เรื่องจริงของดอกชมจันทร์
ดอกชมจันทร์เป็นไม้เลื้อยในสกุล Ipomoea เช่นเดียวกับผักบุ้งฝรั่ง (Morning Glory) และมีสมาชิกในสกุลเดียวกันถึงกว่า 650 ชนิด ชื่อทางพฤกษศาสตร์ของดอกชมจันทร์คือ Ipomoea alba L.
ต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่าแม้ดอกของชมจันทร์จะใช้กินได้แถมรสชาติดีอีกต่างหาก แต่ญาติของมันหลายชนิดมีพิษ และเท่าที่กระเสือกกระสนหาข้อมูลมาได้พบว่ามีการปลูกดอกพระจันทร์ซึ่งมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Ipomoea noctiflora ในประเทศไทยเพื่อส่งออกเมล็ดพันธุ์ แต่เจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้ปลูกบอกเราว่าเป็นไม้ดอกประดับและไม่รับรองว่าดอกของมันสามารถใช้บริโภคอย่างปลอดภัยได้หรือไม่ ที่น่าสนุกกว่านั้นคือมีการเผยแพร่ข้อมูลของดอกชมจันทร์อย่างคลาดเคลื่อนในบางเว็บ ขนาดที่ว่าชื่อทางพฤกษศาสตร์เป็นคนละสกุลเลยก็มี เราเองก็สนใจที่จะปลูกชมจันทร์หรือที่บางคนเรียกมันว่าดอกไม้จีนสด จนติดต่อสั่งจองเมล็ดพันธุ์จากสถานีวิจัยลำตะคองและถึงกับลงทุนไปเยี่ยมชมแปลงปลูกถึงที่มาแล้ว .JPG)
หลังจากได้เมล็ดพันธุ์ที่สั่งจองไว้พร้อมคำแนะนำวิธีเพาะ เราในฐานะมือสมัครเล่นก็ตัดสินใจเพาะทดลองก่อนเพียง 10 เมล็ด โดยก่อนอื่นเนื่องจากเมล็ดดอกชมจันทร์มีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็งเพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวจะได้งอกเร็วขึ้นก็ต้องใช้กรรไกรตัดเล็บตัดเปลือกหุ้มเมล็ดตรงก้นเมล็ดด้านทีมีรอยขั้วก่อนนำไปแช่น้ำไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง .JPG)
จากนั้นก็ห่อด้วยผ้าเปียกทิ้งไว้ .JPG)
ตามคำแนะนำบอกว่าขั้นตอนนี้ใช้เวลา 2-3 วัน แต่วัยรุ่นใจร้อนอย่างเราแค่ข้ามวันก็เปิดออกดู
แล้วก็ต้องรีบเปลี่ยนผ้าที่ใช้ห่อจากเดิมที่เป็นผ้าขนหนูเป็นผ้าสำลีแทน เพราะพบว่ารากที่งอกจากเมล็ดตรงรอยตัดแทงทะลุผ้าได้ .JPG)
ตอนเย็นของวันที่สองเปิดออกดู รากงอกยาวขึ้น .JPG)
จากนั้นก็เอาเมล็ดที่มีรากงอกนั้นฝังลงในถุงดำที่ใช้ขุยมะพร้าวผสมพีทมอสเป็นวัสดุเพาะโดยหันด้านที่รากงอกลงไปและให้ปลายเมล็ดอีกด้านโผล่พ้นวัสดุเพาะขึ้นมาเล็กน้อย .JPG)
เพียงถัดมาอีกวันก็เห็นต้นเล็ก ๆ ยกเมล็ดลอยขึ้น .JPG)
หลังจากนั้นอีก 4-5 วัน เปลือกหุ้มเมล็ดก็หลุดออกไป ปลดปล่อยใบเลี้ยงให้คลี่ตัวออกเต็มที่ .JPG)
.JPG)
ก่อนที่จะเริ่มแตกยอดที่มีใบจริง .JPG)
และมาถึงวันนี้ชมจันทร์ของเราก็มียอดทอดยาวพอจะเลื้อยขึ้นค้างแล้ว รวมเวลาทั้งหมดนับจากเริ่มกระบวนการเพาะ 21 วัน
.JPG)
ลืมบอกไปว่ามีเมล็ดที่งอกเพียง 9 เมล็ด และในที่สุดเหลือต้นกล้าที่แข็งแรงดีเพียง 7 ต้น แต่เป็นตัวเลขที่เราพอใจเพราะซื้อเมล็ดเผื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สถานีวิจัยไว้แล้ว ต้นดอกชมจันทร์เจริญเติบโตได้ดีในสภาพกลางแจ้งที่มีแสงแดดและในดินที่ร่วนซุยระบายน้ำได้ดี แปลงปลูกอาจจะยกแปลงขึ้นคล้ายกับแปลงผักทั่วไปเพื่อป้องกันน้ำขัง วิธีปลูกโดยขุดหลุมปลูกลึก 15-20 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200-500 กรัมต่อหลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าลงปลูก ระยะปลูกที่ใช้คือ ระหว่างต้น 40-50 ซม. และระหว่างแถว 70-100 ซม.ควรทำค้างเพื่อให้ต้นเลื้อยขึ้น โดยทำค้างคล้ายกับค้างถั่วฝักยาวหรือทำเป็นซุ้ม
.JPG)
ในช่วง 1 เดือนแรก หลังปลูกควรให้น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อต้นสามารถตั้งตัวได้แล้ว จึงให้น้ำวันละครั้ง หลังปลูกประมาณ 2-3 เดือน ก็จะเริ่มออกดอก และพออายุประมาณ 2 ปีก็จะให้ดอกน้อยลง ทางที่ดีจึงควรเตรียมเก็บเมล็ดไว้ปลูกต้นใหม่ทดแทนด้วย ข้อมูลเพิ่มเติมที่ //www.pfaf.org/database/plants.php?Ipomoea+alba และค้น Ipomoea alba. ใน //plants.usda.gov/java/nameSearch
Free TextEditor
Create Date : 05 มีนาคม 2553 | | |
Last Update : 5 มีนาคม 2553 18:07:08 น. |
Counter : 50176 Pageviews. |
| |
|
|
|