง เขาก็ต้อง "งัด" ทักษะ อื่น ๆ ในเชิงกลอนที่เขาคาดว่าเราทำไม่ได้ มาประลอง กัน


เมื่อวัฒนธรรมการละเล่นแบบไทย ๆ เป็นเช่นนี้แล้ว
เพราะฉะนั้น คนที่จะไปวิจารณ์คนอื่นได้ ก็ต้องเล่นเป็นในสิ่งนั้น พอสมควร อย่างน้อย ก็ต้องมีความรู้มากกว่า คนที่เขาจะไปวิจารณ์ให้ได้เสียก่อน

ตรงนี้ ก็ต้องถามต่อไปอีกว่า จะเอา "มาตรฐาน" อะไรมาวัดล่ะ ว่าฝีมือขนาดไหน ถึงเรียกได้ว่า ผู้วิจารณ์ "เก่ง" กว่าผุ้ถูกวิจารณ์ หรือยัง

ผมก็ตอบไม่ได้หรอกคับ
แต่อย่างน้อย ถ้าอ้างอิงวัฒนธรรมแบบนี้แล้ว คนที่จะไปด่าคนอื่น ก่อนอื่นเขาต้องสำรวจตัวเองให้ดีเสียก่อน

เพราะไม่เช่นนั้นเราคงจะเห็น

เด็กหัดเล่นระนาดใหม่ ๆ ไม่เป็นกระบวน ไปอหังการ์ประชันระนาด แข่งกับครู ระดับขุนอิน

หรือถ้าเป็นกลอน เราก็จะอาจเห็นคนแต่งโคลงกลอนห่วย ๆ ผิดฉันทลักษณ์ ตกเอกโท ไป ชี้หน้าด่า บรมครูระดับสุนทรภู่ แบบหน้าไม่อาย

ซึ่งในโลกปัจจุบัน นี้ผมว่าผมเห็นเหตุการณ์คล้าย ๆ แบบนี้เยอะมากเลยนะครับ

ไอ้พวกด่าคนอื่น แล้วไม่ดูตัวเอง

นอกจากจะไม่มียางแล้ว ยังมีพรรคพวกลิ่วล้อมาสนับสนุน เฮโล เชียร์อีกตางหาก ประมาณว่า ถิ่นใครถิ่นมัน ถิ่นไหน ก็ใช้กฎของ "ผู้มีอิทธิพล" ประจำถิ่นเป็นเกณฑ์สำคัญ

ความถูกต้องจึงไม่ได้เป็นเรื่องของเนื้องานศิลปะอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องใครพวกมากกว่าไปซะอย่างงั้น


ก็ทำไงได้

เพราะระดับ "สามัญสำนึก" ของคนเรามันต่างกัน



Create Date : 22 สิงหาคม 2551
Last Update : 23 กันยายน 2551 20:04:50 น.
Counter : 1694 Pageviews.

1 comments
  
ไม่รู้ซิคะเจย์
ลูกบัวกลัวฉากประชันในเรื่องมากเลย
กลัวบรรยากาศการประชัน 555

เกิดมาก็ยังไม่เคยประชันอะไรกะใครซะที
ไม่เคยรู้สึกว่าอยากจะประชันกะใคร
บอกได้ว่าเราชอบไม่ชอบ แต่อาจจะบอกไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี

แม้กระทั่งเรื่องของอาหาร
ถ้าทำไม่ถูกปาก ก็อาจจะบอกกับเพื่อนว่า เฮ้ย ฉันไม่ชอบอาหารร้านนี้ว่ะแก เพราะบางทีเพื่อนเรามันไปกินมันอาจจะบอกว่าอร่อย หนังก็เช่นกัน เพื่อนมาบอกว่าแกๆหนังเรื่องนี้ดีนะ ต้องไปดู ถ้าเราไปดูแล้วไม่ชอบก้ไม่ได้แปลว่ามันไม่ดีนี่นา แค่เราไม่ชอบ บางทีอาจจะเป็นบัวเองที่รสนิยมไม่ดี อิอิ

ส่วนเรื่องกลอนเนี่ยยอมแพ้ค่ะ ยกธงขาว
โดย: Tiny Bakery วันที่: 22 สิงหาคม 2551 เวลา:20:10:57 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend