หนีตามกาลิเลโอ: ทำไมเราต้องเดินทาง
ผมเชื่อว่า มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่อยากเดินทางท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง แต่คงมีไม่กี่คนที่ตั้งคำถามกับตัวเองว่า "ทำไมเราต้องเดินทาง" หรือ "เดินทางไปแล้วได้อะไร"

สาเหตุ ที่หลายคนไม่ได้ตั้งคำถามอย่างที่กล่าวไป น่าจะเป็นเพราะว่า หลาย ๆ คน เหล่านั้นเชื่อกันจน คิดว่าน่าจะเป็นความจริงสากล แล้วว่า เราเดินทาง เพราะว่า เราเชื่อว่า "จุดหมายปลายทาง" นั้น น่าจะเป็นสถานที่ ๆ ให้ความสุข กับเรา

แต่บ่อยครั้ง แล้ว การเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเส้นทาง ที่ไมได้มีคนแผ้วถางทางให้ หรือ เส้นทางที่แปลก ออกไป นั้น กลับกลายเป็นวา เราต้องพบเจออุปสรรค มากมายในชีวิต

จน บางครั้งบางคราว มันก็ไม่ใช่ความสุขเสียทีเดียว หากแต่มีความทุกข์ เข้ามาทดสอบ ความหวัง และกำลังใจ ของนักเดินทางหลายคน

ทำไปทำมา กว่าจะไปถึงจุดหมายปลายทาง ที่พวกหวังกันว่าจะได้พบความสุข ของแถมอันน่าภูมิใจ ที่ติดไม้ติดมือ มาก็คือ ว่า ยิ่งเราเดินทาง ยิ่งหลงทางเมื่อเราเดินไปในเส้นทางที่ไม่เคยมีใครไปมาก่อน เราก็ยิ่งจะค้นพบตัวเราเองมากขึ้น

เพราะตั้งแต่เริ่มการเดินทางไปในที่ไม่รู้จัก เท่ากับว่า เรา ได้ยอมเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ และยอม ละ - วาง ความเป็นตัวของตัวเอง ในระดับหนึ่ง เผื่อไปสัมผัสกับ "ความเป็นอื่น" และในที่สุด "ความเป้นตัวของเราเอง" ก็จะแสดงออกมา เมื่อปฏิสังสรรค์ กับ "ความเป็นอื่น" ที่พบเจอ อยู่นั้น และในที่สุด ก็จะหาจุดลงตัวออกมาจนได้

จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตามแต่ หลังจากการเดินทางไปในที่ ๆ ตนไม่คุ้น ผ่านร้อนผ่านหนาว และอุปสรรคอย่างนั้นมาได้ นักเดินทาง ก็ไม่ใช่คนเดิมอีก

ภาพยนตร์เรื่อง "หนีตามกาลิเลโอ" ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่ หลังจาก"นักเดินทาง" ได้ท่องเที่ยวผจญภัยไปในที่ ๆ เขาไม่คุ้นเคย เขาก็จะเปลี่ยนไปเป็นคนละคน

ผมเชื่อแน่ว่า ทั้งนุ่น และเชอร์รี่เมื่อก่อนจะไปยุโรป ก็ไม่ใช่ นุ่นและเชอร์รี่คนที่กลับมาถึงเมืองไทยแล้ว

----------------------------------------

หากจะเปรียบ "การเดินทาง" กับ "การศึกษาหาความรู้" กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ในยุคเรเนสซองส์ชาวอิตาลี ก็คงเป็นคน ที่ชื่นชอบการผจญภัยในทางวิชาความรู้อยู่มากที่สุดในยุคนั้นคนหนึ่ง

การประกาศการค้นพบทางด้านดาราศาสตร์ของเขา จัดได้วา เป้นการแหกขนบ องค์ความรู้ในยุคนั้นที่ขึ้นต่อคัมภีร์ไบเบิ้ล ซึ่งหากอุปมา ก็คงไม่แตกต่างกับการ "กล้าขับรถออกนอกเส้นทางที่คนอื่น ๆ เขาขับซ้ำแล้วซ้ำอีก"

ก็รู้ ๆ กันอยู่ว่า การค้นพบของเขา ที่ว่า "โลกไม่ได้เป้นศูนย์กลางของจักรวาล" ที่มาสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัส ย่อมไปขัดหูขัดตา และทำให้ ศาสนจักรไม่พอใจ แต่เขาก้ยังคงเป็นตัวของตัวเอง พอที่จะยอมแอบศึกษา ค้นคว้าในสิ่งที่ตนเชื่อต่อไป แม้ว่าจะถูกบังคับให้จำนนต่อศาสนาจักรก็ตาม

ตรงนี้ชวนให้ผมนึกถึงสุภาษิตฝรั่งสองบท ที่ว่า

"Wisemen think alike"
ผู้รู้ย่อมมีความคิดเหมือนกัน

แต่กระนั้นก็ถูกโต้แย้งกลับด้วยคำคมอีกชุดหนึ่งว่า

"When men think alike, it seems that no one is thinking"
เมื่อผู้คนคิดเหมือนกันแล้ว ก็ดูเหมือนว่าคงไม่มีใครที่กำลังใช้ความคิดอยู่

สุภาษิตคำคมสองตอนที่ผมยกมานี้ บ่งบอก ความเป็นตัวของกาลิเลโอได้เป็นอย่างดี เมื่อเขา กล้า ที่จะลุกขึ้นมาคิดสวนกระแส แม้ว่าจะสุ่มเสี่ยงกับการโดนพหุบาทา หรือไม่ก็โดนข้อหานอกรีตจาก ศาสนจักรก็ตาม

ยิ่งคิดไปคิดมา ก้ยิ่งอดนึก จะเปรียบเทียบกับสังคมไทยไม่ได้ เวลาที่ผมเจอ กลุ่มเพื่อนสักกลุ่ม

พอเวลาใครคนใดคนหนึ่ง ทะเลาะ กับ คนนอกกลุ่ม แล้ว เอามาเสี้ยมกับเพื่อนในกลุ่ม เพื่อนในกลุ่ม ก็มักจะเออ ออ ตามเพื่อนตัวเองหมดจนดูเหมือนว่าทุกคน คิดเป็นสิ่งเดียวกัน โดยที่ไม่สนใจ จะ ถามคววาม ของคู่กรณ๊ เลย แม้ว่าจะรู้ ๆ กันอยู่ สิ่งที่ เพื่อนตัวเองนำมาเสี้ยมมันเป็นการฟังความข้างเดียว

เข้าทำนองว่า "เพื่อนกูถูกเสมอ" และก็ไม่มีใครกล้าแย้ง หรือกล้าคิดต่างด้วย เพราะกลัวจะโดน พหุบาทา หรือเสียเพื่อน หรือถ้าถามค้าน ด้วยเหตุด้วยผล ก็อาจจะโดนข้อหา "เป็นคนแปลก" ไปอย่างช่วยไม่ได้
-------------------------------



สำหรับผม การตั้งคำถามหาเหตุผลที่มา กับสิ่งที่คนส่วนใหญ่เชื่อ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลก

เหมือนกับ วิธีการที่ "พิสิฐ" ในเรื่องหนีตามกาลิเลโอ ตอนคุยกับ "เชอร์รี่" โดยถามย้อนหาเหตุผล เรื่องการตกปลา/กินปลา นั้น ผมก็มองว่า วิธีการถามของ "พิสิฐ" ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก

แต่ "เชอร์รี่" กลับมองว่า ลักษณาการตั้งคำถามแบบนั้น เป็นการตั้งคำถามของ "คนแปลก" ซึ่งผมก็เชื่อเหลือเกินว่า หลาย ๆ คนก็อาจจะคิด เหมือนกับ "เชอร์รี่"



พิสิฐ เป็นคนที่ตีความ การเดินทาง ที่น่าสนใจ

เขาเน้นความสำคัญของ "กระบวนการ" มากกว่า "จุดหมายปลายทาง"
มันจึงไม่แปลก เลย ที่เขาเลือกที่จะตกปลา มากกว่าการซื้อปลามากินเอง หรือเลือกที่จะเดินไปทำงานเพื่อชม ชีวิตของปารีส มากกว่า ที่จะเร่งๆ ขึ้นรถเมล์รถบัส ไปให้ถึงที่หมาย

หลายครั้ง ที่เรามุ่งเน้นถึง "จุดหมาย" มากกว่า "กระบวนการ" จนทำให้เรา พลาดการ รู้จักตัวเองไป

---------------------



แม้ "เชอร์รี่" จะตัดสินไปแล้วว่า "พิสิฐ" เป็นคนแปลก เพราะคิดอะไรต่าง จากคนอื่น (ที่เธอเคยรู้จัก?)แต่หากจะมองดูอีกแง่มุม "เชอร์รี่" เอง ก็เป็นคนที่มีความคิดต่อต้านสังคมและ รั้นใช้ย่อย ซึ่งก็เป้นเรื่องธรรมดา สำหรับคนที่ ขึ้นชื่อว่า "ติ๊ด"

ถ้าศิลปินคิดเหมือนกันหมด ทุกคน คือ ถ้าไม่มี "คนแปลก" แล้วละก็ โลกนี้ก็คงไม่เกิดแนวคิดอะไรใหม่ ๆขึ้นมา และสิ่งประดิษฐ์ งานศิลปะ ก็คงจะซ้ำซากจำเจอย่างงั้น เพราะศิลปินมัวแต่ไปตามกระแส อาจจะเพราะกลัวโดนรุมกระทืบ หรือไม่มีคนคบก็แล้วแต่ ก็คงจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายไม่น้อย

เธอเป็นคนเชื่อมั่นในตัวเอง เชื่อว่าตัวเองมีเหตุผลถูกเสมอ แต่หลาย ๆครั้ง ความเชื่อว่าตัวเองถูก จนลืม คิดถึงความอยู่รอด นำมาซึ่งปัญหา ซึ่งอาจจะทำให้สูญเสียโอกาส

เชอร์รี่ อาจจะต้องเรียนรู้ ที่จะ "อ่านโลก" ในวิธีใหม่

เธออาจจะต้องหาทางประณีประนอม
คือ เลือกเชื่อในสิ่งที่ตัวเธอเองเชื่อ ต่อไปโดยที่ ขัดแย้ง กับโลกให้น้อยที่สุด เพื่อที่เธอจะได้มีโอกาสทำในสิ่งที่ตัวเธอเองรัก และให้ความสำคัญในชีวิต

เหมือนกับที่กาลิเลโอ ได้ประณีประณอม กับศาสนจักรมาสำเร็จ คือเลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองเชื่อต่อไป โดยที่ไม่ต้องถูก เผาทั้งเป็น

การเอาตัวรอดแบบนี้ ก็ถือเป็นทักษะชีวิตอย่างหนึ่ง ที่ เราต้องเรียนรู้ ด้วยการเดินทาง เพื่อจะรู้จักโลกและตัวเอง ซึ่งยิ่งเราเดินทางมากเท่าไหร่ ฝ่าฟันอุปสรรคมากเท่าใด เราและโลก ก็จะหล่อหลอมซึ่งกันและกันมากขึ้นเท่านั้น


เมื่อใดก็ตามที่ "ศิลปิน" หรือ "คนแปลก" สักคนมีหลักมีฐาน มีคนสนับสนุนที่มั่นคงแล้ว โดยที่ไม่ว่าจะทำอะไร แหวกแนว หรือแหกกฏแค่ไหน ก็ไม่มีทางล้ม ไม่มีทางโดนกระทืบ ไม่มีทางโดนบอยขอต
เหมือนกับ ที่หอเอน ปิซ่า มันเอียงได้โดยที่ไม่ล้มพังครืนลงมาฉันใดฉันนั้น
ถึงตอนนั้นเมื่อไหร่ แล้วค่อยลอง "แปลก" ให้สุดโต่ง และแสดงออกในจุดยืนที่เราไม่เหมือนคนอื่นให้ชัดเจนกันจะจะอีกที



Create Date : 03 สิงหาคม 2552
Last Update : 5 สิงหาคม 2552 16:08:10 น.
Counter : 651 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend